ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในร่างกาย เมื่อระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้อย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองและระบบประสาท รวมถึงการป้องกันและการรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระบบประสาทและสมอง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

หมวดหมู่ ระบบประสาทและสมอง เพิ่มเติม

โรคลมชักและอาการชัก

สำรวจ ระบบประสาทและสมอง

ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

อัลไซเมอร์ อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) เป็นโรคที่ทำให้สูญเสียความทรงจำ และส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานที่สำคัญของสมอง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจลืมแม้กระทั่งคนสำคัญในชีวิต และเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพอย่างรวดเร็ว คำจำกัดความอัลไซเมอร์ คืออะไร อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคที่ทำให้สูญเสียความทรงจำ และส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานที่สำคัญของสมอง ในระยะแรก ผู้ป่วยอัลไซเมอร์อาจมีอาการมึนงงและมีปัญหาเกี่ยวการจดจำเพียงเล็กน้อย แต่เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจลืมแม้กระทั่งคนสำคัญในชีวิตและเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพอย่างรวดเร็ว อัลไซเมอร์เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของโรคสมองเสื่อม โดยเป็นกลุ่มอาการผิดปกติทางสมองที่ทำให้เกิดการสูญเสียทักษะทางสมองและทักษะในการเข้าสังคม เกิดจากเซลล์สมองเสื่อมและตายไป ทำให้ประสิทธิภาพของความทรงจำและการทำงานของสมองลดลงเรื่อย ๆ การใช้ยาและวิธีการรักษาอัลไซเมอร์อาจทำให้อาการดีขึ้นเพียงชั่วคราว โดยอาจช่วยยืดเวลาการทำงานของสมองและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถช่วยตัวเองได้นานขึ้นเล็กน้อย แต่เนื่องจากอัลไซเมอร์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุดจึงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก โรคอัลไซเมอร์พบบ่อยเพียงใด อัลไซเมอร์เป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก แต่ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ อาการอาการของอัลไซเมอร์ ในระยะแรก อาการของโรคที่สังเกตได้ชัดเจนได้แก่ มีอาการหลงลืมหรือสับสนบ่อยขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป โรคนี้จะค่อย ๆ ทำให้ความทรงจำหายไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะความทรงจำในปัจจุบัน อัตราการทรุดลงของอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยความเปลี่ยนแปลงทางสมองที่สัมพันธ์กับอัลไซเมอร์จะทำให้เกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ความทรงจำ อาการหลงๆ ลืมๆ บางเวลาถือเป็นเรื่องปกติ แต่อัลไซเมอร์มักทำให้สูญเสียความทรงจำแบบเรื้อรังและอาการแย่ลงเรื่อย ๆ ซึ่งอาจส่งกระทบต่อความสามารถในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน โดยผู้ป่วยอัลไซเมอร์อาจจะมีอาการดังต่อไปนี้ พูดและถามซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยไม่รู้สึกตัวว่าได้ถามคำถามมาก่อนแล้ว ลืมการสนทนา การนัดหมาย หรือกิจกรรมต่าง ๆ และไม่สามารถระลึกได้เมื่อเวลาผ่านไป วางสิ่งของไว้ผิดที่เป็นประจำ ซึ่งมักวางไว้ในที่ที่ไม่ควรวาง หลงทางในสถานที่ที่คุ้นเคย ลืมชื่อสมาชิกในครอบครัวและวัตถุที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีปัญหาในการหาคำที่เหมาะสมเพื่อระบุวัตถุ แสดงความคิด หรือมีส่วนร่วมในการสนทนา การคิดและการให้เหตุผล อัลไซเมอร์ทำให้มีปัญหาในการจดจ่อและการคิด โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ตัวเลขต่าง ๆ การทำงานหลายอย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกันกลายเป็นเรื่องยาก […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท (Cervical herniated disc)

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท (Cervical herniated disc) อาจทำให้เกิดอาการปวด ชา หรือ เมื่อยล้าบริเวณคอ ไหล่ อก แขน และมือ ในบางกรณีอาจทำให้เกิดอาการปวดเสียวที่ส่วนอื่นของร่างกาย คำจำกัดความหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท คืออะไร หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท (Cervical herniated disc) เกิดจากการที่ส่วนใดส่วยหนึ่งของกระดูกสันหลัง ไปกดทับหรือรบกวนเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง และอาจทำให้เกิดอาการปวด อาการชา หรืออาการอ่อนแรงที่แขนหรือขาได้ อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่อาจจะไม่เกิดอาการจากการที่มีหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท และไม่จำเป็นต้องรับการรักษาเพิ่มเติมแต่อย่างใด หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท พบบ่อยเพียงใด หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นในทุกส่วนของกระดูกสันหลังได้ แต่ที่พบได้มากที่สุดคือบริเวณคอและกระดูกสันหลังส่วนล่าง โรคนี้มักเกิดขึ้นในกลุ่มคนอายุ 30 ถึง 50 ปี โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท มีอาการอย่างไร อาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ อาการปวด ชา หรือ อาการเมื่อยล้าบริเวณ คอ ไหล่ อก แขน และมือ ในบางกรณี หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทที่มีขนาดใหญ่มาก อาจทำให้เกิดอาการอ่อนแรง มีอาการปวดเสียวผิดปกติบริเวณส่วนอื่นๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการของคุณ โปรดปรึกษาแพทย์ เมื่อไหร่ควรไปพบหมอ หากคุณมีอาการหรือพบสัญญาณของอาการข้างต้น หรือมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ เพราะร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการต่างกัน โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่เหมาะสมกับคุณต่อไป สาเหตุสาเหตุของอาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท  อาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องของอายุที่มากขึ้น จึงทำให้ความยืดหยุ่นของหมอนรองกระดูกมีน้อยลง […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

วิธีแก้ปวดหัว สุดเจ๋ง ดูแลตัวเองได้...ไม่ต้องพึ่งยา

ปวดศีรษะ หรือปวดหัว เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน อาการปวดหัวมีด้วยกันหลายชนิด ทั้งปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็ง ปวดหัวจากความเครียด ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ หรือปวดหัวไมเกรน ในยามที่ปวดหัว คนส่วนใหญ่อาจคิดถึงการรักษาด้วยยา แต่ความจริงแล้ว ยังมี วิธีแก้ปวดหัว แบบไม่ต้องพึ่งยาอีกมากมาย ทำแล้วเห็นผลจริง มีอะไรบ้าง ไปดูกัน วิธีแก้ปวดหัว แบบไม่ต้องพึ่งยา ดื่มน้ำเปล่า จากการศึกษาพบว่า การขาดน้ำเรื้อรัง คือสาเหตุหลักของอาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็ง และปวดหัวไมเกรน และผู้ที่มีอาการปวดหัวรุนแรงส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้นภายใน 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมงหลังดื่มน้ำ ในแต่ละวันคุณจึงควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ หรือกินอาหารที่มีน้ำเยอะ เช่น แตงโม ส้ม โยเกิร์ต เพื่อป้องกันการขาดน้ำ ที่ไม่เพียงทำให้ปวดหัว แต่ยังทำให้ไม่มีสมาธิ และหงุดหงิดง่ายด้วย เสริมแมกนีเซียม แมกนีเซียม คือแร่ธาตุสำคัญที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระบบประสาท มีหลักฐานที่ชี้ชัดว่า ผู้ที่ปวดหัวไมเกรนเป็นประจำ เกิดภาวะขาดแมกนีเซียมบ่อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ปวดหัว และการกินอาหารเสริมแมกนีเซียมซิเตรตวันละ 600 มิลลิกรัมสามารถลดอาการปวดหัวไมเกรนได้ อย่างไรก็ตาม บางคนกินอาหารเสริมแมกนีเซียมแล้วอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย ดังนั้นควรเริ่มจากขนาดยาน้อยๆ ก่อน ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลการวิจัยพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่ปวดหัวเป็นประจำ เกิดอาการไมเกรนหลังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

หักกระดูกข้อต่อคอ หรือ หักคอ บ่อยๆ ระวัง! เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

หากคุณปวดเมื่อยต้นคอ ควรคิดให้ดีก่อนที่จะใช้วิธี หักกระดูกข้อต่อคอ หรือ หักคอ แก้เมื่อย เพราะผู้ที่ชอบ หักกระดูกข้อต่อคอ ด้วยตัวเอง  หรือแม้แต่การบำบัดอาการเจ็บป่วยด้วยการจัดกระดูกสันหลัง และการจัดกระดูกคอ ก็อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ อีกทั้งยังมีบทความในวารสารการแพทย์ของอังกฤษ (BMJ) ที่ระบุว่าการหักกระดูกข้อต่อคอ อาจเป็นสาเหตุให้คอเสียหายถาวรได้อีกด้วย ดังนั้น Hello คุณหมอ จะพาคุณไปรู้จักเรื่องนี้ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ [embed-health-tool-bmi] ทำไมต้อง “หักคอ” สิ่งที่เราเรียกว่าการ “หักคอ” อาจฟังดูน่ากลัว แต่แน่นอนว่ามันไม่ใช่สิ่งเดียวกับการทำให้ “คอหัก”แต่การ หักคอ เป็นสิ่งที่หลายคนนิยมทำ เพื่อใช้ในการผ่อนคลายอาการตึงเครียดที่ลำคอ ซึ่งมักเกิดขึ้นเวลาที่เราอยู่ในท่าหนึ่งท่าใดเป็นเวลานานๆ การหักหรือบิดกระดูกข้อต่อคอ จะช่วยในการยืดกล้ามเนื้อที่แข็งตึงบริเวณลำคอและข้อต่อ และคลายความตึงเครียดที่สะสมอยู่ในบริเวณนี้ ในการทำท่าหักคอเพื่อคลายเมื่อย จะทำให้เกิดสุญญากาศระหว่างข้อต่อและกล้ามเนื้อ และก๊าซไนโตรเจนก็จะไหลเข้ามาสู่น้ำในข้อต่อ และเมื่อกระดูกกลับสู่ท่าปกติ ก็จะผลักก๊าซพวกนั้นออกไป ซึ่งทำให้เกิดเสียงแกร็กอย่างที่เราได้ยิน และทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายจากอาการตึงลำคอ โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นภาวะที่สมองขาดเลือด เนื่องจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน ตีบ หรือฉีกขาด ทำให้เนื้อเยื่อสมองไม่ได้รับออกซิเจน จนเซลล์สมองถูกทำลาย ส่งผลให้การทำงานของร่างกายที่ควบคุมโดยสมองส่วนนั้นๆ เช่น ระบบความจำ การควบคุมกล้ามเนื้อ หยุดชะงัก โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดขึ้นกับได้กับคนทุกเพศทุกวัยและทุกเมื่อ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบางคนมีอาการไม่รุนแรง เช่น […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

โรคสมองจากโรคตับ (Hepatic encephalopathy)

โรคสมองจากโรคตับ เป็นอาการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับพฤติกรรม ภาวะทางจิตใจ และระบบประสาท ในผู้ที่มีภาวะตับล้มเหลว เกิดขึ้นในมากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยตับแข็ง คำจำกัดความ โรคสมองจากโรคตับ คืออะไร โรคสมองจากโรคตับ (Hepatic encephalopathy) หมายความถึงอาการที่เกิดความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับพฤติกรรม ภาวะทางจิตใจ และระบบประสาท ในผู้ที่มีภาวะตับล้มเหลว (liver failure) เชื่อกันว่าภาวะแอมโมเนียสูงในกระแสเลือดและสมองนั้นเป็นสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แบคทีเรียในกระเพาะอาหารและลำไส้จะทำให้เกิดก๊าซแอมโมเนีย โดยปกติแล้ว ตับมักเผาผลาญแอมโมเนีย (ทำให้แอมโมเนียไม่เป็นอันตราย) แต่ผู้ป่วยโรคตับนั้นจะมีก๊าซแอมโมเนียมากกว่าเนื่องจากตับไม่ทำงาน ก๊าซแอมโมเนียส่วนเกินจะเข้าไปในเลือดและสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติโดยแทรกแซงการทำงานของสมอง โรคสมองจากโรคตับพบได้บ่อยเพียงใด โรคสมองจากโรคตับเกิดขึ้นในมากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคตับแข็ง หากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะหมดสติ และเสียชีวิตได้ โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้ อาการ โรคสมองจากโรคตับมีอาการอย่างไร อาการหลักของโรคสมองจากโรคตับ ได้แก่ ไม่มีสมาธิ หลงลืม และมึนงง ผู้ป่วยรู้สึกง่วงซึม และมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ อาการเฉื่อยชา สูญเสียความทรงจำ และแม้กระทั่งหมดสติ อาการอื่นๆ ได้แก่ ดีซ่าน มีปัญหาในการพูด ตัวสั่น กระวนกระวาย และมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ประสานกันของร่างกาย นอกจากนี้ ผู้ป่วยมักมีอาการของโรคตับ เช่น ดีซ่าน หน้าอกขยายและอัณฑะเล็กลง (ในผู้ชาย) มีน้ำคั่งในช่องท้อง และขาบวม โรคสมองจากโรคตับแบ่งออกเป็นระดับ 1 […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

โพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)

โพรงสมองคั่งน้ำ หรือน้ำคั่งในโพรงสมอง เป็นการที่มีในสมองมีของเหลวส่วนเกิน ที่เพิ่มขนาดของโพรงสมอง และมีแรงกดลงบนสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีขนาดหัวโตขึ้น บางทีก็เรียก โรคหัวบาตร คำจำกัดความ โพรงสมองคั่งน้ำคืออะไร โพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus) หรือ น้ำคั่งในโพรงสมอง หรือน้ำท่วมสมอง เป็นการก่อตัวของของเหลวในโพรงสมอง ของเหลวส่วนเกินเพิ่มขนาดของโพรงสมองและมีแรงกดลงบนสมอง น้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (Cerebrospinal fluid) ไหลผ่านโพรงสมอง และหล่อเลี้ยงสมองและกระดูกสันหลัง แต่แรงดันของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังที่มากเกินไปที่สัมพันธ์กับภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ สามารถสร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อสมอง และทำให้เกิดระดับความเสียหายอย่างหนักต่อการทำงานของสมอง โพรงสมองคั่งน้ำพบได้บ่อยเพียงใด ถึงแม้ว่าภาวะโพรงสมองคั่งน้ำสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบได้มากกว่าในทารกและผู้สูงอายุ สถาบัน The National Institute of Neurological Disorders and Stroke (NINDS) ในสหรัฐฯ ประมาณการไว้ว่า จำนวน 1 ถึง 2 รายจากทารกทุกๆ 1,000 ราย เกิดมาโดยมีภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโพรงสมองคั่งน้ำคืออะไร สิ่งบ่งชี้และอาการของภาวะโพรงสมองคั่งน้ำโดยทั่วไปมีความหลากหลายตามช่วงอายุที่มีอาการ ทารก สิ่งบ่งชี้และอาการของภาวะโพรงสมองคั่งน้ำที่พบได้ทั่วไปในทารก ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงในศีรษะ ศีรษะใหญ่ผิดปกติ ขนาดศีรษะใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว จุดอ่อน (ขม่อม) บนศีรษะนูนหรือแข็ง อาการทางร่างกาย อาเจียน ง่วงนอน หงุดหงิด ไม่มีความอยากอาหาร มีอาการชัก ตาตก กล้ามเนื้อขาดความตึงตัวและความแข็งแรง การตอบสนองต่อการสัมผัส และการเจริญเติบโตตามความเหมาะสม เด็กวัยหัดเดินและเด็กโต ในเด็กวัยหัดเดินและเด็กโต สิ่งบ่งชี้และอาการ ได้แก่ อาการทางร่างกาย ปวดศีรษะ การมองเห็นไม่ชัดหรือเกิดภาพซ้อน สิ่งบ่งชี้ทางร่างกาย การขยายตัวที่ผิดปกติของศีรษะของเด็กวัยหัดเดิน อาการง่วงนอน มีปัญหาในการตื่นตัวหรือตื่นนอน คลื่นไส้หรืออาเจียน สมดุลร่างกายไม่คงที่ การประสานกันของอวัยวะร่างกายไม่ดี ขาดความอยากอาหาร มีอาการชัก การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและการรับรู้ อาการหงุดหงิด บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง สมาธิสั้น ความสามารถในการเรียนลดลง มีทักษะที่เรียนรู้มาช้าลงหรือมีปัญหา เช่น การเดินหรือการพูด วัยหนุ่มสาวและวัยกลางคน สิ่งบ่งชี้และอาการที่พบได้ในกลุ่มวัยนี้ ได้แก่ ปวดศีรษะ มีปัญหาในการตื่นตัวหรือตื่นนอน สูญเสียการประสานงานกันหรือสมดุลของร่างกาย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปวดปัสสาวะบ่อย มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ความจำ สมาธิ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมอง ต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จัดเป็นโรคร้ายแรงที่ควรได้รับการรักษาทันที เพราะโรคนี้สามารถทำให้เซลล์สมองถูกทำลายจนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และหลังจากที่คุณรอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ร่างกายจะฟื้นตัวได้เร็ว หรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับบริเวณสมองที่กระทบกระเทือน รวมถึง ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมอง ต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ของแต่ละบุคคล ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนกันค่ะ ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมอง ต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย 1. ระบบทางเดินหายใจ กล้ามเนื้อบริเวณคอ ลิ้น และปาก ถ้ากล้ามเนื้อบริเวณคอ ลิ้น หรือปากไม่สามารถนำอาหารเข้าสู่หลอดอาหารได้ อาจทำให้อาหารและของเหลวหลุดเข้าไปทางเดินหายใจและปอดได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น การติดเชื้อ และปอดบวม (Pneumonia) ปัญหาการกลืน ความเสียหายของสมองในบริเวณที่ควบคุมการกินและการกลืน สามารถทำให้คุณเกิดภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้กลืนอาหารได้ยาก โดยถือเป็นอาการที่พบบ่อยที่จะเกิดขึ้นหลังการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ปัญหาการหายใจ ถ้าโรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นบริเวณก้านสมอง ซึ่งควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิร่างกาย สามารถทำให้มีปัญหาในการหายใจ ซึ่งการเกิดโรคหลอดเลือดสมองลักษณะนี้อาจนำไปสู่อาการโคม่าหรือเสียชีวิตได้ 2. ระบบประสาท ระบบประสาททำงานไม่แม่นยำ ระบบประสาทสร้างขึ้นมาจากสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และเครือข่ายเส้นประสาททั่วร่างกาย โดยระบบประสาทจะส่งสัญญาณไปมาระหว่างร่างกายกับสมอง แต่เมื่อสมองถูกทำลายจะทำให้รับสัญญาณได้ไม่แม่นยำ การรับรู้เปลี่ยนแปลงไป การรับรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้สมองไม่เข้าใจความรู้สึกบางอย่าง เช่น ความรู้สึกอบอุ่น ความรู้สึกหนาว […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

ภาวะสมองเสื่อม กับ โรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันอย่างไร

จากสถิติชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 34 อายุน้อยกว่า 65 ปี โรคหลอดเลือดสมองจึงอาจเกิดขึ้นได้ในทุกวัย นอกจากนี้สำหรับผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง มีงานวิจัยที่พบความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสมองเสื่อม กับ โรคหลอดเลือดสมอง ลองมาดูกันว่า ภาวะสมองเสื่อม กับ โรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันอย่างไร สามารถป้องกันได้หรือไม่ Hello คุณหมอ มีบทความดีๆ มาให้อ่านกันค่ะ โรคหลอดเลือดสมอง กับ ภาวะสมองเสื่อม เกี่ยวข้องกันอย่างไร งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ ประเทศอังกฤษ ได้วิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) กับภาวะสมองเสื่อม (Dementia) จากคนทั่วโลกประมาณ 3.2 ล้านคน ผลการวิจัยพบว่า ยังคงมีความเชื่อมโยงระหว่างโรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองเสื่อม แม้ว่าจะคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆแล้ว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงอาจใช้ผลการวิจัยเป็นหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนข้อมูลว่า การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่ ไม่ได้มีการพัฒนาภาวะสมองเสื่อม ดังนั้นการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อตรวจสอบว่าการดูแลสุขภาพหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และการปรับเปลี่ยนใช้ชีวิตประจำวันอย่างระมัดระวัง ทั้งการรับประทานอาหาร การใส่ใจดูแลตนเองโดยออกกำลังกาย และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ สามารถลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้หรือไม่ คุณสามารถป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะสมองเสื่อม ได้หรือไม่ การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลสุขภาพหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

ประโยชน์ของโบท็อกซ์ กับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับโบท็อกซ์ (Botox) สิ่งแรกที่คุณคิดเมื่อเห็นคำนี้คืออะไร? อาจเป็นศัลยกรรมเพื่อความงาม ดูแลผิวพรรณ หรือรอยเหี่ยวย่น อย่างไรก็ดี บทความนี้จะไม่พูดถึงโบท็อกซ์ในด้านที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว แต่จะพูดถึงประโยชน์ในด้านอื่นๆ ของโบท็อกซ์ ที่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ทราบ นั่นก็คือ ประโยชน์ของโบท็อกซ์ กับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง นั่นเอง โบท็อกซ์คืออะไร โบทูลินัมทอกซิน ชนิดเอ (Botulinum toxin type A) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโบท็อกซ์  ที่รู้จักกันว่า เป็นสารชีวภาพที่มีพิษชนิดหนึ่ง สร้างขึ้นโดยแบคทีเรีย Clostridium botulinum โบท็อกซ์เป็นสารพิษชนิดเดียวกันกับสารพิษที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษ ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ในการใช้โบท็อกซ์จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โบท็อกซ์ มีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้ ในการทำหัตถการเพื่อความงาม ลบเลือนริ้วรอยและรอยย่นที่ใบหน้า คาง คอ และหน้าอก ในทางการแพทย์ โบท็อกซ์จัดเป็นการรักษาชนิดหนึ่ง สำหรับอาการทางสุขภาพอื่นๆบางประการได้ ถึงแม้จะให้ผลการรักษาเพียงชั่วคราว แต่โบท็อกซ์ก็ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากใช้งานง่ายและได้ผลการรักษาที่รวดเร็ว การทำหัตถการหนึ่งครั้งใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก่อนจะใช้ โบท็อกซ์ ทุกครั้ง ควรอยู่ในการควบคุมดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม โบท็อกซ์ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร หรือผู้ที่มีประวัติเคยแพ้โบท็อกซ์ ซึ่งเป็นข้อควรระมัดระวังก่อนการฉีด   ประโยชน์ของโบท็อกซ์ ในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง โบท็อกซ์ จะถูกใช้ภายในกล้ามเนื้อ หมายความว่า แพทย์จะฉีดโบท็อกซ์เข้าไปในกล้ามเนื้อของคุณ เมื่อฉีดโบท็อกซ์แล้ว โบท็อกซ์จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อเฉพาะจุดเป็นอัมพาตหรือปิดกั้นเส้นประสาทบางชนิด ดังนั้น โบท็อกซ์จึงสามารถช่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ไมเกรนกำเริบ! อาจมาจากอาหารก็ได้ มาเช็ก อาหารกระตุ้นไมเกรน กัน

อาการปวดหัวข้างเดียวที่เรารู้จักกันในชื่อของ “ไมเกรน” ไมเกรนเป็นอาการปวดหัว ที่หลายคนบอกว่าแสนทรมาน และไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น หนึ่งในปัจจัยที่กระตุ้นให้อาการปวดหัวไมเกรนกำเริบขึ้นมาได้ ใกล้ตัวคุณอย่างที่สุด ก็คืออาหารที่คุณกิน แต่ อาหารกระตุ้นไมเกรน คืออะไรกันบ้าง? ตาม Hello คุณหมอ ไปดูกันเลย ไมเกรนกับอาหาร ไมเกรน เป็นอาการปวดหัวเรื้อรัง มีลักษณะพิเศษต่างจากอาการปวดหัวทั่วไป คือ ความรู้สึกของการปวดแบบตุ้บๆ อาการปวดที่มักเกิดขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของศีรษะ และมักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ ไวต่อแสง เสียง และกลิ่น บางคนอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางการมองเห็น หรือที่เรียกว่าออร่า สาเหตุของไมเกรนไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งเชื่อว่า เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่ผิวสมอง ทำให้สมองเกิดการกระตุ้นได้ง่ายและค่อนข้างไวกว่าคนปกติ หลังจากสมองถูกกระตุ้น จะเกิดกระแสไฟฟ้าที่ทำให้การไหลเวียนของเลือดในสมองเปลี่ยนแปลง และไปกระตุ้นเส้นประสาทสมอง ทำให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทบางชนิด ทำให้หลอดเลือดสมองขยายตัวและเกิดการอักเสบขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวในที่สุด ปัจจัยที่กระตุ้นให้สมองเกิดอาการปวดขึ้นมานี้ มีหลายอย่างด้วยกัน เช่น ฮอร์โมน ความเครียด หรืออาหาร โดยผู้ที่เป็นไมเกรนราวร้อยละ 27-30 เชื่อว่าอาหารบางอย่างสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นมาได้ ถึงแม้เรื่องนี้จะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ก็มีการศึกษาที่ชี้ว่า คนบางคนที่เป็นไมเกรนอาจมีอาการกำเริบได้จากการกระตุ้นของอาหารบางชนิด สำหรับอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนในแต่ละคน อาจแตกต่างกัน อาหารกระตุ้นไมเกรน ที่ทำให้ไมเกรนกำเริบ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ไม่มีคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับอาหารที่สามารถกระตุ้นให้เกิดไมเกรน แต่งานวิจัยจำนวนหนึ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของอาหารเหล่านี้กับการเกิดอาการไมเกรน ซึ่งสามารถเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยไมเกรน ในการสังเกตตัวเอง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน