ไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย รวมทั้งเด็กทารกและเด็กเล็ก อย่างไรก็ตาม หากเกิดโรค ไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก (Hypothyroidism in Children) ขั้นรุนแรงอาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้
คำจำกัดความ
ไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก คืออะไร
ไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก (Hypothyroidism in Children) เป็นโรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากผิดปกติ หากอยู่ในระดับรุนแรง อาจส่งผลให้เจริญเติบโตช้า มีพัฒนาการล่าช้า รวมถึงพัฒนาการด้านสติปัญญา อาการของโรคนี้มักไม่แสดงในช่วงแรกเกิด ช่วงอายุของเด็กในการแสดงอาการ และความรุนแรงของอาการ ขึ้นอยู่กับการทำงานของต่อมไทรอยด์ว่าสามารถทำงานได้ดีเพียงใด โรคไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก สามารถเกิดได้กับคนทุกวัย รวมทั้งเด็กและทารก
อาการ
อาการ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก
ทารกแรกเกิด
โรคไทรอยด์เป็นพิษเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ แต่อาการของโรคในเด็กอาจมีแตกต่างกันไป ในเด็กแรกเกิด อาการเกิดขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์หรือเดือนแรก อาการอาจไม่ชัดเจน จนแพทย์หรือพ่อแม่ไม่สังเกตเห็น อาการอาจมีดังนี้
- ตัวเหลือง และจุดขาวที่ตา
- ท้องผูก
- เบื่ออาหาร
- ตัวเย็น
- ร้องไห้น้อยลง
- หายใจดัง
- นอนหลับมากขึ้นหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ น้อยลง
- จุดนิ่มบนศีรษะขยายใหญ่ขึ้น
- ลิ้นโต
ทารกและเด็กเล็ก
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่เริ่มในวัยเด็กนั้น แตกต่างกันไปตามช่วงอายุ อาการของ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก มีดังนี้
- ส่วนสูงน้อยกว่าความสูงเฉลี่ย
- ขนาดตัวสั้นกว่าปกติ
- ฟันแท้ขึ้นช้ากว่าปกติ
- เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ช้ากว่า
- พัฒนาการทางอารมณ์ช้า
- อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ
- ผมขาดง่าย
- หน้าบวม
อาการที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีภาวะไทรอยด์ มีดังนี้
วัยรุ่น
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็กวัยรุ่น มักเกิดในเด็กผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักเกี่ยวข้องกับปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ โรคต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต (Hashimoto’s Thyroiditis) วัยรุ่นที่มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เช่น โรคต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต โรคเกรฟ หรือเบาหวานชนิดที่ 1 มีความเสี่ยงสูงกว่าในการเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เด็กที่มีภาวะทางพันธุกรรม เช่น โรคดาวน์ซินโดรม มีความเสี่ยงที่สูงในการเป็นไทรอยด์เป็นพิษเช่นกัน
อาการของภาวะไทรอยด์เป็นพิษในวัยรุ่นคล้ายกับอาการในผู้ใหญ่ แต่บางอาการอาจไม่ชัดเจน หรือระบุไม่ได้ วัยรุ่นที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษมักแสดงอาการทางร่างกาย ดังนี้
- น้ำหนักเพิ่ม
- เติบโตช้า
- ตัวไม่สูง
- ดูเด็กกว่าวัย
- พัฒนาการทางการหายใจช้า
- เริ่มมีประจำเดือนช้า
- ประจำเดือนมามากและไม่สม่ำเสมอน้ำหนักขึ้นขณะมีประจำเดือน เป็นเพราะอะไรกันนะ
- ขนาดอัณฑะใหญ่ในเด็กผู้ชาย
- เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ช้า
- ผิวแห้ง
- ผมและเล็บเปราะ
- ท้องผูก
- หน้าบวม เสียงแหบ ต่อมไทรอยด์ใหญ่ขึ้น
- ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อติดขัด
วัยรุ่นที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษอาจมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป แต่ไม่แสดงออกอย่างชัดเขน อาการเหล่านี้ได้แก่
อาจมีอาการอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรติดต่อแพทย์
ควรพบคุณหมอเมื่อใด
หากพบว่า มีอาการที่กล่าวข้างต้นหรือมีคำถามเกี่ยวกับโรคนี้ ควรปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการได้แตกต่างกัน วิธีที่ดีสุด คือ การเข้าพบหมอ
สาเหตุ
สาเหตุของ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก
สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก คือ ประวัติในครอบครัวที่เคยมีภาวะนี้ ส่วนสาเหตุอื่นๆ ได้แก่
- ได้รับไอโอดีนในอาหารไม่เพียงพอ
- เกิดมาโดยต่อมไทรอยด์บกพร่อง หรือไม่มีต่อมไทรอยด์ อาจเรียกว่า “โรคพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กําเนิด’
- แม่ได้รับการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษไม่ดีขณะตั้งครรภ์
- ต่อมใต้สมองผิดปกติ
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงการเกิด ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก มีดังนี้
- ญาติพี่น้อง เด็กที่มีพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือญาติมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษมีความเสี่ยงมากกว่า ประวัติของสมาชิกในครอบครัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันส่งผลต่อต่อมไทรอยด์เป็นอีกปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยง
- ภาวะภูมิแพ้ตัวเอง เช่น โรคคอพอกตาโปน (Graves’ Disease) หรือ โรคฮาชิโมโต (Hashimoto’s Thyroiditis) มักเกิดขึ้นในช่วงก้าวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ภาวะไทรอยด์เหล่านี้เกิดขึ้นในเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถใช้ทดแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัย ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก
การวินิจฉัยเด็กโรคที่ดีที่สุด มักขึ้นอยู่กับช่วงอายุและปัจจัยอื่น ๆ ตามปกติแล้ว จะใช้วิธีการตรวจร่างกายและการทดสอบเฉพาะ ซึ่งการตรวจเพื่อวินิจฉัยอาจประกอบด้วย
- การตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ (TSH) หรือไทรอกซิน (T4)
- การตรวจจากภาพถ่าย (Imaging Tests)
- การคลำคอ เพื่อตรวจการขยายตัวของต่อมไทรอยด์หรือคอพอก
การรักษา ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก
การรักษา ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก มีหลายวิธี โดยปกติแพทย์มักจะเลือกใช้ยา เช่น ยาเลโวไทรอกซิน (Levpthyroxine) โดยที่ขนาดยานั้นจะแตกต่างกันไป ตามอายุของเด็กและปัจจัยอื่น ๆ
การรักษาเด็กแรกเกิดที่เป็นโรคไทรอยด์มักได้ผลดี หากเริ่มในช่วงขวบเดือนแรกและปล่อยทิ้งไว้ ปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำจะนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทหรือพัฒนาการที่ช้า อย่างไรก็ตาม แพทย์จะทำการคัดกรองเด็กภายใน 4 สัปดาห์แรกหลังคลอด ดังนั้น ปัญหาดังกล่าวจึงมักจะไม่เกิดขึ้น
การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยา ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก ด้วยตนเอง
เนื่องจากสาเหตุหลักในการเกิด ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก มักจะมาจากพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมา ไม่ได้เป็นผลมาจากไลฟ์สไตล์ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์จึงไม่มีประสิทธิภาพในการเยียวยา ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก
หากมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจและหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุด
[embed-health-tool-vaccination-tool]