backup og meta

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 32 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 32 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 32 เป็นช่วงที่ทารกมีการพัฒนาเกือบจะสมบูรณ์แล้ว และหากคลอดก่อนกำหนดก็อาจมีโอกาสรอดชีวิตสูง ช่วงนี้คุณแม่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวเนื่องจากขนาดตัวของทารกในครรภ์ที่กดทับบริเวณกระบังลม ทำให้หายใจลำบาก อีกทั้งยังอาจทำให้มีอาการปวดหลัง นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายร่วมด้วย นอกจากนี้ คุณแม่บางคนอาจเริ่มมีอาการเจ็บท้องเตือนเป็นพัก ๆ หากสังเกตว่ามีอาการเจ็บท้องนานผิดปกติ หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรเข้าพบคุณหมอในทันที

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 32

ลูกจะเติบโตอย่างไร

ตอนนี้ลูกน้อยของคุณแม่มีขนาดเท่ากับมันแกวหัวใหญ่ ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 1.7 กิโลกรัม และสูงประมาณ 42.5 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงส้นเท้า ถ้าลูกน้อยของคุณแม่คลอดออกมาในช่วงเวลานี้ ก็มีโอกาสจะรอดชีวิตเมื่ออยู่นอกครรภ์มารดา

ตอนนี้ร่างกายของทารกน้อยเหลือแค่การแต่งเติมขั้นสุดท้ายเท่านั้นเอง ซึ่งขนตา ขนคิ้ว และเส้นผม จะงอกขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน เส้นขนที่เคยขึ้นปกคลุมร่างกายในช่วงต้นเดือนที่ 6 ก็จะเริ่มหลุดร่วงออกไปแล้ว ถึงแม้จะมีเส้นขนบางส่วนตกค้างอยู่ในบริเวณไหล่และหลังในตอนที่คลอดออกมา

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต

ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกกับคุณแม่และการเติบโตของทารกในครรภ์ เลือดในร่างกายคุณแม่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น 40-50 เปอร์เซ็นต์ นับตั้งแต่ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อมดลูกถูกดันไปอยู่ใกล้ ๆ กับกระบังลม และเบียดอยู่กับกระเพาะอาหาร ก็จะส่งผลให้คุณแม่หายใจไม่สะดวก และมีอาการแสบร้อนกลางอกได้ วิธีที่จะช่วยให้คุณแม่มีการดีขึ้นก็คือ พยายามนอนโดยใช้หมอนหนุนให้สูงขึ้น และแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมือเล็ก ๆ และกินให้บ่อยขึ้น

ถ้าอาการปวดหลังช่วงล่างไม่ใช่เป็นเพราะการคลอดก่อนกำหนด ก็อาจสันนิษฐานได้ว่ามดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน นอกจากนี้ มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจะทำให้จุดศูนย์ถ่วงเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้กล้ามเนื้อที่อ่อนแอ และบริเวณหน้าท้องเกิดการยืดออก รวมทั้งการเปลี่ยนท่าทาง ก็อาจทำให้คุณแม่รู้สึกปวดหลังขึ้นมาได้

การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ จะทำให้ข้อต่อและเอ็นที่ยึดกระดูกเชิงกรานเข้ากับกระดูกสันหลังหลวม ซึ่งนั่นอาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่มั่นคง และอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดเวลาเดิน ยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ ตอนลุกขึ้นจากเก้าอี้เตี้ย ๆ หรืออ่างอาบน้ำ หรือเวลาก้มหยิบของ

ควรระมัดระวังอะไรบ้าง

ความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดอาจเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ซึ่งสัญญาณและอาการที่บ่งบอกว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนดก็ได้แก่

  • อาการบีบรัดของมดลูกอาจจะไม่รู้สึกเจ็บ แต่จะรู้สึกตึง ๆ บริเวณท้อง
  • อาการบีบรัดของมดลูก ร่วมทั้งมีอาการปวดหลังหรือความรู้สึกหน่วง ๆ บริเวณเชิงกรานหรือต้นขาร่วมด้วย
  • การตกขาวเกิดการเปลี่ยนแปลง คือมีเลือดไหล มีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอด หรือหรือมีเลือดปนออกมาด้วย

ถ้ามีอาการบีดรัดตัวมากกว่าหกครั้งในหนึ่งชั่วโมง และการบีบรัดตัวแต่ละครั้งนาน 45 วินาทีขึ้นไป ก็รีบติดต่อคุณแม่หมอ หรือเดินทางไปโรงพยาบาลเป็นการด่วน ถึงแม้การบีบรัดตัวนั้นจะไม่ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บก็ตาม และนับเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าคุณแม่มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือมีอาการปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน

การพบคุณหมอ

ควรสอบถามคุณแม่หมอ เพื่อน ๆ เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน หรือคนรู้จักที่เคยมีลูกมาก่อน เพื่อค้นหาสูตินารีคุณหมอที่ไว้ใจได้ การคลอดบุตรนับเป็นเรื่องสำคัญของคนที่กำลังจะเป็นพ่อแม่ ฉะนั้น จึงควรตัดสินใจให้ดี นอกจากนี้ก็ควรให้ความสนใจกับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วย อย่างเช่น อาการหายใจไม่ออก เพราะบางครั้งนั่นก็เป็นอาการที่บ่งบอกว่ามีธาตุเหล็กในระดับต่ำ คุณแม่จึงควรไปพบคุณแม่หมอเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจ

การทดสอบใดที่ควรรู้

หลังจากสัปดาห์ที่ 32 คุณแม่หมออาจจะขอให้คุณแม่ทำการตรวจสอบร่างกายสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อดูความคืบหน้าและลูกน้อยในครรภ์ด้วย คุณแม่หมออาจขอให้ทำการตรวจสอบหลายอย่าง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณแม่ และขึ้นอยู่กับคุณแม่หมอด้วย การตรวจสอบเหล่านั้นก็ได้แก่

  • ชั่งน้ำหนักและวัดความดันโลหิต
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อหาค่าน้ำตาลและโปรตีน
  • วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
  • วัดขนาดมดลูกโดยการคลำจากภายนอก เพื่อดูว่าใกล้ถึงกำหนดคลอดหรือยัง
  • วัดความสูงของยอดมดลูก
  • ตรวจหาเส้นเลือดขอดที่ขา รวมทั้งอาการบวมที่มือและเท้า
  • ตรวจหาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีภาวะโลหิตจางหรือไม่
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ
  • อาการต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับคุณแม่ โดยเฉพาะอาการที่ผิดปกติ
  • จัดเตรียมรายการข้อสงสัยและปัญหาที่คุณแม่อยากซักถามคุณแม่หมอไปให้พร้อม

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัย

ถ้าคุณแม่อยากเล่นโยคะในช่วงตั้งครรภ์ ก็ควรจะต้องทำอย่างระมัดระวัง การเล่นโยคะช่วยให้คุณแม่เรียนรู้การผ่อนคลายและการหายใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากในเวลาที่ต้องเบ่งคลอด มากไปกว่นั้น โยคะช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณแม่ได้พบปะกับคุณแม่แม่ที่ตั้งครรภ์คนอื่น ๆ ซึ่งสามารถจะช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้

ถ้าคุณแม่ติดเชื้อราที่เล็บเท้า ก็ควรจะใช้ยาทาแก้เชื้อราอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าต้องใช้ยาในช่วงการตั้งครรภ์ ควรปรึกษาคุณหมอ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How big is my baby? Week-by-week fruit and veggie comparisons. https://www.babycenter.com/slideshow-baby-size. Accessed March 30, 2015

Pregnancy calendar week 32. https://kidshealth.org/en/parents/week32.html. Accessed March 30, 2015
Your pregnancy: 32 weeks. https://www.babycenter.com/32-weeks-pregnant. Accessed March 30, 2015

Week 32 of Pregnancy. https://pregnantchicken.com/pregnancy-calendar-week-32/. Accessed May 14, 2020

Week-by-week guide to pregnancy. https://www.nhs.uk/start4life/pregnancy/week-by-week/1st-trimester/week-6/. Accessed 28, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/08/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

หลังผ่าคลอด มีอะไรกับแฟน ได้ตอนไหน และเมื่อไหร่ถึงจะตั้งครรภ์ได้

หลังคลอด ร่างกายคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 29/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา