การคลอด

ลูกน้อยของคุณกำลังจะลื่มตาดูโลกแล้ว เพราะฉะนั้น การเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การคลอด จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อเหล่าคุณแม่มือใหม่จะได้คลอดเจ้าตัวน้อยอย่างราบรื่นและปลอดภัย

เรื่องเด่นประจำหมวด

การคลอด

อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง เป็นอย่างไร ควรบรรเทาอาการอย่างไร

คุณแม่ตั้งครรภ์ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป อาจเริ่มมี อาการใกล้คลอด เช่น ปวดหน่วง หายใจลำบาก บางคนอาจเริ่มรู้สึกเจ็บท้องอย่างมากเนื่องจากมดลูกมีการหดตัวเป็นช่วง ๆ เพื่อเตรียมสำหรับการคลอด ดังนั้น คุณแม่จึงควรศึกษาว่า อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง เป็นอย่างไร เพื่อเตรียมความพร้อมในการไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-due-date] อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง คืออะไร อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง คือ สัญญาณเตือนหลักที่ช่วยทำให้คุณแม่ทราบว่าใกล้ถึงช่วงเวลาคลอดบุตร โดยอาการใกล้คลอดที่ทำให้ปวดหน่วงมีสาเหตุมาจากการที่มดลูกขยายกว้างและหดตัวเป็นช่วง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดบุตร ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นช่วงที่ทารกจะเริ่มกลับหัวและเคลื่อนตัวไปอยู่ในบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยคุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าหน้าท้องตึงกว่าปกติ ร่วมกับอาการมดลูกขยายและหดตัวในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 30-45 วินาทีต่อครั้ง ส่งผลให้รู้สึกเจ็บท้องเล็กน้อยคล้ายกับอาการปวดประจำเดือน และอาจมีสารคัดหลั่งสีชมพูใสหรือมีเลือดไหลออกมาเล็กน้อย ระยะที่ 2 เป็นระยะที่จำเป็นต้องเข้ารับการประเมินกับคุณหมอว่าใกล้ถึงเวลาคลอดหรือไม่ และอาจจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อเตรียมคลอด โดยในระยะนี้มดลูกจะเริ่มขยายและหดตัวถี่มากขึ้นและยาวนานขึ้น ประมาณ 30 วินาที ไปจนถึง 1 หรือ 2 นาทีต่อครั้ง โดยในระหว่างการรอให้ปากมดลูกขยายกว้างกว่า 8 […]

สำรวจ การคลอด

การคลอด

Precipitate labor คือ อะไร ควรรับมืออย่างไร

Precipitate labor คือ ภาวะคลอดเฉียบพลัน ซึ่งหมายถึงการคลอดที่เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ นับตั้งแต่การเจ็บครรภ์และคลอดทารกรวมเสร็จสิ้นภายใน 3 ชั่วโมง เป็นภาวะทางการแพทย์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อแม่และลูก แต่โดยปกติแล้วพบได้ค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรศึกษาหาข้อมูลเพื่อรับมือกับภาวะดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] Precipitate labor คืออะไร ถึงแม้ว่าผู้หญิงหลายคนผ่านประสบการณ์การคลอดลูกที่ต่างกัน แต่ขั้นตอนทั่วไปของการคลอด มีอยู่ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มต้น และปากมดลูกเปิด ระยะคลอด ระยะตัดสายรก สำหรับ Precipitate labor คือ ภาวะคลอดเฉียบพลัน โดยเป็นการคลอดทารกที่ใช้เวลาน้อยกว่าปกติ โดยระยะเวลาของการคลอดทั่วไป ตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จนถึงคลอดทารกใช้เวลาเฉลี่ย 6-18 ชั่วโมง ภาวะคลอดเฉียบพลัน หรืออาจเรียกว่า ภาวะคลอดเร็ว หมายถึงการคลอดที่ใช้เวลาสั้นเพียง 3-5 ชั่วโมง กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะคลอดเฉียบพลัน  Precipitate labor คือการคลอดเฉียบพลัน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ มดลูกมีอาการหดตัวอย่างรุนแรง ช่องคลอดหย่อนยานมาก มีประสบการณ์การคลอดลูกเฉียบพลันมาก่อน ทารกในครรภ์ตัวเล็กกว่าปกติ สัญญาณและอาการของภาวะคลอดเฉียบพลัน การคลอดเฉียบพลัน มักเริ่มขึ้นด้วยการหดเกร็งอย่างรุนแรง ในเวลาที่กระชั้น ในระหว่างการเจ็บท้องแต่ละครั้ง จะรู้สึกว่าการหดเกร็งกินระยะเวลานาน มักจะรู้สึกถึงแรงกด และความรู้สึกต้องการเบ่งเพื่อขับถ่าย  แต่ทั้งนี้ ในหลายกรณี ความรู้สึกอยากเบ่งไม่ได้มาพร้อมกับการหดเกร็ง  […]


การคลอด

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการ ผ่าคลอดซ้ำ

ผู้หญิงบางรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ หรือมีความกลัวต่อการคลอดบุตรตามธรรมชาติ อาจเลือกวิธีคลอดบุตรโดยการผ่าคลอด อย่างไรก็ตาม การผ่าคลอดอาจมีความเสี่ยงมากกว่าการคลอดตามธรรมชาติ ยิ่งโดยเฉพาะหากผ่าคลอดซ้ำ ในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป โดยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าคลอดซ้ำ อาจมีทั้งการเกิดรอยแผลเป็น การบาดเจ็บที่กระเพาะปัสสาวะและลำไส้ การตกเลือด ปัญหาเกี่ยวกับรก ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงของการผ่าคลอดซ้ำ และปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาทางป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-due-date] ผลการศึกษาบอกอะไรเกี่ยวกับการ ผ่าคลอดซ้ำ การศึกษาในออสเตรเลียในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 2,345 ราย ซึ่งมีประสบการณ์การคลอดบุตรโดยการผ่าคลอดหนึ่งครั้ง และจัดเป็นกลุ่มที่มีโอกาสจะใช้การคลอดบุตรตามธรรมชาติ หลังจากที่เคยผ่าคลอดมาก่อน โดยผู้หญิง 1,108 ราย มีกำหนดคลอดโดยการผ่าคลอด ในขณะที่ผู้หญิงที่เหลืออีก 1,237 ราย เลือกการคลอดบุตรตามธรรมชาติ หลังจากที่เคยผ่าคลอดมาก่อน อย่างไรก็ดี ผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้หญิงทั้งหมด ที่ใช้การคลอดตามธรรมชาติ ขณะที่ผู้หญิงจำนวนที่เหลือใช้ทางเลือกในการผ่าคลอด อย่างเป็นที่น่าสังเกต ได้มีทารกเสียชีวิตในครรภ์ (stillbirth) โดยไม่ทราบสาเหตุจำนวนสองราย ในกลุ่มที่คลอดตามธรรมชาติ ในขณะที่ไม่มีทารกเสียชีวิตในการคลอดด้วยการผ่าคลอด อัตราการเสียชีวิตของทารก หรือภาวะเกี่ยวกับสุขภาพที่ร้ายแรงก่อนออกจากโรงพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 2.4 ในกลุ่มที่ใช้การคลอดบุตรตามธรรมชาติหลังจากที่เคยผ่าคลอดมาก่อน ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 0.9 ในกลุ่มที่ใช้การผ่าคลอดอย่างเดียว โดยสรุปแล้ว นักวิจัยเชื่อว่าการใช้การผ่าคลอดซ้ำเป็นทางเลือกในการคลอด มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงอย่างมาก ทั้งสำหรับมารดาและบุตร ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นของการ ผ่าคลอดซ้ำ การผ่าคลอดซ้ำอาจมีความเสี่ยง ดังนี้ เนื้อเยื่อมดลูกและบริเวณใกล้เคียงมีรอยแผลเป็น หลังจากการผ่าคลอดในแต่ละครั้ง จะมีแถบเนื้อเยื่อพังผืดคล้ายแผลเป็นก่อตัวขึ้น รอยแผลเป็นที่หนาส่งผลให้การคลอดเป็นไปได้ยาก […]


การคลอด

คลอดลูกง่าย เป็นไปได้จริงหรือ มีเคล็ดลับอะไรที่คุณแม่ควรรู้

คลอดลูกง่าย หมายถึง การคลอดบุตรตามธรรมชาติด้วยการเบ่งออกด้วยตนเองโดยไม่ต้องใช้เวลานานมากนัก และเจ็บปวดน้อยที่สุด โดยไม่อาศัยการผ่าตัด หญิงตั้งครรภ์จำนวนไม่น้อยกลัวการคลอดลูกวิธีนี้เพราะคิดว่าจะสร้างความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส อย่างไรก็ตาม การที่จะคลอดง่ายนั้นมีเคล็ดลับที่อาจช่วยบรรเทาความเจ็บปวดหรือทำให้คลอดง่ายขึ้นซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทำตามได้และเตรียมตัวก่อนคลอดได้ เคล็ดลับการคลอดง่าย หากต้องการคลอดลูกง่าย อาจเตรียมตัวระหว่างการตั้งครรภ์ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ จัดท่าทางให้พร้อมคลอด ในช่วงสัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์ อาจช่วยจัดท่าลูกน้อยให้พร้อมคลอด ด้วยการนั่งย่อเข่าบนพื้นแล้วใช้แขนโอบลูกบอลออกกำลังกาย (หรือเก้าอี้) เอาไว้ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกน้อยในครรภ์อยู่ในท่าที่ถูกต้องก่อนคลอดได้ นอกจากนี้ ควรออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งก็จะช่วยให้คลอดง่ายขึ้นด้วย ฝึกความแข็งแรง  ว่าที่คุณแม่ที่มีความฟิตและสุขภาพดีนั้นมักจะคลอดได้อย่างราบรื่นกว่าคุณแม่ที่นั่ง ๆ นอน ๆ ตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ ดังนั้น คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และต้องการคลอดลูกง่าย ๆ ควรออกไปเดินในระยะทางสั้น ๆ ทุกวัน (ในระดับที่ไม่ทำให้รู้สึกเหนื่อยหอบ) หรือลองสมัครเข้าเรียนโยคะสำหรับผู้หญิงตั้งท้อง หรือคลาสเตรียมคลอดก็ได้ นวดบริเวณฝีเย็บ ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป ควรเริ่มต้นนวดเบา ๆ บริเวณระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก ที่เรียกกันว่า ‘ฝีเย็บ‘ โดยใช้น้ำมันจมูกข้าวหรือน้ำมันอัลมอนด์ เพื่อช่วยป้องกันอาการฉีกขาดบริเวณปากช่องคลอด ทำตัวกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ ระหว่างเตรียมตัวคลอดอาจพยายามเดินไปมา อาจช่วยให้การใช้ปริมาณยาแก้ปวดลดน้อยลง และมีแนวโน้มจะทำให้ช่วงเวลาเบ่งคลอดสั้นลงได้ เติมพลังงานกล้ามเนื้อให้แข็งแง การคลอดธรรมชาติต้องใช้พลังงานเป็นอย่างมากในช่วงเบ่งคลอด ระหว่างการตั้งครรภ์ จำเป็นต้องสร้างความแข็งแรงขึ้นมา และเติมพลังให้กับกล้ามเนื้อด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วน การดื่มน้ำมาก ๆ ก็มีส่วนช่วยให้คลอดลูกง่ายขึ้นด้วย ใช้การสะกดจิตบำบัด ระหว่างการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสสุดท้าย อาจเข้าคลาสสะกดจิตบำบัด เนื่องจากมีการสอนให้รู้จักผ่อนคลาย กำหนดจังหวะหายใจ และนึกภาพที่กำลังจะเกิดขึ้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน