backup og meta

Metabolism คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

Metabolism คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

Metabolism คือ กระบวนการเผาผลาญและกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารอาหารที่กินหรือดื่มเข้าสู่ร่างกายให้เป็นพลังงาน เพื่อนำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การหายใจ การไหลเวียนของเลือด การปรับระดับฮอร์โมน รวมถึงการเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ  

[embed-health-tool-bmr]

Metabolism คืออะไร 

เมแทบอลิซึม (Metabolism) คือ กระบวนการทางเคมีที่ช่วยให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ กระบวนการนี้รวมถึงกระบวนการสร้างและซ่อมแซมร่างกาย และกระบวนการที่สลายสารอาหารจากอาหาร หลังจากที่กินอาหาร ระบบย่อยอาหารจะใช้เอนไซม์ ในการย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน เปลี่ยนไขมันให้เป็นกรดไขมัน เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เป็นน้ำตาล เมื่อมีการทำกิจกรรมใด ๆ ร่างกายจะนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้เป็นแหล่งพลังงาน โดยสารเหล่านี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและหมุนเวียนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย หลังจากเข้าไปยังเซลล์แล้ว เอ็นไซม์อื่น ๆ จะช่วงเร่งและควบคุมปฏิกริยาทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ โดยกระบวนการทางเคมีทั้ง 2 อย่างนี้มีรายละเอียดการทำงาน ดังต่อไปนี้

  • กระบวนการสร้าง (Anabolism) คือ กระบวนการสร้างและซ่อมแซมร่างกายอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงเป็นกระบวนการที่ร่างกายแปรเปลี่ยนอาหารและเครื่องดื่มให้เป็นพลังงาน หากรับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน สารอาหารส่วนเกินจะสะสมในรูปแบบของไขมัน
  • กระบวนการสลาย (Catabolism) คือ กระบวนการสลายสารโมเลกุลใหญ่ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โดยร่างกายจะสลายสารอาหารให้อยู่ในรูปแบบพลังงานที่นำไปเสริมสร้างการเจริญเติบโต และซ่อมแซมอวัยวะส่วนที่สึกหรอ 

อัตราการเผาผลาญ (Metabolic Rate)

อัตราการเผาผลาญของร่างกาย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • อัตราการความต้องการเผาผลาญของร่างกาย (BMR) ปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการเพื่อรักษาสภาวะสมดุล โดยส่วนใหญ่ผู้ชายจะมีอัตราการเผาผลาญประมาณ 1,700 กิโลแคลอรี่/วัน และผู้หญิงมีอัตราการเผาผลาญประมาณ 1,400 กิโลแคลอรี่/วัน ซึ่งพลังงานส่วนใหญ่ที่ร่างกายนำไปใช้คิดเป็น 50-80% ทั้งนี้ ร่างกายมีการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง แต่ระดับการเผาผลาญอาจจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำ 
  • พลังงานที่ใช้ในการย่อยอาหาร ร่างกายจะใช้พลังงานในการย่อยอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงใช้ในการย่อย ดูดซึม และสะสมอาหาร โดยคิดเป็น 5-10% ของการใช้พลังงาน 
  • พลังงานในการออกแรง เป็นพลังงานที่ร่างกายใช้ขณะเคลื่อนไหวร่างกาย หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งการเผาผลาญอาจจะแตกต่างกันออกไป เพราะแต่ละคนมีกิจกรรมระหว่างวันที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนนี้คิดเป็น 20% ของการใช้พลังงาน 

ปัจจัยที่มีผลต่อ Metabolism คือ 

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการเผาผลาญมีหลายอย่าง ดังต่อไปนี้

  • อายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น Metabolism จะช้าลง เนื่องจากร่างกายเริ่มสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ 
  • เพศ โดยทั่วไปผู้ชายมักสามารถเผาผลาญได้เร็วกว่า เนื่องจากอาจมีไขมันน้อยกว่าและมีกล้ามเนื้อมากกว่า 
  • ขนาดร่างกาย ผู้ที่มีขนาดร่างกายใหญ่อาจมีอัตราการเผาผลาญที่มากกว่า 
  • มวลกล้ามเนื้อ ผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อมากอาจเผาผลาญพลังงานได้เร็ว
  • ไขมันในร่างกาย เซลล์ไขมันขี้เกียจอาจทำให้เผาผลาญพลังงานได้น้อยกว่า
  • การรับประทานอาหาร หากรับประทานอาหารน้อยเกินไปจะทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานช้าลง
  • การออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ รวมถึงทำให้ร่างกายสามารถเผาผลาญได้เร็วขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

ความสัมพันธ์ระหว่าง Metabolism กับการลดน้ำหนัก

Metabolism เป็นกระบวนการทางเคมีที่มีความซับซ้อน และเป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อร่างกายในการเพิ่มหรือลดน้ำหนัก ที่สำคัญ ระบบเผาผลาญของแต่ละคนมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน ทำให้การลดน้ำหนักในวิธีเดียวกันอาจได้ผลมากน้อยต่างกัน หากมีอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายต่ำ อาจทำให้ลดน้ำหนักได้ยาก แต่ถ้ามีอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายสูง อาจช่วยทำให้ลดน้ำหนักได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม มีวิธีการกระตุ้นการเผาผลาญให้ทำงานได้ดีขึ้น ทั้งนี้ อาจต้องใช้ความพยายามและวินัยของตนเองด้วยถึงจะสามารถช่วยลดน้ำหนักได้

วิธีการเร่ง Metabolism

วิธีการที่ช่วยให้ร่างกายสามารถเผาผลาญพลังงานให้มากขึ้น อาจทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ 

  • เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ โดยพยายามทำให้กิจกรรมเป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรประจำวัน เช่น เดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ ทำงานบ้านต่าง ๆ กวาดบ้าน ถูบ้าน อาจช่วยกระตุ้นให้ร่างกายใช้พลังงานเพิ่มขึ้น จึงอาจมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก
  • สร้างกล้ามเนื้อ การเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายถือเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจาก กล้ามเนื้อช่วยในการเผาผลาญพลังงานที่ร่างกายได้รับ ดังนั้น การเพิ่มมวลกล้ามเนื้ออาจช่วยให้ลดน้ำหนักได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ควรออกกำลังกายเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แขน ขา หลัง หน้าท้อง อย่างน้อย 2 วัน/สัปดาห์ กิจกรรมที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ได้แก่ การยกน้ำหนัก
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกถือเป็นวิธีที่ช่วยในการเผาผลาญแคลอรี่อย่างหนึ่ง ควรตั้งเป้าทำกิจกรรมแอโรบิก เช่น เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ อย่างน้อย 30 นาที/วัน สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักควรเพิ่มเวลาและควรปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารร่วมด้วย 
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน หากร่างกายขาดน้ำอาจส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลงได้ ดังนั้น ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 7-8 แก้วต่อวัน และอาจดื่มเครื่องดื่มกาแฟดำ ชาเขียว ชาอู่หลงก็ได้ 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ร่างกายสามารถเผาผลาญโปรตีนได้ดีกว่าอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและไขมัน โดยอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อไม่ติดมัน ไก่ ปลา เต้าหู้ ไข่ ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และการรับประทานอาหารมื้อย่อย ๆ หรือของว่างทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง อาจช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงอาหารที่มีรสชาติเผ็ดอาจช่วยเร่งระบบการเผาผลาญได้
  • นอนหลับพักผ่อน การนอนดึกหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง และยังอาจทำให้หิวกลางดึกและเสี่ยงทำให้น้ำหนักเพิ่มได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Metabolism. https://kidshealth.org/en/teens/metabolism.html. Accessed October 21, 2022

Metabolism and weight loss: How you burn calories.  https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/weight-loss/in-depth/metabolism/art-20046508. Accessed October 21, 2022

How can I speed up my metabolism?. https://www.nhs.uk/live-well/healthy-weight/metabolism-and-weight-loss/. Accessed October 21, 2022

Slideshow: 10 Ways to Boost Your Metabolism. https://www.webmd.com/diet/ss/slideshow-boost-your-metabolism. Accessed October 21, 2022

Metabolism. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/metabolism. Accessed October 21, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/01/2023

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

เมนูอาหารเช้าสำหรับคนลดน้ำหนัก ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพคุณ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 06/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา