backup og meta

4 พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ที่คุณไม่ควรละเลย

4 พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ที่คุณไม่ควรละเลย

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เป็นหนึ่งในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่อาจทำให้ปอดเสียหายได้ เราลองมาเช็กกันดูดีกว่าค่ะว่า คุณมี พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือไม่ หากมี จะได้รีบได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อย่างทันท่วงที ว่าแต่พฤติกรรมเสี่ยงเกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 4 พฤติกรรมที่ว่าจะมีอะไรบ้าง แล้วคุณจะลดความเสี่ยงโรคนี้ได้อย่างไร Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณแล้วค่ะ

4 พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากระบบทางเดินหายใจและปอดเกิดการระคายเคืองติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ทำให้มีเสลด และเกิดอาการไอเรื้อรังต่อเนื่อง (ไอทุกวัน ติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป) และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก โรคนี้มักพบในผู้ที่มี พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ดังต่อไปนี้

  1. สูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่บ่อย ๆ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุอันดับ 1 ของโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ผู้ที่สูบบุหรี่หรืออยู่ร่วมกับผู้ที่สูบบุหรี่บ่อย ๆ มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 90% โดยส่วนใหญ่มักพบในเพศชายที่มีอายุระหว่าง 44-65 ปี 
  2. มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อย เช่น ไข้หวัด หรือจากภาวะเรื้อรังต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและเด็ก ถือเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังสูง
  3. สูดดมควันหรือสารเคมีเป็นประจำ ผู้ที่สัมผัสกับฝุ่นควัน ละอองฝุ่น สารเคมีต่าง ๆ หรือทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ เช่น รับเหมาก่อสร้าง ซ่อมรถยนต์ ช่างทาสีบ้าน ช่างทำผม มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  4. กรดไหลย้อน ผู้ที่มีอาการเสียดท้อง เจ็บท้องอย่างรุนแรงบ่อย ๆ อาจทำให้คออักเสบ ระคายเคือง และนำไปสู่โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้

วิธีการรักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

สำหรับวิธีการรักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง แพทย์จะเน้นการรักษาแบบประคับประคองอาการ (ชะลออาการของโรค) เช่น การให้ยาปฏิชีวนะ การให้ยาขยายหลอดลมเพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อรอบ ๆ ระบบทางเดินหายใจ การบำบัดด้วยออกซิเจน การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายปอด 

คุณหมอแนะนำ เคล็ดลับง่าย ๆ ในการลดความเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังเกิดจากการสูบบุหรี่ ดังนั้น วิธีลดความเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังที่ดีที่สุดและคุณสามารถทำได้ง่ายที่สุด ก็คือ งดสูบบุหรี่ หรือเลิกบุหรี่ให้ได้ นอกจากนี้ ก็ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ปอดระคายเคืองด้วย เช่น การสูดดมมลพิษต่าง ๆ เช่น ควัน สารเคมี ฝุ่นละออง 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Chronic Bronchitis. https://medlineplus.gov/chronicbronchitis.html. Accessed May 25, 2021

Chronic Bronchitis Overview. https://www.webmd.com/lung/copd/copd-chronic-bronchitis. Accessed May 25, 2021

Bronchitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bronchitis/symptoms-causes/syc-20355566. Accessed May 25, 2021

Chronic Bronchitis: Symptoms, Treatment, and Causes. https://www.medicinenet.com/chronic_bronchitis/article.htm. Accessed May 25, 2021

Chronic Bronchitis.https://www.lung.org/lung-health-diseases/lung-disease-lookup/chronic-bronchitis. Accessed May 25, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/06/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)

การวิ่งมาราธอน กับ โรคหลอดลมอุดกั้น เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 03/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา