backup og meta

ความดันโลหิตสูง สร้างความเสียหายต่อ สมอง ของคุณอย่างไรบ้าง

ความดันโลหิตสูง สร้างความเสียหายต่อ สมอง ของคุณอย่างไรบ้าง

หากใครที่กำลังคิดว่าแค่ระดับ ความดันโลหิตสูง ไม่สามารถส่งผลอันตรายใด ๆ ต่อ สมอง อาจต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความเชื่อมโยงของความดันโลหิตสูงที่อาจสร้างความเสียหายให้แก่การทำงานของสมอง พร้อมเคล็ดลับการควบคุมความดันก่อนสมองจะถูกทำลาย มาฝากทุกคนกันค่ะ

[embed-health-tool-heart-rate]

ความดันโลหิตสูง ส่งผลอย่างไรต่อ สมอง

ยิ่งคุณมีระดับความดันโลหิตเพิ่มขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งอาจทำให้สมองของคุณได้รับความเสียหายมากขึ้น เนื่องจากความดันโลหิตส่งผลให้ผนังหลอดเลือดที่เชื่อมโยงกับสมองได้รับความเสียหาย และอุดตันจนเลือดที่ประกอบด้วยออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงภายในให้สมองทำงานได้เต็มที่ อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เพิ่มเติม ดังนี้

  • สมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) เป็นภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนเข้าผ่านหลอดเลือดเข้าไปสู่สมองได้ บางกรณีอาจก่อให้เกิดลิ่มเลือดขึ้นเพิ่มเติม ที่เสี่ยงต่อนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้อย่างสมบูรณ์
  • ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) หลอดเลือดแดงที่ตีบตันจากความดันโลหิตสูง อาจจำกัดการไหลเวียนของเลือด จนทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะด้านการจดจำ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณนั้นเสี่ยงสมองเสื่อมได้
  • สมองขาดออกซิเจน การที่สมองของคุณได้รับเลือด หรือออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพออาจทำให้เซลล์สมองของคุณตายได้ มากไปกว่านั้นยังอาจส่งผลให้หลอดเลือดแตก หรือตีบตัน จนก่อให้เกิดอันตรายเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มเติมอีกด้วย

เคล็ดลับควบคุม ความดันโลหิต ก่อน สมอง เสียหาย

หากคุณเช็กสุขภาพตนเองแล้วพบว่ามีระดับความดันโลหิตสูงตั้งแต่ระยะที่ 1 จนถึงระยะที่ 3 หรือตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป โปรดเร่งรักษา หรือควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับมาตรฐาน 120/80 มิลลิเมตรปรอท ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ ก่อนที่โรคความดันโลหิตสูง จะสร้างความเสียหายให้แก่สมองของคุณ

  • การเลือกรับประทานอาหาร คุณควรเลือกอาหารที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุด โดยสามารถอ่านข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์ และเพิ่มปริมาณการรับประทานผัก ผลไม้ ปลา ให้มากขึ้น
  • ควบคุมน้ำหนัก โปรดรักษาน้ำหนักของคุณให้คงที่ ด้วยการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที ต่อวัน และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ควบคู่ไปด้วย
  • ผ่อนคลายความเครียด การที่คุณสะสมความเครียดมากจนเกินไป อาจทำให้คุณมีความดันโลหิตที่สูงขึ้นได้ ดังนั้น คุณจึงควรผ่อนคลายความเครียดของตนเองด้วยกิจกรรมที่คุณชื่นชอบ ทำแล้วรู้สึกสบายใจ
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างพอดี ปริมาณที่เหมาะสมของการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตเพิ่ม คุณควรดื่มเพียงวันละ 1-2 แก้วเท่านั้น หรือหากเป็นไปได้ควรงดดื่มไปเลยอย่างถาวร

นอกเหนือจากวิธีข้างต้น คุณยังควรเข้ารับการตรวจร่างกายเป็นประจำ เพื่อติดตามอาการ และรับการรักษาอย่างเหมาะสมในช่วงเวลานั้น เพราะระดับความดันโลหิตมักมีการขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่เสมอ ทำให้คุณอาจต้องรักษาด้วยเทคนิคอื่น ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์เพิ่มเติมในแต่ละช่วงนั่นเอง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

High blood pressure dangers: Hypertension’s effects on your body. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/in-depth/high-blood-pressure/art-20045868. Accessed August 17, 2021

Blood pressure and your brain. https://www.health.harvard.edu/heart-health/blood-pressure-and-your-brain. Accessed August 17, 2021

Hidden Brain Risk: Midlife High Blood Pressure. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/hidden-brain-risk-midlife-high-blood-pressure. Accessed August 17, 2021

Sustained high blood pressure may damage brain vessels. https://www.heart.org/en/news/2020/07/31/sustained-high-blood-pressure-may-damage-brain-vessels. Accessed August 17, 2021

Effects of High Blood Pressure on Your Body. https://www.webmd.com/hypertension-high-blood-pressure/high-blood-pressure-effects-on-body. Accessed August 17, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/04/2024

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เช็กกันหน่อยไหม ใครมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง?

เล่นโยคะ ลดความดันโลหิต ได้จริงหรือไม่ มาหาคำตอบกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 22/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา