ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในร่างกาย เมื่อระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้อย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองและระบบประสาท รวมถึงการป้องกันและการรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระบบประสาทและสมอง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

หมวดหมู่ ระบบประสาทและสมอง เพิ่มเติม

โรคลมชักและอาการชัก

สำรวจ ระบบประสาทและสมอง

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

หลอดเลือดในสมองตีบ มีสาเหตุอย่างหนึ่งมาจากการสูบบุหรี่

หลอดเลือดในสมองตีบ อาจมีที่มาจากการสูบบุหรี่มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากกว่าการสะสมไขมันในร่างกายซะอีก ความอ้วน ความดันโลหิตสูง หรือต่อให้ออกกำลังกาย และควบคุมอาหารเป็นอย่างดี ก็ไม่สามารถลดความเสี่ยง ต่อโรคหลอดเลือดในสมองตีบได้ ถ้ายังสูบบุหรี่อยู่ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นถ้าสูบบุหรี่ ถึงแม้ว่าจะสูบบุหรี่วันละไม่กี่ตัว ก็ยังเสี่ยงที่จะเป็นโรค หลอดเลือดในสมองตีบ ได้ ยิ่งถ้าบุคคลนั้น เป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบอยู่แล้ว และยังสูบบุหรี่อยู่ ก็มีสิทธิ์จะเสียชีวิตจากโรคนี้ ได้มากกว่าคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่เลย ความเสี่ยงจะลดลงหลังเลิกสูบบุหรี่ ความเสี่ยงที่คุณจะเป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบ จะลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียว หลังจากที่คุณเลิกสูบบุหรี่มา 2 ปี และหลังจากเลิกสูบบุหรี่มา 15 ปี ความเสี่ยงก็จะลดลงจน เกือบจะเท่ากับคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนเลย ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบแล้ว การเลิกสูบบุหรี่ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีโรคแทรกซ้อนตามมาได้ ถึงแม้ว่าการเลิกสูบบุหรี่จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น แต่ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบจะลดลง ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ การเลิกบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยง ของการเกิดหลอดเลือด และการอุดตันในเลือด ยิ่งถ้าคุณสูบบุหรี่ และมีโรคหัวใจ การเลิกสูบบุหรี่ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิต ด้วยโรคหัวใจกะทันหัน โรคหัวใจวายครั้งที่ 2 และการเสียชีวิตจากโรคเรื้อรังอื่นๆ นอกจากนั้น ควันบุหรี่มือสอง ก็ยังเป็นอันตราย ต่อผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วด้วย ยิ่งถ้าคุณมีโรคหัวใจอยู่แล้ว คุณมีความเสี่ยงจากการสัมผัสควันบุหรี่มือสองมากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ ดังนั้น หากสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ ก็จะเป็นการช่วยลดควันบุหรี่มือสองลง ซึ่งนั่นก็จะทำให้การเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ลดลงอีกด้วย คนที่เลิกสูบบุหรี่ก่อนอายุ 50 ปี จะสามารถลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในอีก 15 ปี […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

หัวใจเต้นผิดปกติ อาจมีสาเหตุมาจากเส้นเลือดในสมองอุดตันก็ได้

หัวใจเต้นผิดปกติ คืออะไร หัวใจเต้นผิดปกติ คือการที่หัวใจห้องบนเต้นไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจจะเต้นเร็วมาก (เกิน 300 ครั้งต่อนาที) จนทำให้การไหลเวียนของเลือดจากหัวใจห้องบนสู่หัวใจห้องล่างเป็นไปอย่างยากลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติอาจเป็นอาการชั่วคราว กลับมาเป็นซ้ำ หรือเกิดอาการอย่างถาวรก็ได้   สาเหตุของหัวใจเต้นผิดปกติเกิดจากอะไร อาการหัวใจเต้นผิดปกติอาจเกิดจากโรคที่มีผลกับโครงสร้างของหัวใจมาหลายปี ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำหัวใจเต้นผิดปกติ จึงมักเกิดขึ้นกับผู้สูงวัย เช่น การไม่ได้รับการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนัก เพื่อที่จะให้เลือดสามารถไหลเวียนทั่วร่างกายได้อย่างปกติ งานที่เพิ่มขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งเรียกว่า ‘ภาวะหัวใจโต‘ เมื่อหัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อก็จะแข็งและมีโอกาสพัฒนาไปเป็นหัวใจเต้นผิดปกติมากขึ้นได้ ความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจนำไปสู่อาการหัวใจเต้นผิดปกติ ก็รวมถึงโรคลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หรือมีน้ำซึมอยู่ในถุงหุ้มหัวใจ ก่อนหัวใจวาย และระบบการนำไฟฟ้าหัวใจทำการผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ไม่ได้เป็นสาเหตุของอาการหัวใจเต้นผิดปกติที่มีผลต่อหัวใจโดยตรง อย่างเช่น ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกิน รวมถึงโรคและการติดเชื้อทางปอดหลายๆชนิด เช่น โรคปอดบวม หัวใจเต้นผิดปกติอาจเกิดจากสภาวะทางอารมณ์ ความเครียด แอลกอฮอล์ นิโคติน และคาเฟอีนด้วย   ทำไมหัวใจเต้นผิดปกติจึงทำให้เส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน ปัจจัยโดยทั่วไปก็ขึ้นอยู่กับอายุ และสาเหตุเฉพาะของหัวใจเต้นผิดปกติเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้มีอัตราเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นหัวใจเต้นผิดปกติ 5 ถึง 17 เท่า โดยทั่วไปแล้วอาการหัวใจเต้นผิดปกติมักเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง โดยลิ่มเลือดที่หลุดจากหัวใจจะเข้าไปขวางทางในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ลิ่มเลือดจะเกิดการจับตัวเมื่อเลือดอยู่นิ่งๆในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ   อาการของหัวใจเต้นผิดปกติมีอะไรบ้าง มีรายงานว่าผู้ที่มีหัวใจเต้นผิดปกติจะรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วมาก ซึ่งอาการนี้อาจทำให้การไหลเวียนของเลือดผ่านไปยังห้องหัวใจเกิดความบกพร่อง เป็นเหตุให้หน้ามืด เจ็บหน้าอก หรือเกิดการสำลัก   การวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดปกติทำอย่างไร การวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดปกติทำได้ง่ายๆ โดยใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือที่เรียกว่า EKG […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

การรับมือ ภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน ในเด็กที่เป็นสโตรก

ภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน (Cerebral venous sinus thrombosis หรือ CVST) เกิดจากการที่ลิ่มเลือดไปอุดตันภายในโพรงหลอดเลือดดำในสมอง (brain’s venous sinuses) จึงทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนออกจากสมองได้ และอาจส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดแตกตัว หรือมีเลือดออกในสมองของคนที่คุณรักได้อีกด้วย บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ จึงขอพาทุกคนมารูจักกับ สัญาณเตือนแรกเริ่มของภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน ให้มากขึ้น เพื่อให้คุณรับมือได้อย่างเท่าทัน สัญญาณเตือนของ ภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน เด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ที่อายุน้อยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก (Stroke) จาก ภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน อาจจะมีสัญญาณต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้น พูดไม่ชัด หรือมีปัญหาในการพูด และทำความเข้าใจกับประโยคง่าย ๆ ผิดปกติ ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาข้างเดียว หรืออาจได้รับผลกระทบกับตาทั้งสองข้าง มีอาการมึนงง ไม่ค่อยรู้สึกตัว มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยมี หรือไม่มีอาการอาเจียนร่วมด้วย มีอาการอ่อนแรง รู้สึกชาที่บริเวณใบหน้า แขน หรือขา โดยปกติจะเกิดขึ้นเพียงด้านหนึ่งของร่างกาย เด็กทารกที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตันอาจแสดงสัญญาณที่แตกต่างออกไปจากข้างต้นเล็กน้อย ดังนี้ มีอาการชักโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการชักอาจมีลักษณะเป็นอาการกระตุกที่ใบหน้า แขน ขา หรืออาการชักแบบตาค้าง เด็กอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการตื่นนอนเป็นอย่างมาก และอาจมีอาการตื่นตัวในระหว่างวัน นอกเหนือจากเวลานอนตามปกติ หากผู้ปกครองท่านใด สำรวจ และสังเกตลูกรักของตนเองแล้วว่า มีอาการคล้ายข้างต้น หรืออาการอื่น […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

อาการปวดหัว ที่เกิดขึ้นจากโรคหลอดเลือดในสมอง

อาการปวดหัว อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคหลอดเลือดสมองซึ่งสามารถจัดการได้ และส่วนใหญ่โรคหลอดเลือดสมองที่มาจากอาการปวดหัวไม่ใช่สัญญาณของปัญหาที่ร้ายแรง ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหลังจากโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมอง ก่อให้เกิดผลกระทบทางประสาท ซึ่งส่งผลกับหลายส่วนของสมองด้วย อาการปวดหัวอาจ เกิดขึ้นหลังจากโรคหลอดเลือดสมอง แต่อาจไม่สัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดในสมอง ผู้ที่รอดจากโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ เริ่มพบกับอาการปวดหัวเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การปวดหัวครั้งแรกหลังจากโรคหลอดเลือดสมอง อาจลามไปถึงอาการปวดหัวหลายๆ อย่าง อาการปวดหัวหลังจากโรคหลอดเลือดสมอง อาจเป็นไมเกรน ปวดหัวรุนแรง การปวดหัวจากการใช้ยาเกินขนาด หรือผลกระทบจากผลข้างเคียงของยา ข้อควรรู้เกี่ยวกับ อาการปวดหัว หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อาการปวดหัวอาจจะก่อให้เกิดความน่ารำคาญ แต่นั่นอาจหมายถึงสัญญาณเตือนก็เป็นได้ หากคุณเริ่มพบกับอาการปวดหัว หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับอาการของคุณเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งแบ่งได้ 2 ประการ ดังนี้ ประการแรก คุณจำเป็นต้องแน่ใจว่า อาการปวดหัวหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ใช่สิ่งบ่งบอกถึงปัญหาร้ายแรง ช่วงเวลาส่วนใหญ่ อาการปวดหัวจะไม่แสดงถึงสัญญาณของสิ่งที่น่ากังวลใดๆ แพทย์ของคุณสามารถวินิจฉัยได้ว่า อาการปวดหัวเป็นนัยยะที่แสดงถึงอาการต่างๆ ประการที่สอง ที่ควรได้รับการดูแลทางการแพทย์จากอาการปวดหัว คือ อาการปวดหัวสามารถรักษาได้ การรักษาขึ้นอยู่กับว่าคุณกำลังประสบกับอาการปวดหัวประเภทใด อาการปวดหัว หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองนั้น มีกี่ประเภท อาการปวดหัวจากการใช้ยาเกินขนาด เป็นผลมาจาก การใช้ยาบรรเทาอาการปวด การใช้ยาบรรเทาอาการปวดโดยทั่วไปนั้น ช่วยบรรเทาอาการชั่วคราว ซึ่งอาจตามมาด้วยผลอ่อนๆ จากการถอนยา นำมาซึ่งอาการปวด ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ สามารถพัฒนาโปรแกรมสำหรับคุณ เพื่อค่อยๆ ลดการใช้ยาบรรเทาอาการปวด […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

โรคเอวีเอ็ม เกี่ยวข้องกับ "สโตรก" อย่างไร

โรคเอวีเอ็ม (Arteriovenous Malformation; AVM) หรือโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ นั้นหมายถึงอาการที่กลุ่มเส้นเลือดเชื่อมต่อกันอย่างผิดปกติ โรคเอวีเอ็มสามารถเกิดขึ้นกับอวัยวะใดๆ ในร่างกายก็ได้ แต่หากเกิดในสมองนั้น ก็จะเป็นปัญหามากที่สุด เพื่อให้เข้าใจว่าทำไมโรคเอวีเอ็มถึงเป็นอันตรายนั้นเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเชื่อมโยงของเส้นเลือดแบบปกติกันก่อน โรคเอวีเอ็ม คืออะไร เส้นเลือดในโรคเอวีเอ็มนั้นมีหลายขนาด บางเส้นก็เล็กมากจนตรวจไม่พบเป็นเวลาหลายสิบปี บางเส้นก็ใหญ่และเป็นเส้นเลือดแดงที่คดเคี้ยว ที่จะสั่นอย่างแรงในจุดที่มีการเชื่อมต่อโดยตรงกับเส้นเลือดดำ เส้นเลือดในโรคเอวีเอ็มนั้นสามารถพบได้ทุกที่ในสมองรวมถึงบริเวณเนื้อสมองส่วนนอก เนื้อสมอง และก้านสมอง การเชื่อมต่อที่ “ปกติ” ของเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำ เส้นเลือดของคนเรานั้นมี 2 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่เส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำ เส้นเลือดแดงทำหน้าที่นำเลือดที่มีออกซิเจนสูงออกจากหัวใจและปอดไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อต่างๆ กระดูก และสมอง ส่วนเส้นเลือดดำจะทำหน้าที่ส่งเลือดกลับเข้าสู่และหัวใจและปอดเพื่อเติมออกซิเจน เส้นเลือดแดงนั้นยิ่งแทรกซอนเข้าไปลึกเท่าไหร่ขนาดก็จะยิ่งเล็กลง จนถึงบริเวณที่เล็กที่สุดซึ่งเรียกว่าแขนงเส้นเลือดฝอย บริเวณนี้อัตราการไหลของเลือดก็จะช้าลงเพื่อส่งผ่านเลือดจากเส้นเลือดแดงไปสู่เส้นเลือดดำ หน้าที่ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของแขนงเส้นเลือดฝอย คือลดแรงดันที่เกิดขึ้นเวลาที่เลือดไหลผ่านเส้นเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่กว่าไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ เส้นเลือดแดงจะต่อกับเส้นเลือดฝอยและมีขนาดใหญ่ขึ้น ไปจนถึงจุดที่เชื่อมต่อกับอวัยวะต่างๆ ตามเส้นทางที่ผ่านปอดและหัวใจ ซึ่งเป็นบริเวณที่เลือดมีการเติมออกซิเจนเป็นอันดับสุดท้าย การเชื่อมต่อที่ “ผิดปกติ” ของเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำ โรคเอวีเอ็มในสมองเกิดจากการเชื่อมต่อกันระหว่างเส้นเลือดแดงของเส้นเลือดดำโดยไม่มีแขนงเส้นเลือดฝอย ทำให้แรงดันจากเส้นเลือดแดงส่งผ่านไปยังเส้นเลือดดำโดยตรง การไหลของเลือดแบบผิดปกตินี้จะทำให้เกิดแรงดันและการไหลทะลักในเส้นเลือดอย่างสูง ทำให้เส้นเลือดเอวีเอ็มมีขนาดใหญ่ขึ้น และส่งผลต่อการทำหน้าที่ต่างๆ ของเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆสมองได้ ผู้ที่มีโอกาสเกิดโรคเอวีเอ็มในสมอง ภาวะนี้พบเพียง 0.1% ของประชากร และมักจะเป็นตั้งแต่กำเนิด และไม่ได้ส่งต่อไปยังสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 1 คน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงเท่าๆกัน โดยจะมีอาการในช่วงอายุระหว่าง 10 -30 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน