backup og meta

เรื้อน (Leprosy)

เรื้อน (Leprosy)

โรค เรื้อน (Leprosy) คือ โรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Mycobacterium leprae เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่แขน ขา ผิวหนัง เยื่อบุจมูก และทางเดินหายใจส่วนบน

คำจำกัดความ

เรื้อน คืออะไร

เรื้อน (Leprosy) คือโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Mycobacterium leprae เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่แขน ขา ผิวหนัง เยื่อบุจมูก และทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง เส้นประสาทเกิดความเสียหาย และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง

หากปล่อยไว้ไม่รักษา โรคเรื้อนอาจจะทำให้ระบบประสาทเสียหาย ส่งผลให้บริเวณมือและแขนอาจเป็นอัมพาตได้ นอกจากนี้ โรคเรื้อนยังอาจลดประสิทธิภาพของประสาทสัมผัส ทำให้รับรู้ความรู้สึกได้น้อยลง ผู้ป่วยจึงอาจจะไม่รู้สึกตัวเมื่อเกิดบาดแผล และทำให้บาดแผลนั้นรุนแรงขึ้นได้

โรค เรื้อน พบบ่อยแค่ไหน

โรคเรื้อนี้สามารถพบได้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น หรือกึ่งเขตร้อน เช่น ประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถเกิดได้กับคนทุกเทศทุกวัย ตั้งแต่ไปทารกไปจนถึงผู้สูงอายุ

อาการ

อาการของโรค เรื้อน

โรคเรื้อนจะส่งผลต่อผิวหนังและระบบประสาทในบริเวณสมองและไขสันหลัง นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อดวงตาและเนื้อเยื่อภายในโพรงจมูกอีกด้วย

อาการทางผิวหนัง อาจมีดังต่อไปนี้

  • ผิวบางส่วนเปลี่ยนสี อาจจะมีสีจางกว่าบริเวณรอบข้าง และอาจจะมีอาการชาร่วมด้วย
  • มีตุ่มขึ้นบนผิวหนัง
  • ผิวแห้ง หนา และแข็ง
  • มีแผลเกิดขึ้นบริเวณเท้าหรือมือ
  • ใบหน้า หรือติ่งหูบวมขึ้น
  • ขนคิ้วและขนตาร่วง

อาการที่เกิดขึ้นกับระบบประสาท อาจมีดังต่อไปนี้

  • ผิวหนังบางส่วนมีอาการชา
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เป็นอัมพาต โดยเฉพาะบริเวณมือและขา
  • เส้นประสาทบวมขึ้น
  • มีปัญหาในการมองเห็น

อาการที่เกิดขึ้นกับเยื่อเมือกในโพรงจมูก อาจมีดังต่อไปนี้

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคเรื้อน

โรคเรื้อนเกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium leprae ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีอัตราการเจริญเติบโจช้าชนิดหนึ่ง และสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้

แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อ Mycobacterium leprae ติดต่อสู่ผู้อื่นได้ แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า อาจเกิดจากผู้ติดเชื้อ Mycobacterium leprae ไอหรือจามใส่ผู้อื่น เนื่องจากเชื้อ Mycobacterium leprae มักจะอยู่ในละอองฝอยของผู้ป่วย นอกจากนี้ การอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคเรื้อนที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานาน ก็อาจจะทำให้ติดเชื้อโรคเรื้อนได้เช่นกัน

โรคเรื้อนไม่ติดต่อกันผ่านทางการสัมผัส เช่น การจับมือ การกอด การนั่งข้างกัน การนั่งรถคันเดียวกัน และไม่ติดต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อน ก็จะไม่ส่งต่อโรคนี้ไปสู่ทารกในครรภ์เช่นกัน

โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อน

ผู้ที่อาศัยอยู่ในบางประเทศ อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อนมากกว่าที่อื่น ประเทศที่มีรายงานพบผู้ป่วยโรคเรื้อนมากกว่า 1,000 ราย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554-2558 ตามรายงานของ WHO ได้แก่ประเทศดังต่อไปนี้

  • คองโก
  • เอธิโอเปีย
  • มาดากัสการ์
  • โมซัมบิก
  • ไนจีเรีย
  • แทนซาเนีย
  • บังกลาเทศ
  • อินเดีย
  • อินโดนีเซีย
  • เมียนมาร์
  • เนปาล
  • ฟิลิปปินส์
  • ศรีลังกา
  • บราซิล

นอกจากนี้ ผู้ที่ต้องใกล้ชิดหรืออาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคเรื้อนเป็นเวลานาน ก็อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อนได้เช่นกัน

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคเรื้อน

ในการวินิจฉัยโรคเรื้อน แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อหาสัญญาณและอาการของโรคเรื้อน และอาจต้องมีการตรวจด้วยวิธีดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

  • การตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อไปตรวจ (Biospy) เพื่อดูว่าใช่โรคเรื้อนหรือไม่
  • การทดสอบเลโปรมินทางผิวหนัง (lepromin skin test) เพื่อตรวจสอบว่าเป็นโรคเรื้อนประเภทใด

การรักษาโรคเรื้อน

วิธีการรักษาโรคเรื้อนขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเรื้อนที่เป็นอยู่ โดยวิธีการรักษาที่นิยมได้แก่ การใช้ยาปฏิชีวนะต่าง ๆ เช่น

  • แดปโซน (Dapsone)
  • ไรแฟมพิน (Rifampin)
  • คลอฟาซิมีน (Clofazimine)
  • มิโนไซคลีน (Minocycline)

การรักษาโรคเรื้อนส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 6-12 เดือน หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงก็อาจต้องรักษานานกว่านั้น คุณอาจต้องรับประทานยาต้านอักเสบด้วย เพื่อช่วยควบคุมอาการปวดประสาทและอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายต่อระบบประสาทที่มาพร้อมกับโรคเรื้อน นอกจากนี้ คุณอาจต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันเพื่อช่วยรักษาตุ่มเรื้อนที่ผิวหนังด้วยเช่นกัน แต่หากคุณตั้งครรภ์โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา เพราะยานี้อาจส่งผลให้แท้งบุตรได้

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับโรคเรื้อน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองด้วยวิธีต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับโรคเรื้อนได้ดีขึ้น

  • หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองผิวหนัง เช่น น้ำหอม ครีมอาบน้ำ สบู่แรง ๆ แสงแดด เพื่อป้องกันไม่ให้อาการของโรคเรื้อนรุนแรงกว่าเดิม
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้ติดโรค คุณอาจต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันในระหว่างการรักษาโรคเรื้อน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณอ่อนแอลงและมีโอกาสติดโรคต่าง ๆ เช่น ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ ได้ง่ายขึ้น ดังนั้น คุณจึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การติดโรค เช่น ไม่ล้างมือก่อนกินข้าว อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย

หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Leprosy. https://www.healthline.com/health/leprosy. Accessed January 19, 2021

Leprosy (Hansen’s disease). https://www.who.int/health-topics/leprosy#tab=tab_1. Accessed January 19, 2021

Hansen’s Disease (Leprosy). https://www.cdc.gov/leprosy/index.html. Accessed January 19, 2021

Leprosy. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/leprosy-symptoms-treatments-history#1. Accessed January 19, 2021

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/01/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคผิวหนังช้าง อาการ และการรักษา

อาการผิวหนังผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคผิวหนัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 26/01/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา