backup og meta

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกโรคย้ำคิดย้ำทำในเด็ก และวิธีการรับมือ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 16/03/2022

    สัญญาณเตือนที่บ่งบอกโรคย้ำคิดย้ำทำในเด็ก และวิธีการรับมือ

    โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder หรือ OCD) เป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่ง ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมหรือความคิดซ้ำไปซ้ำมาเนื่องจากความไม่สบายใจ เช่น ล้างมือซ้ำ ๆ เปิดปิดประตูบ้านซ้ำ ๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย โดยเฉพาะ โรคย้ำคิดย้ำทำในเด็ก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความเข้าใจ และคอยสังเกตสัญญาณเตือนของโรคย้ำคิดย้ำทำในเด็ก เพื่อจะได้สามารถรับมือกับโรคได้อย่างเหมาะสม

    โรคย้ำคิดย้ำทำในเด็ก คืออะไร

    โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่ง ผู้ป่วยจะการคิดเรื่องเดิมซ้ำไปซ้ำมา เนื่องจากมีเหตุที่ทำให้รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ จนเป็นผลให้ทำเรื่องเดิมซ้ำไปซ้ำมาด้วยเช่นกัน ซึ่งอาการนี้แม้ตัวผู้ป่วยจะรู้ตัวว่าไม่สมเหตุสมผล แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดและการกระทำได้

    โรคย้ำคิดย้ำทำในเด็กนี้มักจะพบได้กับเด็ก 1 ใน 100 คน เด็กที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นจะมีความคิดเกี่ยวกับ ความกังวลหรือความหวาดกลัวในเรื่องบางอย่าง เช่น ความกลัวที่จะสัมผัสกับสิ่งที่สกปรก และแสดงออกตามความคิด เพื่อพยายามควบคุมหรือลดทอนความกลัวนั้น เช่น การล้างมือที่บ่อยขึ้น หรือล้างมือมากจนเกินไป แต่การบรรเทานั้นมักจะช่วยได้แค่ชั่วคราว เพราะลักษณะการย้ำทำนั้นสุดท้ายแล้วจะหลายเป็นตัวการที่ทำให้การย้ำคิดรุนแรงขึ้น จนกลายเป็นวงจรย้ำคิดย้ำทำไปเรื่อยๆ

    สาเหตุในการเกิดโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีงานวิจัยที่ให้ความเห็นว่า โรคนี้อาจจะเกิดขึ้นจากความผิดปกติของสมอง เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นมักจะขาดแคลนสารเซโรโทนิน (serotonin) ในสมอง หรืออาจเกิดขึ้นจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม นอกจากนี้ การติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส (Streptococcus) ก็อาจกระตุ้นให้เกิดโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือทำให้โรคมีอาการรุนแรงขึ้นได้เช่นกัน

    จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ

    การจะสังเกตว่าลูกเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำหรือไม่ อาจจะเป็นการยากในช่วงวัยทารก เพราะเด็กยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาการเรียนรู้ ยังมีความอยากรู้อยากเห็น และมีพฤติกรรมเลียนแบบสิ่งที่ผู้ใหญ่กระทำอยู่ แต่สามารถสังเกตได้ว่า พฤติกรรมที่เด็กกระทำอยู่นั้นเป็นปัญหาหรือไม่ ก็ต่อเมื่อ พฤติกรรมเหล่านั้น เริ่มส่งผลทางด้านลบต่อลูก พฤติกรรมบางอย่าง เช่น การเก็บของเล่น อาจมองดูว่าลูกเป็นเด็กเจ้าระเบียบ แต่ถ้าหากลูกหมกมุ่นอยู่แต่กับการเก็บของ จนไม่ยอมไปทำอย่างอื่น หมายความว่าลูกกำลังเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ

    อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำในเด็กอาจมีดังต่อไปนี้

    • มีความกังวลเกี่ยวกับเชื้อโรค อาการป่วย หรือการตาย
    • รู้สึกกลัวอย่างรุนแรงเวลาที่ทำผิด หรือเวลาที่อะไรไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
    • อยากให้ทุกอย่างถูกต้อง เป็นระเบียบ อยู่ในที่ที่ควรอยู่
    • เกิดความสงสัยซ้ำๆ เช่น ล็อคประตูรึยังนะ
    • มีความคิดอยากจะทำร้ายผู้อื่น หรือทำร้ายตัวเอง
    • ใช้เวลานานในการจับสิ่งของ นับจำนวน หรือคิดเลข
    • ใส่ใจในรายละเอียดมากเกินไป
    • กังวลในเรื่องบางอย่างมากเกินไป
    • ขอโทษบ่อยๆ

    โรคย้ำคิดย้ำทำนั้นสามารถเกิดขึ้นในช่วงไหนก็ได้ ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน ไปจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ แต่เรามักจะเริ่มสังเกตอาการได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 8-12 ปี หรือช่วยปลายวัยรุ่น แต่ในกรณีหายาก โรคย้ำคิดย้ำทำนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ภายในข้ามคืน โดยมีการเปลี่ยนแปลงของความคิดและพฤติกรรมอย่างฉับพลัน และมีอาการวิตกกังวลอย่างรุนแรงได้เช่นกัน

    พ่อกับแม่จะรับมือได้อย่างไรหากเด็กเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ

    เมื่อลูกเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ก็อาจส่งผลกระทบได้กับทั้งครอบครัว และนำพาความท้าทายมาสู่พ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกให้เติบใหญ่อย่างมีคุณภาพ พ่อแม่หลายคนอาจจะรู้สึกหงุดหงิดใจ รู้สึกผิด หรือรู้สึกหวาดกลัว เมื่อไม่สามารถบังคับและควบคุมการกระทำแบบซ้ำๆ ของลูกที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำได้

    สิ่งที่สำคัญเลยคือพ่อแม่ควรมีส่วนร่วมในการรักษา เพราะพ่อแม่นั้นมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมลูก เพื่อทำให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

    พ่อและแม่สามารถช่วยสนับสนุนลูกที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำได้ดังต่อไปนี้

    • พาลูกไปตามนัดของคุณหมอทุกครั้ง
    • ปรึกษากับแพทย์ของลูก เพื่อหาวิธีในการดูแล และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคย้ำคิดย้ำทำที่ลูกกำลังเป็นอยู่
    • คอยช่วยเหลือลูก โดยค่อยๆ ปรับพฤติกรรมอาการย้ำคิดย้ำทำของลูก
    • พูดคุยกับลูก ช่วยให้ลูกสามารถเข้าใจอาการของโรคได้ อย่าให้ลูกต้องรู้สึกอาย
    • เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูก ให้ลูกสามารถเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่ได้
    • พูดคุยและทำความเข้าใจกับที่โรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนสามารถให้การช่วยเหลือลูกได้อย่างเต็มที่

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 16/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา