backup og meta

ประโยชน์ของเบียร์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ประโยชน์ของเบียร์ และข้อควรระวังในการบริโภค

เบียร์ เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นที่นิยมทั่วโลก ส่วนประกอบพื้นฐานในการผลิตเบียร์ ได้แก่ ข้าว ส่วนใหญ่เป็นบาร์เลย์ ยีสต์ น้ำ และดอกฮอปซึ่งเป็นพืชไม้เลื้อยชนิดหนึ่งในพืชดอกวงศ์กัญชา นิยมหมักประมาณ 4-8 สัปดาห์ก่อนนำมากรองและบรรจุใส่ภาชนะ เบียร์มักมีสีเหลืองอำพัน รสชาติขม ปริมาณแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 5-7% การดื่มเบียร์ในปริมาณที่เหมาะสม อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพได้

[embed-health-tool-bmi]

คุณค่าทางโภชนาการของ เบียร์

เบียร์ 100 มิลลิลิตร ให้พลังงานประมาณ 43 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้

  • คาร์โบไฮเดรต 3.55 กรัม
  • โปรตีน 0.42 กรัม
  • โพแทสเซียม 27 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม
  • โคลีน (Choline) 10.1 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 4 มิลลิกรัม
  • ฟลูออไรด์ 44.2 ไมโครกรัม

ประโยชน์ต่อสุขภาพของ เบียร์

มีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของเบียร์ ดังนี้

1. อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

แอลกอฮอล์ในเบียร์มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มการตอบสนองของเซลล์ต่ออินซูลิน การดื่มเบียร์ในปริมาณเล็กน้อยหรือปานกลาง จึงอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไปได้

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ว่าด้วยรูปแบบการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ตีพิมพ์ในวารสาร Diabetologia ปี พ.ศ. 2560 นักวิจัยติดตามพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ชายและผู้หญิงที่เป็นอาสาสมัครจำนวนทั้งหมด 76,484 ราย เป็นระยะเวลา 4.9 ปีและได้ให้กลุ่มอาสาสมัครตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพ ผลปรากฏว่า มีผู้ชายจำนวน 859 ราย และผู้หญิงจำนวน 887 รายกลายเป็นผู้ป่วยเบาหวาน โดยพบว่า ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ 3-4 วันต่อสัปดาห์ (ไม่เกิน 2 ดื่มมาตรฐานต่อวันสำหรับผู้ชาย และ 1 ดื่มมาตรฐานต่อวันสำหรับผู้หญิง โดยเบียร์ 330 มล. นับเป็น 1 ดื่มมาตรฐาน) เป็นกลุ่มที่เสี่ยงเกิดเบาหวานน้อยที่สุด แต่หากดื่มมากกว่านั้น ความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานก็อาจเพิ่มขึ้นได้

2. อาจช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน

การดื่มเบียร์ในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป อาจช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ ได้ เนื่องจากเบียร์มีธาตุซิลิคอนที่ส่งผลต่อการเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก

งานวิจัยหนึ่ง เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของมวลกระดูกและการดื่มแอลกอฮอล์ในผู้หญิงวัยทอง เผยแพร่ในวารสาร PLoS One ปี พ.ศ. 2560 นักวิจัยศึกษาพฤติกรรมของผู้ชายและผู้หญิงวัยทองจำนวน 3,312 ราย ผ่านการทำแบบสอบถาม เพื่อหาความสัมพันธ์เกี่ยวกับความหนาแน่นของมวลกระดูก และความถี่ของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อย หรือราว 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ (1-2 แก้วต่อครั้ง) เป็นกลุ่มอาสาสมัครที่มีความหนาแน่นของมวลกระดูกสูงที่สุด ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ดื่มเครื่องแอลกอฮอล์เลย และกลุ่มที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักหรือมากกว่า 4 ครั้งต่อสัปดาห์ มีความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำสุด

3. อาจช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ

สารโพลีฟีนอล (Polyphenol) ในเบียร์อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยงานวิจัยหนึ่ง ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเบียร์และสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด เผยแพร่ในวารสาร PLoS One ปี พ.ศ. 2563 นักวิจัยได้ศึกษางานวิจัยจำนวน 131,495 ชิ้น เกี่ยวกับการดื่มเบียร์ พบข้อสรุปว่า การดื่มเบียร์ไม่เกิน 2 ดื่มมาตรฐานต่อวันสำหรับผู้ชาย และ 1 ดื่มมาตรฐานต่อวันสำหรับผู้หญิงมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากเบียร์มีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด และเพิ่มระดับไขมันดีอย่างเอชดีแอล (High Density Lipoprotein) ที่ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีการศึกษาและมีข้อสรุปเกี่ยวกับผลกระทบของการดื่มเบียร์ระยะยาว และควรมีการศึกษาเพิ่มเติม

4. อาจช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากนั้นเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม แต่จากการศึกษาแบบสังเกตการณ์พบว่า การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเพียงเล็กน้อย สัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมและการทำงานของสมองที่เสื่อมถอยลงในผู้สูงวัย เผยแพร่ในวารสาร JAMA Network Open พ.ศ. 2562 นักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลของอาสาสมัครจำนวน 3,021 ราย อายุ 72 ปีขึ้นไป ในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2560-2561 เกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ทั้งเบียร์ ไวน์ และเหล้า ทั้งปริมาณในการดื่ม คุณภาพของเครื่องดื่ม พบว่า ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยเป็นประจำทุกวันมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำในปริมาณมาก อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

ข้อควรระวังในการบริโภคเบียร์

ประโยชน์ของเบียร์มีหลายประการ อย่างไรก็ตาม การดื่มเบียร์ มีข้อควรระวังต่าง ๆ ดังนี้

  • หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรดื่มเบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ในเบียร์อาจทำให้ทารกในครรภ์ผิดปกติ นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงสองเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการแท้งได้
  • หญิงให้นมบุตรไม่ควรดื่มเบียร์ เพราะแอลกอฮอล์จากเบียร์อาจส่งผ่านทางน้ำนมซึ่งส่งผลเสียต่อการเติบโตหรือพัฒนาการของทารก
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงการดื่มเบียร์หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้อาการของโรคแย่ลงได้
  • ควรหลีกเลี่ยงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักร และควรงดการขับขี่ยานพาหนะเพราะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพหรือชีวิตได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Alcoholic beverage, beer, regular, all. https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/168746/nutrients. Accessed June 30, 2022

Is it safe for mothers to breastfeed their infant if they have consumed alcohol?. https://www.cdc.gov/breastfeeding/breastfeeding-special-circumstances/vaccinations-medications-drugs/alcohol.html#:~:text=Generally%2C%20moderate%20alcohol%20consumption%20by,a%20single%20drink%20before%20nursing. Accessed June 30, 2022

Alcohol drinking patterns and risk of diabetes: a cohort study of 70,551 men and women from the general Danish population. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28748324/. Accessed June 30, 2022

To beer or not to beer: A meta-analysis of the effects of beer consumption on cardiovascular health. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7269243/. Accessed June 30, 2022

Alcohol and dementia. https://www.alzheimers.org.uk/about-dementia/risk-factors-and-prevention/alcohol#:~:text=Excessive%20alcohol%20consumption%20over%20a,significant%20protection%20against%20developing%20dementia. Accessed June 30, 2022

Alcohol use and dementia: a systematic scoping review. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30611304/. Accessed June 30, 2022

Relationship between bone mineral density and alcohol intake: A nationwide health survey analysis of postmenopausal women. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5491129/. Accessed June 30, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ชามะระขี้นก เครื่องดื่มสมุนไพร ที่อาจช่วยต่อสู้กับ โรคเบาหวาน

เครื่องดื่ม อาหารหมักดอง ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร มีอะไรบ้างนะ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

โภชนาการเพื่อสุขภาพ · โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 31/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา