สาเหตุของโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา อาการ และการรักษา
โรคปอดอักเสบเสบแบบแกรนูโลมา (Lung Granuloma) เกิดขึ้นได้ต่อเมื่อก้อนเนื้อแกรนูโลมาที่อยู่ภายในปอดเกิดอักเสบ ซึ่งมีสาเหตุจากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น การอักเสบของปอดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และการที่แกรนูโลมาปรากฏเป็นก้อนเนื้อก็เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำปฏิกิริยาการป้องกันกับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา ซึ่งจะพบเจอก้อนเนื้อได้ต่อเมื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดด้วยวิธีเอ็กซเรย์ โดยอาจสังเกตได้จากอาการหายใจสั้น เจ็บหน้าอก และมีไข้ เป็นตัวบ่งชี้ สาเหตุของโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา สาเหตุของ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ได้แก่ 1. โรคซาร์คอยโดซิส (sarcoidosis) เป็นโรคที่เกิดจากกลุ่มเซลล์อักเสบขนาดเล็กที่รวมกันเป็นก้อนเนื้อ หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า แกรนูโลมา (Granulomas) ที่พบบ่อยในปอด และต่อมน้ำเหลือง รวมถึงอวัยวะอื่น ๆ เช่น ดวงตา ผิวหนัง หัวใจ สาเหตุของโรคซาร์คอยโดซิสยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาจเกิดจากภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสิ่งผิดปกติในร่างกายต่อเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา สารเคมี โรคซาร์คอยโดซิสไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในกรณีที่ไม่รุนแรงนี้ก็อาจหายไปได้เอง แต่หากรุนแรง และปล่อยไว้นาน อาจทำให้อวัยวะนั้น ๆ เกิดความเสียหายได้ อย่างไรก็ตามหากมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นจากโรคซาร์คอยโดซิส เช่น ไอแห้ง ปวดตามข้อต่อ ปวดตา แผลตามผิวหนัง และหายใจลำบาก ควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมอทันที เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น 2. วัณโรค (Tuberculosis) วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อว่าไมโครแบคทีเรียม […]