backup og meta

รู้หรือไม่ ภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็ง มีอะไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 24/06/2021

    รู้หรือไม่ ภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็ง มีอะไรบ้าง

    ภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็ง เป็นเรื่องร้ายแรงที่ไม่อาจมองข้าม โรคมะเร็ง ไม่เพียงแต่เป็นโรคร้ายที่ทำลายร่างกายของคุณเพียงอย่างเดียว ยังมีภัยแฝงเป็นภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็ง ที่อาจเกิดขึ้นโดยที่คุณไม่รู้ตัว เพื่อให้คุณเข้าใจ โรคมะเร็ง มากขึ้น และรู้ถึงภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็ง Hello คุณหมอ จึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคมะเร็ง ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านบทความนี้ไปพร้อม ๆ กัน

    โรคมะเร็งคืออะไร?

    โรคมะเร็ง เป็นเซลล์บางส่วนของร่างกายเกิดการกลายพันธุ์และเติบโตขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ อีกทั้งยังแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้อีกด้วย

    โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกที่ของร่างกาย ซึ่งโดยปกติแล้ว เซลล์ในร่างกายจะแบ่งเซลล์ เพื่อสร้างเซลล์ใหม่มาแทนที่เซลล์ที่เสื่อมสภาพและตายลง แต่เมื่อกระบวนการเหล่านี้ผิดปกติ จึงทำให้เกิดการเจริญเติบโตและเพิ่มมากขึ้นของเซลล์ที่ผิดปกติ จนก่อตัวจนกลายเป็นเนื้องอก โดยเนื้องอกจะแพร่กระจายไปสู่เซลล์ใกล้เคียง หรืออาจแพร่กระจายผ่านต่อมน้ำเหลือง กระแสเลือดไปสู่อวัยวะส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างเนื้องอกใหม่

    ภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็ง

    โรคมะเร็ง เมื่ออยู่ในระยะเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ปอด สมอง และหยุดการทำงานของอวัยวะเหล่านี้อย่างไม่ถูกต้อง จนอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น โดยภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ อาจเกิดจากมะเร็งระยะแรก ซึ่งเริ่มที่อวัยวะสำคัญ เช่น มะเร็งสมอง หรืออาจจะเป็น โรคมะเร็ง ที่แพร่กระจายจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น มะเร็งเต้านม ที่ลามไปถึงปอด

    โรคมะเร็ง สามารถแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย การควบคุมจึงทำได้ยากขึ้น เนื่องจาก โรคมะเร็ง แต่ละชนิดจะมีการแพร่กระจายที่แตกต่างกันออกไป จึงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกันออกไป  ซึ่งภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็งที่สามารถเกิดขึ้นได้ มีดังนี้

    • การเปลี่ยนแปลงทางเคมีในร่างกาย

    โรคมะเร็ง ทำให้ความสมดุลของสารเคมีในร่างกายของคุณแย่ลง และเพิ่มโอกาสที่จะให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงได้ อาการที่แสดงถึงความไม่สมดุลของสารเคมีในร่างกาย คือ กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก และอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้ง่าย

    • ปัญหาทางสมองและระบบประสาท

    โรคมะเร็ง สามารถกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดความเจ็บปวด ทั้งยังอาจทำให้ระบบการทำงานในร่างกายแย่ลง โรคมะเร็ง ที่เกิดขึ้นในสมองอาจทำให้มีอาการปวดศีรษะและมีอาการหลอดเลือดในสมอง เช่น เกิดอัมพฤกษ์ขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย

    • ระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ

    โดยปกติ ระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าทำลายต่อเซลล์ที่ผิดปกติ แต่เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ มันจะเข้าไปทำลายเซลล์ปกติแทนเซลล์มะเร็ง จึงอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเดินลำบากและชัก

    • มะเร็งแพร่กระจาย

    เมื่อ โรคมะเร็ง อยู่ในขั้นลุกลาม มันสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้ ซึ่งการแพร่กระจายนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง

    • การกลับมาเป็นซ้ำ

    ผู้ที่ได้รับการรักษาโรคมะเร็งมีโอกาสกลับมมาเป็นซ้ำได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็น โรคมะเร็ง ซ้ำอีก คุณควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนการป้องกันมะเร็ง และตรวจร่างกายของคุณอยู่เสมอ เพื่อรู้ทัน โรคมะเร็ง ที่อาจกลับมา

    • ภาวะทุพโภชนาการ

    เป็นภาวะที่เกิดขึ้นใน โรคมะเร็ง ระยะลุกลามและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต เนื่องจาก เนื้องอกเกิดการอุดตันในระบบย่อยอาหารหรือเข้าไปรบกวนการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น

    สำหรับเนื้องอกในปอดนั้น มันสามารถเข้าไปปิดกั้นบางส่วนของปอด ส่งผลทำให้ปอดติดเชื้อ หายใจลำบาก ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

    • ตับเสียหาย

    ตับมีหน้าที่กรองสารพิษในร่างกาย อีกทั้งผลิตน้ำดีเพื่อช่วยในการย่อย แต่เมื่อคุณเป็นเนื้องอกในตับ มันจะส่งผลให้การทำงานของตับแย่ลง มีอาการตาและผิวหนังเหลือง ท้องบวม ท้องอืด ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร คลื่นไส้ น้ำหนักลดลง

    • แคลเซียมมากเกินไป

    โรคมะเร็ง ในกระดูก อาจทำให้แคลเซียมในเลือดสูง จนทำให้ในกระแสเลือดมีแคลเซียมที่มากจนเกินไป ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมอง หัวใจ ไต และกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ อาจเกิดอาการทางระบบประสาท เช่น ความจำเสื่อม โรคซึมเศร้า

    • เลือดและหลอดเลือดมีปัญหา

    โรคมะเร็ง ที่เข้าสู่หลอดเลือด อาจส่งผลทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ และอาจเข้าไปรบกวนการทำงานของไขกระดูก ซึ่งมีผลต่อการผลิตเม็ดเลือด เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดขาว เป็นต้น

    ภาววะแทรกซ้อนจากมะเร็งเหล่านี้ อาจส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อร้ายแรงตามมาได้ เมื่อร่างกายของคุณขาดเซลล์เม็ดเลือดขาว ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายของคุณก็ไม่สามารถป้องกันหรือทำลายเชื้อโรคได้อย่างเต็มที่ และเนื้องอกที่เกิดขึ้นในอวัยวะต่าง ๆ อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น เนื้องอกในปอด อาจทำให้เกิดโรคปอดบวมได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคมะเร็ง การตรวจสุขภาพเป็นประจำ และการปรึกษาแพทย์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 24/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา