backup og meta

ซาร์ส เมอร์ส และ โคโรนา ไวรัส 2019 เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ซาร์ส เมอร์ส และ โคโรนา ไวรัส 2019 เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ก่อนที่จะกล่าวถึงเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ ที่กำลังระบาดหนักในเมือง อู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งกำลังถูกพูดถึงและจับตามองของคนทั่วโลกในตอนนี้ เราควรเริ่มต้นกันที่เชื้อโคโรนากันก่อน ไวรัสโคโรนา เป็นไวรัสตระกูลใหญ่ที่สามารถก่อให้เกิดโรค ตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคในระบบทางเดินหายใจขั้นรุนแรง และอาจทำให้เสียชีวิตได้ เชื้อที่ว่านี้สามารถที่จะพบทั้งในสัตว์และคน ทั้งยังเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ อย่าง โรคซาร์ส โรคเมอร์ส และ โคโรนา ไวรัส 2019  สายพันธุ์ล่าสุดที่กำลังระบาดหนักในขณะนี้ด้วย

ซาร์ส เมอร์ส และ โคโรนา ไวรัส 2019 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร 

  • โรคซาร์ส หรือไวรัสซาร์ส หรือ Severe acute respiratory syndrome (SARS)

ถูกค้นพบครั้งแรกทางตอนใต้ของประเทศจีน ในปี ค.ศ. 2002 มีการค้นพบว่าแหล่งกำเนิดของเชื้อไวรัสซาร์สมาจากค้างคาว และเชื้อดังกล่าวสามารถที่จะติดต่อจากคนสู่คนได้ ผ่านการไอ หรือจาม

อาการของโรคซาร์ส มีอาการคล้ายกับการเป็นไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูงถึง 38 องศาหรือสูงกว่านั้น มีอาการหนาวสั่น ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ไอแห้ง หายใจถี่ ในผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ามีอาการท้องร่วงร่วมด้วย

  • วรัสเมอร์ส หรือ Middle East respiratory syndrome (MERS)

ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2012 ในประเทศซาอุดิอาระเบีย และประเทศในแถบตะวันออกกลาง สำหรับไวรัสชนิดนี้พบว่ามีการติดเชื้อผ่านการสัมผัสกับอูฐ การบริโภคนมหรือเนื้อของอูฐที่มีการติดเชื้อ ส่วนการติดต่อจากคนสู่คนของไวรัสเมอร์สนั้น พบว่าสามารถติดต่อได้ผ่านทางการไอหรือจาม แต่การที่จะติดเชื้อไวรัสเมอร์สมาจากผู้อื่นนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากจริง ๆ เช่น พยาบาล แพทย์ หรือสมาชิกในครอบครัว เพราะจำเป็นต้องอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา

อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์ส ได้แก่ มีไข้ ไอ หายใจถี่ ในผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ามีอาการท้องร่วงร่วมด้วย และยังพบอีกว่า ผู้ที่มีอาการทางสุขภาพมาแต่เดิมแล้ว เช่น มีโรคประจำตัว อย่าง โรคปอด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคไต เป็นต้น มีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และเสี่ยงต่อการป่วยในระดับอาการที่รุนแรงมากกว่าปกติ

  • ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ ไวรัสอู่ฮั่น Wuhan coronavirus (2019-nCoV)

ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดอยู่ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ในขณะนี้ แหล่งกำเนิดของเชื้อนั้นยังไม่มีการฟันธงอย่างแน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานว่า อาจมาจากการสัมผัสหรือรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีการติดเชื้อ เช่น ค้างคาว หรืองู และยังพบว่าสามารถที่จะติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านสารคัดหลั่ง น้ำมูก หรือเสมหะ

อาการทั่วไปของผู้ติดเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ คือ มีไข้ มีอาการไอ หายใจลำบากหรือหายใจถี่ โดยจะมีอาการปรากฎตั้งแต่ 2-14 วัน หลังจากที่มีการติดเชื้อ

จะเห็นได้ว่า อาการของการติดเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิดนั้น แทบไม่มีความแตกต่างกัน ต้นกำเนิดของเชื้อไวรัสก็มีที่มาที่คล้ายกัน เชื้อไวรัสก็ยังเป็นเชื้อไวรัสตระกูลเดียวกันอีกด้วย ดังนั้น หากมีข้อสงสัย หรือเป็นกังวลว่าคุณกำลังติดเชื้อไวรัสชนิดใด ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด

วิธีป้องกันตนเองจากโคโรนา ไวรัส 2019

แม้ความแตกต่างของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิด จะมีความแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย แต่ในแง่ของวิธีการป้องกันการติดเชื้อนั้น สามารถที่จะทำได้ในรูปแบบที่เหมือนกันทั้งสามสถานการณ์ ดังนี้

  • สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อผ่านการไอ หรือจาม
  • ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ ครั้งละอย่างน้อย 20 วินาที
  • ใช้เจลอนามัยในการทำความสะอาดมือ เวลาที่ต้องสัมผัสกับสิ่งของในที่สาธารณะ
  • ควรล้างมือทุกครั้งหากมีการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือสัตว์ที่มีการติดเชื้อ
  • ระมัดระวังการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ รวมถึงงดการสัมผัสหรือการแสดงออกที่ใกล้ชิดเช่น การจูบ การรับประทานอาหารร่วมกัน หรือดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส
  • เช็ดและทำความสะอาดของใช้ส่วนตัวที่ต้องใช้เป็นประจำด้วยแอลกอฮอล์
  • งดการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • ปรึกษาแพทย์ทันที หากสังเกตได้ว่าตนมีอาการป่วยที่เข้าข่ายควรเฝ้าระวัง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

2019 Novel Coronavirus, Wuhan, China. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/faq.html. Accessed on January 27, 2020.

Novel coronavirus 2019 (2019 n-CoV). https://www.health.nsw.gov.au/Infectious/factsheets/Pages/novel-coronavirus.aspx. Accessed on January 27, 2020.

MERS vs. SARS: Compare and contrast. https://www.healio.com/infectious-disease/emerging-diseases/news/print/infectious-disease-news/%7B422866a7-0445-49b3-ac14-54b39bebbba6%7D/mers-vs-sars-compare-and-contrast. Accessed on January 27, 2020.

SARS (Severe Acute Respiratory Syndrome). https://www.who.int/ith/diseases/sars/en/. Accessed on January 27, 2020.

Severe acute respiratory syndrome (SARS). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sars/symptoms-causes/syc-20351765. Accessed on January 27, 2020.

Middle East respiratory syndrome coronavirus 

(MERS-CoV). https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/middle-east-respiratory-syndrome-coronavirus-(mers-cov). Accessed on January 27, 2020.

Middle East Respiratory Syndrome (MERS). https://www.cdc.gov/coronavirus/mers/about/symptoms.html. Accessed on January 27, 2020.

How the new coronavirus stacks up against SARS and MERS. https://www.sciencenews.org/article/how-new-wuhan-coronavirus-stacks-up-against-sars-mers. Accessed on January 27, 2020.

How Does Wuhan Coronavirus Compare With MERS, SARS And The Common Cold?. https://www.npr.org/sections/goatsandsoda/2020/01/22/798277557/how-does-wuhan-coronavirus-compare-to-mers-sars-and-the-common-cold. Accessed on January 27, 2020.

Coronavirus. https://www.webmd.com/lung/coronavirus#1. Accessed on January 27, 2020.

2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV), Wuhan, China. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/summary.html. Accessed on January 27, 2020.

What Is SARS?. 2020.https://www.webmd.com/lung/lung-what-is-sars#1.Accessed on January 27, 2020.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

สิ่งที่ควรรู้เมื่อ โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ แพร่ระบาด

เทคนิคท่องเที่ยว ให้ปลอดภัยจาก ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา