backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

โรคเบาหวาน การรักษา ทำได้อย่างไรบ้าง

โรคเบาหวาน การรักษา ทำได้อย่างไรบ้าง
โรคเบาหวาน การรักษา ทำได้อย่างไรบ้าง

โรคเบาหวาน มีวีธีการรักษาหลายรูปแบบ โดยคุณหมอจะพิจารณาอ้างอิงตาม ชนิดของโรคเบาหวาน ภาวะสุขภาพโดยรวม ค่าระดับน้ำตาล เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้กับเเต่ละบุคล เช่น การใช้อินซูลิน การรับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเอง เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอเพื่อควบคุมโรคเบาหวานให้ได้ดี เพราะหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลสูงอย่างเรื้อรังอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงตามมาในระยะยาวได้

[embed-health-tool-bmi]

โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร

สาเหตุของโรคเบาหวานอาจแบ่งตามชนิดของโรค ดังต่อไปนี้

  • โรคเบาหวานชนิดที่ สาเหตุเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างภูมิมาทำลายเซลล์ของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน จึงทำให้ร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินนั้นมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เซลล์นำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปเผาผลาญให้เป็นพลังงาน ดังนั้นเมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ เซลล์จึงไม่สามารถดึงน้ำตาลจากในกระเเสเลือดได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ และเกิดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือเบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน พบได้กว่า 95 % ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด สาเหตุเกิดการที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เเม้จะมี อินซูลินเพียงพอในร่างกาย เเต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปเผาผลาญได้เหมาะสม จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จนนำไปสู่การเกิดเบาหวานชนิดที่ 2
  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากฮอร์โมนจากรกที่หลั่งเพิ่มมากขึ้นตามอายุครรภ์ ชื่อ เอชซีจี (Human Chorionic Gonadotropin หรือ HCG) มีออกฤทธิ์ให้เซลล์ ในร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน จึงทำให้เกิดภาวะเบาหวานในคุณเเม่บางรายได้

สัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน

สัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน มีดังนี้

  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • กระหายน้ำมาก
  • ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะตอนกลางคืน
  • เหนื่อยล้าง่าย
  • มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น หิวบ่อย
  • ตาพร่ามัว
  • เท้าชาหรือเท้าบวม
  • มีแผลเรื้อรังที่ปลายมือ/เท้า แผลหายช้า
  • ผิวและริมฝีปากแห้ง
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงเเล้วค่าสูงกว่า 126-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 200 อย่างต่อเนื่อง เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะเเทรกซ้อนฉุกเฉินจากน้ำตาลสูง เช่น ภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic Ketoacidosis) หรือ ภาวะเลือดข้นจากน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมให้เร็วที่สุด

โรคเบาหวาน การรักษา ทำได้อย่างไร

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยส่วนมากจำเป็นต้องรับประทานยาควบคุมไปตลอด เพื่อให้มีสุขภาพโดยรวมที่แข็งเเรง เเละ มีคุณภาพชีวิตที่ดี

โรคเบาหวาน การรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์

ยารักษาเบาหวาน 

ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน เป็นวิธีการรักษาหลักของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่2 โดยในปัจจุบันมียารักษาเบาหวานอยู่หลายชนิด เช่น เมทฟอร์มิน (Metformin) กลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) กลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones) เเละยังมียาอีกหลายกล่ม ซึ่งออกฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลผ่านกลไลต่างๆที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น ช่วยกระตุ้นการผลิตอินซูลินจากตับอ่อน หรือ ช่วยให้เซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น เพื่อนำน้ำตาลเข้าไปเผาผลาญได้เพิ่มขึ้น หรือออกฤทธิ์กระตุ้นศูนย์ควบคุมความอิ่มในสมอง ช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น รวมไปถึงผ่านกลไกที่ไตให้เพิ่มการขับน้ำตาลส่วนเกินทิ้งทางปัสสาวะ โดยการเลือกใช้ยานี้ คุณหมอจะเลือกพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ที่เป็นเบาหวานเเต่ละราย

ารฉีดอินซูลิน

ยาฉีดอินซูลินใช้เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลินในร่างกาย ซึ่งช่่วยให้ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น โดยคุณหมอจะพิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ทั้งนี้ ชนิด เเละ จำนวนครั้งในการฉีดจึงอาจจะต่างกันออกไปในเเต่ราย

อินซูลินสามารถแบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์เป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว เริ่มออกฤทธิ์ภายในไม่กี่นาที หลังจากฉีด และออกฤทธิ์นาน 3-5 ชั่วโมง ควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 5-15 นาที มักใช้ร่วมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์นาน
  2. อินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้น/ปกติ ออกฤทธิ์เต็มที่หลังฉีดประมาณ 30 นาที และออกฤทธิ์นาน 5-8 ชั่วโมง ควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 30 นาที
  3. อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง ออกฤทธิ์ภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังฉีด และออกฤทธิ์นาน 10-18 ชั่วโมง อาจใช้วันละ 1-2 ครั้ง มักใช้ร่วมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์สั้น
  4. อินซูลินชนิดออกฤทธิ์นาน เริ่มออกฤทธิ์ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังฉีด และออกฤทธิ์ต่อเนื่องยาวนาน 24 ชั่วโมง จึงใช้วันละครั้ง มักใช้ร่วมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็วหรือสั้น

การปลูกถ่ายตับอ่อน

เป็นวิธีการรักษาโรคเบาหวานที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หากผ่าตัดสำเร็จอาจไม่จำเป็นต้องใช้อินซูลินอีก แต่จำเป็นต้องรับประทานยากดภูมิเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายต่อต้านตับอ่อนที่ปลูกถ่ายไปตลอดชีวิต

การผ่าตัดเพื่อลดความอ้วน 

เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่า 35 โดยจะผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล และอาจช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น

โรคเบาหวาน การดุเเลสุขภาพตนเอง

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เน้นการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น มะเขือเทศ พริก กะหล่ำดอก ผักใบเขียว บร็อคโคลี่ อัลมอนด์ ถั่วลิสง เมล็ดฟักทอง ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต แซลมอน ปลาทู ปลาซาร์ดีน เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก และอาจทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น เพิ่มพลังงาน และช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาล ไขมัน และคอเลสเตอรอลเข้าสู่กระแสเลือด
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีเเป้งเเละไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันสูง ขนมหวาน อาหารแปรรูป และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง นอกจากนี้ ยังควรจำกัดปริมาณการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้เหมาะสม เช่น ข้าวขาว ขนมปัง มันฝรั่ง เพราะอาจส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  • ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือ 150 นาที/สัปดาห์ โดยเป็นการออกกำลังกายความเหนื่อยระดับกลาง เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยาน หรือปรึกษาคุณหมอให้ช่วยแนะนำแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพราะนอกจากการออกกำลังกายช่วยทำให้ร่างกายเเข็งเเรงโดยรวมเเล้ว ยังอาจช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน ทำให้สามารถจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้ดียิ่งขึ้นด้วย
  • งดสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่มีสารพิษที่เป็นสารอนุมูลอิสระเข้าทำลายเซลล์ในร่างกาย ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะดื้ออินซูลิน เป็นผลเสียต่อโรคเบาหวาน ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ยากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงของ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เเละโรคปอด อีกด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is Diabetes?. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/diabetes.html.Accessed August 24, 2022.

Diabetes. https://www.nhs.uk/conditions/diabetes/.Accessed August 24, 2022.

Diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/symptoms-causes/syc-20371444.Accessed August 24, 2022.

Diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/diagnosis-treatment/drc-20371451.Accessed August 24, 2022.

Early Signs and Symptoms of Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/guide/understanding-diabetes-symptoms.Accessed August 24, 2022.

Metformin HCL – Uses, Side Effects, and More. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-11285-7061/metformin-oral/metformin-oral/details.Accessed August 24, 2022.

HOW DO SULFONYLUREAS WORK?. HTTPS://WWW.RXLIST.COM/ANTIDIABETICS_SULFONYLUREAS/DRUG-CLASS.HTM.Accessed August 24, 2022.

HOW DO THIAZOLIDINEDIONES WORK?. HTTPS://WWW.RXLIST.COM/ANTIDIABETICS_THIAZOLIDINEDIONES/DRUG-CLASS.HTM.Accessed August 24, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/10/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

avatar

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 12/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา