backup og meta

คุณประโยชน์ของมะตูม ต้นไม้ศักสิทธิ์แห่งชมพูทวีป

คุณประโยชน์ของมะตูม ต้นไม้ศักสิทธิ์แห่งชมพูทวีป

มะตูม เป็นอีกหนึ่งผลไม้ ที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมายหลายชนิด มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีสรรพคุณทางยาที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกมากมาย นอกจากนี้ยังสามารถนำมาแปรรูปประกอบอาหารได้อีกหลากหลายเมนู เช่น น้ำมะตูม มะตูมเชื่อม เค้กมะตูม เป็นต้น วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับมะตูม และ คุณประโยชน์ของมะตูม ให้มากขึ้นกันค่ะ

ทำความรู้จักกับผลไม้ มะตูม

มะตูม (Bael) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aegle marmelos. มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ปลูกกันมาตลอดนานกว่า 4,000 ปี ถือได้ว่าเป็นต้นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากๆ ในศาสนาฮินดู โดยใบมะตูมที่มีลักษณะ 3 แฉก เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ “ตรีมูรติ” อันประกอบไปด้วย พระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม นอกจากนี้ยังเปรียบเสมือน “ตรีศูล” ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายของพระศิวะอีกด้วย

ในปัจจุบันมะตูมได้เป็นที่นิยมปลูกในหลายประเทศ เช่น ศรีลังกา ไทย และภูมิภาคอื่นทางตอนใต้ในทวีปเอเชีย เป็นต้นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 6-15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของใบ กว้าง 7-10 เซนติเมตร เปลือกค่อนข้างเหนียว มีเนื้อสีน้ำตาล เมล็ดสีขาว อุดมด้วยคุณประโยชน์ทางโภชนาการและมีสรรพคุณทางยาสูง ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น บรรเทาอาการท้องผูก ท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของมะตูม

ผลมะตูม 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

พลังงาน 137 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 31.8 กรัม
ไขมัน 0.3 กรัม
โปรตีน 1.8 กรัม
วิตามินเอ 55 ไมโครกรัม
วิตามินซี 60 มิลลิกรัม
ไทอามีน 0.13 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 1.19 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 1.1 มิลลิกรัม
แคโรทีน 55 ไมโครกรัม
แคลเซียม 85 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 600 มิลลิกรัม
ไฟเบอร์ 2.9 กรัม
น้ำ 61.5 กรัม

คุณประโยชน์ของมะตูม ทางอายุรเวช

ไม่น่าแปลกใจที่มะตูมจะเปรียบเสมือนตัวแทนของพระศิวะ เพราะมะตูมนั้นมีคุณประโยชน์รอบด้าน ไม่ว่าจะด้านการแพทย์ หรือด้านโภชนาการ โดยมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้

  • บรรเทาอาการท้องผูก

มะตูมสุกเป็นเหมือนยาระบายอ่อน ๆ ที่ช่วยปรับสมดุลลำไส้ และยังมีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องร่วง โรคบิดเรื้อรัง เพียงฝานผลมะตูมที่ยังไม่สุกนำไปตากแดดให้แห้งแล้วนำมาบดผง ไว้ชงกับน้ำอุ่นผสมกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มวันละ 2 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการปวดบิดให้ลดลง

  • รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

มะตูมมีสรรพคุณใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยต้านการอักเสบและสมานแผลในกระเพาะอาหาร ควรรับประทานมะตูมสุกอย่างน้อย 3 วัน เพื่อรักษาแผล

  • ควบคุมคอเลสเตอรอลและเบาหวาน

มะตูมมีสารเมทานอล (Methanol) ซึ่งช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดยูเรียในเลือดและน้ำตาลในเลือด หากดื่มชาที่ทำจากเปลือกมะตูมแห้งเป็นประจำทุกวัน อาจช่วยลดระดับไขมันและไตรกลีเซอไรด์

  • ต้านอนุมูลอิสระ

ผลมะตูมมีกรดฟีนอลิก (Phenolic) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีบทบาทสำคัญในการรักษาเซลล์ที่ถูกทำลายซึ่งเกิดจากอนุมูลอิสระ ที่นำไปสู่ความเสื่อมสภาพของร่างกาย และเป็นต้นกำเนิดของโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคสมอง โรคอัลไซเมอร์ และมะเร็ง นอกจากนี้สารต้านอนุมูลอิสระยังช่วยบำรุงผิวพรรณ ต่อต้านริ้วรอย คงความอ่อนเยาว์ให้กับผิวอีกด้วย

มะตูมมีสารแทนนิน (Tannin)  ช่วยรักษาโรคต่าง ๆ เช่น อหิวาตกโรค โรคท้องร่วง และริดสีดวง และยังช่วยรักษาโรคโลหิตจาง ลดการอักเสบการติดเชื้อของดวงตา เช่น โรคตาแดง

ข้อควรระวังในการบริโภค

  • หากรับประทานมะตูมมากจนเกินไป อาจทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารควรระมัดระวังในการรับประทาน
  • สตรีมีครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการรับประทานมะตูม
  • ผู้ป่วยผู้ป่วยไทรอยด์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

15 Best Bael Juice Benefits + Preparation & Side Effects. https://stylesatlife.com/articles/benefits-of-bael-juice/. Accessed on August 31, 2020.

BAEL. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-164/bael. Accessed on August 31, 2020.

Health benefits of Bael fruit (Wood Apple). https://www.healthbenefitstimes.com/bael-fruit/ Accessed on August 31, 2020.

The Sacred Bael. https://www.oshonews.com/2015/11/07/the-sacred-bael/. Accessed on August 31, 2020.

Bael: Medicinal Uses, Therapeutic Benefits For Skin, Diabetes And Supplements. https://www.netmeds.com/health-library/post/bael-medicinal-uses-therapeutic-benefits-for-skin-diabetes-and-supplements. Accessed on August 31, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/10/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์แก้วมังกร สุดยอดผลไม้

6 คุณประโยชน์ จาก มังคุด ราชินีผลไม้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 09/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา