วิธีการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ 2 ข้าง
การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ 2 ข้าง อาจแบ่งเป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ป่วยและการพิจารณาของคุณหมอ ดังนี้
- การผ่าตัดรังไข่ข้างเดียว (Unilateral Oophorectomy) คือ การตัดเอารังไข่ที่มีปัญหาข้างใดข้างหนึ่งออก
- การผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง (Bilateral Oophorectomy) คือ การผ่าตัดเปิดหน้าท้องหรืออาจใช้วิธีส่องกล้องเพื่อตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้างออก
- การผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่ข้างเดียว (Salpingo-Oophorectomy) คือ การผ่าตัดเอารังไข่และท่อนำไข่ที่มีปัญหาข้างใดข้างหนึ่งออก
- การผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่ออกทั้ง 2 ข้าง (Bilateral Salpingo-Oophorectomy) คือ การผ่าตัดเปิดหน้าท้องหรืออาจใช้วิธีส่องกล้องเพื่อตัดรังไข่และท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้างออก
- การตัดมดลูก (Hysterectomy) คือ การตัดมดลูก รังไข่และท่อนำไข่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างออก
วิธีการตัดมดลูกและรังไข่ มีดังนี้
- การเปิดช่องท้องแบบดั้งเดิม เป็นวิธีดั้งเดิม โดยคุณหมอทำการกรีดบริเวณหน้าท้อง เพื่อให้เห็นรังไข่และแยกแต่ละส่วนออกจากเนื้อเยื่อและหลอดเลือดแดงเพื่อนำส่วนที่มีปัญหาออกมา
- การผ่าตัดผ่านกล้อง คุณหมอจะสอดกล้องขนาดเล็กผ่านช่องสะดือ ซึ่งจะช่วยให้เห็นรังไข่ผ่านทางจอภาพ จากนั้นคุณหมอจะผ่าหน้าท้องเล็กน้อย เพื่อตัดเอารังไข่ออกมาทางหน้าท้องหรือช่องคลอด
- การผ่าตัดทางช่องคลอด โดยปกติจะทำเมื่อต้องการตัดมดลูกออกด้วย โดยคุณหมอจะส่องกล้องและตัดส่วนที่เสียหายออกมาทางช่องคลอด ซึ่งการผ่าตัดแบบนี้อาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อย และอาจใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน
- การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง คุณหมอจะตัดช่องท้องขนาดใหญ่เพื่อเอารังไข่ออก โดยการผ่าตัดแบบนี้อาจมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ รวมทั้งอาจใช้ระยเวลานานในการพักฟื้น
- การผ่าตัดรังไข่โดยใช้หุ่นยนต์ช่วย คุณหมอจะผ่าตัดเล็ก ๆ หลายตำแหน่งเพื่อใส่กล้องของหุ่นยนต์และเครื่องมือพิเศษ จากนั้นจะทำการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อนำรังไข่ออก
ความเสี่ยงของการตัดมดลูกและรังไข่ 2 ข้าง
การตัดมดลูกและรังไข่ 2 ข้าง ในบางกรณีอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งคุณหมอจะอธิบายถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนทำการผ่าตัด ดังนี้
- เลือดออกมาก หากมีเลือดออกมากเกินไปขณะผ่าตัด คุณหมออาจต้องทำการถ่ายเลือดออก
- การติดเชื้อ อาจเกิดขึ้น 1 วันหลังผ่าตัด หรือผ่านไปแล้วหลายสัปดาห์ ซึ่งอาจทำให้มีไข้ ปวดบริเวณใกล้ ๆ แผลผ่าตัด
- กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้หรืออวัยวะใกล้เคียงอื่น ๆ เสียหาย
- บางคนอาจแพ้ยาชาอย่างรุนแรง
- เนื้องอกแตกระหว่างผ่าตัดทำให้เซลล์อาจแพร่กระจายซึ่งก่อให้เกิดมะเร็ง
- เซลล์รังไข่บางส่วนอาจยังคงหลงเหลืออาจทำให้มีอาการปวดอุ้งเชิงกราน
- การไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เมื่อเอามดลูกและรังไข่ทั้ง 2 ข้างออก
- การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนกำหนด เนื่องจากการเอารังไข่ออกจะหยุดการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่ผลิตในรังไข่ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการวัยทอง เช่น ร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง อาการซึมเศร้าและวิตกกังวล โรคหัวใจ ปัญหาความจำ ความต้องการทางเพศลดลง โรคกระดูกพรุน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย