backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

คุณแม่ตั้งครรภ์ ไวรัสซิก้า ภัยร้ายที่ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 29/12/2022

คุณแม่ตั้งครรภ์ ไวรัสซิก้า ภัยร้ายที่ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์

สำหรับ คุณแม่ตั้งครรภ์ ไวรัสซิก้า ฟังดูแล้วอาจจะดูน่ากังวลใจ เพราะไวรัสซิก้า (Zika virus) สามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้น การป้องกันไวรัสซิก้าอาจทำได้ด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจครรภ์ตามที่คุณหมอนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ

ไวรัสซิก้า สามารถติดต่อได้ ผ่านการมีเพศสัมพันธ์

ไวรัสซิก้า สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก นอกจากนี้ หากใช้เซ็กส์ทอยร่วมกับคู่นอนก็อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสซิก้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ไวรัสซิก้ายังสามารถอยู่ในน้ำอสุจิได้นานกว่าของเหลวในร่างกายประเภทอื่น ๆ ดังนั้น ระยะเวลาติดเชื้อไวรัสซิก้าจะแตกต่างกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรป้องกันตัวเองอย่างไร ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และกิจกรรมทางเพศทุกประเภท เพื่อลดโอกาสของการติดเชื้อไวรัสซิก้า
  • เรียนรู้วิธีการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ด้วยการสอบถามหมอและผู้ให้บริการด้านสุขภาพ นอกจากนี้ การอ่านคำแนะนำบนฉลากของผลิตภัณฑ์อย่างระมัดระวัง

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำอย่างไร หากต้องเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงต่อ ไวรัสซิก้า

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรอยู่ให้ห่างจากพื้นที่ซึ่งอาจมีไวรัสซิก้า หรือได้รับการยืนยันว่ามีไวรัสซิก้า หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปยังพื้นที่เหล่านั้น ก่อนที่จะเดินทาง ควรพูดคุยกับหมอเพื่อมีแผนป้องกันที่ดีที่สุด

หากคุณแม่ตั้งครรภ์และคู่รักจำเป็นต้องเดินทางไปยังพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสซิก้า ควรใช้ถุงยางในกิจกรรมทางเพศทุกชนิด นอกจากนี้ อาจหยุดการมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งสองคนและทารกในครรภ์ปลอดภัย

สำหรับคู่รักที่ตั้งใจจะลูกควรตระหนักถึงการป้องกันไวรัสซิก้าให้มากขึ้น โดยควรเข้ารับการตรวจร่างกายเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขามีสุขภาพที่แข็งแรง และเหมาะสมแก่การตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ควรปรึกษาแผนการตั้งครรภ์กับหมอ เพื่อทำความเข้าใจถึงความเสี่ยง และทางเลือกต่าง ๆ ทั้งหมด แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งครรภ์ ไม่มีความตั้งใจที่จะตั้งครรภ์ แต่ก็ควรต้องตระหนักถึงเรื่องไวรัสซิก้าเช่นกัน เพราะจนถึงบัดนี้ ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อใด ๆ

ทุกคนจำเป็นต้องระมัดระวัง เนื่องจากบางคนที่ติดเชื้อไวรัสซิก้าไม่แสดงอาการใด ๆ แม้ว่าในความเป็นจริงอาจจะติดเชื้อซิก้าไปแล้ว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 29/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา