backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

มิโนไซคลีน (Minocycline)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

มิโนไซคลีน (Minocycline)

ข้อบ่งใช้

ยา มิโนไซคลีน ใช้สำหรับ

ยา มิโนไซคลีน (Minocycline) ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อต่างๆ ทั้งยังอาจใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อรักษาอาการสิวที่รุนแรงด้วย ยานี้อยู่ในกลุ่มของยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน (Tetracycline antibiotics) ทำงานโดยการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ยาปฏิชีวนะนี้ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่ได้ผลกับการติดเชื้อไวรัส เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ หากคุณใช้ยาปฏิชีวนะเโดยไม่จำเป็น อาจทำให้ยาใช้ไม่ได้ผลในอนาคต หรือเชื้อดื้อยาได้

วิธีการใช้ยา มิโนไซคลีน

ยานี้จะได้ผลดีที่สุดหากรับประทานขณะท้องว่าง คุณควรรับประทานยาตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือ ทุกๆ 12 ชั่วโมง (รับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง)

รับประทานยาพร้อมกับดื่มน้ำหนึ่งแก้ว (8 ออนซ์ หรือ 240 มล.) เว้นแต่แพทย์จะสั่งให้ทำแบบอื่น หากเกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน อาจรับประทานยาพร้อมกับอาหารหรือนมก็ได้ แต่อาจทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่ดีนัก ดังนั้น คุณจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ดีก่อนใช้ยา

หากคุณใช้ยาแคปซูล ควรกลืนยาลงไปทั้งเม็ด และหากอยากล้มตัวนอน ควรรออย่างน้อย 10 นาทีหลังกินยา เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดควรใช้ยาก่อนนอน

รับประทานยานี้ 2-3 ชั่วโมงก่อนหรือหลังจากบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของอะลูมิเนียม แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม หรือสังกะสี เช่น ยาลดกรด สารละลายไดดาโนซีน (didanosine solution) ยาควินาพริล (quinapril) อาหารเสริมวิตามินหรือแร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม (เช่น นม โยเกิร์ต) น้ำผลไม้เสริมแคลเซียม เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้จับตัวกับยามิโนไซคลีนและทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมยาได้อย่างเต็มที่

เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ควรใช้ยานี้ โดยเว้นระยะเวลาให้เท่ากัน เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

ใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะครบกำหนด แม้ว่าอาการจะหายไปภายในไม่กี่วันหลังเริ่มใช้ยา เนื่องจากการหยุดใช้ยาเร็วเกินไปอาจทำให้กลับมาติดเชื้ออีกครั้ง

ขนาดยาและระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์และการตอบสนองต่อการรักษา โปรดแจ้งให้แพทย์ทันทีทราบหากอาการของคุณไม่หายไปหรือแย่ลง

การเก็บรักษายา มิโนไซคลีน

ควรเก็บยา มิโนไซคลีน ที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยามิโนไซคลีนบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยามิโนไซคลีนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยามิโนไซคลีน

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือแพ้ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีนอื่นๆ เช่น ยาด็อกซีไซคลิน (doxycycline) หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ จึงควรปรึกษาเภสัชกรก่อนเสมอ

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะ

  • ปัญหาเกี่ยวกับไต
  • ปัญหาเกี่ยวกับตับ
  • กลืนลำบาก
  • ปัญหาเกี่ยวกับหลอดอาหาร เช่น โรคไส้เลื่อนกระบังลม (hiatal herniaกรดไหลย้อน (reflux) แสบร้อนกลางอก (heartburn)

ยานี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน ฉะนั้น อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว จนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย และควรจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

ยานี้อาจทำให้คุณมีปฏิกิริยาไวต่อแสงแดดมากขึ้น จึงควรจำกัดเวลาอยู่ใต้แสงแดด ทาครีมกันแดดและสวมเสื้อผ้าป้องกันเมื่ออยู่นอกบ้าน และหากคุณมีอาการแดดเผาหรือแผลพุพองหรือรอยแดงที่ผิวหนัง โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

ยานี้อาจทำให้วัคซีนแบคทีเรียเชื้อเป็น เช่น วัคซีนไทรอยด์ ทำงานได้ไม่ดีนัก อย่าสร้างภูมิคุ้มกันหรือรับวัคซีนเว้นเสียแต่แพทย์จะสั่งให้ทำเช่นนั้น

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง สมุนไพร เป็นต้น

เด็กที่อายุต่ำกว่า 8 ปีอาจมีปฏิกิริยาไวต่อผลข้างเคียงของยานี้ได้มากกว่า โดยเฉพาะอาการฟันเปลี่ยนสี อาการนี้ยังสามารถเกิดได้ในเด็กโตและผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาวได้ด้วย โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยานี้

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณตั้งครรภ์หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ เนื่องจากการใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ หากคุณตั้งครรภ์ โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของยานี้ก่อนใช้ยา

ยานี้สามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้ในปริมาณน้อยและไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อทารก อย่างไรก็ดี โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาซูลโคลนาโซลจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท D โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา มิโนไซคลีน

การใช้ยามิโนไซคลีนอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง หน้ามืด วิงเวียน หรือบ้านหมุน หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น โปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้เนื่องจากคำนวณแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง ดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดขณะกลืน หรือกลืนลำบาก
  • การได้ยินเปลี่ยนแปลง เช่น มีเสียงอื้อในหู การได้ยินลดลง
  • ข้อต่อมีอาการแข็งเกร็ง ปวด หรือบวม
  • สัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับไต เช่น ปริมาณปัสสาวะเปลี่ยนแปลง ปัสสาวะสีชมพู
  • สัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับตับ เช่น ความอยากอาหารลดลง ปวดท้อง ดวงตาหรือผิวหนังเป็นสีเหลือง ปัสสาวะสีคล้ำ
  • ฟันเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เทา หรือน้ำตาล
  • ผิวหนัง ลิ้น ริมฝีปาก หรือเหงือกเป็นสีน้ำเงินหรือเทา

ในนานๆ ครั้ง ยามิโนไซคลีนอาจทำให้เกิดภาวะความดันภายในกระโหลกสูง (Intracranial Hypertension หรือ IH) โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีน้ำหนักเกิน หรือเคยมีภาวะความดันภายในกะโหลกสูงมาก่อน โดยปกติแล้ว ภาวะนี้มักจะหายไปเอง เมื่อหยุดใช้ยา มิโนไซคลีน แต่ก็มีโอกาสที่จะทำให้ตาบอดถาวรได้เช่นกัน ฉะนั้น ควรรับการรักษาในทันทีหากคุณมีอาการดังนี้

  • ปวดศีรษะรุนแรงหรือไม่หายไป
  • การมองเห็นเปลี่ยนแปลง เช่น มองเห็นไม่ชัดหรือมองเห็นภาพซ้อน การมองเห็นลดลง ตาบอดกะทันหัน
  • คลื่นไส้อาเจียนไม่หยุด

ในนานๆ ครั้งยานี้อาจทำให้เกิดสภาวะลำไส้ที่รุนแรง เช่น อาการท้องร่วงที่เกี่ยวข้องกับคลอสทริเดียม ดิฟิซายล์ (Clostridium difficile-associated diarrhea) เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาบางอย่าง โดยภาวะนี้อาจเกิดในช่วงเข้ารับการรักษาด้วยยามิโนไซคลีน หรือเกิดขึ้นหลังจากหยุดใช้ยาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนแล้วก็ได้ ฉะนั้น โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

  • ท้องร่วงบ่อยครั้ง
  • ปวดท้อง
  • มีเลือดหรือเสมหะในอุจจาระ

อย่าใช้ยาแก้ท้องเสียหรือยาแก้ปวดแบบเสพติด (narcotic pain medications) หากเกิดอาการดังกล่าวเนื่องจากอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น

การใช้ยานี้เป็นเวลานานหรือใช้เป็นรอบซ้ำๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปากหรือการติดเชื้อยีสต์ได้ โปรดติดต่อแพทย์หากคุณสังเกตเห็นรอยสีขาวภายในปาก หรือมีความเปลี่ยนแปลงของสารคัดหลั่งจากช่องคลอด

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรง ได้แก่

  • ผดผื่น
  • คันหรือบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ
  • วิงเวียนขั้นรุนแรง
  • หายใจติดขัด

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยามิโนไซคลีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • ยาเรตินอยด์ (retinoid) แบบรับประทาน เช่น ยาอาซิเทรติน (acitretin) ยาไอโซเตรทติโนอิน (isotretinoin) ยาสตรอนเชียม (strontium)

แม้ยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ห่วงคุมกำเนิด แต่ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ยาไรแฟมพิน (rifampin) ยาไรฟาบูติน (rifabutin) ก็อาจลดประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดเหล่านี้ และส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ หากคุณใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ยานี้อาจส่งผลกระทบต่อผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการบางชนิด เช่น การตรวจระดับของแคทีโคลามีนภายในปัสสาวะ (urine catecholamine levels) และอาจทำให้ผลตรวจเป็นเท็จได้ ฉะนั้น ก่อนเข้ารับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โปรดแจ้งแพทย์และเจ้าหน้าที่ทุกครั้งว่าคุณกำลังใช้ยานี้

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยา มิโนไซคลีน อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยามิโนไซคลีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยามิโนไซคลีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย

  • ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ เริ่มต้นฉีดยาที่ขนาด 200 มก. ตามด้วย 100 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด คือ 400 มก./24 ชั่วโมง

ยาสำหรับรับประทาน

  • การติดเชื้อส่วนใหญ่ เริ่มต้นรับประทานยาที่ขนาด 200 มก. ตามด้วย 100 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • ขนาดยาอีกทางเลือกหนึ่ง (หากต้องให้ยาบ่อยกว่า) เริ่มต้นรับประทานยาที่ขนาด 100-200 มก. ตามด้วย 50 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง
  • การติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ เยื่อบุผิวปากมดลูกด้านใน หรือทวารหนักเนื่องจากเชื้อเชื้อคลาไมเดีย แทรโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) หรือเชื้อยูเรียพลาสมา ยูเรียไลทิคุม (Ureaplasma urealyticum) ให้รับประทานยา 100 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมง เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน

คำแนะนำ

  • หากมีโรคริดสีดวงตา (trachoma) ร่วมด้วย เชื้อโรคนั้นอาจจะไม่สามารถกำจัดได้เสมอไป จากการประเมินด้วยกล้องอิมมูโนฟลูออเรสเซนส์ (immunofluorescence)
  • แนะนำให้ใช้ร่วมกับยาสเตรปโตมัยซิน (streptomycin) เพื่อรักษาโรคบรูเซลโลซิส (brucellosis)
  • สำหรับโรคซิฟิลิส (syphilis) ระยะเวลาการรักษาคือ 10-15 วัน และควรติดต่อเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด (รวมถึงการตรวจในห้องแล็บ)

การใช้งาน

  • โดยทั่วไป ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อ ต่อไปนี้
    • โรคไข้รากสาดใหญ่ (Rocky Mountain spotted fever)
    • ไข้ไทฟัส (typhus fever)
    • โรคไข้คิว (Q fever)
    • ไข้พุพองไรหนู (rickettsialpox)
    • โรคไข้จากเห็บ (tick fevers) เนื่องจากเชื้อกลุ่มริกเก็ตเซีย (rickettsiae)
    • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากเชื้อไมโคพลาสมา นิวโมเนีย (Mycoplasma pneumoniae)
    • โรคฝีมะม่วง (lymphogranuloma venereum)
    • โรคริดสีดวงตา หรือการอักเสบของเยื่อบุตา (inclusion conjunctivitis) เนื่องจากเชื้อคลาไมเดีย แทรโคมาทิส
    • ไข้นกนำ (psittacosis) หรือ (ornithosis) เนื่องจากเชื้อคลามายโดฟิลา ซิทตาซี (Chlamydophila psittaci)
    • โรคหนองในเทียม (nongonococcal urethritis)
    • การติดเชื้อที่เยื่อบุผิวปากมดลูกด้านในหรือทวารหนักเนื่องจากเชื้อยูเรียพลาสมา ยูเรียไลทิคุม หรือคลาไมเดีย แทรโคมาทิส
    • โรคไข้กำเริบเนื่องจากเชื้อบอร์เรเลีย รีเคอร์เรนทิส (Borrelia recurrentis)
    • กาฬโรค (plague) เนื่องจากเชื้อเยอซิเนีย เพสติส (Yersinia pestis)
    • โรคไข้กระต่าย (tularemia) เนื่องจากเชื้อฟรานซิเซลล่า ทูลารีซิส (Francisella tularensis)
    • อหิวาตกโรค (cholera) เนื่องจากเชื้อวิบริโอ คอเรอร์เร (Vibrio cholerae)
    • การติดเชื้อแคมปีโลแบคเตอร์ ฟีตัส (Campylobacter fetus infections)
    • โรคบรูเซลโลซิสเนื่องจากเชื้อพันธ์ุบรูเซลลา (Brucella species)
    • โรคบาร์โทเนลโลสิส (bartonellosis) เนื่องจากเชื้อบาร์โทเนลลา บาซิลิฟอร์มิส (Bartonella bacilliformis)
    • แผลกามโรคเรื้อรังบริเวณขาหนีบ (granuloma inguinale) เนื่องจากเชื้อเคลบเซลลา กรานูโลเมทิส (Klebsiella granulomatis)
  • เพื่อรักษาการติดเชื้อเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย ดังต่อไปนี้ เมื่อผลการทดสอบทางแบคทีเรียวิทยาแสดงให้เห็นถึงการมีปฏิกิริยาไวที่เหมาะสมต่อยานี้
    • เชื้อเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli)
    • เชื้อเอนเทอโรแบคเตอร์ แอโรจีเนส (Enterobacter aerogenes) เชื้อสกุลชิเกลลา (Shigella species)
    • เชื้อสกุลอะซินีโตแบ็คเตอร์ (Acinetobacter species)
    • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและทางเดินปัสสาวะเนื่องจากเชื้อสกุลเคลบเซลลา (Klebsiella species)
    • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนเนื่องจากเชื้อเสตร็ปโทโคคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae)
  • เมื่อห้ามใช้ยาเพนิซิลลิน (penicillin) เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการรักษาเนื่องจากการติดเชื้อ ต่อไปนี้
    • โรคซิฟิลิสเนื่องจากทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema pallidum) สกุลย่อยพัลลิดุม
    • โรคคุดทะราด (yaws) เนื่องจากเชื้อทริปโปนีมา พัลลิดุมสกุลย่อยเพอร์ทีนู (pertenue)
    • โรคลิสเทริโอซิส (listeriosis) เชื้อจากเชื้อลิสทีเรียโมโนไซโตจิเนส (Listeria monocytogenes)
    • โรคแอนแทรกซ์ (anthrax) เนื่องจากเชื้อแบซิลลัส แอนทราซิส (Bacillus anthracis)
    • โรคเหงือกอักเสบเนื้อตายเฉียบพลัน (Vincent’s infection) เนื่องจากเชื้อฟูโซแบคทีเรียม ฟิวซิฟอร์ม (Fusobacterium fusiforme)
    • โรคแอคติโนมัยโคสิส (actinomycosis) เนื่องจากเชื้อแอคติโนมัยซิสอิสราเอลลิ (Actinomyces israelii)
    • การติดเชื้อคลอสทริเดียม (clostridial infections)
  • เป็นการเสริมการรักษาสำหรับ โรคบิดมีตัวในลำไส้เฉียบพลัน (Acute intestinal amebiasis) หรืออาการสิวขั้นรุนแรง
  • ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาสิว

    ยารูปแบบออกฤทธิ์นาน (ระยะเวลาการรักษา 12 สัปดาห์)

    • 45-49 กก. 45 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 50-59 กก. 55 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 60-71 กก. 65 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 72-84 กก. 80 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 85-96 กก. 90 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 97-110 กก. 105 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 111-125 กก. 115 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 126-136 กก. 135 มก. รับประทานวันละครั้ง

    คำแนะนำ

    • ขนาดยาที่และนำ คือ ประมาณ 1 มก./กก. (น้ำหนักตัว) วันละครั้ง
    • ยานี้ไม่แสดงให้เห็นถึงผลใดๆ ต่อรอยสิวที่ไม่มีอาการอักเสบ
    • ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยของการใช้ยานานเกินกว่า 12 สัปดาห์

    การใช้งาน

    • เพื่อรักษาแผลสิวอักเสบที่ไม่เป็นตุ่มระดับปานกลางถึงรุนแรงเท่านั้น

    คำแนะนำจากสมาคมแพทย์ผิวหนังสหรัฐอเมริกา (AAD)

    • ยารูปแบบออกฤทธิ์ทันที 50 มก. ให้รับประทานวันละ 1-3 ครั้ง

    คำแนะนำ

    • แนะนำให้ใช้เป็นการเสริมการรักษาอาการสิวอักเสบระดับปานกลางถึงรุนแรง
    • ไม่ควรใช้ยานี้ในการรักษาด้วยยาเพียงชนิดเดียว
    • ควรใช้ยาในระยะที่สั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และควรทำการประเมินใหม่ทุกๆ 3 ถึง 4 เดือนเพื่อลดการเกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา
    • ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือการใช้ยาในปัจจุบัน

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) จากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal)

    • เริ่มต้นฉีดยาที่ขนาด 200 มก. ตามด้วย 100 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมง
    • ขนาดยาสูงสุด คือ 400 มก./24 ชั่วโมง

    เมื่อห้ามใช้ยาเพนิซิลลิน เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบเนื่องจากเชื้อไนซีเรีย เมนิงไจไทดิส (Neisseria meningitidis)

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น

    • 100 มก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 วัน

    คำแนะนำ

    • ควรทำการศึกษาวินิจฉัยทางห้องแล็บ (Diagnostic laboratory studies) รวมถึงการวิเคราะห์ซีโรไทป์ (serotyping) และการทดสอบความไวของปฏิกิริยา (susceptibility testing) เพื่อหาภาวะพาหะและการรักษาที่เหมาะสม
    • การใช้ยานี้เพื่อป้องกันโรคนั้นใช้ต่อเมื่อมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นเท่านั้น

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออ่อน

    • ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ เริ่มต้นฉีดยาที่ขนาด 200 มก. ตามด้วย 100 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมง
    • ขนาดยาสูงสุด คือ 400 มก./24 ชั่วโมง

    ยาสำหรับรับประทาน

    • การติดเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เริ่มต้นรับประทานยาที่ขนาด 200 มก. ตามด้วย 100 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมง
    • ขนาดยาอีกทางเลือกหนึ่ง (หากต้องให้ยาบ่อยกว่า) เริ่มต้นรับประทานยาที่ขนาด 100-200 มก. ตามด้วย 50 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง
    • การติดเชื้อมัยโคแบคทีเรีย แมรินัม (Mycobacterium marinum) 100 มก. รับประทาน ทุกๆ 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 6 ถึง 8 สัปดาห์

    คำแนะนำ

    • ยานี้ไม่ใช่ตัวเลือกยาสำหรับการรักษาการติดเชื้อสแตปฟิโลคอคคัสทุกประเภท
    • ยังไม่มีการพิสูจน์ขนาดยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการรักษาการติดเชื้อมัยโคแบคทีเรีย แมรินัม ขนาดยาที่แนะนำนั้นมีการใช้อย่างประสบความสำเร็จในกรณีที่จำกัด

    การใช้งาน

    • เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออ่อนเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสผลการทดสอบทางแบคทีเรียวิทยาแสดงให้เห็นถึงการมีปฏิกิริยาไวที่เหมาะสมต่อยานี้ และเพื่อรักษาการติดเชื้อมัยโคแบคทีเรีย แมรินัม

    คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (IDSA)

    • รับประทานยาขนาด 100 มก. วันละ 2 ครั้ง

    คำแนะนำ

    • แนะนำสำหรับการรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออ่อนเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสที่มีปฏิกิริยาต่อยาเมทิซิลลิน (methicillin) และดื้อต่อยาเมทิซิลลิน
    • หลังจากขนาดยาเริ่มต้นที่ 200 มก. ขนาดยาที่แนะนำสำหรับการรักษาอาการเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง (purulent cellulitis) (อาการเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบที่เกี่ยวข้องกับการระบายหรือการหลั่งน้ำหนองโดยไม่มีฝีที่จะหลั่งน้ำหนองออกมาได้) เนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อต่อยาเมทิซิลลิน
    • ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือการใช้ยาในปัจจุบัน

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังและโรคสร้างผิว

    • ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ เริ่มต้นฉีดยาที่ขนาด 200 มก. ตามด้วย 100 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมง
    • ขนาดยาสูงสุด 400 มก./24 ชั่วโมง

    ยาสำหรับรับประทาน

    • การติดเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เริ่มต้นรับประทานยาที่ขนาด 200 มก. ตามด้วย 100 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมง
    • ขนาดยาอีกทางเลือกหนึ่ง (หากต้องให้ยาบ่อยกว่า) เริ่มต้นรับประทานยาที่ขนาด 100 ถึง 200 มก. ตามด้วย 50 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง
    • การติดเชื้อมัยโคแบคทีเรีย แมรินัม (Mycobacterium marinum) 100 มก. รับประทาน ทุกๆ 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 6-8 สัปดาห์

    คำแนะนำ

    • ยานี้ไม่ใช่ตัวเลือกยาสำหรับการรักษาการติดเชื้อสแตปฟิโลคอคคัสทุกประเภท
    • ยังไม่มีการพิสูจน์ขนาดยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการรักษาการติดเชื้อมัยโคแบคทีเรีย แมรินัม ขนาดยาที่แนะนำนั้นมีการใช้อย่างประสบความสำเร็จในกรณีที่จำกัด

    การใช้งาน

    เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออ่อนเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสผลการทดสอบทางแบคทีเรียวิทยาแสดงให้เห็นถึงการมีปฏิกิริยาไวที่เหมาะสมต่อยานี้ และเพื่อรักษาการติดเชื้อมัยโคแบคทีเรีย แมรินัม

    คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

    รับประทานยาขนาด 100 มก. วันละ 2 ครั้ง

    คำแนะนำ

    • แนะนำสำหรับการรักษา การติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออ่อนเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสที่มีปฏิกิริยาต่อยาเมทิซิลลิน และดื้อต่อยาเมทิซิลลิน
    • หลังจากขนาดยาเริ่มต้นที่ 200 มก. ขนาดยาที่แนะนำสำหรับการรักษาอาการเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง (อาการเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบที่เกี่ยวข้องกับการระบายหรือการหลั่งน้ำหนองโดยไม่มีฝีที่จะหลั่งน้ำหนองออกมาได้) เนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อต่อยาเมทิซิลลิน
    • ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือการใช้ยาในปัจจุบัน

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาแผลริมอ่อน (Chancroid)

    • เริ่มต้นรับประทานยาที่ขนาด 200 มก. ตามด้วย 100 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมง
    • ขนาดยาอีกทางเลือกหนึ่ง (หากต้องให้ยาบ่อยกว่า) เริ่มต้นรับประทานยาที่ขนาด 100 ถึง 200 มก. ตามด้วย 50 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง

    การใช้งาน

    • เพื่อรักษาแผลริมอ่อนเนื่องจากเชื้อเชื้อฮีโมไฟลัส ดูเครย์ (H ducreyi)

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหนองในแท้ (Gonococcal Infection) – ไม่ซับซ้อน

    • ภาวะท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis) ในเพศชาย 100 มก. ให้รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 วัน
    • การติดเชื้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ท่อปัสสาวะอักเสบและการติดเชื้อที่บริเวณทวารหนักในเพศชาย เริ่มต้นฉีดยาที่ขนาด 200 มก. ตามด้วย 100 มก. ทุกๆ 12 ชั่วโมง เป็นเวลาอย่างน้อย 4 วัน

    คำแนะนำ

    • สำหรับการรักษาการติดเชื้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ท่อปัสสาวะอักเสบและการติดเชื้อที่บริเวณทวารหนักในเพศชาย ควรทำการเพาะเชื้อหลังการรักษาภายใน 2-3 วัน

    การใช้งาน

    • เมื่อห้ามใช้ยาเพนิซิลลิน ใช้เป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับการติดเชื้อดังต่อไปนี้ ภาวะท่อปัสสาวะอักเสบไม่ซับซ้อนในเพศชายเนื่องจากเชื้อเนอิสซีเรีย โกโนเรีย (N gonorrhoeae) และโรคหนองในอื่นๆ การติดเชื้อเนอิสซีเรีย โกโนเรียในผู้หญิง

    การปรับขนาดยาสำหรับไต

    ยารูปแบบออกฤทธิ์ทันที

    • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) น้อยกว่า 80 มล./นาที อาจต้องปรับขนาดยา แต่ยังไม่มีแนวทางแนะนำโดยเฉพาะ
    • ขนาดยาสูงสุด 200 มก./24 ชั่วโมง

    ยารูปแบบออกฤทธิ์นาน

    • ไตบกพร่อง ควรลดขนาดยาและ/หรือยืดระยะเวลาในการใช้ยาแต่ละครั้ง แต่ยังไม่มีแนวทางแนะนำโดยเฉพาะ

    การปรับขนาดยาสำหรับตับ

    • ตับบกพร่อง ควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง

    คำแนะนำอื่นๆ

    คำแนะนำการใช้ยา

    • ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ หยอดยานานกว่า 60 นาที ควรหลีกเลี่ยงการฉีดยาอย่างรวดเร็ว
    • ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ หากต้องใช้สายยางเดียวกันสำหรับการหยอดให้ยาอื่นๆ ควรล้างสายยางด้วยสารละลายที่เข้ากันได้ก่อนและหลังจากหยอดยานี้
    • ใช้วิธีการฉีดยาต่อเมื่อไม่สามารถให้ยาแบบรับประทานได้เท่านั้น ควรเริ่มให้ยาแบบรับประทานทันทีที่สามารถทำได้
    • ยาสำหรับรับประทาน สามารถรับประทานยาได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงอาหาร
    • ยาสำหรับรับประทาน ให้ยารูปแบบออกฤทธิ์ทันทีพร้อมกับดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อลดความเสี่ยงในการระคายเคืองและทำให้หลอดอาหารเป็นแผล สำหรับยารูปแบบออกฤทธิ์นาน ความเสี่ยงนี้อาจจะลดลงหากรับประทานยาพร้อมกับอาหาร
    • ยาสำหรับรับประทาน กลืนเม็ดยาลงไปทั้งเม็ด อย่างเคี้ยว บด หรือหักแบ่งเม็ดยา
    • เนื่องจากยาเตตราไซคลีนที่หมดอายุอาจจำทำให้เกิดการเป็นพิษต่อไตหรือกลุ่มอาการแฟนโคนี (Fanconi’s syndrome) ควรกำจัดยาที่หมดอายุแล้ว

    การเก็บรักษา

    • ยาสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หากเป็นยาที่ยังไม่ได้คืนรูป ให้เก็บที่อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส (68-77 องศาฟาเรนไฮต์) หลังจากที่เจือจางแล้วอาจเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องได้นานถึง 4 ชั่วโมง หรือเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส (36-46 องศาฟาเรนไฮต์) นานถึง 24 ชั่วโมง
    • ยาสำหรับรับประทาน เก็บไว้ที่ 20-25 องศาเซลเซียส (68-77 องศาฟาเรนไฮต์) เก็บให้พ้นจากแสง ความชื้น และความร้อนที่มากเกินไป

    เทคนิคการคืนรูปและการเตรียมยา

    • ยาสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ควรศึกษาข้อมูลยาจากผู้ผลิต

    ความเข้ากันของยาสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

    • สารละลายที่เข้ากันได้ ได้แก่ นํ้ากลั่นเภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา (USP) โซเดียมคลอไรด์สำหรับฉีดเภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา เดกซ์โทรสสำหรับฉีดเภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา เดกซ์โทรสและโซเดียมคลอไรด์สำหรับฉีดเภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา แลคเตทริงเกอร์ (Lactated Ringers Injection) เภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา
    • สารละลายที่ไม่เข้ากัน ได้แก่ สารละลายอื่นๆ ที่มีแคลเซียม (โดยเฉพาะสารละลายที่เป็นกลางและเป็นด่าง) สารเติมแต่งหรือยาอื่นๆ

    ทั่วไป

    • ยานี้ใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ที่มีปฏิกิริยาไวต่อยาที่กำหนดเท่านั้น
    • ยังไม่มีการประเมินการใช้ยารูปแบบออกฤทธิ์นานสำหรับการรักษาการติดเชื้อ
    • ขนาดยาปกติและความถี่ในการใช้ยานั้นจะแตกต่างจากยาเตตราไซคลีนอื่นๆ หากให้ยามากเกินขนาดยาที่แนะนำอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้มากกว่า
    • หลอดเลือดดำอาจจะอักเสบได้หากฉีดยาเป็นเวลานาน
    • รอยแผลและหนองหรือการผ่าตัดอื่นๆ อาจจะบ่งชี้ว่าจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มเติม

    การเฝ้าระวัง

    • ทั่วไป ตรวจระบบอวัยวะเป็นระยะๆ โดยเฉพาะการตรวจระดับเซรั่มแมกนีเซียมในผู้ป่วยที่มีไตบกพร่องที่ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
    • เลือด ตรวจเม็ดเลือดเป็นระยะ
    • ตับ ตรวจตับเป็นระยะ
    • ไต ตรวจไตเป็นระยะ โดยเฉพาะการตรวจค่าบียูเอ็น (BUN) และค่าครีอะตินีนในผู้ป่วยไตบกพร่อง

    คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

    • อ่านฉลากยาที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลสำหรับผู้ป่วย)
    • ดื่มน้ำให้มาก
    • หลีกเลี่ยงการขาดยาและรักษาจนครบกำหนด
    • มีรายงานพบอาการหน้ามืด วิงเวียน และบ้านหมุน อย่าขับรถหรือใช้เครื่องจักรหากเกิดอาการเหล่านี้
    • หลีกเลี่ยงหรือลดการเผชิญกับแสงแดดตามธรรมชาติหรือสังเคราะห์ ควรป้องกันแสงแดด เช่น สวมเสื้อผ้าป้องกัน ทาครีมกันแดด หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงแสงแดดได้ ควรหยุดใช้ยาเมื่อเริ่มมีสัญญาณของอาการผื่นแดงที่ผิวหนัง
    • โปรดติดต่อแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการอุจจาระเหลวและเป็นเลือด ทั้งในกรณีที่มีหรือไม่มีอาการปวดท้องและเป็นไข้
    • อย่าใช้ยานี้หากยาหมดอายุแล้ว ควรกำจัดยาที่หมดอายุแล้วด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยคุณสามารถสอบถามวิธีกำจัดยาได้จากเภสัชกร

    ขนาดยามิโนไซคลีนสำหรับเด็ก

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย

    อายุมากกว่า 8 ปี

    • ขนาดยาเริ่มต้น คือ  4 มก./กก. รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ตามด้วย 2 มก./กก. รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง
    • ขนาดยาสูงสุด 200 มก./ครั้ง ในตอนเริ่มต้น ตามด้วย 200 มก./วัน

    คำแนะนำ

    • หากมีโรคริดสีดวงตาร่วมด้วย เชื้อโรคนั้นอาจจะไม่สามารถกำจัดได้เสมอไป จากการประเมินด้วยกล้องอิมมูโนฟลูออเรสเซนส์
    • แนะนำให้ใช้ร่วมกับยาสเตรปโตมัยซิน เพื่อรักษาโรคบรูเซลโลซิส
    • สำหรับโรคซิฟิลิส ระยะเวลาการรักษาคือ 10-15 วัน และควรติดต่อเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด (รวมถึงการตรวจในห้องแล็บ)

    การใช้งาน

    • เพื่อรักษาการติดเชื้อ ดังต่อไปนี้
      • โรคไข้รากสาดใหญ่ ไ
      • ไข้ไทฟัส กลุ่มไทฟัส
      • โรคไข้คิว
      • ไข้พุพองไรหนู
      • โรคไข้จากเห็บ เนื่องจากเชื้อกลุ่มริกเก็ตเซีย
      • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเนื่องจากเชื้อไมโคพลาสมา นิวโมเนีย
      • โรคฝีมะม่วง
      • โรคริดสีดวงตาหรือการอักเสบของเยื่อบุตาเนื่องจากเชื้อคลาไมเดีย แทรโคมาทิส
      • ไข้นกนำ (psittacosis) หรือ (ornithosis) เนื่องจากเชื้อคลามายโดฟิลา ซิทตาซี (Chlamydophila psittaci)
      • โรคหนองในเทียม
      • การติดเชื้อที่เยื่อบุผิวปากมดลูกด้านในหรือทวารหนักเนื่องจากเชื้อยูเรียพลาสมา ยูเรียไลทิคุม หรือคลาไมเดีย แทรโคมาทิส
      • โรคไข้กำเริบเนื่องจากเชื้อบอร์เรเลีย รีเคอร์เรนทิส
      • กาฬโรคเนื่องจากเชื้อเยอซิเนีย เพสติส
      • โรคไข้กระต่ายเนื่องจากเชื้อฟรานซิเซลล่า ทูลารีซิส
      • อหิวาตกโรคเนื่องจากเชื้อวิบริโอ คอเรอร์เร
      • การติดเชื้อแคมปีโลแบคเตอร์ ฟีตัส
      • โรคบรูเซลโลซิสเนื่องจากเชื้อพันธ์ุบรูเซลลา
      • โรคบาร์โทเนลโลสิส เนื่องจากเชื้อบาร์โทเนลลา บาซิลิฟอร์มิส
      • แผลกามโรคเรื้อรังบริเวณขาหนีบเนื่องจากเชื้อเคลบเซลลา กรานูโลเมทิส
    • เพื่อรักษาการติดเชื้อเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียดังต่อไปนี้ เมื่อผลการทดสอบทางแบคทีเรียวิทยาแสดงให้เห็นถึงการมีปฏิกิริยาไวที่เหมาะสมต่อยานี้
      • เชื้อเอสเชอริเชีย โคไล
      • เชื้อเอนเทอโรแบคเตอร์ แอโรจีเนส
      • เชื้อสกุลชิเกลลา
      • เชื้อสกุลอะซินีโตแบ็คเตอร์
      • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและทางเดินปัสสาวะเนื่องจากเชื้อสกุลเคลบเซลลา
      • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนเนื่องจากเชื้อเสตร็ปโทโคคัส นิวโมเนีย
    • เมื่อห้ามใช้ยาเพนิซิลลินเพื่อเป็นอีกทางเลือกในการรักษาเนื่องจากการติดเชื้อดังต่อไปนี้
      • โรคซิฟิลิสเนื่องจากทริปโปนีมาพัลลิดุมสกุลย่อยพัลลิดุม
      • โรคคุดทะราดเนื่องจากเชื้อทริปโปนีมาพัลลิดุม สกุลย่อยเพอร์ทีนู
      • โรคลิสเทริโอซิส จากเชื้อลิสทีเรียโมโนไซโตจิเนส
      • โรคแอนแทรกซ์เนื่องจากเชื้อแบซิลลัส แอนทราซิส
      • โรคเหงือกอักเสบเนื้อตายเฉียบพลันเนื่องจากเชื้อฟูโซแบคทีเรียม ฟิวซิฟอร์ม โรคแอคติโนมัยโคสิสเนื่องจากเชื้อแอคติโนมัยซิสอิสราเอลลิ การติดเชื้อคลอสทริเดียม
    • เป็นการเสริมการรักษาสำหรับโรคบิดมีตัวในลำไส้เฉียบพลัน หรืออาการสิวขั้นรุนแรง

    คำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics)

    • รับประทานหรือฉีดยาขนาด 2 มก./กก. (น้ำหนักตัว) เข้าหลอดเลือดดำ วันละ 2 ครั้ง
    • ขนาดยาสูงสุด 200 มก. /วัน

    คำแนะนำ

    • ใช้สำหรับเด็กอายุ 8 ปีขึ้นไปเท่านั้น
    • ใช้สำหรับการติดเชื้อระดับเบา ปานกลาง หรือรุนแรง
    • ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือการใช้ยาในปัจจุบัน

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาสิว

    อายุ 12 ปีขึ้นไป

    ยารูปแบบออกฤทธิ์นาน (ระยะเวลาการรักษา 12 สัปดาห์)

    • 45-49 กก. 45 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 50-59 กก. 55 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 60-71 กก. 65 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 72-84 กก. 80 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 85-96 กก. 90 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 97-110 กก. 105 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 111-125 กก. 115 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 126-136 กก. 135 มก. รับประทานวันละครั้ง

    คำแนะนำ

    • ขนาดยาที่แนะนำ คือ ประมาณ 1 มก./กก. (น้ำหนักตัว) วันละครั้ง
    • ยานี้ไม่แสดงให้เห็นถึงผลใดๆ ต่อรอยสิวที่ไม่มีอาการอักเสบ
    • ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยของการใช้ยานานเกินกว่า 12 สัปดาห์

    การใช้งาน

    • เพื่อรักษาแผลสิวอักเสบที่ไม่เป็นตุ่มระดับปานกลางถึงรุนแรงเท่านั้น

    คำแนะนำจากสมาคมแพทย์ผิวหนังสหรัฐอเมริกา

    ยารูปแบบออกฤทธิ์ทันที

    • เด็กที่อายุมากกว่า 8 ปี รับประทาน 4 มก./กก. (น้ำหนักตัว) ในตอนเริ่มต้น ตามด้วย 2 มก./กก. (น้ำหนักตัว) ทุกๆ 12 ชั่วโมง

    คำแนะนำ

    • แนะนำให้ใช้เป็นการเสริมการรักษาอาการสิวอักเสบระดับปานกลางถึงรุนแรง
    • ไม่ควรใช้ยานี้ในการรักษาด้วยยาเพียงชนิดเดียว
    • ควรใช้ยาในระยะที่สั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ควรทำการประเมินใหม่ทุกๆ 3-4 เดือนเพื่อลดการเกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา
    • ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือการใช้ยาในปัจจุบัน

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออ่อน

    อายุมากกว่า 8 ปี

    • ขนาดยาเริ่มต้น คือ 4 มก./กก. รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ตามด้วย 2 มก./กก. (น้ำหนักตัว) รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมง
    • ขนาดยาสูงสุด คือ 200 มก./ครั้ง ในตอนเริ่มต้น ตามด้วย 200 มก./วัน

    คำแนะนำ

    • ยานี้ไม่ใช่ตัวเลือกยาสำหรับการรักษาการติดเชื้อสแตปฟิโลคอคคัสทุกประเภท

    การใช้งาน

    • เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออ่อนเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสผลการทดสอบทางแบคทีเรียวิทยาแสดงให้เห็นถึงการมีปฏิกิริยาไวที่เหมาะสมต่อยานี้

    คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

    • รับประทาน 4 มก./กก. ในตอนเริ่มต้น ตามด้วย 2 มก./กก. (น้ำหนักตัว) ทุกๆ 12 ชั่วโมง
    • ขนาดยาสูงสุด 200 มก./ครั้ง ในตอนเริ่มต้น ตามด้วย 200 มก./วัน

    คำแนะนำ

    • แนะนำสำหรับการรักษาอาการเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง (อาการเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบที่เกี่ยวข้องกับการระบายหรือการหลั่งน้ำหนองโดยไม่มีฝีที่จะหลั่งน้ำหนองออกมาได้) เนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อต่อยาเมทิซิลลิน
    • ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือการใช้ยาในปัจจุบัน

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังและโรคสร้างผิว

    อายุมากกว่า 8 ปี

    • ขนาดยาเริ่มต้น คือ 4 มก./กก. (นัำหนักตัว) รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ตามด้วย 2 มก./กก. รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุกๆ 12 ชั่วโมงฃ
    • ขนาดยาสูงสุด 200 มก./ครั้ง ในตอนเริ่มต้น ตามด้วย 200 มก./วัน

    คำแนะนำ

    • ยานี้ไม่ใช่ตัวเลือกยาสำหรับการรักษาการติดเชื้อสแตปฟิโลคอคคัสทุกประเภท

    การใช้งาน

    เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออ่อนเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสผลการทดสอบทางแบคทีเรียวิทยาแสดงให้เห็นถึงการมีปฏิกิริยาไวที่เหมาะสมต่อยานี้

    คำแนะนำจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา

    • รับประทาน 4 มก./กก. ในตอนเริ่มต้น ตามด้วย 2 มก./กก. (น้ำหนักตัว) ทุกๆ 12 ชั่วโมง
    • ขนาดยาสูงสุด 200 มก./ครั้ง ในตอนเริ่มต้น ตามด้วย 200 มก./วัน

    คำแนะนำ

    • แนะนำสำหรับการรักษาอาการเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง (อาการเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบที่เกี่ยวข้องกับการระบายหรือการหลั่งน้ำหนองโดยไม่มีฝีที่จะหลั่งน้ำหนองออกมาได้) เนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อต่อยาเมทิซิลลิน
    • ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือการใช้ยาในปัจจุบัน

    ข้อควรระวัง

    • ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 8 ปีเว้นเสียแต่คาดว่าจะได้รับประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง
    • ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยารูปแบบออกฤทธิ์นานกับผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 12 ปี

    รูปแบบของยา

    ขนาดและรูปแบบของยา มีดังนี้

    • ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน
    • ยาแคปซูลสำหรับรับประทาน
    • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
    • ยาเม็ดสำหรับรับประทานแบบออกฤทธิ์นาน
    • ยาผงสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
    • ยาแคปซูลสำหรับรับประทานแบบออกฤทธิ์นาน
    • ชุดยาสำหรับรับประทานและยาเฉพาะที่

    กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา