backup og meta

ทารกกับโรคเบาหวาน ข้อควรรู้เพื่อการดูแลลูกอย่างถูกต้อง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

    ทารกกับโรคเบาหวาน ข้อควรรู้เพื่อการดูแลลูกอย่างถูกต้อง

    ทารกกับโรคเบาหวาน เป็นภาวะที่อาจพบในคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมไม่ดีระหว่างตั้งครรภ์ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ช่วงระยะที่ตั้งครรภ์จนถึงก่อนชคลอดลูก นอกจากนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ เช่น เกิดภาวะดีซ่าน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็วหอบ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการที่คุณแม่จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นผลดีกับทั้งตัวคุณแม่เอง และ ลูกน้อยในครรภ์ด้วย

    อาการของ ทารกกับโรคเบาหวาน

    ทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานอาจจะมีขนาดตัวใหญ่กว่าทารกทั่วไป ซึ่งอาจมีน้ำหนักแรกคลอดได้มากถึง 4 กิโลกรัมรวมอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่พบได้อื่น ๆ ดังต่อไปนี้

    • อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ในช่วงแรกคลอด เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ ทารกคุ้นชินกับระดับน้ำตาลที่ค่อนข้างสูงจากคุณแม่ จึงทำให้ร่างกายทารกผลิตฮอร์โมน อินซูลิน (Insulin) ออกมาปริมาณมากเช่นกัน เพื่อพยามรักษาสมดุลระดับน้ำตาลของร่างกายทารกเอง แต่เมื่อทันทีที่คลอดแล้ว ทารกจะไม่ได้รับน้ำตาลจากคุณแม่อีก จึงอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ช่วงแรกคลอด คุณหมอจึงจำเป็นจะต้องทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดของทารกอย่างใกล้ชิดในช่วง 12-24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
    • อาจมีปัญหาของระบบหัวใจและปอดทำให้หายใจเร็วหัวใจเต้นเร็ว ออกซิเจนในเลือดต่ำ โดยอาการดังกล่าวอาจเป็นอาการขของภาวะที่ปอดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ หรือภาวะหัวใจล้มเหลว
    • ทารกดื่มนมน้อย ซึม นอนหลับมาก ไม่ค่อยร้องไห้ หรือร้องเสียงเบา ๆ
    • เกิดภาวะดีซ่านหรือตัวเหลือง ส่งผลให้ผิวหนังเป็นสีเหลือง
    • คลอดก่อนกำหนด
    • เสี่ยงต่อกาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ โรคอ้วนได้ เมื่อเติบโตขึ้น

    สำหรับคุณแม่ที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีนั้น เพิ่มความเสี่ยงของการแท้งหรือทารกเสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอดได้ นอกจากนี้ ถ้าทารกตัวใหญ่ก็จะทำให้คลอดลำบาก ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บในระหว่างคลอดได้ทั้งทารกและตัวคุณแม่เอง นอกจากนี้ในกรณีที่คุณแม่เป็นเบาหวานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์แล้วคุวบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์แรก ๆ  ทารกอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดความพิการของอวัยวะต่าง ๆ ได้ตั้งแต่กำเนิดและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ดังนี้

    ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

    • ภาวะหัวใจล้มเหลว
    • ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด
    • ภาวะลำไส้ตีบตัน
    • ภาวะความผิดปกติของสมองและไขสันหลัง ทำให้มีภาวะสมองพิการ หรือ โพรงน้ำในสมองโตผิดปกติ
    • ภาวะความผิดปกติของไต และ ทางเดินปัสสาวะ เช่น มีไตข้างเดียว
    • ปากแหว่ง/เพดานโหว่
    • ภาวะตัวเหลืองในช่วงแรกคลอด
    • ภาวะปอดไม่เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ หากคลอดก่อนกำหนด
    • มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรงในช่วงแรกคลอด อาจทำให้เกิดอาการชักซึ่งนับว่าเป็นภาวะที่อันตรายมาก 

    การตรวจทารก

    การตรวจทารกในช่วงก่อนคลอด

    • การทำอัลตร้าซาวด์ ในแต่ละระยะของการตั้งครรภ์ เพื่อประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาของทารกว่าเป็นไปตามเกณฑ์ หรือ มีความผิดปกติของอวัยวะหรือไม่ 

    การตรวจทารกหลังคลอด

    • อาจมีการเจาะเลือด เพื่อตรวจระดับน้ำตาลและเกลือแร่ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะค่าระดับน้ำตาลในเลือดช่วงแรกคลอด เพื่อคัดกรอง/ป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ รวมทั้งมีการตรวจระดับบิลิรูบิน ( Bilirubin) ในเลือด เพื่อคัดกรองภาวะตัวเหลือง
    • หากทารกมีอาการเหนือยหรือหายใจเร็วผิดปกติ อาจมีการตรวจระบบทางเดินหายใจเพิ่มเติม
    • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ecchocardiogram) ช่วยให้ทราบว่าทารกมีปัญหาทางด้านหัวใจหรือไม่

    การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

    เมื่อคุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรทำการรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองเป็นประจำสม่ำเสมอ แม้จะไม่มีอาการใด ๆ ก็ตาม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย โดย ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม มีดังนี้

  • ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหาร ไม่ควรเกิน 95 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

    • เมื่อคุณแม่ทำการฝากครรภ์แล้ว คุณหมอจะมีการตรวจคัดกรองภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์เมื่อถึงเกณฑ์อายุครรภ์ที่กำหนด
    • หากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์และเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งยังไม่สามารถควบคุมระดับได้ ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที
    • ในกรณีที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์และยังไม่ได้ฝากครรภ์ ควรปรึกษาผู้ให้บริการทางการแพทย์ เพื่อนัดตรวจหรือฝากครรภ์ในสถานพยาบาลที่สะดวกหรือใกล้บ้านเพื่อการติดตามสุขภาพครรภ์อย่างสม่ำเสมอ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา