backup og meta

ทำอย่างไร เมื่อฉัน กลัวการพูดในที่สาธารณะ

ทำอย่างไร เมื่อฉัน กลัวการพูดในที่สาธารณะ

หลายคนมักจะมีอาการตื่นเต้น มีอาการเหงื่อออกทุกครั้งเมื่อจะต้องพูดในที่สาธารณะ  ผลของความตื่นเต้นทำให้เราพูดตะกุกตะกัก จนรู้สึกขาดความมั่นใจ และทำให้รู้สึก “กลัวการพูดในที่สาธารณะ” ไปเลย วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำเคล็ดลับเอาชนะความกลัว ให้คุณกล้าพูดในที่สาธารณะมาฝากกันค่ะ จะมีเคล็ดลับอะไรเด็ดๆ ดีๆ บ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลย

กลัวการพูดในที่สาธารณะ เป็นอย่างไร

อาการกลัวการพูดในที่สาธารณะ (Glossophobia) ไม่ใช่โรคอันตรายหรือโรคเรื้อรังใดๆ เป็นเพียงความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผลและมีผลต่อประชากรส่วนใหญ่ถึง 75% บางคนจะรู้สึกประหม่าเล็กน้อยเมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ ขณะที่บางคนมีอาการกลัวอย่างมาก โดยจะพยายามหลีกเลี่ยงทุกสถานการณ์เพื่อที่จะได้ไม่ต้องพูดในที่สาธารณะ แต่หากจำเป็นต้องพูดจริงๆ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้นได้ ลักษณะการแสดงออกการพูดของเขาจะมีเสียงที่สั่นเทา พูดตะกุกตะกัก

อย่างไรก็ตาม ความกลัวในการพูดในที่สาธารณะ เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นกับคนทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะพบในเพศหญิงที่มีอายุน้อย Dr. Jeffrey R. Strawn  ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ ของโครงการวิจัยความผิดปกติของความวิตกกังวลในภาควิชาจิตเวชศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยซินซินเนติ กล่าวว่า บุคคลบางคนจะมีความรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นในสถานการณ์บางอย่างเมื่อตนรู้สึกไม่มั่นใจที่อาจนำมาซึ่งความอับอายให้กับตนเอง

ใจเต้นแรงทุกครั้ง เมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ

เมื่อคุณต้องเผชิญหน้ากับการพูดในที่สาธารณะคุณจะมีอาการวิตกกังวล ตื่นเต้น ปากแห้ง เหงื่อออก คลื่นไส้และอาเจียน ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็ว สาเหตุส่วนใหญ่ของความกลัวการพูดในที่สาธารณะนั้น อาจเกิดจากความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก เช่น ประสบการณ์ในการพูดหน้าชั้นเรียนที่ไม่ดี ความกลัวที่คิดว่าผู้รับฟังอาจปฏิเสธไม่รับฟังคำพูดของคุณ เป็นต้น

จัดการความกลัวด้วยการ ปรึกษาแพทย์ดีหรือไม่

หากคุณรู้สึกว่าความกลัวการพูดในที่สาธารณะของคุณส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคุณ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม

โดยปกติแพทย์จะรักษาโดยการแนะนำให้รับประทานยากลุ่มเบนไซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย บรรเทาความวิตกกังวล หรือบางรายอาจรักษาร่วมกับการใช้จิตบำบัด ที่เรียกว่า การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy ; CBT) เป็นการเจาะจงถึงสาเหตุของปัญหา โดยค่อยๆปรับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ป่วยให้สอดคล้องกับความเป็นจริง

4 เคล็ดลับกำจัดความกลัว กล้าพูดในที่สาธารณะ

  • เริ่มต้นฝึกพูดกับคนสนิท

หากคุณรู้สึกเขินอาย ไม่มั่นใจเวลาพูดในที่สาธารณะลองซ้อมพูดกับคนสนิทของคุณ เช่น คนในครอบครัว กลุ่มเพื่อนสนิท คุณจะได้ไม่รู้สึกประหม่าเวลาพูดในที่สาธารณะที่มีคนจำนวนมาก

  • เตรียมความพร้อมอยู่เสมอ

ไม่มีสิ่งใดที่ช่วยลดความกลัวในการพูดในที่สาธารณะได้ดีกว่าการเตรียมความพร้อมที่ดี การเตรียมความพร้อมของเนื้อหารวมทั้งการฝึกซ้อมในการพูด จะช่วยลดความตื่นเต้น ความประหม่าที่เกิดขึ้นให้ลดลงได้

  • ฝึกพูดแบบเป็นกันเอง

คุณควรจดประเด็นสำคัญ จำหัวข้อหลักและหัวย่อย จับประเด็นเนื้อหา เพื่อนำมาใช้ในการพูดโดยไม่พูดทุกคำที่จดออกมา เรียนรู้ศิลปะการพูด สบตาผู้พูดขณะพูด ใช้คำพูดที่เป็นกันเองทำให่ผู้ฟังไม่รู้สึกเบื่อ

  • ผ่อนคลาย บรรเทาความเครียด

ช่วงเวลาใกล้การนำเสนอผลงานหรือการพูดในที่สาธารณะจะทำให้คุณรู้สึกประหม่าเล็กน้อย มีเคล็ดลับโดยการสูดลมหายใจเข้าลึกๆ  เพื่อลดความเครียดและสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับบทความที่เอามาฝากกันในวันนี้ คุณเองก็สามารถเอาชนะความกลัวการพูดในที่สาธารณะได้ด้วยการฝึกฝน หมั่นซ้อมพูดเพื่อให้ตนเองรู้สึกคุ้นชิน ไม่เกิดความประหม่าในการพูด ในกรณีบางรายที่มีอาการกลัวอย่างรุนแรงควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมและถูกต้อง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Glossophobia: What It Is and How to Treat It. https://www.healthline.com/health/glossophobia. Accessed 16 March 2020.

7 Tips to Help You Overcome Your Fear of Public Speaking. https://www.thebalancesmb.com/overcome-fear-of-public-speaking-2951708. Accessed 16 March 2020.

Glossophobia (Fear of Public Speaking): Are You Glossophobic?. https://www.psycom.net/glossophobia-fear-of-public-speaking. Accessed 16 March 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/06/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคกลัวการถูกสัมผัส รักษาอย่างไร เพื่อให้เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น

รู้สึกกลัว ใจหวิว ไร้สาเหตุ คุณเป็น โรคแพนิค หรือเปล่า


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 12/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา