backup og meta

ทำความรู้จักกับ วัณโรคแฝง ภัยร้ายที่มักไม่แสดงอาการ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    ทำความรู้จักกับ วัณโรคแฝง ภัยร้ายที่มักไม่แสดงอาการ

    เรียกได้ว่าระยะแรกของอาการวัณโรคแฝงแทบจะไม่ค่อยแสดงออกมาให้คุณได้เห็นอย่างชัดเจนเท่าไหร่นัก แต่ก็ไม่สามารถเพิกเฉยได้ เพราะอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะภายในโดยไม่รู้ตัว วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนไปร่วมรู้จัก วัณโรคแฝง พร้อมวิธีรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนเกิดอาการรุนแรงแก่ร่างกายในวงกว้างมาฝากกัน

    วัณโรคแฝง คืออะไร

    วัณโรคแฝง หรือ วัณโรคระยะแฝง (Latent Tuberculosis Infection) เป็นวัณโรคที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรีย โดยผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมักไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา แต่ไม่ต้องเป็นกังวลใจไปเพราะระบบภูมิคุ้มกันของคุณจะทำหน้าที่เป็นเครื่องขัดขวางอันดับแรกในการป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียทำการแพร่กระจายไปยังบุคคลรอบข้าง

    ที่สำคัญผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35-65 ปี และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หากเป็นวัณโรคแฝงโดยไม่รู้ตัว และมักเพิกเฉยต่อการเข้ารับการตรวจสุขภาพของตนเองอย่างเป็นประจำ เชื้อแบคทีเรียอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานนั้น ก็อาจส่งผลให้ตับคุณเกิดความเสียหาย และเสี่ยงเป็นวัณโรคแบบเต็มตัวที่ก่อให้เกิดปัญหารุนแรงตามมาได้ในภายหลัง

    เทคนิคการวินิจฉัย วัณโรคแฝง

    แพทย์อาจเลือกใช้เทคนิคเป็นการตรวจเลือดมาใช้ในขั้นตอนแรกก่อนรับการรักษา เนื่องจากการตรวจเลือดจะสามารถทำให้แพทย์ทราบได้ว่าคุณเป็นวัณโรค หรือวัณโรคระยะแฝงตัวอยู่ อีกทั้งการทดสอบนี้ยังตรวจเช็กได้อีกด้วยว่าระบบภูมิคุ้มกันของคุณมีปฏิกิริยาอย่างไรกับแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดวัณโรคแฝงตัวนี้

    ในบางกรณีนอกจากการตรวจเลือด คุณอาจได้รับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมด้วยการใช้ CT scan ที่จะช่วยบ่งบอกได้ว่าแบคทีเรียที่คุณได้รับเข้าสู่ปอดของคุณแล้วหรือไม่ โดยจะเผยให้เห็นเป็นจุดสีขาว ๆ อยู่ล้อมรอบของปอด

    วิธีรักษาวัณโรคแฝง

    หากคุณได้รับการทดสอบแล้วพบว่าตนเองนั้นกำลังป่วยเป็นวัณโรคแฝง แพทย์ส่วนใหญ่มักจะแนะนำการรักษาด้วยการให้ยาสเตียรอยด์ เคมีบำบัด เข้ามาช่วยในระยะยาว เพื่อทำการยับยั้งก่อนเชื้อแบคทีเรียจะส่งผลอันตราย นอกจากนี้ยังแพทย์ยังจำเป็นต้องให้ยา ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) ไอโซไนอาซิด (Isoniazid) มาร่วมรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3-6 เดือนด้วยกัน ตามการพัฒนาการวัณโรคในแต่ละบุคคล

    แต่ถึงอย่างไรคุณควรพูดคุยถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับแพทย์ก่อนรับยาร่วมด้วย เพราะไอโซไนอาซิด (Isoniazid) สามารถทำให้เส้นปลายประสาทได้รับความเสียหาย โดยทางแก้ไขปัญหาแพทย์มักแนะนำให้กินวิตามินบี 6 ควบคู่ไปด้วย เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว

    อีกทั้งก่อนการรักษา หรือวินิจฉัยทุกครั้ง คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติภาวะทางสุขภาพเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัว อาการแพ้ยา รวมถึงระบุชนิดยา และอาหารเสริมที่ใช้อยู่ เนื่องจากยาไรแฟมพิซิน (Rifampicin) ที่แพทย์กำหนดให้รับประทานรักษาวัณโรคแฝงนั้น อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือลดประสิทธิภาพการทำงานของยาชนิดอื่น ๆ ลง เช่น ยาคุมกำเนิด เป็นต้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา