โรคเบาหวานชนิดที่ 2

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ติดนิสัยชอบกินหวาน ทั้งชานมไข่มุก น้ำอัดลม ขนมเค้ก หรือแม้แต่สายรักคาร์บทั้งหลาย คุณก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ หากไม่รู้จักการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี เรียนรู้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งข้อมูลพื้นฐาน การดูแลรักษา การป้องกัน และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย อาจเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ซึ่งอาจเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ดวงตา เส้นประสาท หัวใจ และไต ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่  [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย  ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะสามารถเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย รวมถึงในผู้ชายที่อาจมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดนี้ได้มากกว่าผู้หญิงเกือบ 2 เท่า จากวารสารวิชาการของ The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism ระุบุว่า ผู้ชายมีไขมันในช่องท้องมากกว่าผู้หญิง ซึ่งการมีไขมันหน้าท้องอาจทำให้มีความเสี่ยงสูงที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเมตาบอลิกได้ นอกจากการสะสมของไขมันยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกได้ ดังนี้ ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ  แต่สำหรับผู้หญิงอาจมีเพียงการสะสมไขมันใต้ผิวหนังตามจุดเล็ก ๆ เช่น […]

สำรวจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือ DM type 2 คือ อะไร

DM type 2 คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่าภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistance) ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การมีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป เมื่ออินซูลินไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยง่าย หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคไต ภาวะเส้นประสาทเสื่อม จึงควรหมั่นสังเกตอาการและดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน DM type 2 คือ อะไร DM type 2 หรือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีสาเหตุหลักมาจากภาวะดื้ออินซูลิน โดยปกติแล้ว ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ออกฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายนำน้ำตาลไปเผาผลาญเป็นพลังงาน แต่หากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน จะทำให้การตอบสนองต่ออินซูลินของเซลล์ผิดปกติ จึงไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ตับอ่อนจึงต้องพยายามสร้างอินซูลินเพิ่มมากขึ้นเพื่อมาชดเชย เมื่อเวลาผ่านไป […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

6 พฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่พบบ่อย เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป แต่ไม่สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ ซึ่งอินซูลินมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน นำไปสร้างเป็นกล้ามเนื้อและเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เมื่อเซลล์ได้รับน้ำตาลน้อยลง ก็อาจทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ  ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 90%-95% เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้บ่อยในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ออกกำลังกาย และปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากขึ้น โรคเบาหวานอาจส่งผลต่ออวัยวะสำคัญในร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด เส้นประสาท ดวงตา ไต ดังนั้น หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ก็อาจมีแนวโน้มเป็นโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต 6 พฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

อาการเบาหวาน สัญญาณเตือนโรคเบาหวานชนิดที่ 2

อาการเบาหวาน ที่เป็นสัญญาณเตือนว่าเป็นโรคเบาหวาน มักเป็นผลจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ก่อนจะไปพบคุณหมอสามารถตรวจอาการเบื้องต้นว่าเข้าข่ายป่วยเป็นเบาหวานหรือไม่ และรีบเข้าปรึกษาคุณหมอ เพื่อการตรวจรักษาอย่างถูกต้องร่วมกับการดูแลตนเอง อาการเบาหวาน โรคเบาหวาน แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดหลัก ๆ คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus) เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกภูมิคุ้มกันทำลาย ทำให้ขาดอินซูลิน มักพบตั้งแต่เด็กหรือวัยรุ่น แต่อาจพบได้ในผู้ใหญ่บางรายได้เช่นกัน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน เป็นเบาหวานชนิดที่พบบ่อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนร่วมด้วย โดยปกติแล้วผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีอาการแตกต่างกัน แต่มีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิดที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ เหนื่อยง่าย หิวบ่อย ถ่ายปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำมากกว่าปกติ ปากแห้งและคันตามผิวหนัง ตาพร่าหรือมองเห็นภาพไม่ชัด โรคเบาหวานชนิดที่ 1 อาการป่วยมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ และมักวินิจฉัยพบเมื่ออยู่ในระยะอันตรายแล้ว ส่วนโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในช่วงแรกอาจยังไม่แสดงอาการชัดเจนมากนัก หากผู้ป่วยไม่ทันสังเกตก็มักจะไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะทราบว่าป่วยเป็นโรคเบาหวานเมื่อร่างกายเกิดอาการและส่งผลกระทบกับสุขภาพโดยรวม ดังนั้น […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

รับมือเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยโภชนาการที่สมดุล

นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการใช้ยาตามคำแนะนำของคุณหมอแล้ว อีกหนึ่งวิธีสำหรับ รับมือเบาหวานชนิดที่ 2 คือ การให้ความสำคัญในเรื่อง ของอาหาร เนื่องจากอาหารจะส่งผลโดยตรงต่อระดับน้ำตาลในเลือด หากผู้ป่วยเบาหวานเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเส้นประสาทเสียหาย ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคติดเชื้อ โรคไต ซึ่งอาจทำให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตในระยะยาวลดลง [embed-health-tool-bmi] อาหาร สำคัญอย่างไรกับ เบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน หมายถึง ผู้ที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ หรือมีภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ร่างกายจึงไม่สามารถจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญสำหรับการ รับมือเบาหวานชนิดที่ 2 จึงเป็นการระมัดระวังไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงมากจนเกินไป โดยเฉพาะหลังจากการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ ผู้ป่วยควรคำนึงถึง ค่าดัชนีน้ำตาล (GI) ซึ่งเป็นตัวเลขที่สามารถบอกได้ว่า อาหารแต่ละชนิดจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานพุ่งขึ้นสูงเท่าไหร่ หากต้องการควบคุมเบาหวานได้ดี จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เนื่องจากไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นมากจนเกินไปหลังรับประทาน อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทาน ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหาร ดังนี้ โปรตีน ควรเน้นโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ไข่ ที่ปรุงโดยไม่ผ่านการทอด ถั่วต่าง ๆ ธัญพืชเต็มเมล็ด เต้าหู้ นมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมไขมันต่ำ ผัก ควรรับประทานผักเพิ่มขึ้น โดยในแต่ละมื้อแนะนำให้รับประทานผักในสัดส่วนประมาณ ½ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เคล็ดลับการเลือกอาหารฉบับง่ายสำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อการใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

สำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สิ่งสำคัญที่สุด คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและคงที่ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เรื่องการรับประทานอาหารจึงมีส่วนช่วยให้รับมือกับเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ดีขึ้น ซึ่งผู้เป็นเบาหวานจำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องของสารอาหารก่อนเริ่มปรับแผนการรับประทาน โดยเฉพาะสารอาหารสำคัญที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับอย่างเหมาะสมอย่าง คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตชนิดพิเศษ (ไฟเบอร์ซอล ซูโครมอลต์ FOS) โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามินที่จำเป็น คาร์โบไฮเดรต แม้จะเป็นสารอาหารที่คุ้นเคย แต่สำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลิน (ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เผาผลาญคาร์โบไฮเดรต) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ผู้เป็นเบาหวานจึงควรควบคุมการบริโภคคาร์โบไฮเดรต ด้วยวิธีการควบคุม 2 วิธี คือ การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรตและค่าดัชนีน้ำตาล การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรต เป็นการคำนวณที่ไม่ซับซ้อน เพียงนับจากปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่บริโภคในแต่มื้อของแต่ละวัน โดยเฉลี่ยแล้วผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ควรได้รับแคลอรี่ประมาณครึ่งหนึ่งจากคาร์โบไฮเดรต1 ซึ่งหมายความว่าหากอาหารที่บริโภคใน 1 วันมีปริมาณ 1,500 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตที่ได้รับไม่ควรมากกว่า 700-800 กิโลแคลอรี่ ซึ่งจะเท่ากับคาร์โบไฮเดรตประมาณ 175-200 กรัม/วัน (4 กิโลแคลอรี่/คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม) ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่ 2 กับการดูแลเรื่องอาหารให้สมดุล

เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยง่าย หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคไต ภาวะเส้นประสาทเสื่อม [embed-health-tool-heart-rate] ทำความรู้จักโรคเบาหวาน1 โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งแบ่งได้ 2 ชนิดคือ เบาหวานชนิดที่ 1 มีสาเหตุจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินที่ผลิตออกมาได้อย่างมีประสิทธิภา อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นอาการจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานดังนั้น หากเพิ่งเริ่มเป็นหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงนัก อาจจะยังไม่มีอาการเเสดงให้สังเกตุได้ชัดเจน และบางครั้งอาจใช้เวลาหลายปี กว่าจะปรากฏอาการให้เห็น ซึ่งมีดังนี้ กระหายน้ำ และความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น ปัสสาวะบ่อยขึ้น รู้สึกไม่มีแรง เหนื่อยเมื่อยล้า แผลหายช้า  รู้สึกชาหรือมีอาการเสียวแปล๊บ ๆ ซ่า ๆตามปลายมือและเท้า ผิวบริเวณข้อพับ เช่น […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่2 อาการ สาเหตุ การรักษา

เบาหวานชนิดที่2 เกิดจากการที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลิน หรือร่างกายอาจผลิตอินซูลินได้ไม่ดีพอ ซึ่งอินซูลินทำหน้าที่ในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย เมื่อเซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้เซลล์รับน้ำตาลได้น้อยลง จนอาจทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ โดยเบาหวานชนิดที่2 เป็นรูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคเบาหวาน โดยอาจเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี แต่เด็กที่เป็นโรคอ้วนก็อาจเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 ได้เช่นกัน เบาหวานชนิดที่2 คืออะไร เบาหวานชนิดที่2 เกิดจากการที่ร่างกายมีความบกพร่องในการควบคุมและใช้น้ำตาล โดยร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสไปเป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนเลือด ระบบประสาท และภูมิคุ้มกัน ปกติแล้ว อินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากตับอ่อน มีหน้าที่ในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน นำไปสร้างเป็นกล้ามเนื้อและเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย แต่หากเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 ร่างกายจะตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยลง จึงทำให้เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ เบาหวานชนิดที่2 อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่ควบคุมอาการและความรุนแรงของโรคได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงต้องใช้ยารักษาโรคเบาหวาน หรือการรักษาอินซูลินควบคู่ไปด้วย โรคเบาหวานชนิดที่2 อาจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่เด็กที่เป็นโรคอ้วนก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 ได้เช่นกัน  อาการของเบาหวานชนิดที่2 สำหรับอาการของเบาหวานชนิดที่2 อาจได้แก่ รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง มองเห็นภาพซ้อน ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในช่วงตอนกลางคืน กระหายน้ำตลอดเวลา รู้สึกชาที่มือหรือเท้า รู้สึกหิวตลอดเวลา […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

Type 2 diabetes (เบาหวานชนิดที่ 2) อาการ ภาวะแทรกซ้อน การป้องกัน

Type 2 diabetes (เบาหวานชนิดที่ 2) คือ โรคเบาหวานที่มีสาเหตุหลักมาจากภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะที่การตอบสนองต่ออินซูลินของเซลล์ร่างกายบกพร่อง จึงทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลในกระเเสเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น จนนำไปสู่โรคเบาหวานได้ ผู้ที่เสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เเก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี รวมไปถึงผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary lifestyle) ไม่ค่อยออกกำลังกาย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะต่างจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ตับอ่อน ทำให้ผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ เเละมักพบตั้งเเต่วัยเด็กจนถึงช่วงวัยรุ่น ภาวะแทรกซ้อน Type 2 diabetes (เบาหวานชนิดที่ 2) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หากไม่ควบคุมให้ดี อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เส้นเลือดทั่วทั้งร่างกายเสื่อมลง จึงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง  ภาวะเบาหวานขึ้นตา หากคุมเบาหวานได้ไม่ดี นอกจากเส้นเลือดทั่วทั้งร่างกายจะเสื่อมแล้ว ยังทำให้เส้นเลือดที่จอประสาทตาเสียหายได้ด้วย จนทำให้เกิดภาวะเบาหวานขึ้นตา ภาวะจอประสาทตาเสื่อม รวมทั้งโรคต้อหิน เเละโรคต้อกระจก หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจรุนเเรงจนทำให้ตาบอดได้ เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม เมื่อควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ฝังเข็มรักษาเบาหวาน ได้จริงหรือไม่

การ ฝังเข็ม เป็นหนึ่งในการรักษาตามศาสตร์ดั้งเดิมของทางแพทย์แผนจีน อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอ และเข้ารับการฝังเข็มจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเท่านั้น [embed-health-tool-bmi] ฝังเข็มรักษาเบาหวาน ได้จริงหรือไม่ การฝังเข็มอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น การการศึกษาของประเทศจีนในปี พ.ศ. 2561  พบว่า หนูทดลองที่เป็นเบาหวานกลุ่มที่ได้รับการฝังเข็มเป็นระยเวลา 3 สัปดาห์ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง เเละ มีระดับอินซูลินที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2559 วารสารการฝังเข็มทางการแพทย์ ปีพ.ศ. 2559 ได้กล่าวถึง การฝังเข็มรักษาเบาหวานว่า อาจเป็นทางเลือกในการรักษาหนึ่งที่ช่วยเเก้ไขภาวะดื้ออินซูลิน และช่วยกระตุ้นความไวของอินซูลินระยะยาวได้ แต่ทั้งนี้การดูแลตนเองอย่างถูกต้องด้วยการควบคุมน้ำหนัก หมั่นออกกำลังกาย วางแผนรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเหมาะสม จะช่วยเสริมให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงของภาวะเเทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ รูปแบบการฝังเข็มที่แพทย์แผนจีนเลือกใช้ อาจพิจารณาตามความเหมาะสม ดังนี้ การฝังเข็มใช้แรงกระตุ้นจากไฟฟ้า การฝังเข็มแบบสมุนไพร การฝังเข็มตามจุดที่เชื่อมโยง ข้อดีของการฝังเข็มที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรู้ ผู้ป่วยเบาหวานที่ทำการรักษาด้วยเทคนิคฝังเข็มตามศาสตร์แพทย์แผนจีนอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น โดยพบว่าอาจช่วยปกป้องเซลล์ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน ลดภาวะดื้ออินซูลินได้ และมีส่วนช่วยปรับความสมดุลของฮอร์โมนหลายชนิด เช่น เมลาโทนิน (Melatonin) อินซูลิน (Insulin) กลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticold) เอพิเนฟรีน (Epinephrine) ได้อีกด้วย ความเสี่ยงของการฝังเข็มรักษาเบาหวาน ก่อนชจะตัดสินใจรับการฝังเข็มรักษาเบาหวาน ควรศึกษาความเสี่ยงของการฝังเข็มด้วย โดยความเสี่ยงที่พบได้ อาจมีดังนี้ ความเจ็บ อาจมีรอยช้ำตามจุดที่ปักเข็มลงไป เลือดออก เพื่อป้องกันอาการข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนจากการฝังเข็มรักษาเบาหวาน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ควบคุม เบาหวาน ด้วย IF ทำได้อย่างไรบ้าง

ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถบ่งบอกได้ว่า เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ หากวัดได้เกินกว่า 100 มิลลิกรัม นั่นอาจหมายความว่า อาจเป็นโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเกี่ยวข้องโดยตรงกับการรับประทานอาหาร ดังนั้นการรับประทานอาหารบางรูปแบบ เช่น ควบคุม เบาหวาน ด้วยการทำ IF อาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวานได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการก่อนตัดสินใจทำ IF เพราะหากเลือกรูปแบบของการทำ IF ไม่เหมาะสม อาจยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ควบคุม เบาหวาน ด้วย IF มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน อย่างไร ผลการวิจัยระบุไว้ว่าการใช้วิธีคุมเบาหวานด้วย (Intermittent Fasting หรือ IF) อาจทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ยืนยาว และส่งเสริมให้สุขภาพหัวใจมีความแข็งแรงขึ้น เนื่องจาก IF จะช่วยลดน้ำหนักได้ดี ปรับปรุงระดับอินซูลิน ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดเอวันซี (Hemoglobin A1c) ให้คงที่ตามเกณฑ์ จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานได้นั่นเอง จากผลการศึกษา การวิจัย พบว่าผู้ชายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 3 คน ได้รับการดูแลตามที่แพทย์กำหนด เป็นเวลา 10-25 ปี โดยอดอาหารวันเว้นวัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน