ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในร่างกาย เมื่อระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้อย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองและระบบประสาท รวมถึงการป้องกันและการรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระบบประสาทและสมอง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

หมวดหมู่ ระบบประสาทและสมอง เพิ่มเติม

โรคลมชักและอาการชัก

สำรวจ ระบบประสาทและสมอง

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด สาเหตุและอาการบอกเหตุที่คุณควรรู้

จากข้อมูลของสมาคม American Heart Association ของสหรัฐฯ มีผู้ป่วยจำนวนเกือบ 800,000 รายในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองในแต่ละปี และผู้ป่วยจำนวนสามในสี่ราย เป็นโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) คิดเป็นประมาณร้อยละ 85 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อาการจะเกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือด ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปยังสมอง ส่งผลให้ขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกกำลังทุกข์ทรมาน และต่อสู้กับโรคหลอดเลือดสมองประเภทนี้ ซึ่งมีวิธีรักษาอยู่หลายประการ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักกันค่ะ ประเภทของ โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด 1.โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดจากการอุดตัน (Embolic stroke) ลิ่มเลือดจะก่อตัวขึ้นภายนอกสมอง โดยปกติแล้วมักก่อตัวขึ้นในหัวใจ แล้วหลุดเข้าไปในเลือดที่ไปยังสมอง สมองใช้พลังงานร้อยละ 20 ในแต่ละวัน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้สมองของเรามีหลอดเลือดขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อลิ่มเลือดถูกลำเลียงมาถึงสมอง เนื่องจากขนาดของลิ่มเลือด ส่งผลให้ลิ่มเลือดอาจอุดกั้นเส้นเลือดเล็กๆ และบอบบางในสมองได้ ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยโรคหลอดเลือดสมองประเภทนี้ มักเกิดขึ้นหลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบ (Thrombotic Stroke) เรามักมีเวลาน้อยในการรักษาโรคหลอดเลือดขาดเลือดจากการอุดตัน เนื่องจากโดยแท้จริงแล้ว เราไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร เนื่องมาจากมันมักเกิดแบบเฉียบพลัน 2. โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดจากเหตุหลอดเลือดสมองตีบ (Thrombotic stroke) โรคหลอดเลือดสมองประเภทนี้ ลิ่มเลือดจะก่อตัวขึ้นภายในหลอดเลือดแดงซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปยังสมอง โรคนี้มักเกิดขึ้นพร้อมกับภาวะคอเลสเตอรอลสูง ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง หรืออาการอื่นๆ […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

5 พฤติกรรมกระตุ้นไมเกรน ที่คุณควรหลีกเลี่ยง

ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ (Centers for Disease Control and Prevention) ระบุว่ามีผู้ที่เป็นไมเกรนมากถึง 1 พันล้านคนทั่วโลก จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถเลี่ยงไม่ให้ไมเกรนกำเริบ บทความนี้ Hello คุณหมอ ได้นำวิธีง่ายๆ ที่ช่วยได้คือ การหลีกเลี่ยง พฤติกรรมกระตุ้นไมเกรน มาฝากคุณผู้อ่านกัน จริงหรือไม่ ไมเกรนกำเริบ เพราะมีตัวกระตุ้น ในทางการแพทย์ ยังไม่มีการพิสูจน์อย่างแน่ชัดว่า อะไรเป็นสาเหตุทำให้ไมเกรนกำเริบโดยแท้จริง แต่โดยทั่วไปแล้ว ไมเกรนกำเริบเพราะปัจจัยที่เรียกว่าตัวกระตุ้น (Triggers) ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการสื่อสารของเส้นประสาทและหลอดเลือด และทำให้กระบวนการทำงานของสมองผิดปกติ และเกิดอาการปวดหัวขึ้นมา แต่ตัวกระตุ้นแต่ละตัวอาจส่งผลต่อแต่ละคนต่างกัน ตัวกระตุ้นที่ทำให้ไมเกรนกำเริบ มักพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน ตัวที่พบบ่อยที่สุดคือตัวกระตุ้นจากอาหาร ฮอร์โมน และพฤติกรรมการใช้ชีวิต  มาดูกันว่าสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ไมเกรนกำเริบนั้นมีอะไรบ้าง ตัวกระตุ้นจากชีวิตประจำวัน และวิธีการรับมือ สิ่งกระตุ้นบางอย่างที่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตอาจจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่สำหรับผู้ที่เป็นไมเกรน การรู้จักสิ่งกระตุ้นเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการจัดการกับชีวิตตัวเองได้ พฤติกรรมกระตุ้นไมเกรน ที่ควรหลีกเลี่ยง 1.ความเครียด ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ไปกระตุ้นอาการปวดหัวไมเกรน Priyanka Chaudhry นักประสาทวิทยา กล่าวว่า ในช่วงการทำงานที่ยาวนานหรือการทำกิจกรรมบางอย่างที่ต้องใช้ความคิด อาจก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ไมเกรนกำเริบ หรือ มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง Hsinlin Cheng นักประสาทวิทยาอีกคนกล่าวว่า ความเครียด คือตัวกระตุ้นอันดับหนึ่งของผู้ที่มีอาการไมเกรนกำเริบ วิธีการเยียวยาอาการเหล่านี้คือการทานยาแก้ซึมเศร้าหรือการพบจิตแพทย์บางเป็นครั้งคราว […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดหัว หรือ ไมเกรน มาสังเกตความแตกต่างเพื่อการรับมือที่เหมาะสม

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ทรมานกับอาการปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวต่อเนื่องเป็นเวลานาน และไม่แน่ใจว่าอาการที่เป็นอยู่เป็นอาการปวดหัวธรรมดา หรือจริง ๆ แล้วเป็น ไมเกรน วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ อาการเบื้องต้นของไมเกรน รวมทั้งสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ไมเกรนกำเริบ และระยะของไมเกรน เวลาที่เกิดอาการปวดขึ้นมาในหัว มันก็เป็นการยากที่จะบอกว่า คุณกำลังแค่ปวดหัวแบบปกติ หรือกำลังเป็นไมเกรนกันแน่ การแยกแยะความแตกต่างระหว่างปวดหัวไมเกรนและอาการปวดหัวธรรมดา เป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันหมายถึงการรักษาอาการปวดได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง และยังสามารถช่วยป้องกันอาการปวดที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้ด้วย แต่เราจะระบุความแตกต่างระหว่างอาการปวดหัวธรรมดากับไมเกรนได้อย่างไร? รู้ได้อย่างไรว่าเป็นไมเกรน ไมเกรน เป็นอาการปวดหัวชนิดหนึ่งที่มีระดับความรุนแรงมากกว่า อาการปวดหัวธรรมดา วิธีการสังเกตอาการเบื้องต้นคือ จะรู้สึกว่ามีอาการปวดหัวตุบ ๆ คล้ายมีค้อนมาทุบหัวอยู่ตลอดเวลา หรือเริ่มมีอาการปวดหัวเพียงข้างเดียว อาจจะรู้สึกคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย ส่วนอาการปวดหัวแบบอื่น ๆ เช่นปวดหัวเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง และอาจจะปวดหัวอย่างต่อเนื่องหรือปวดทั้งสองข้าง ไม่ได้เป็น อาการเบื้องต้น ของไมเกรน ไมเกรนเป็นแล้วปวดนาน เมื่อ ไมเกรนกำเริบ จะมีอาการปวดหัวตุบ ๆ และใช้เวลาประมาณ 4 ถึง 72 ชั่วโมงกว่าอาการจะบรรเทาลง ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดหัวได้ด้วยการกินยาบรรเทาอาการปวด ระยะเวลานี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละคน หลังจากพ้นเวลากำเริบแล้วจะไม่มีอาการปวดหัวอีก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะหายขาดจากการเป็นไมเกรน ผู้ที่เป็นไมเกรนจึงต้องหมั่นสังเกตตัวเองว่า อะไรที่เป็นตัวกระตุ้นให้ไมเกรนกำเริบ มาลองเช็กกันดูว่าตัวกระตุ้นไมเกรนมีอะไรบ้าง ตัวกระตุ้นไมเกรน ไมเกรนกำเริบอาจจะมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน และมีความแตกต่างกันตามบุคคล และสิ่งเหล่านี้คือตัวกระตุ้นที่ทำให้ไมเกรนกำเริบ ฮอร์โมนเพศ ข้อมูลจากสถิติกล่าวว่าผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นไมเกรนมากกว่าผู้ชายถึง […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ต้องทำอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหน

แม้ว่าคุณจะรอดตายจากโรคหลอดเลือดสมองมาได้ แต่ช่วงเวลาของการพักฟื้นจาก โรคหลอดเลือดสมองนั้นใช้เวลานาน และแต่ละคนก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน แล้ว การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง และต้องใช้เวลานานเท่าใด เรามีคำตอบมาให้คุณแล้ว วิธีการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมองส่งผลต่อสมองบางส่วน ซึ่งอาจทำให้คุณไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้ การฟื้นฟูสุขภาพจึงช่วยให้ระบบในร่างกายกลับมาทำงานได้ และได้เรียนรู้ทักษะที่สูญเสียไปอีกครั้ง คุณสามารถกลับมาช่วยเหลือตัวเอง มีความมั่นใจในตนเอง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อีกครั้ง กิจกรรมที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพจากอาการหลอดเลือดสมอง มีดังนี้ การสร้างความแข็งแรงในการเคลื่อนไหว การฟื้นฟูประเภทนี้ประกอบด้วยการออกกำลังกาย ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และทำให้ระบบกล้ามเนื้อทำงานประสานกันได้ดีขึ้น เช่น การฝึกกลืน การบำบัดเกี่ยวกับช่วงของการเคลื่อนไหว ได้แก่ การออกกำลังกายเพื่อช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ และเพิ่มช่วงของการเคลื่อนไหวให้มากขึ้น การฝึกการเคลื่อนไหว การฟื้นฟูโดยให้ผู้ป่วยเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงในการเดิน เช่น ไม้เท้า หรือการใส่อุปกรณ์พยุงข้อเท้า การบำบัดนี้ช่วยให้ผู้ป่วยเดินเองได้ดีขึ้น การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อกลับมาทำงานได้ การกระตุ้นสมอง การกระตุ้นโดยไม่มีการผ่าตัด ซึ่งช่วยฟื้นฟูทักษะการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย การบำบัดปัญหาทางการสื่อสาร วิธีนี้ช่วยฟื้นฟูทักษะการฟัง พูดและเขียนของผู้ป่วย การรักษาทางจิตวิทยา เพื่อฟื้นฟูสภาพอารมณ์ และช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น การใช้ยา เป็นวิธีที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการซึมเศร้า หรืออาการบาดเจ็บที่เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ควรเริ่มตอนไหน การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ควรเริ่มให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ตั้งแต่ในช่วงระหว่างการพักฟื้นที่โรงพยาบาล ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามีสมรรถภาพ และทักษะต่างๆ ที่เสียไปได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม  แพทย์ต้องทำการควบคุมอาการที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต และป้องกันไม่ให้เกิดอาการซ้ำเสียก่อน ระยะเวลาในการฟื้นฟู หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องใช้เวลานานเท่าใด คำตอบคือ ระยะเวลาในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้น และร่างกายส่วนที่ได้รับผลกระทบ รวมไปถึงประเภทของการรักษา และการตอบสนองต่อการรักษาต่างๆ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

เวียนศีรษะ เป็นอาการบ่งชี้ของโรคหลอดเลือดสมองได้หรือเปล่า?

บางครั้งคุณอาจมีอาการ เวียนศีรษะ และคุณอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ความรู้สึกเวียนศีรษะอาจเป็นอาการบ่งชี้ของโรคหลอดเลือดสมองได้ คุณทราบข้อมูลดังกล่าวนี้หรือไม่ มาดูกันว่าเมื่อใดที่อาการเวียนศีรษะแสดงให้เห็นว่า คุณมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อาการเวียนศีรษะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง อาการเวียนศีรษะเป็นความรู้สึกประเภทหนึ่ง มักเป็นอาการที่แตกต่างกันในแต่ละคน และสาเหตุที่พบได้มากที่สุดมักไม่รุนแรง และอาจเป็นอาการบ่งชี้ของโรคประจำตัวต่างๆ อาการเวียนศีรษะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo): คุณรู้สึกว่าตนเองเคลื่อนไหวทั้งที่ไม่มีการเคลื่อนที่ ตัวอย่างเช่น คุณคิดว่าตัวคุณกำลังหมุนหรือสิ่งรอบตัวกำลังหมุน เวลาที่คุณหมุนตัวเองไปรอบๆ หลังจากนั้นคุณอาจมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนได้ชั่วคราว แต่หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่ได้หมุนตัวเอง อาจเป็นอาการบ่งชี้ของภาวะเกี่ยวกับระบบสมดุลภายในหูชั้นใน วิงเวียน (Lightheadedness): เมื่อมีอาการวิงเวียน คุณอาจรู้สึกว่าคุณกำลังจะเป็นลม คุณอาจมีอาการวิงเวียนได้เมื่อคุณยืนขึ้นเร็วเกินไป เสียการทรงตัว (Disequilibrium): อาการนี้เป็นความรู้สึกที่ว่าคุณกำลังจะหกล้ม วิตกกังวล (Anxiety): ในกรณีนี้คุณอาจรู้สึกกลัว กังวล หรือซึมเศร้า อาการเวียนศีรษะอาจเป็นสัญญาณว่า สมองของคุณได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ในบางครั้งเส้นเลือดมีการขยายหรือพองตัว คุณก็อาจมีอาการมึนศีรษะเกิดขึ้นได้ สำหรับอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว (mini-stroke) นั้น เลือดที่ไหลไปยังสมองจะเกิดการอุดกั้นเป็นเวลาสั้นๆ เป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต สำหรับหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) หลอดเลือดแดงที่ลำเลียงเลือดจะเกิดการอุดกั้นจากการศึกษาเผยว่า ผู้ที่มีอาการเวียนศีรษะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น การทดสอบเพื่อยืนยัน ถึงแม้ว่าอาการเวียนศีรษะ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะและอาการร่วมอื่นๆ เช่น อาเจียน ชา อ่อนเพลีย และเดินหรือพูดลำบาก เป็นโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด เมื่อคุณไปหาแพทย์ แพทย์จะซักประวัติครอบครัว และประวัติสุขภาพของคุณ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

อาการสะอึก ไม่เลิกราอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองก็เป็นได้!

คุณคิดว่ามีความสัมพันธ์ระหว่าง อาการสะอึก และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือไม่ อาจฟังดูแปลก เนื่องจากคุณมีอาการสะอึกหลายครั้งต่อวันในขณะที่โรคหลอดเลือดสมองเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ดี อาการดังกล่าวอาจมีความสัมพันธ์กัน ให้ติดตามอ่านบทความนี้เพื่อศึกษาเพิ่มเติม อาการสะอึก ที่ไม่หาย อาการสะอึกเป็นอาการเคลื่อนไหวของกระบังลม ที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ และเกิดขึ้นกะทันหัน กระบังลมเป็นแผ่นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่อยู่ในบริเวณส่วนล่างของปอด กระบังลมทำงานร่วมกันกับกล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างซี่โครง เพื่อให้มีการหายใจได้ เมื่อปลายปิดของเส้นเสียงเคลื่อนตามการเคลื่อนไหวของกระบังลม ทำให้เกิดเสียง ‘สะอึก’ ขึ้นมา อาการสะอึกสามารถหายได้เองหลังจากเวลาผ่านไปเล็กน้อยโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาใดๆ และอาการสะอึกเป็นภาวะปกติ คนส่วนใหญ่ต่างก็มีอาการสะอึกทั้งนั้น แต่อาการสะอึกที่คงอยู่เป็นเวลาเกินกว่า 48 ชั่วโมง เป็นอาการผิดปกติ และอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษา อาการสะอึกเรื้อรังและโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ดี การสะอึกเป็นเวลานานที่ไม่หายไปได้เอง หลังจากเวลาผ่านไปหลายวัน หรือหลายสัปดาห์อาจ เป็นอาการบ่งชี้ของโรคประจำตัวบางชนิด ซึ่งรวมถึงโรคหลอดเลือดสมองด้วย ในภาวะเช่นนี้ ให้สังเกตอาการอื่นๆ ของโรคหลอดเลือดสมองด้วย เช่น ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นที่ดวงตาข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้ตามปกติ มีอาการวิงเวียน หรือเสียสมดุลของร่างกายอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการพูดอย่างกะทันหัน การพูดอาจไม่ชัด ผู้ป่วยอาจไม่สามารถพูดได้เลยถึงแม้ว่ารู้สึกตัว ผู้ป่วยไม่สามารถยกแขนทั้งสองข้างได้อย่างกะทันหัน เนื่องจากมีอาการอ่อนล้าและอาการชา ใบหน้าของผู้ป่วยอาจหดลงที่ข้างหนึ่ง ผู้ป่วยไม่สามารถยิ้มได้ตามปกติ เพื่อให้มีความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาการสะอึกและโรคหลอดเลือดสมอง คุณควรไปปรึกษาหมอ สาเหตุอื่นๆ ของอาการสะอึก อาการสะอึกโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้น และหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุที่เฉพาะ ทุกคนอาจมีอาการสะอึกหนึ่งครั้งหรือมากกว่าได้เป็นครั้งคราว อย่างไรก็ดี อาการสะอึกในระยะสั้นบางครั้งอาจมีสิ่งกระตุ้นเฉพาะ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจกระตุ้นให้เกิดอาการสะอึก การสูบบุหรี่อาจก่อให้เกิดอาการสะอึก อากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันในห้อง หรือภายในร่างกายของคุณ ตัวอย่างเช่น […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

แนวทางใหม่ใน การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้หญิง

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงในจากในอดีต ส่งผลให้โรคหลอดเลือดสมองกลายเป็นโรคที่ส่งผลกระทบกับประชากรยุคใหม่ ไม่ว่าเพศชายหรือหญิงก็เสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ทั้งสิ้น แต่หากคุณเป็นผู้หญิง ปัจจัยสุขภาพทางเพศอาจเพิ่มความเสี่ยงให้คุณได้ เช่น ฮอร์โมนต่างๆ การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีแนวทางใน การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้หญิง โดยเฉพาะ ที่ช่วยให้ผู้หญิงสามารถป้องกันโรคร้ายนี้ได้ และวิธีการในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง แนวทางใหม่ใน การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้หญิง แนวทางในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้หญิง ที่ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์ มีดังต่อไปนี้ ระวังไม่ให้ความดันโลหิตสูง การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้หญิง อย่างแรกคือ ต้องระวังไม่ให้ความดันโลหิตสูง เพราะภาวะความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ หากคุณมีภาวะความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ ควรพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมกับคุณที่สุด คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพื่อฟื้นฟูสุขภาพของคุณอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่างก็ช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่บริโภคโซเดียมเกินวันละ 1,500 มิลลิกรัม (ประมาณครึ่งช้อนชา) รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น งดอาหารฟาสต์ฟู้ด และอาหารไขมันสูง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วน สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ คุณจึงควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี สามารถตรวจสอบเกณฑ์น้ำหนักที่เหมาะสมกับตัวเองได้ ด้วยการตรวจวัดดัชนีมวลกาย โดยปกติแล้ว ดัชนีมวลกายที่เหมาะสมคือ ไม่เกิน 25 หากคุณน้ำหนักเกินอาจลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง เดินขึ้นลงบันได ร่วมกับการควบคุมปริมาณแคลอรีจากอาหารให้อยู่ที่ 1,500-2,500 กิโลแคลอรีต่อวัน แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากกิจวัตรประจำวันและดัชนีมวลกายของคุณด้วย หากคุณลดน้ำหนักได้อย่างน้อย 1 ปอนด์ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

เพศสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร

ผู้คนมักมีข้อสงสัยมาเป็นเวลานานแล้วว่า เพศสัมพันธ์ สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้หรือไม่ ปัจจุบัน มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคหลอดเลือดสมองและเพศสัมพันธ์มากมาย ที่สามารถตอบคำถามได้ว่า เพศสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร และใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ขณะมีเพศสัมพันธ์ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลข้อมูลเรื่องนี้มาให้อ่านกันค่ะ เพศสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันอย่างไร โดยส่วนใหญ่แล้ว โรคหลอดเลือดสมองเป็นผลมาจากการสะสมของพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ และปัญหาสุขภาพในระยะยาวต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะระดับไขมันและคอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้น้อย ความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด และโรคหัวใจ สำหรับวัยรุ่นทั้งหญิงและชาย มักไม่พบโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิดจากเพศสัมพันธ์และการถึงจุดสุดยอด การเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่มาจากปัญหาเพศสัมพันธ์ในคนวัยนี้ มักเกิดจากปัจจัยและเหตุการณ์ร่วมกันที่ไม่ใช่เรื่องปกติซึ่งพบได้บ่อย ในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ร่างกายของผู้หญิงและผู้ชายจะหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน นอกจากนี้สมองผู้ชายยังหลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่าฮอร์โมนโดพามีน (Dopamin) ส่วนผู้หญิงร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอ็อกซีโทซิน  ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้อาจทำให้ความดันเลือด (Blood Pressure) หรือความดันโลหิตสูงขึ้นได้ เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้น ก็อาจทำให้ลิ่มเลือดถูกผลักเข้าไปยังสมอง จนทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ ใครบ้างที่มีความเสี่ยง เกิดโรคหลอดเลือดสมองจากเพศสัมพันธ์ ผู้ที่เคย เกิดโรคหลอดเลือดสมองในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หรือภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ มักมีสัญญาณเตือนล่วงหน้าเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือแม้กระทั่งหลายเดือน สัญญาณเตือนล่วงหน้าประการหนึ่งที่พบได้ทั่วไปก็คือ อาการปวดศีรษะแบบสายฟ้าฟาด (Thunderclap Headache) ซึ่งเป็นอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน รุนแรง และมีความทรมาน หากคุณเคยมีอาการปวดศีรษะลักษณะนี้ในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที เพื่อให้คุณหมอตรวจวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด เมื่อเกิดอาการปวดศีรษะแบบสายฟ้าฟาดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ […]


โรคพาร์กินสัน

กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ (Secondary Parkinsonism)

คำจำกัดความกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ คืออะไร กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ (Secondary Parkinsonism) จะมีอาการเหมือนกับโรคพาร์กินสัน หรือโรคสันนิบาต แต่อาการนี้จะเกิดจากยาบางชนิด ความผิดปกติของระบบประสาท หรือความเจ็บป่วยอื่นๆ กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ (Secondary Parkinsonism) เป็นกลุ่มอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องปัญหาทางการเคลื่อนไหวที่พบในโรคพาร์กินสัน ปัญหาเหล่านี้รวมถึงตัวสั่น เคลื่อนไหวช้า แขนและขาอ่อนแรง กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิพบได้บ่อยแค่ไหน โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ อาการทั่วไปของกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ ได้แก่ การแสดงสีหน้า หรือการแสดงอารมณ์ลดลง เริ่มและควบคุมการเคลื่อนไหวยาก เคลื่อนไหวไม่ได้หรือร่างกายอ่อนแรง (อัมพาต) พูดเบาลง ลำตัว แขนและขาอ่อนแรง ตัวสั่น ความสับสนและสูญเสียความทรงจำ อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ นี่เป็นเพราะโรคหลายโรคที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการดังกล่าว สามารถส่งผลให้สมองเสื่อมได้เช่นกัน สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถามอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายแต่ละคนตอบสนองต่างกัน คุณจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิอาจเกิดได้จากปัญหาสุขภาพ เช่น สมองได้รับการกระทบกระเทือน โรคลิววีบอดีทั่วร่างกาย (diffuse Lewy body disease) ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของโรคสมองเสื่อม โรคสมองอักเสบ ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือโรคเอดส์ (AIDS) โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคประสาทเสื่อมในร่างกายหลายที่ (Multiple system atrophy) โรคก้านสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง โรควิลสัน (Wilson disease) สาเหตุอื่นของภาวะพาร์กินสันทุติยภูมิยังรวมถึง สมองได้รับความเสียหายจากยาชา เช่น ระหว่างการผ่าตัด คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคจิตเภท หรืออาการคลื่นไส้ ปรอทเป็นพิษ รวมถึงสารพิษอื่นๆ การใช้ยาเสพติดเกินขนาด การใช้สาร MPTP (สารพิษต่อเซลล์ประสาทโดพามีน พบในยาเสพติด เป็นต้น) ไม่ค่อยมีกรณีที่ผู้ติดสารเสพติดฉีดสาร MPTP เข้าร่างกายแล้วเกิดกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ สารนี้จะเกิดขึ้นระหว่างการทำเฮโรอีน ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรคข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมแบบทุติยภูมิ แพทย์จะตรวจร่างกาย […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

เราสามารถทำอะไรเพื่อ ป้องกันอัลไซเมอร์ ได้บ้าง

อาการหลงๆลืมๆของผู้สูงอายุ อาจดูเป็นเรื่องธรรมดา จนทำให้คนรอบข้างหรือแม้แต่ตัวผู้สูงอายุเองละเลย เพราะคิดว่าเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นตามวัย แต่อาการหลงลืมไม่ใช่เรื่องธรรมดาอย่างที่ใครหลายคนคิด เพราะหากเป็นอาการหลงลืมที่เป็นผลมาจากภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะที่มีสาเหตุจากโรคอัลไซเมอร์ คุณยิ่งต้องใส่ใจ เพราะอาจส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนติดเชื้อและเสียชีวิตได้ Hello คุณหมอ จึงมีวิธี ป้องกันอัลไซเมอร์ มาแนะนำ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่น่ากลัวนี้ ผู้สูงอายุกับโรคอัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อม หรือโรคสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการ เช่น จำไม่ได้ มีปัญหาด้านความจำ มีปัญหาในการสื่อสารและระบบคิด ซึ่งโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer Disease) เป็นโรคในกลุ่มโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากความเสื่อมถอยสมอง อาการของโรคอัลไซเมอร์จะเริ่มต้นอย่างช้าๆ และรุนแรงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ภาวะสมองเสื่อม รวมถึงโรคอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นในวัย 50 ปี และอาการจะปรากฏชัดเจนเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป นอกจากปัจจัยด้านอายุแล้ว ยังพบว่าเพศหญิงเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่าเพศชาย ปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น มีประวัติการบาดเจ็บทางสมอง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ก็อาจเป็นอัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ โรคอัลไซเมอร์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาการของโรคแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 (มีอาการ 1-3 ปี) : หลงๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน