ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในร่างกาย เมื่อระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้อย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองและระบบประสาท รวมถึงการป้องกันและการรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระบบประสาทและสมอง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

หมวดหมู่ ระบบประสาทและสมอง เพิ่มเติม

โรคลมชักและอาการชัก

สำรวจ ระบบประสาทและสมอง

ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย

อาการชาที่มือและแขนขณะนอนหลับ เกิดจากอะไรกันแน่

อาการชาที่มือและแขนขณะนอนหลับ หรือ Paresthesia เป็นความรู้สึกเหมือนมีเข็มหรือหนามจำนวนมากมาทิ่มที่มือและแขน  ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งที่ไม่รุนแรงไปจนถึงระดับที่รุนแรงจนต้องขอคำปรึกษาจากคุณหมอ อย่างไรก็ตาม อาการชาดังกล่าวเป็นความรู้สึกที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า [embed-health-tool-bmi] อาการชาที่มือและแขนขณะนอนหลับ เกิดจากอะไร อาการชาที่มือและแขนขณะนอนหลับมักมีอาการเป็นระยะเวลาสั้น ๆ และเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว บางครั้งสาเหตุของ อาการชา ก็มาจากท่าทางในการนอน เนื่องจากในขณะนอนหลับ ร่างกายบางส่วนอาจไปกดทับเส้นประสาทที่แขนเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการชาได้ หากมีการเปลี่ยนท่าทางการนอนก็อาจทำให้อาการชาหายไป  นอจากนั้น อาการชาที่มือและแขนก็อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ดังต่อไปนี้ Carpal tunnel syndrome Carpal tunnel syndrome (CTS) เป็นโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ส่วนใหญ่คนที่เป็นโรคนี้มักมีการใช้นิ้วมืออย่างหนัก ใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น การพิมพ์งาน การเล่นเปียโน ส่งผลให้เกิดการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือมากเกินไป และทำให้เกิดอาการปวดชาที่มือและแขน บางรายอาจพบอาการมืออ่อนแรงเช่น กำมือได้ไม่แน่น หยิบของแล้วหล่นง่าย และพบว่ามีอาการมากขึ้นในตอนกลางคืน เมื่อตื่นขึ้นมากลางดึกก็จะมีอาการปวด แต่เมื่อสะบัดข้อมือแล้วอาการก็จะดีขึ้น กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวมือซ้ำ ๆ เช่น การพิมพ์หรือใช้งานเครื่องจักร ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นได้มากขึ้น โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเส้นประสาทเสียหาย เรียกว่า โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงและระดับไขมันในเลือดสูงเข้าไปทำลายเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการชาที่ขาและเท้า และอาจส่งผลต่อ อาการชา ที่มือและแขนได้เช่นกัน ขาดวิตามินบี เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี สามารถทำให้เกิดปัญหาได้มากมาย รวมถึงโรคโลหิตจางและอาการเหน็บชาอย่างรุนแรง […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดศีรษะเรื้อรัง (Chronic Headache)

คำจำกัดความปวดศีรษะเรื้อรังคืออะไร หลายคนอาจมีอาการปวดหัว หรือปวดศีรษะอยู่เป็นประจำ แต่ถ้ามีอาการปวดติดต่อกันหลายวัน ก็เป็นไปได้ที่ผู้เกิดอาการอาจมีภาวะปวดศีรษะเรื้อรัง เนื่องจากอาการปวดศีรษะเรื้อรังมักเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงถูกจัดอยู่ในประเภทอาการปวดศีรษะที่รุนแรงที่สุดชนิดหนึ่ง การเข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการจัดการในระยะยาวอาจช่วยลดความเจ็บปวดจากอาการปวดศีรษะเรื้อรังได้ ปวดศีรษะเรื้อรังพบได้บ่อยเพียงใด อาการปวดศีรษะเรื้อรังพบได้ทั่วไป มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และเกิดขึ้นได้ในทุกวัย สามารถควบคุมได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อาการปวดศีรษะเรื้อรังตามคำจำกัดความ ก็คือ เกิดอาการปวดศีรษะอย่างต่อเนื่องนาน 15 วันหรือมากกว่าต่อเดือน และเกิดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน และภาวะปวดศีรษะปฐมภูมินั้นไม่ได้เกิดจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ ภาวะปวดศีรษะเรื้อรังมีทั้งแบบที่เป็นในระยะสั้นและระยะยาว ภาวะระยะยาวนั้นอาจเกิดอาการปวดศีรษะต่อเนื่องมากกว่า 4 ชั่วโมง ซึ่งประกอบด้วยอาการปวดศีรษะประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้ ไมเกรนเรื้อรัง ปวดศีรษะจากความเครียดเรื้อรัง ปวดศีรษะแบบสม่ำเสมอ ปวดศีรษะข้างเดียวแบบเป็นๆ หายๆ แต่ไม่เคยหายสนิท 1.ไมเกรนเรื้อรัง ปกติแล้วอาการปวดศีรษะชนิดนี้ จะเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่เคยมีประวัติปวดศีรษะไมเกรนมาก่อน ผู้เกิดอาการจะปวดศีรษะไมเกรนมากกว่า 8 วันต่อเดือน ติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน โดยอาการของไมเกรนมีดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง รู้สึกปวดศีรษะแบบตุบๆ ปวดศีรษะระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง อาการกำเริบแรงขึ้นเมื่อใช้ร่างกายทำกิจวัตรประจำวัน ไมเกรน อาจก่อให้อาจอาการต่อไปนี้ร่วมด้วยได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน หรือทั้งสองอย่าง มีปฏิกิริยาอ่อนไหวต่อการรับแสงและได้ยินเสียง 2. ปวดศีรษะจากความเครียดเรื้อรัง ปวดศีรษะจากความเครียดมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะทั้งสองข้าง ปวดศีรษะระดับอ่อนๆ ถึงปานกลาง รู้สึกปวดศีรษะแบบถูกกด ถูกบีบรัด ไม่ใช่ปวดแบบตุบๆ อาการไม่กำเริบเมื่อใช้ร่างกายทำกิจวัตรประจำวัน ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการปวดตึงทั้งศีรษะ 3. ปวดศีรษะแบบสม่ำเสมอ อาการปวดศีรษะชนิดนี้มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ปกติแล้วจะเกิดในกลุ่มคนที่ไม่เคยมีประวัติปวดศีรษะมาก่อน และจะเกิดอาการซ้ำขึ้นอีกครั้งภายใน 3 วันหลังจากปวดศีรษะครั้งแรก อาการของการปวดศีรษะแบบสม่ำเสมอจะมีอาการเฉพาะที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนอย่างน้อย 2 ประการจากอาการด้านล่างนี้ ปวดศีรษะทั้งสองข้าง รู้สึกปวดศีรษะแบบถูกกด ถูกบีบรัด ไม่ใช่ปวดแบบตุบๆ ปวดศีรษะระดับอ่อนๆ ถึงปานกลาง อาการไม่กำเริบขณะทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ 4. ปวดศีรษะข้างเดียวแบบเป็นๆ หายๆ อาการมีดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะข้างเดียว ปวดศีรษะทุกวันอย่างต่อเนื่อง และไม่เคยหายปวดสนิท ปวดศีรษะระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง ตอบสนองต่อยาแก้ปวดชนิดอินโดเมทาซิน […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดศีรษะ (Headache)

ปวดศีรษะ มีตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรง สามารถกินยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการได้ ไปจนถึงอาการปวดหัวรุนแรง ซึ่งถ้าคุณมีอาการปวดหัวเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรักษาอาการต่อไป คำจำกัดความอาการ ปวดศีรษะ คืออะไร อาการปวดศีรษะ คืออาการปวดที่อาจขึ้นได้ในทุกบริเวณของศีรษะ อาจปวดทั้งสองข้าง หรือปวดเพียงข้างใดข้างหนึ่ง อาจปวดรุนแรง ปวดจี๊ด หรือ ปวดตื้อ อาการอาจค่อย ๆ เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นโดยฉับพลัน และอาจปวดเป็นชั่วโมงหรือปวดตลอดวัน อาการปวดศีรษะแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ (Primary headaches) เป็นการปวดศีรษะที่ไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ ปวดไมเกรน ปวดศีรษะจากความเครียด และปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ปวดศีรษะแบบทุติยภูมิ (Secondary headaches) เป็นอาการปวดศีรษะที่เกิดจากโรคอื่น ๆ ปวดศีรษะ พบได้บ่อยแค่ไหน อาการปวดศีรษะเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในคนทุกเพศ ทุกวัย แต่สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะอาจแตกต่างกันไป ตามประเภทของการปวดศีรษะ เช่น อาการปวดศีรษะที่เกิดจากความเครียด (Tension headache) มีอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง มีอาการปวดทั้งศีรษะ มีอาการปวดตลอดทั้งวัน ปวดตอนตื่นนอน มีอาการเหนื่อยล้า ไม่มีสมาธิ มีปฏิกิริยาไวต่อแสงและเสียงดัง ปวดกล้ามเนื้อ อาการปวดศีรษะไมเกรน (Migraines headache) มีอาการปวดปานกลางถึงรุนแรง ตาพร่า คลื่นไส้และอาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร เกิดจุดบอดในตา ผิวซีด อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster headaches) ปวดแบบสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีอาการปวดรุนแรงคล้ายอาการแสบไหม้ หรือถูกเจาะ ปวดบริเวณด้านข้างศีรษะ ปวดที่ดวงตาหรือบริเวณกระบอกตาข้างใดข้างหนึ่ง เพียงข้างเดียวตลอดโดยไม่เปลี่ยนข้าง อาการจะค่อยๆ หายไป และจะกลับมามีอาการใหม่ภายในวันเดียวกัน หรือวันต่อๆ ไป สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด โดยทั่วไป […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension Headaches)

ปวดศีรษะจากความเครียด สามารถรักษาได้ และอาจไม่สร้างความเสียหายต่อระบบประสาท แต่หากอาการปวดศีรษะจากความเครียดเกิดขึ้นเรื้อรัง อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ หากมีอาการปวดหัวเฉียบพลัน หรือปวดหัวเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ คำจำกัดความปวดศีรษะจากความเครียด คืออะไร ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension Headaches) คืออาการปวด ตึง หรือปวดเหมือนมีแรงกดบริเวณหน้าผาก ท้ายทอย และคอ โดยมักมีอาการปวดศีรษะเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยอาจอธิบายลักษณะของการปวดว่า คล้ายกับมีเชือกมารัดรอบศีรษะ หรือมีคีมมาหนีบบริเวณกระโหลกไว้ การปวดศีรษะจากความเครียดสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเภทย่อยๆ คือ อาการปวดศีรษะจากความเครียดแบบครั้งคราว (episodic tension headaches) หมอจะวินิจฉัยว่าคุณมีอการปวดศีรษะประเภทนี้ก็ต่อเมื่อมีความถี่ในการปวดศีรษะน้อยกว่า 15 วันต่อเดือน การปวดศีรษะจากความเครียดแบบเรื้อรัง (chronic tension headaches) โดยหมอจะวินิจฉัยว่าคุณมีอการปวดศีรษะแบบนี้ หากคุณมีความถี่ในการปวดศีรษะมากกว่า 15 วันต่อเดือน การปวดศีรษะจากความเครียดรุนแรงพบได้บ่อยเพียงใด เป็นอาการที่พบได้บ่อยครั้ง ส่วนใหญ่พบในเพศหญิงมากกว่าชาย และพบได้ในคนทุกวัย สามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของการปวดศีรษะจากความเครียดมีอะไรบ้าง สัญญาณและอาการที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ อาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง หรือรู้สึกเหมือนถูกกดบริเวณหน้าผาก ส่วนบนของศีรษะ และศีรษะด้านข้าง อาการปวดมักเกิดในช่วงบ่าย มีปัญหาการนอนหลับ รู้สึกเพลียและเหนื่อยล้า กระสับกระส่าย ไม่สบายตัว ไม่มีสมาธิจดจ่อ มีปฎิกิริยาไวต่อเสียงและแสง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตื้อบริเวณศีรษะ รู้สึกหนักเหมือนมีอะไรมากดบริเวณหน้าผาก รู้สึกปวดบริเวณรอบหน้าผากและหนังศีรษะ หากคุณมีสัญญาณหรืออาการอื่นที่ไม่ได้ระบุข้างต้น และกังวลกับอาการดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์ เมื่อใดควรไปพบหมอ ควรปรึกษาแพทย์หากคุณมีอการดังต่อไปนี้ อาการปวดศีรษะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ต้องพึ่งยาบรรเทาอาการปวดเกินกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีลักษณะอาการปวดศีรษะที่แตกต่างจากเดิมที่เคยเป็น มีอาการปวดศีรษะรุนแรงแบบฉับพลัน มีไข้สูง คอแข็ง สับสน ชัก ตาพร่า อ่อนแรง […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ลักษณะอาการปวดศีรษะ แบบไหนที่กำลังเล่นงานคุณอยู่ตอนนี้ เช็กเลย!

หลายคนคงเคยมีอาการปวดศีรษะกันมาแล้ว บางคนก็มีอาการเป็นครั้งคราวและไม่รุนแรงมากนัก ในขณะที่บางคนมีอาการปวดรุนแรงชนิดที่ว่าไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติได้เลย แล้วคุณเคยสังเกตกันบ้างไหมว่า อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นกับคุณในแต่ละครั้งนั้นมีลักษณะแตกต่างกันบ้างไหม และเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ บทความนี้จะนำคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ลักษณะอาการปวดศีรษะ ประเภทต่างๆ ที่สามารถบ่งบอกถึงภาวะสุขภาพที่คุณอาจเผชิญอยู่ได้ อาการปวดศีรษะคืออะไร อาการปวดศีรษะเป็นคำจำกัดความรวมสำหรับอาการปวดบริเวณศีรษะ ซึ่งสามารถจำแนก ลักษณะอาการปวดศีรษะ ออกไปได้กว่า 150 ชนิด สามารถพบได้ทั่วไปในทุกปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเมาค้าง เมารถ เครียดจัด หรือเป็นเนื้องอกในสมอง ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ทั้งสิ้น อีกทั้งอาการปวดศีรษะยังสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ ทุกเชื้อชาติ และทุกเพศโดยผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะกว่าร้อยละ 50 นั้นมักรักษาอาการปวดด้วยตัวเองมากกว่าไปปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ตาม อาการปวดศีรษะนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ส่งผลเสียรุนแรงต่อสุขภาพได้ คุณจึงควรปรึกษาแพทย์ หากอาการปวดศีรษะของคุณก่อให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้ สับสนหรือสื่อสารสับสน เป็นลม ไข้สูงกว่า 39-40 องศาเซลเซียส เกิดอาการชา อ่อนเพลีย หรือมีอาการอัมพฤกษ์ครึ่งซีก ขยับไม่ได้ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย คอแข็ง มีปัญหาการมองเห็น มีปัญหาการพูด มีปัญหาการเดิน คลื่นไส้ หรืออาเจียน ที่ชี้ชัดว่าไม่ได้เกิดจาก ไข้หวัด หรืออาการเมาค้าง แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากประวัติทางการแพทย์และรายละเอียดของอาการที่ตรวจพบ ก่อนจะแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสม กับประเภทของการปวดศีรษะให้กับคุณ ลักษณะอาการปวดศีรษะ มีอะไรบ้าง อาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ ปวดศีรษะจากความเครียด ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension headaches) เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่น โดยสามารถเรียกได้หลายชื่อ ได้แก่ ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อในศีรษะหดตัว (muscle contraction headache) […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache)

การ ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster headache) คือการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นเพียงด้านใดด้านหนึ่ง บ่อยครั้งเกิดขึ้นบริเวณรอบดวงตา คำจำกัดความปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ คืออะไร การ ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster headache) คือการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นเพียงด้านใดด้านหนึ่ง บ่อยครั้งเกิดขึ้นบริเวณรอบดวงตา อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ นั้นมักมีอาการรุนแรง และถือเป็นหนึ่งในอาการปวดที่รุนแรงที่สุดประเภทหนึ่งของการปวดศีรษะ ที่จะเกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องนานเป็นสัปดาห์ (ประมาณ 4-12 สัปดาห์) ตามด้วยช่วงเวลาที่อาการทุเลาลงเมื่ออาการปวดศีรษะหายไป การ ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ พบบ่อยเพียงใด อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ นั้นไม่ใช่โรคที่พบได้ทั่วไป สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง การปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ส่วนใหญ่มักพบในเพศชาย และจะมีอาการรุนแรงขึ้นเมื่ออายุเกิน 20 ปี โปรดปรึกษาแพทย์หากคุณต้องการข้อมูลและคำแนะนำเพิ่มเติม อาการอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ มีอะไรบ้าง อาการส่วนใหญ่ของการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ได้แก่ อาการปวดรุนแรงมาก และบ่อยครั้งมักได้รับการอธิบายว่ามีความรู้สึกเหมือนโดนของแหลมทิ่มแทง เหมือนโดนเผา หรือโดนเจาะที่ศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง มักเกิดขึ้นบริเวณรอบดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง บางครั้งอาจกินบริเวณกว้างทั่วใบหน้า ศีรษะ ต้นคอและหัวไหล่ การปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์มักเกิดขึ้นทันทีทันใด และไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า กระวนกระวายและกระสับกระส่ายระหว่างมีอาการ ตาแดงและมีน้ำตาไหล คัดจมูก หรือน้ำมูกไหลในด้านที่มีอาการปวด เหงื่อออกทั่วใบหน้า ผิวซีด หรือหน้าแดง เปลือกตาตก หรือตาข้างหนึ่งมีอาการบวมที่เปลือกตา อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ นั้นจะหยุดหรือทุเลาลงในช่วงเวลา 1 เดือนหรือมากกว่า บางครั้งเรียกว่า การปวดแบบครั้งคราว การปวดศีรษะคลัสเตอร์แบบเรื้อรังอาจมีอาการต่อเนื่องยาวนานเป็นปีๆ หรือมีช่วงเวลาที่ไม่แสดงอาการน้อยกว่า 1 เดือน ในช่วงเวลาที่มีอาการปวด อาการปวดจะเกิดขึ้นทุกวัน บางครั้งเกิดขึ้นหลายครั้งในหนึ่งวัน ในเวลาเดิมๆ โดยการปวดแต่ละครั้งมักคงอยู่ราวๆ  15 […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

ภาวะหลอดเลือดแข็ง หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยของโรคหลอดเลือดสมอง

ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเกิดจากอิทธิพลของหลายปัจจัยเสี่ยง นอกเหนือจากปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้แล้ว ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะโรคบางอย่างเช่น ภาวะหลอดเลือดแข็ง และนี่คือข้อมูลที่คุณควรรู้ ปัจจัยเสี่ยงทั่วไปของโรคหลอดเลือดสมอง ยิ่งคุณมีปัจจัยเสี่ยงสูงมากเท่าใด คุณก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นเท่านั้น และปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ อายุ ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้น ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดเพิ่มขึ้น เพศ เพศชายพบโรคหลอดเลือดสมองพบมากกว่าเพศหญิง ประวัติมีสมาชิกในครอบครัวเคยเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และที่พบได้บ่อยเช่นกันก็คือ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากภาวะโรค ที่พบได้บ่อยก็อย่างเช่นภาวะหลอดเลือดแข็ง ภาวะหลอดเลือดแข็งคืออะไร หลอดเลือดแดง (Arteries) คือหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจ ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย หลอดเลือดแดงจะมีชั้นของเยื่อบุบางๆ ที่ประกอบด้วยเซลล์เรียกว่า เอนโดธีเลียม (endothelium) โดยเอนโดธีเลียมจะทำให้ภายในหลอดเลือดมีความแข็งแรงและพื้นผิวที่เรียบลื่น ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนได้อย่างคล่องตัวหากเอนโดธีเลียมเกิดความเสียหาย ผลที่ตามมาก็คือการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) ความเสียหายนี้เกิดขึ้นได้จากภาวะความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ และระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่การจับตัวกันเป็นคราบ (plaque) ทำให้หลอดเลือดตีบและผนังหลอดเลือดแข็ง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นอย่างอย่างช้าๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว แต่ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดตกอยู่ในภาวะเสี่ยง ภาวะหลอดเลือดแข็งนี้พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุทำให้หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ซึ่งทั้งหมดนี้มักเรียกรวมกันว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases) สาเหตุของภาวะหลอดเลือดแข็ง ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) มักไม่แสดงอาการจนกระทั่งล่วงเข้าวัยกลางคนหรือสูงวัย แต่เมื่อหลอดเลือดตีบมากขึ้น ทำให้การสูบฉีดโลหิตติดขัด และอาจเกิดความเจ็บปวดขึ้นได้ ผนังภายในหลอดเลือดที่อุดตันยังอาจเกิดการฉีกขาดแบบเฉียบพลัน ซึ่งทำให้เกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดแดง ในบริเวณที่ฉีกขาดหรือแตก และนำไปสู่การอุดตันแบบเฉียบพลันของหลอดเลือดแดงนั้น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน และหัวใจวายเฉียบพลัน ปัจจัยเสี่ยงและอาการของภาวะหลอดเลือดแข็ง แพทย์จะทำการพิจารณาประวัติทางการแพทย์ของคุณ หากคุณมีหนึ่งในภาวะทางสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คุณก็มีแนวโน้มที่เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ได้แก่ มีอาการเจ็บเค้นที่หัวใจ (Angina […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

สัญญาณเตือนเริ่มแรกของโรคหลอดเลือดสมอง ที่คุณไม่ควรเพิกเฉย

มีหลายคนที่ไม่รู้จัก สัญญาณเตือนเริ่มแรกโรคหลอดเลือดสมอง สิ่งสำคัญเมื่อเกิดโรคหลอดเลือดสมองก็คือ ผู้เกิดอาการควรได้รับการรักษาภายใน 6 ชั่วโมงแรก การรักษาที่ชักช้าในหลายกรณี ทำให้ฟื้นตัวได้ยากมากขึ้น หรือกระทั่งไม่อาจที่จะรักษาเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นเราจึงควรรู้จักอาการของโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อที่จะได้หาหนทางแก้ไขให้ทันท่วงที โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากอะไร เช่นเดียวกับหลายส่วนในร่างกายของคนเรา เซลล์สมองจำเป็นต้องได้รับการหล่อเลี้ยงจากเลือดเพื่อความอยู่รอด โรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นได้ เมื่อบางส่วนของสมองมีเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ โรคหลอดเลือดสมองมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกคือภาวะสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) เกิดจากการขาดเลือดเมื่อหลอดเลือดอุดตัน ส่วนอีกชนิดคือภาวะเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการตกเลือดในสมอง ภาวะสมองขาดเลือดเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าร้อยละ 80 หากเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้อย่างกะทันหัน จะเรียกว่าเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient Ischemic Attack: TIA) ภาวะนี้บ่งชี้ได้ว่า ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างถาวร ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยจึงควรรักษาโรคหลอดเลือดสมองอย่างจริงจัง สาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดสมองและภาวะ TIA เกิดจากโรคหลอดเลือดแดงคาโรติด (Carotid Artery Disease) ซึ่งหมายถึงการที่คราบไขมันเกาะอยู่ในหลอดเลือดแดงคาโรติด ปิดกั้นเส้นทางของเลือดที่จะขึ้นไปเลี้ยงสมอง ส่วนภาวะเลือดออกในสมองนั้นเกิดขึ้นได้น้อยกว่า โดยสาเหตุของภาวะเลือดออกในสมองนั้น เกิดขึ้นจากการแตกตัวของหลอดเลือดหรือการโป่งพองของหลอดเลือด (ซึ่งหมายถึงหลอดเลือดมีการขยายตัวเพราะผนังหลอดเลือดอ่อนแอ) ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง การมีอาการดังต่อไปนี้ เพิ่มความเสี่ยงของคุณที่จะป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation) หมายถึงอัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ หลอดเลือดอุดตันหรือแข็งตัว เคยมีประวัติเกิดภาวะ TIA เคยมีประวัติเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เคยมีประวัติหัวใจวาย อาการของโรคหลอดเลือดสมอง อาการของโรคหลอดเลือดสมองมักจะเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน อาการโดยทั่วไปมีดังต่อไปนี้ เกิดความรู้สึกชาหรืออ่อนแรงอย่างปัจจุบันทันด่วน บริเวณใบหน้า แขน […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

ความจำเสื่อม (Amnesia)

ความจำเสื่อม (Amnesia) เป็นภาวะสูญเสียความทรงจำ โดยเป็นการสูญเสียข้อมูล ข้อเท็จจริง และประสบการณ์ส่วนตัว ความจำเสื่อมในขั้นรุนแรง อาจส่งผลต่อความสามารถในการสร้างความทรงจำใหม่ อาการความจำเสื่อม อาจเกิดขึ้นทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวร   คำจำกัดความความจำเสื่อม คืออะไร ความจำเสื่อม (Amnesia) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลุ่มอาการความจำเสื่อม (Amnesic Syndrome) เป็นภาวะสูญเสียความทรงจำ โดยเป็นการสูญเสียข้อมูล ข้อเท็จจริง และประสบการณ์ส่วนตัว มีภาวะสุขภาพหลายประการที่ทำให้เกิดความจำเสื่อม เช่น โรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง ศีรษะบาดเจ็บ ความจำเสื่อมในขั้นรุนแรง อาจส่งผลต่อความสามารถในการสร้างความทรงจำใหม่ อาการความจำเสื่อม อาจเกิดขึ้นทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวร โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโรคพื้นเดิมที่เป็นสาเหตุของความจำเสื่อมเสียก่อน ความจำเสื่อมพบได้บ่อยแค่ไหน ความจำเสื่อมเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป มักเกิดจากภาวะสุขภาพและโรคต่าง ๆ เช่น ศีรษะบาดเจ็บ โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมองเสื่อม นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงบางประการที่ก่อให้เกิดอาการความจำเสื่อมได้ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป อาการชัก การผ่าตัดสมอง โดยภาวะความจำเสื่อมสามารถส่งผลได้ต่อทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่มักส่งผลต่อผู้หญิงได้มากกว่า อาการอาการของความจำเสื่อม อาการหลัก ๆ ของภาวะความจำเสื่อม คือ การสูญเสียความทรงจำ หรือความสามารถในการสร้างความทรงจำใหม่ ขณะที่ทักษะการรับรู้ และทักษะการพัฒนากล้ามเนื้อ มักไม่ได้รับผลกระทบ หมายความว่า ผู้ป่วยจะยังสามารถจดจำการเดิน และการพูดภาษาต่าง ๆ […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

สมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บ (Dementia in Head Injury)

สมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บ (Dementia in Head Injury) แตกต่างจากโรคสมองเสื่อมประเภทอื่นๆ ที่จะมีอาการแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่โรคสมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บนั้นจะดีขึ้นได้แบบค่อยเป็นค่อยไป คำจำกัดความสมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บ คืออะไร สมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บ (Dementia in Head Injury) เป็นปัญหาสุขภาพทั่วไป โดยลักษณะทั่วไปของสมองเสื่อมในผู้ที่ศีรษะบาดเจ็บจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทและบริเวณของศีรษะที่ได้รับบาดเจ็บ และลักษณะของผู้ป่วยก่อนได้รับบาดเจ็บ โรคสมองเสื่อมที่เกิดหลังจากศีรษะบาดเจ็บจะแตกต่างจากโรคสมองเสื่อมประเภทอื่นๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ กล่าวคือ โรคสมองเสื่อมประเภทอื่นๆ จะมีอาการแย่ลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป แต่โรคสมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บนั้นจะดีขึ้นได้แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่อาจต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปี สมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บพบได้บ่อยแค่ไหน โรคสมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บพบได้บ่อยมาก สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จัดการได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการสมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บ อาการที่สัมพันธ์กับโรคสมองเสื่อมจากศีรษะบาดเจ็บ ได้แก่ อาการที่ส่งผลต่อการคิดและสมาธิ ความทรงจำ การสื่อสาร บุคลิกภาพ ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น อารมณ์ และพฤติกรรม ผู้ป่วยมักมีอาการเหล่านี้ร่วมกันโดยขึ้นอยู่กับบริเวณของศีรษะที่ได้รับบาดเจ็บ ความรุนแรงของบาดแผล หรือความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งบุคลิกภาพของผู้ป่วยก่อนได้รับบาดเจ็บ อาการบางประการอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่อาการอื่นๆ เกิดขึ้นได้ช้ากว่า ส่วนใหญ่แล้ว อาการต่างๆ จะเริ่มปรากฏขึ้นในเดือนแรกหลังจากได้รับบาดเจ็บ อาการของโรคสมองเสื่อมในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ได้แก่ มีปัญหาเกี่ยวกับการคิด สูญเสียความทรงจำ สมาธิสั้น กระบวนการคิดช้าลง ไม่กระตือรือร้น อารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย มีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ อารมณ์แปรปรวน มีพฤติกรรมในการเข้าสังคมที่ไม่เหมาะสม แต่งกายแปลกหรือไม่ใส่ใจการแต่งตัว กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ก้าวร้าว ชอบต่อสู้ หรือมักเป็นศัตรูกับผู้อื่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย มีอาการทางกายที่ไม่ทราบสาเหตุและไม่เจาะจง ผู้ป่วยบางรายมีอาการชักหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ อาการเหล่านี้ไม่ใช่ภาวะสมองเสื่อมแต่อาจทำให้การวินิจฉัยและรักษาโรคสมองเสื่อมมีความซับซ้อนขึ้น ความผิดปกติทางจิตที่สำคัญอาจเกิดขึ้นหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเหล่านี้ร่วมกันอย่างน้อยสองอาการหรือมากกว่า อาการซึมเศร้า เสียใจ ร้องไห้ เซื่องซึม ล้มเลิกง่าย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน