backup og meta

จุดซ่อนเร้น ทำความสะอาดอย่างไรให้สะอาดและปลอดภัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 31/01/2022

    จุดซ่อนเร้น ทำความสะอาดอย่างไรให้สะอาดและปลอดภัย

    จุดซ่อนเร้น หรือบริเวณอวัยวะเพศหญิง เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่ควรได้รับการดูแลและทำความสะอาดอย่างถูกวิธีเป็นประจำ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น การติดเชื้อราในช่องคลอด การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด

    จำเป็นแค่ไหนที่ต้องทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น

    เมื่อพูดถึงการทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น หลายคนคงคิดว่าอาจจะต้องทำความสะอาดไปถึงช่องคลอด แต่ความจริงแล้ว การทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นที่เหมาะสม คือ การล้างทำความสะอาดบริเวณรอบนอกของจุดซ่อนเร้นหรืออวัยวะเพศหญิง ไม่จำเป็นต้องสวนล้างช่องคลอด

    ช่องคลอด มักหมายถึงบริเวณส่วนนอกรอบ ๆ ช่องคลอด เช่น

    • ปุ่มกระสัน (Clitoris)
    • กลีบคลุมปุ่มกระสัน (Clitoral Hood)
    • บริเวณด้านในและด้านนอกของแคม (Inner and Outer Labia)

    วิทยาลัยสูตินรีแพทย์และนรีแพทย์อเมริกัน (The American College of Obstetricians and Gynecologists) แนะนำว่า ช่องคลอดสะอาดและสามารถรักษาความแข็งแรงเองได้ด้วยการรักษาสมดุลค่า pH หรือความเป็นกรด-ด่าง ทั้งยังสามารถทำความสะอาดตัวเองด้วยการหลั่งสารคัดหลั่งตามธรรมชาติได้อีกด้วย จึงไม่จำเป็นต้องสวนล้างเข้าไปในช่องคลอด เพราะการล้างช่องคลอดอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาได้

    ในช่องคลอดมีแบคทีเรียดีจำนวนมาก แบคทีเรียเหล่านี้รักษาความสมดุลของค่าความเป็นกรดเป็นด่างในช่องคลอดให้เหมาะสม โดยปกติแล้วในช่องคลอดจะมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย หากมีค่าความเป็นกรดมากเกินไปอาจทำให้มีแบคทีเรียชนิดไม่ดีมากเกิน จนเสี่ยงเกิดภาวะช่องคลอดติดเชื้อได้

    วิธีทำความสะอาด จุดซ่อนเร้น

    วิธีทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นที่ถูกต้อง อาจมีดังนี้

    • ตอนอาบน้ำควรล้างบริเวณรอบจุดซ่อนเร้นด้วยน้ำอุ่น และสบู่อ่อนๆ ไม่ควรสวนล้างบริเวณช่องคลอด อย่าลืมตรวจสอบก่อนว่าน้ำไม่ร้อนจนเกินไปและควรล้างสบู่ออกให้สะอาดด้วย
    • ล้างบริเวณแคมให้สะอาด เพื่อขจัดสารคัดหลั่งที่ติดอยู่บริเวณรอบพับของแคม
    • เช็ดบริเวณจุดซ่อนเร้นให้สะอาดด้วยผ้าขนหนูแห้งและนุ่ม
    • ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ เข้าไปในช่องคลอด เว้นแต่คุณหมอจะสั่ง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 31/01/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา