backup og meta

การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจพบได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วอาจได้รับยาหรือมีพฤติกรรมที่ทำให้ยาลดระดับน้ำตาลหรืออินซูลินที่ใช้ ปริมาณอาหารที่รับประทาน รวมถึงกิจกรรมที่ใช้พลังงานในแต่ละวันไม่สมดุลกัน จนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตามมา ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที อาจทำให้อาการรุนเเรงขึ้นจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ สิ่งสำคัญคือจะต้องได้รับการประเมินอาการอย่างถูกต้องและรวดเร็ว รวมถึงทราบวิธีการรักษาเบื้องต้นที่เหมาะสม เพื่อมิให้อาการทรุดลงจนถึงขั้นอันตราย ดังนั้น หากทราบถึงวิธี การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ก็อาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ดูแลทำความเข้าใจและมีความรู้ในการดูแลตนเอง ป้องกัน รวมถึงแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้อย่างมั่นใจ

[embed-health-tool-heart-rate]

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คืออะไร

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ในผู้ที่เป็นเบาหวาน คือ ภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดยสาเหตุมักเกิดจากได้รับยาเบาหวาน หรืออินซูลินมากจนเกินไป นอกจากนี้อาจมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ม รวมถึงการออกกำลังกายมากกว่าปกติด้วย

หากผู้ป่วยเบาหวานมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น และหากไม่รีบแก้ไขอย่างทันท่วงที อาการอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มไหนบ้าง ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

เมื่อปริมาณยาลดระดับน้ำตาลหรืออินซูลินที่ได้รับ ปริมาณอาหารที่รับประทาน รวมถึงกิจกรรมที่ใช้พลังงานในแต่ละวันไม่สมดุลกันจะก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้  

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจมีดังนี้

  • ใช้อินซูลินหรือยาลดระดับน้ำตาลกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ในปริมาณที่สูง
  • รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรืออดอาหารบางมื้อ
  • ออกกำลังกายมากหักโหม หรือ มีกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากกว่าปกติ
  • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ๆ 
  • เด็กเล็กและผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมาเป็นระยะเวลานาน ๆ (มากกว่า 5-10 ปี)
  • มีโรคร่วม เช่น โรคไต โรคตับ

การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ข้อมูลการปฐมพยาบาลผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถประเมินอาการของตนเอง และแก้ไขอาการเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้อง รวมถึงลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ สำหรับแนวทางในการป้องกันเเละเเก้ไขเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้

  • ทราบถึงสาเหตุและอาการของน้ำตาลในเลือดต่ำเพื่อให้สามารถป้องกัน และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา  แนะนำให้มีการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันทั้งในเรื่องของการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา ให้สมดุลกัน
  • หากมีอาการน้ำตาลต่ำ แต่ยังรู้สึกตัวดี และสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ให้รีบรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมได้ง่าย เช่น น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ 1 แก้ว ลูกอม 2-3 เม็ด น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ เเล้วทำการตรวจระดับน้ำตาลหลังจากนั้น 15 นาที ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดยังคงน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้รับประทานอาหารเช่นเดิมซ้ำ เเล้วตรวจระดับน้ำตาลอีกครั้ง หากยังไม่ดีขึ้นเเนะนำให้ไปพบคุณหมอ
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยที่หมดสติ ไม่แนะนำให้พยามป้อนอาหารหรือเครื่องดื่มใด ๆ เนื่องจากอาจทำให้สำลักเเละอาจเป็นอันตรายมากขึ้นได้ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล หรือเรียกรถพยาบาลทันที โดยคุณหมอจะฉีดสารละลายน้ำตาลกลูโคสเข้มข้นเข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อรีบเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเข้าสู่ระดับปลอดภัย 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

17 Diabetes Mellitus Nursing Care Plans. https://nurseslabs.com/diabetes-mellitus-nursing-care-plans/. Accessed April 30, 2021

Dealing with Hypoglycemia. https://www.healthline.com/health/type-2-diabetes/hypoglycemia-lessening-the-severity. Accessed April 30, 2021

Diabetic hypoglycemia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetic-hypoglycemia/symptoms-causes/syc-20371525. Accessed April 30, 2021

Hypoglycemia (Low Blood suPhysical Activity/Exercise and Diabetes: A Position Statement of the American Diabetes Associationgar). https://www.diabetes.org/healthy-living/medication-treatments/blood-glucose-testing-and-control/hypoglycemia. Accessed April 30, 2021

Diagnosis and Differential Diagnosis of Hypoglycemia. https://www.mayoclinicproceedings.org/article/S0025-6196(12)65712-7/fulltext. Accessed April 30, 2021

Nursing Care Plan for Hypoglycemia. https://www.scribd.com/doc/278943461/Nursing-Care-Plan-for-Hypoglycemia. Accessed April 30, 2021

Hypoglycemia Nursing Management. https://rnspeak.com/hypoglycemia-nursing-management/. Accessed April 30, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/02/2023

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความเสี่ยงสุขภาพที่คุณแม่ป้องกันได้

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่งผลต่อผิวหนัง อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา