backup og meta

นอร์ทริปไทลีน (Nortriptyline)

นอร์ทริปไทลีน (Nortriptyline)

ข้อบ่งใช้

นอร์ทริปไทลีน ใช้สำหรับ

นอร์ทริปไทลีน (Nortriptyline) ใช้สำหรับรักษาปัญหาทางจิตหรืออารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า สามารถช่วยลดความกังวลเเละความตึงเครียด นอร์ทริปไทลีนจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านซึมเศร้าชนิดไตรไซคลิก (tricyclic antidepressant) จะออกฤทธิ์โดยส่งผลต่อความสมดุลของสารเคมีในสื่อประสาทให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

วิธีการใช้ นอร์ทริปไทลีน

  • รับประทานยานี้ 1 ถึง 4 ครั้งต่อวันหรือตามที่เเพทย์สั่ง หากคุณรับประทานยาชนิดน้ำ วัดปริมาณขนาดยาอย่างระมัดระวังโดยใช้อุปกรณ์ในการวัดหรือถ้วยตวง อย่าใช้ช้อนที่บ้านโดยเด็ดขาดเพราะคุณอาจได้รับปริมาณขนาดยาที่ผิดพลาดสามารถเพิ่มความเสี่ยงขั้นรุนแรงได้
  • ขนาดยาขึ้นอยู่กับอาการของโรคแต่ละบุคคล เเพทย์อาจให้เริ่มใช้ยานี้ในปริมาณที่ต่ำเเละค่อยๆ เพิ่มปริมาณของยา ทำตามคำเเนะนำของเเพทย์อย่างระมัดระวัง
  • ใช้นอร์ทริปไทลีนอย่างต่อเนื่อง เเม้ว่าคุณจะมีอาการที่ดีขึ้นเเล้ว อย่าหยุดโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเเพทย์ เพราะอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่น เช่น อารมณ์เเปรปรวน ปวดศีรษะ เหนื่อยล้าเเละนอนผิดเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้ เเพทย์จะค่อยๆ ลดปริมาณลง ควรปรึกษาเเพทย์หรือเภสัชกรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

นอร์ทริปไทลีนไม่ได้ออกฤทธิ์โดยทันที คุณอาจมีอาการดีขึ้นภายในหนึ่งสัปดาห์ หรือใช้เวลาถึง 4 สัปดาห์กว่ายาจะออกฤทธิ์สูงสุด เเจ้งให้เเพทย์ทราบ หากมีอาการเเย่ลงหรือมีอาการอื่นเกิดขึ้นใหม่ (เช่น มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย)

การเก็บรักษา นอร์ทริปไทลีน

  • ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บนอร์ทริปไทลีนในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง
  • เก็บนอร์ทริปไทลีนให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้งนอร์ทริปไทลีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังเเละคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ นอร์ทริปไทลีน

หากคุณมีประวัติโรคประจำตัวหรืออาการแพ้ยา ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนได้รับนอร์ทริปไทลีน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการหายใจ โรคเกี่ยวกับตับ หัวใจวาย การถ่ายปัสสาวะ (เช่น เนื่องจากต่อมลูกหมากโต) การทำงานของต่อมไทรอยด์ที่มากเกินไป หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ประวัติการป่วยโรคต้อหิน ประวัติการป่วยทางจิตใจหรืออารมณ์ (โรคไบโพลาร์ ความผิดปกติทางจิต) ประวัติการฆ่าตัวตาย โรคชัก โรคที่อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะชัก (เช่น โรคทางสมองอื่นๆ โรคที่เกิดจากการขาดสุรา)

นอร์ทริปไทลีนอาจทำให้ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ ส่งผลให้การเต้นของหัวใจ หรือทำให้การนำไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติ (QT prolongation) บางครั้งการนำไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติอาจทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเข้ารักษาทันที

นอร์ทริปไทลีนมีผลทำให้คุณวิงเวียนศีรษะ ง่วงซึม หรือตาพร่า งดใช้ยานพาหนะจนกว่าจะได้รับการอนุญาตจากแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต

ก่อนเข้ารับการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกำลังใช้ยาอื่นร่วมด้วย รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ

ยานี้อาจทำให้คุณตอบสนองต่อเเสงอาทิตย์ไวมากขึ้น จำกัดเวลาที่คุณจะต้องอยู่กลางเเดด หลีกเลี่ยงที่สำหรับอาบเเดดเเละหลอดไฟอัลตราไวโอเลต ทาครีมกันเเดดเเละสวมเสื้อผ้าที่ปกป้องผิว เมื่ออยู่ในที่เเจ้ง เเจ้งให้เเพทย์ทราบทันทีหากผิวไหม้ พุพอง หรือเป็นรอยเเดง

หากคุณมีโรคประจำตัวคือ โรคเบาหวาน นอร์ทริปไทลีนอาจทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยากขึ้น วัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ เเละเเจ้งผลให้เเพทย์ทราบ เเพทย์อาจจำเป็นต้องปรับยารักษาเบาหวาน โปรเเกรมออกกำลังกายและการควบคุมอาหารควบคู่ไปด้วย

สำหรับสตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น เนื่องจากปัญหาทางจิตหรืออารมณ์ (เช่น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล เเละตื่นตระหนก) อาจเป็นโรคที่รุนเเรงสำหรับสตรีกำลังตั้งครรภ์ ยานี้สามารถซึมเข้าไปในน้ำนม เเละอาจทำให้เกิดผลอันไม่พึงปรารถนาในการให้นมทารก ปรึกษาเเพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

นอร์ทริปไทลีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด N โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามี ดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของ นอร์ทริปไทลีน

ผลข้างเคียงที่สามารพบได้ทั่วไปจากการใช้นอร์ทริปไทลีนมี ดังต่อไปนี้

  • ง่วงซึม วิงเวียนศีรษะ
  • ปากเเห้ง
  • มองเห็นไม่ชัดเจน
  • ท้องผูก
  • น้ำหนักขึ้น
  • ปัสสาวะลำบาก

เพื่อลดความเสี่ยงของอาการง่วงซึมเเละวิงเวียนศีรษะ ค่อยๆ ลุกขึ้นเมื่อเปลี่ยนจากท่านั่งหรือนอนเป็นท่ายืน บรรเทาอาการปากเเห้งได้โดย ให้อมลูกอมหรือน้ำเเข็งก้อนเล็กๆ (ที่ไม่มีน้ำตาล) เคี้ยวหมากฝรั่ง (ที่ไม่มีน้ำตาล) ดื่มน้ำหรือใช้สารทดเเทนน้ำลาย

เพื่อป้องกันอาการท้องผูก ทานอาหารที่มีใยอาหารให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอเเละออกกำลังกาย หากคุณท้องผูกระหว่างรับประทานยานี้ ปรึกษาเภสัชกรเพื่อเลือกชนิดของยาระบาย

หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานหรือเเย่ลง เเจ้งให้เเพทย์หรือเภสัชกรทราบทันที

หยุดใช้นอร์ทริปไทลีนและโปรดติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • จุกเสียดท้อง ตัวสั่น
  • หน้าไม่เเสดงความรู้สึก
  • กล้ามเนื้อหดเกร็ง
  • ผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะใบหน้า ลิ้นหรือลำคอ) วิงเวียนศีรษะเเละหายใจลำบากอย่างรุนเเรง
  • ปวดท้อง หรือกระเพาะอาหารอย่างรุนเเรง
  • ความต้องการหรือสมรรถภาพทางเพศต่ำ
  • หน้าอกบวมหรือเจ็บหน้าอก
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • เห็นภาพหลอน
  • ร่างกายเสียสมดุล
  • เป็นไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • กระสับกระส่ายหรือกระวนกระวายผิดปกติ
  • หน้ามืด ชัก
  • ตาบวมหรือตาเป็นรอยเเดง ม่านตาขยาย การมองเห็นเปลี่ยน (เช่น เห็นรุ้งรอบๆ เเสงสว่างในเวลากลางคืน)

ยานี้อาจเพิ่มสารเซโรโทนิน (serotonin) เเละบางครั้งอาจทำให้เกิดโรครุนเเรงที่เรียกว่า กลุ่มอาการเซโรโทนิน (serotonin syndrome) หรือเซโรโทนินเป็นพิษ (serotonin toxicity) ดังนั้น จึงควรเเจ้งให้เเพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

นอร์ทริปไทลีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจทำปฏิกิริยากับนอร์ทริปไทลีนได้แก่

  • ยาอาบูทามีน (arbutamine)
  • ยาเจือจางเลือด (blood thinner) เช่น ยาวาร์ฟาริน (warfarin) ยาไดซัลฟิเเรม (disulfiram) ยาเสริมไทรอยด์ (thyroid supplement)
  • ยาต้านโคลิเนอจิก (anticholinergic drugs) เช่น ยาเบนซ์โทรปีน (benztropine) เเละยาเบลลาดอนนาเเอลคาลอยด์ (belladonna alkaloids)
  • ยาบางชนิดที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง หรือยาที่ออกฤทธิ์ต่อสมองเช่น ยาโคลนิดีน (clonidine) ยากัวนาเบนซ์ (guanabenz) ยารีเซอร์ปีน (reserpine)

การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งโมโนเอมีนออกซิเดส (MAO inhibitors) กับนอร์ทริปไทลีนอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อกันที่รุนเเรงถึงชีวิตได้หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งโมโนเอมีนออกซิเดส ได้แก่

  • ยาไอโซคาร์โบซาซิด (isocarboxazid) ยาไลนิโซลิด (linezolid) ยาเมธิลีนบลู (methylene blue) ยาโมโคลเบไมด์ (moclobemide) ยาฟีเนลซีน (phenelzine) ยาโปรคาร์บาซีน (procarbazine) ยาราซาจิลีน (rasagiline) ยาซาฟินาไมด์ (safinamide) ยาเซเลกิลีน (selegiline) ยาทรานิลซัยโพรมีน (tranylcypromine)

ระหว่างการรักษาด้วยยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งโมโนเอมีนออกซิเดสส่วนมาก ไม่ควรใช้สองอาทิตย์ก่อนเเละหลังการรักษาด้วยนอร์ทริปไทลีน สอบถามเเพทย์เพิ่มเติมถึงการใช้ยาชนิดนี้

ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคในกลุ่มอาการเซโรโทนินเป็นพิษจะเพิ่มขึ้น หากคุณใช้ยาชนิดอื่นที่เพิ่มสารเซโรโทนินอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น

  • ยาเสพติดอย่างยาเมทิลีนไดออกซีเมทเเอมเฟตามีน (MDMA) หรือยาอี (ecstasy)
  • สมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต
  • ยาเเก้ซึมเศร้าบางชนิด ได้เเก่ กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเฉพาะการดูดกลับของเซโรโทนิน (SSRIs) เช่น ยาฟลูออกซิทีน (fluoxetine) หรือยาพาร็อกซิทีน (paroxetine)
  • กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการนำเซโรโทนินเเละนอร์เอพริเนฟินเข้าสู่ร่างกาย (SNRIs) เช่น ยาดูล็อกซิทีน (duloxetine) และยาเวนลาฟาซีน (venlafaxine) เป็นต้น

เเจ้งให้เเพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณรับประทานยาที่ทำให้ง่วงซึม เช่น ยาที่ช่วยให้นอนหลับหรือเเก้เครียด ยาอัลพราโซเเลม (alprazolam) ยาไดอะซีเเพม (diazepam) เเละยาโซลพิเดม (zolpidem) 

ปฏิกิริยากับอาหารเเละเเอลกอฮอล์

นอร์ทริปไทลีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

นอร์ทริปไทลีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่เจจนาให้ใช้เเทนคำเเนะนำทางการเเพทย์ โปรดปรึกษาเเพทย์หรือเภสัชกร ทุกครั้ง ก่อนรับประทานยานอร์ทริปไทลีน

ขนาดยานอร์ทริปไทลีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคซึมเศร้า

  • รับประทานยา 25 มิลลิกรัม 3 ถึง 4 ครั้งต่อวัน
  • ขนาดยาสูงสุด: 150 มิลลิกรัมต่อวัน

คำเเนะนำ

  • ผู้ป่วยควรเริ่มใช้ยาในขนาดต่ำก่อนจะค่อยๆ เริ่มปรับขนาดยาขึ้น
  • เมื่อขนาดยาต่อวันมีมากกว่า 100 มิลลิกรัม ควรเฝ้าสังเกตระดับพลาสมาเเละค่าคงที่ที่เหมาะสมของพลาสมาคือ 50 ถึง 150 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร

การใช้ 

  • บรรเทาอาการซึมเศร้า

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า

  • รับประทานยา 30 ถึง 50 มิลลิกรัมต่อวันโดยเเบ่งหลายครั้ง

คำเเนะนำ

  • ผู้ป่วยควรเริ่มใช้ยาในขนาดต่ำก่อนจะค่อยๆ ปรับขนาดยาขึ้น

การใช้

  •  บรรเทาอาการซึมเศร้า

การปรับขนาดยา

  • การควบคุมระดับยาในเลือด อยู่ในช่วงระหว่าง 50 ถึง 150 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร
  • อนุญาตให้หยุดยาอย่างน้อย 14 วัน
  • ผู้ป่วยควรได้รับการเฝ้าระวังโรคในกลุ่มเซโรโทนินเป็นเวลา 2 สัปดาห์หรือจนถึง 24 ชั่วโมงหลังจากขนาดยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งโมโนเอมีนออกซิเดสครั้งสุดท้าย
  • อาจใช้นอร์ทริปไทลีนหลังจากขนาดยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งโมโนเอมีนออกซิเดสครั้งสุดท้าย 24 ชั่วโมง

การปรับขนาดยาเพิ่มเติม

  • ควรลดหรือเพิ่มขนาดนอร์ทริปไทลีนหากคนไข้มีผลข้างเคียงที่ไม่รุนเเรง
  • ควรหยุดใช้นอร์ทริปไทลีนหากเกิดผลข้างเคียงหรืออาการเเพ้อย่างรุนเเรง

คำเเนะนำอื่น

คำเเนะนำในการใช้ยา

  • อาจเเบ่งขนาดยาหลายครั้งหรือครั้งเดียวต่อวันก็ได้

ข้อจำเป็นในการเก็บรักษา

  • ยาละลายสำหรับรับประทาน : เก็บให้พ้นเเสงเเดด

โดยทั่วไป

  • ไม่เป็นที่ทราบเเน่ชัดว่า ความเสี่ยงของโรคในกลุ่มอาการเซโรโทนิน สัมพันธ์กับการใช้สูตรยาบลูเมธิลีนที่ไม่ใช่สำหรับฉีดเข้าหลอดเลือด (non-IV) หรือขนาดยาที่ใช้สำหรับฉีดเข้าหลอดเลือด (IV) ต่ำกว่า 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมหรือไม่
  • การรักษาอาจมีประสิทธิภาพมากกว่า สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจากภายใน (endogenous depression) เมื่อเทียบกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประเภทอื่น

การเฝ้าสังเกต

  • ระบบหัวใจเเละหลอดเลือด : ความดันโลหิต การทำงานของหัวใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ
  • สังเกตระดับยา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับขนาดยาเกิน 100 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้ป่วยควรได้รับการเฝ้าสังเกตหากมีอาการเเย่ลงหรือมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

คำเเนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • ผู้ป่วยควรเเจ้งเเพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้ร่วมอยู่ รวมถึงยาที่จำหน่ายโดยทางแพทย์และเภสัชกร
  • นอร์ทริปไทลีนอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะคิดหรืออยากฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยควรเตรียมพร้อมหากเกิดสัญญาณของโรคซึมเศร้าหรืออาการซึมเศร้าเเย่ลง ผู้ป่วยควรรายงานพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อเเพทย์ให้ไวที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • เเจ้งให้เเพทย์ทราบหากผู้ป่วยตั้งครรภ์ กำลังจะหรือคิดว่าอาจจะตั้งครรภ์ รวมถึงให้นมบุตร
  • ผู้ป่วยควรระมัดระวัง เนื่องจากนอร์ทริปไทลีนทำให้สมรรถภาพทางกายเเละทางจิต

ขนาดนอร์ทริปไทลีนสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัย และประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจก่อนการใช้ยา ปรึกษารับคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

รูปเเบบยานอร์ทริปไทลีน

นอร์ทริปไทลีนมีรูปเเบบดังต่อไปนี้

  • เเคปซูลสำหรับรับประทาน
  • ยาน้ำสำหรับรับประทาน
  • ยาผง

กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาก่อนได้รับอนุญาตจากแพทย์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Nortriptyline Dosage. https://www.drugs.com/dosage/nortriptyline.html. Accessed November 27, 2019.

Nortriptyline HCL. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-10710/nortriptyline-oral/details. Accessed November 27, 2019.

Nortriptyline, Oral Capsule https://www.healthline.com/health/nortriptyline-oral-capsule . Accessed November 27, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/10/2024

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เครียดแล้วอยากกินของหวาน เกิดจากสาเหตุใดกันแน่นะ

วิกฤตวัยกลางคน แค่สภาวะทางอารมณ์ หรือจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพจิต


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 01/10/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา