backup og meta

ระยะของมะเร็งรังไข่ ที่ผู้หญิงควรพึงระวัง

ระยะของมะเร็งรังไข่ ที่ผู้หญิงควรพึงระวัง

มะเร็งรังไข่ คือ มีเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตในรังไข่ ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปยังบริเวณอวัยวะอื่นได้ โดย ระยะของมะเร็งรังไข่ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ เพื่อบ่งบอกถึงการลุกลาม และความรุนแรงของโรค อีกทั้งยังอาจทำให้การรักษาเป็นไปได้อย่างถูกจุด และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

รังไข่ เป็นอวัยวะเพศสืบพันธุ์อย่างหนึ่งของผู้หญิง โดยมีขนาด 2 ถึง 3 เซนติเมตร อยู่ที่ปีกมดลูกทั้ง 2 ข้าง โดยการตรวจมะเร็งรังไข่ ใช้ระบบ FIGO Staging (International Federation of Gynecology and Obstetrics)

[embed-health-tool-bmi]

ระยะของมะเร็งรังไข่ 

ระยะของมะเร็งรังไข่ จะถูกนำมาใช้เพื่อดูการลุกลาม หรือการแพร่กระจายของมะเร็ง ซึ่งสามารถกำหนดระยะได้ ดังต่อไปนี้ 

ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งอยู่ในรังไข่และยังไม่แพร่กระจายออกนอกรังไข่ เป็นมะเร็งระยะเริ่มต้น โดยแบ่งออกเป็นระยะ 1A 1B และ 1C

  • ระยะ 1A – พบเซลล์มะเร็งในรังไข่เพียงข้างใดข้างหนึ่ง
  • ระยะ 1B – พบเซลล์มะเร็งในรังไข่ทั้ง 2 ข้าง
  • ระยะ 1C 
    • พบเซลล์มะเร็งในรังไข่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง
    • พบเซลล์มะเร็งในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน
    • เนื้อเยื่อรอบก้อนเนื้องอกรังไข่แตกก่อนการผ่าตัด 
    • เนื้อเยื่อรอบก้อนเนื้องอกรังไข่ที่มีเซลล์มะเร็งแตกออกระหว่างการผ่าตัด ซึ่งเซลล์มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังช่องท้องและกระดูกอุ้งเชิงกราน 

ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งแพร่กระจายจากรังไข่ไปยังบริเวณอื่นของกระดูกเชิงกราน แต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง หรืออวัยวะที่ห่างไกล โดยแบ่งออกเป็นระยะ 2A และ 2B

  • ระยะ 2A เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังมดลูก หรือท่อนำไข่
  • ระยะ 2B เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในอุ้งเชิงกราน 

ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังบริเวณต่อมน้ำเหลืองหรือช่องท้อง แต่ยังไม่แพร่กระจายออกไปในอวัยวะที่ห่างไกล โดยแบ่งออกเป็นระยะ 3A  3B และ 3C

  • ระยะ 3A เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง เยื่อบุในช่องท้อง หรือบริเวณกระดูกเชิงกราน แต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะที่ห่างไกล
  • ระยะ 3B เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังเยื่อบุช่องท้อง โดยมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตรหรือเล็กกว่า และเซลล์มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง แต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังด้านในของตับ ม้าม หรืออวัยวะอื่นที่ห่างไกล
  • ระยะ 3C เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังเยื่อบุช่องท้อง โดยมีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร และเซลล์มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง รวมถึงอวัยวะที่ตับ ม้าม

ระยะ 4 เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เป็นมะเร็งระยะลุกลาม โดยแบ่งออกเป็นระยะ 4A และ 4B

  • ระยะ 4A พบเซลล์มะเร็งในของเหลวที่สร้างขึ้นรอบ ๆ ปอด
  • ระยะ 4B เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดออกนอกช่องท้องไปยังอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ปอด กระดูก ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ

การรักษามะเร็งรังไข่

การรักษามะเร็งรังไข่ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง โดยการรักษาอาจมีดังต่อไปนี้ 

  • การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเพื่อนำเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ออก อาจรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง
  • เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาในการลดขนาดหรือฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยเคมีบำบัดอาจให้ยาทางเส้นเลือดหรือผ่านสายเข้าในช่องท้อง รวมถึงการใช้ยาเม็ดเพื่อรับประทาน 

โดยวิธีการรักษาด้วยเคมีบำบัดอาจใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด เพื่อประสิทธิผลในการรักษาที่อาจเพิ่มขึ้น 

การติดตามดูแลหลังการรักษา 

หลังจากรักษามะเร็งรังไข่ ผู้ป่วยควรดูแลตนเองและติดตามผลหลังจากการรักษา ดังนี้ 

  • การพูดคุย หรือปรึกษา หลังจากการรักษา ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกหดหู่ วิตกกังวล การพูดคุยกับเพื่อนหรือครอบครัว รวมถึงการปรึกษากับคุณหมอ อาจช่วยบรรเทาอาการความเครียดได้ 
  • การพักฟื้นหลังจากการผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัดมะเร็งรังไข่เป็นการผ่าตัดใหญ่ ต้องใช้เวลานานในการให้แผลสมาน ซึ่งอาจใช้เวลาถึง 3 เดือน โดยอาจจะต้องหลีกเลี่ยงการขับรถ การยกของหนักการออกกำลังกายหนัก ๆ หรือการยืนนาน เพราะอาจกระทบกระเทือนแผลผ่าตัดได้ 
  • การติดตามผลหลังการรักษา คุณหมออาจนัดหมายเพื่อตรวจสุขภาพและติดตามผลใน 2 ถึง 3 เดือนระยะแรก และตรวจคัดกรองมะเร็งว่ากลับมาเป็นซ้ำหรือไม่ หลังจากนั้นอาจจะประมาณ 1 ปี เพื่อมาตรวจเช็คสุขภาพ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ovarian cancer stages. https://www.cancercenter.com/cancer-types/ovarian-cancer/stages. Accessed September 1, 2021

Ovarian Cancer Stages. https://www.cancer.org/cancer/ovarian-cancer/detection-diagnosis-staging/staging.html. Accessed September 1, 2021

How Is Ovarian Cancer Treated?. https://www.cdc.gov/cancer/ovarian/basic_info/treatment.htm. Accessed September 1, 2021

Living as an Ovarian Cancer Survivor. https://www.cancer.org/cancer/ovarian-cancer/after-treatment/follow-up.html. Accessed September 1, 2021

Living with -Ovarian cancer. https://www.nhs.uk/conditions/ovarian-cancer/living-with/. Accessed September 1, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/06/2024

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย อันตรายกว่าที่คิด

ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ ใช้ชีวิตอย่างไรให้สุขภาพดีและมีความสุข


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 25/06/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา