นอกจากนี้ โรค Cystic fibrosis ยังอาจทำให้เกิดปัญหามีบุตรยาก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
วิธีรักษาโรค Cystic fibrosis
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรค Cystic fibrosis ให้หายขาด แต่อาจรักษาตามอาการที่ลูกเป็นเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนี้
- ยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อในปอดและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด ซึ่งมีในรูปแบบยาเม็ด ยาพ่น
- ยาต้านการอักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
- น้ำเกลือไฮเปอร์โทนิก (Hypotonic) ที่อาจช่วยขจัดน้ำมูก ล้างโพรงจมูก บรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้ไอเอาเสมหะออกมาและทำให้การทำงานของปอดดีขึ้น
- ยาลดกรด เพื่อช่วยปรับปรุงการทำงานของตับอ่อน และระบบย่อยอาหาร
- อาหารเสริมและวิตามิน คุณหมออาจแนะนำอาหารเสริม และวิตามินตามความเหมาะสม เพื่อช่วยปรับปรุงเอนไซม์ในตับอ่อนที่ช่วยย่อยอาหาร
- ยาปรับปรุงการทำงานของยีน อาจช่วยทำให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น และลดปริมาณของโซเดียมที่ส่งผลให้สารคัดหลั่งเหนียวข้น เช่น ยาไอวาคาฟเตอร์ (Ivacaftor) เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ยาผสมที่ประกอบด้วยลูมาคาฟเตอร์ (Lumacaftor) และ ไอวาคาฟเตอร์ (Ivacaftor) เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป ยาผสมที่ประกอบด้วยเทซาคาฟเตอร์ (Tezacaftor) และไอวาคาฟเตอร์ (Ivacaftor) เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป ยาผสมที่ประกอบด้วยเทซาคาฟเตอร์ (Tezacaftor) อเล็กว์คาฟเตอร์ (Elexacaftor) และเทซาคาฟเตอร์ (Tezacaftor) เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป ในส่วนของยาควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์อย่างไกล้ชิด
- การบำบัด เช่น การบำบัดด้วยออกซิเจน การควบคุมการหายใจให้เป็นจังหวะ การออกกำลังกายตามโปรแกรมของคุณหมอ เพื่อช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบทางเดินหายใจ
- การผ่าตัด เช่น ผ่าตัดลำไส้ในกรณีลำไส้อุดตัน ผ่าตัดฝังท่ออาหารหากลูกไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ ผ่าตัดติ่งเนื้อในจมูกที่ขวางทางเดินหายใจ ปลูกถ่ายปอดหากลูกมีปัญหาทางเดินหายใจรุนแรง และการปลูกถ่ายตับอ่อนหากมีการทำงานผิดปกติ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย