backup og meta

ป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ด้วยการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/06/2021

    ป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ด้วยการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี

    โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายแรงไม่ต่างจากโรคชนิดอื่น ๆ หากไม่ได้รับการดูแล และรักษาอย่างถูกวิธีก็อาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว  ดังนั้นเราจึงต้อง ป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ด้วยการดูแลสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอ พร้อมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน ที่วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ ได้นำเคล็ดลับมาฝากกันค่ะ เพื่อชะลอการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว

    โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) คืออะไร

    โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงแข็ง หรือตีบตันเนื่องจากการสะสมของคาบจุลินทรีย์รอบผนังหลอดเลือด ทำให้เลือด และออกซิเจนไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายได้ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจวาย ไตล้มเหลว หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นต้น อีกทั้งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุดหากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามขั้นตอนที่แพทย์แนะนำ

    สาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

    สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง มีดังต่อไปนี้

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน หรือความต้านทานต่ออินซูลิน
  • โรคอ้วน
  • ภาวะความเครียด
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น อาหารที่มีปริมาณไขมันทรานส์สูง
  • อายุมากขึ้น
  • สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจหรือโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
  • อาการของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

    ในระยะแรก ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงแข็ง จะไม่ทราบว่าตนเองป่วยเนื่องจากไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ แต่จะทราบก็ต่อเมื่อหลอดเลือดแดงแข็ง และเลือดไม่สามารถส่งไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้เพียงพอ ส่งผลให้เกิดอาการตามบริเวณที่หลอดเลือดแดงแข็งตัว ดังต่อไปนี้

  • หลอดเลือดแดงแข็งที่หัวใจ มีอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ไอ หน้ามืด อาเจียน
  • หลอดเลือดแดงแข็งที่แขนและขา มีอาการปวดขาขณะเดิน 
  • หลอดเลือดแดงแข็งที่สมอง เริ่มเดินชนสิ่งต่าง ๆ รอบตัว แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด 
  • หลอดเลือดแดงแข็งที่ไต ความดันโลหิตสูง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ มือ และเท้าบวมขั้น
  • ป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

    เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดง ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน โดยมีวิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง เน้นรับประทานผักและผลไม้ 
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รักษาให้แข็งแรง
  • นอกเหนือจากวิธีการป้องกันข้างต้น คุณควรมีการเข้าขอคำปรึกษาจากแพทย์ร่วมด้วย เพราะแพทย์อาจมีการให้ยาตามอาการที่คุณเป็นมารับประทาน พร้อมให้คำแนะนำวิธีการดูแลตัวเอง เพราะในบางครั้งผู้ป่วยบางคนอาจได้รับอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดแดงแข็งต่างกัน การเข้าพบคุณหมอตามการนัดหมายจึงเป็นการดูแลตัวเองอีกหนทางที่เหมาะสมที่สุดค่ะ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา