backup og meta

ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ภาวะเสี่ยงใน ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ภาวะเสี่ยงใน ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ถือเป็นภาวะเสี่ยงที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือผู้ที่มีอาการหัวใจวาย ด้วยอัตราการเสียชีวิตที่สูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ถึง 90 เปอร์เซ็นต์  หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จึงอาจกล่าวได้ว่า ภาวะดังกล่าวนั้นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ดังนั้น Hello คุณหมอ จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับภาวะช็อคจากโรคหัวใจมาฝากกันในบทความนี้

ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ เกิดขึ้นได้อย่างไร

ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ (Cardiogenic Shock) คือ ภาวะที่หัวใจขาดเลือดและออกซิเจน เนื่องจากไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยภาวะนี้มักเกิดจากอาการหัวใจวายฉับพลัน แต่ไม่ใช่ว่า ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือผู้ป่วยทุกคนที่มีอาการหัวใจวาย จะมีภาวะช็อคจากโรคหัวใจ

ถึงแม้ว่าภาวะช็อคจากโรคหัวใจจัดเป็นภาวะทางสุขภาพที่พบได้ยาก แต่ภาวะดังกล่าวถือเป็นภาวะที่รุนแรงและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตภายในเวลารวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาในทันที

สาเหตุของการเกิดภาวะช็อคจากโรคหัวใจ

ภาวะช็อคจากโรคหัวใจส่วนใหญ่เกิดจากการขาดออกซิเจนที่ส่งไปยังหัวใจ เนื่องจากเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง

หากไม่มีเลือดที่อุดมด้วยออกซิเจนไหลเวียนไปยังบริเวณนั้นของหัวใจ อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดความเสียหายและเข้าสู่ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้ช็อคจากโรคหัวใจ ดังนี้

  • การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • การติดเชื้อของลิ้นหัวใจ
  • หัวใจอ่อนแอ
  • การรับประทานยาเกินขนาด หรือได้รับพิษที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการสูบฉีดเลือดไปยังหัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อคจากโรคหัวใจ

หากคุณมีอาการหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ความเสี่ยงในการเกิดภาวะช็อคจากโรคหัวใจอาจเพิ่มขึ้นได้ หากว่าคุณ

  • มีอายุมากขึ้น
  • มีประวัติเคยเป็นหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาก่อน
  • เป็นเพศหญิง
  • เป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง
  • เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ

อาการของผู้ป่วยภาวะช็อคจากโรคหัวใจ

อาการของภาวะช็อคจากโรคหัวใจมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจวายรุนแรง โดยมีสัญญาณและอาการ ดังนี้

  • เจ็บปวดบริเวณหน้าอกนานกว่า 3 นาที
  • ปวดบริเวณไหล่ แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง รวมถึงฟันและกราม
  • หายใจถี่
  • เหงื่อออก
  • วิงเวียนศีรษะ หรือเวียนศีรษะอย่างกะทันหัน
  • คลื่นไส้ อาเจียน

ปรึกษาคุณหมอ

หากผู้ป่วยมีภาวะช็อคจากโรคหัวใจที่เป็นสาเหตุของอาการหัวใจวาย แพทย์อาจทำการรักษาด้วยการให้ออกซิเจนเพื่อขจัดสิ่งที่อุดตัน โดยการใส่สายเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ส่งไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ หากผู้ป่วยมีภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์จะทำการรักษาด้วยการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นหนึ่งใน ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อคจากโรคหัวใจ การเข้าพบคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาอย่างเหมาะสมถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้าม เนื่องจากภาวะดังกล่าวที่เกิดขึ้นถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพและอันตรายถึงชีวิต

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cardiogenic shock. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cardiogenic-shock/symptoms-causes/syc-20366739. Accessed on September 28, 2020.

Cardiogenic Shock. https://emedicine.medscape.com/article/152191-overview. Accessed on September 28, 2020.

Cardiogenic Shock. https://www.healthline.com/health/cardiogenic-shock. Accessed on September 28, 2020.

Cardiogenic shock.  https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/cardiogenic-shock . Accessed on September 28, 2020.

Cardiogenic shock complicating acute myocardial infarction—etiologies, management and outcome: a report from the SHOCK Trial Registry. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0735109700008792?via%3Dihub. Accessed on September 28, 2020.

Major pulmonary embolism and shock. https://www.mja.com.au/journal/2003/179/9/major-pulmonary-embolism-and-shock Accessed on September 28, 2020.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/06/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nopnan Ariyawongmanee


บทความที่เกี่ยวข้อง

เส้นเลือดหัวใจตีบ อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและการป้องกัน

อาการเตือนโรคหัวใจ แบบไหนควรไปพบคุณหมอ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 08/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา