backup og meta

ifg คือ อะไร มีอาการอย่างไร และควบคุมได้อย่างไรบ้าง

ifg คือ อะไร มีอาการอย่างไร และควบคุมได้อย่างไรบ้าง

IFG (Impaired Fasting Glucose) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารสูงกว่าปกติ คือ มีค่าระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ยังไม่จัดว่าเป็นโรคเบาหวาน เเต่หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานได้

[embed-health-tool-heart-rate]

IFG คือ อะไร

IFG คือ ภาวะที่ร่างกายเริ่มมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเรียกว่าเป็น ภาวะก่อนเบาหวาน โดยสามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เเล้วมีค่าอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก ตับอ่อนเริ่มผลิดอินซูลินไปจัดการกับน้ำตาลได้ลดลง หรือ เซลล์ในร่างกายเริ่มมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเมือตรวจพบว่ามีภาวะ IFG นี้เเล้ว หากได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม มักจะกลับไปควบคุมระดับน้ำตาลในอยู่ในเกณฑ์ปกติได้สำเร็จ (อาจมีบางกลุ่มที่คุณหมอเเนะนำให้เริ่มรับประทานยาลดระดับน้ำตาล เมทฟอร์มินเลย เช่น ผู้ที่มีโรคอ้วนร่วมด้วย) ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานเเล้ว ยังเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอื่น ๆ ในอนาคตด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือ ไขมันพอกตับ 

การวินิจฉัยภาวะ IFG 

การวินิจฉัยภาวะ IFG สามารถทำได้โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบ Fasting Blood Sugar ซึ่งคือการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง โดยเป็นการตรวจเลือดจากหลอดเลือดดำ เเละ ใช้เครื่องวิเคราะห์ที่ผ่านมาตรฐานรับรอง อย่างไรก็ตาม อาจทำการตรวจค่าระดับน้ำตาลเเบบอดอาหารเบื้องต้นได้เองที่บ้าน โดยใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดแบบเจาะปลายนิ้ว ซึ่งตัวเครื่องจะมีหน้าจอบอกค่าระดับน้ำตาล วิธีตรวจระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว มีขั้นตอนเบื้องต้นดังนี้

  1. ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดและเช็ดให้แห้งสนิท
  2. เปิดเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดและนำแถบทดสอบระดับน้ำตาลสอดเข้าเครื่องตรวจ
  3. เช็ดแอลกอฮอล์บริเวณปลายนิ้วมือที่จะเจาะเลือด เพื่อฆ่าเชื้อโรคและลดความเสี่ยงการติดเชื้อ
  4. ใช้ชุดเข็มสำหรับเจาะเลือดปลายนิ้ว เจาะที่ปลายนิ้วมือและบีบปลายนิ้วเบา ๆ ให้เลือดหยดลงบนแถบกระดาษทดสอบ
  5. ทำความสะอาดปลายนิ้วมือด้วยสำลีสะอาดและปิดแผลเพื่อห้ามเลือด
  6. ค่าระดับน้ำตาลในเลือดจะปรากฏขึ้นบนจอ 

นอกจากนี้เเล้ว เเนะนำให้จดบันทึกค่าระดับน้ำตาล รวมทั้งช่วงเวลาการตรวจในแต่ละครั้ง เพื่อเป็นสถิติข้อมูลเพิ่มเติมให้คุณหมอทราบเพิ่มเติม 

โดยสามารถแปลผลค่าระดับน้ำตาล FBS หรือ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ดังนี้

  • ค่าระดับน้ำตาล น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ค่าระดับน้ำตาล อยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จัดอยู่ในเกณฑ์ IFG หรือภาวะก่อนเบาหวาน ซึ่งนับว่ามีความเสี่ยงต่อการรเป็นโรคเบาหวานในอนาคต
  • ค่าระดับน้ำตาลในเลือด สูงตั้งเเต่126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป จัดอยู่ในเกณฑ์วินิจฉัยหนึ่งของโรคเบาหวาน

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย รู้สึกอยากอาหาร เหนื่อยล้าง่าย น้ำหนักลดลงกะทันหัน แผลหายช้า ชามือและเท้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจเเละรักษาที่เหมาะสมทันที

วิธีการดูแลสุขภาพหากมีภาวะ IFG 

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมของผู้ที่มีภาวะ IFG สามารถทำได้เบื้องต้นด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เน้นอาหารประเภทผักและผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ธัญพืชไม่ขัดสี ไขมันดี อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ปลาทู ปลาแซลมอน ไข่ กะหล่ำดอก คะน้า มะเขือเทศ แครอท ฝรั่ง แอปเปิ้ล ส้ม ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ขนมปังโฮลวีท อัลมอนด์ ถั่วลิสง ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง น้ำมันมะกอก และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก รวมถึงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว พาสต้า ของทอด เค้ก โดนัท คุกกี้ มันฝรั่ง น้ำอัดลม สุรา
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเเนะนำการออกกำลังกายความเหนื่อยระดับปานกลาง อย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วัน/สัปดาห์ เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยาน โยคะ รวมถึงเพิ่มการขยับร่างกายในกิจกรรมประจำวัน เช่น การทำงานบ้านและการพาสัตว์เลี้ยงออกไปเดินเล่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน และช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น 
  • ลดความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบเพื่อช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ เล่นเกม ออกกำลังกาย ออกไปพบเจอเพื่อน เพราะความเครียดอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตอินซูลินได้
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่อาจลดประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetes Tests. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/getting-tested.html. Accessed January 31, 2023.

Diagnosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/diagnosis-treatment/drc-20371451. Accessed January 31, 2023.

Impaired Fasting Glycemia.https://www.diabetes.co.uk/impaired-fasting-glycemia.html. Accessed January 31, 2023.

Prediabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/prediabetes/symptoms-causes/syc-20355278. Accessed January 31, 2023.

Impaired Fasting Glucose and Impaired Glucose Tolerance: Implications for care.https://diabetesjournals.org/care/article/30/3/753/25705/Impaired-Fasting-Glucose-and-Impaired-Glucose. Accessed January 31, 2023.

Impaired Fasting Glucose, Blood Pressure and Cardiovascular Disease Mortality. https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/01.hyp.0000032853.95690.26. Accessed January 31, 2023.

High Blood Sugar and Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-hyperglycemia. Accessed January 31, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/01/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

Peripheral Neuropathy คือ อะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับเบาหวาน

อินซูลิน เบาหวาน คืออะไร มีความสัมพันธ์กันอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา