backup og meta

บุคลิกภาพผิดปกติ เปลี่ยนไปจากเดิมเกี่ยวข้องกับ โรคฮิสทีเรีย ?

บุคลิกภาพผิดปกติ เปลี่ยนไปจากเดิมเกี่ยวข้องกับ โรคฮิสทีเรีย ?

คุณเคยสังเกตคนใกล้ตัว หรือสังคมรอบข้างที่คุณอยู่หรือไม่ ว่าทำไมบางคนถึงมีบุคลิกแปลกๆ เช่น ชอบพูดคุยเสียงดัง แสดงกิริยาที่โดดเด่นเกินงาม พฤติกรรมเหล่านี้คุณสามารถฟันธงได้เลยว่าพวกเขากำลังเข้าสู่ โรคฮิสทีเรีย อย่างแน่นอน! วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมารู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น เพื่อที่คุณจะได้รับมือให้ทัน

รู้จักกับโรคใกล้ตัวอย่าง โรคฮิสทีเรีย กันเถอะ

ผู้คนส่วนใหญ่มักตีความหมายของโรคฮิสทีเรีย (Hysteria)  กันแบบผิดๆ โดยเข้าใจว่าเป็นอาการที่ขาดผู้ชาย หรือเพศตรงข้ามไม่ได้ แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงแค่พฤติกรรม และอาการบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับทางด้านจิตเวชเท่านั้น โรคฮิสทีเรีย นี้สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

  1. ความผิดปกติของระบบประสาท (Conversion disorder) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว หรืออารมณ์ความรู้สึก เช่น การเดิน การได้ยินผิดเพี้ยนไป กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาจก่อให้เกิดอัมพาตที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ส่วนสาเหตุหลักๆ นั้นยังไม่มีการทราบแน่ชัด เพียงแต่สันนิฐานว่าอาจมาจากความเครียด ความวิตกกังวล ส่งผลให้ไปทำลายระบบประสาทจนโครงสร้างสมองได้รับความเสียหาย
  2. บุคลิกภาพที่ผิดปกติแบบฮิสทีเรีย (Histrionic Personality Disorder) มักพบได้บ่อยกว่าความผิดปกติของระบบประสาท เป็นความผิดปกติของภาวะทางจิตที่จัดอยู่ในกลุ่มบุคลิกภาพที่ผิดปกติของกลุ่มบี (Cluster B : Dramatic Personality Disorders) มีอารมณ์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ มีความรู้สึกหลงตัวเองปะปน ภูมิใจในตัวเองเกินควร ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และการพบเจอสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เป็นลบ จนทำให้ผู้ป่วยนั้นอยากแสดงความโดดเด่น และนำตนเองออกมาจากสิ่งเหล่านี้ด้วยวิธีการผิดๆ

สัญญาณแรกเริ่ม ที่ทำให้คุณกำลังมี บุคลิกภาพผิดปกติ

  • รู้สึกกระวนกระวายใจ อยู่เฉยไม่ได้
  • มีความรู้สึกอยากเป็นที่สนใจในหมู่ผู้คน หรืออยากให้ผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับ
  • แต่งกายยั่วยุ แสดงพฤติกรรมโดดเด่นเพื่อให้เป็นจุดสนใจต่อเพศตรงข้าม
  • แสดงการกระทำที่บ่งบอกถึงความไม่จริงใจต่อคนรอบข้าง หรือเรียกว่า หน้าอย่างลับหลังอีกอย่าง
  • ความอดทนอยู่ในระดับต่ำ
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • เป็นตัวของตัวเองเกินความเหมาะสม
  • เอาความคิดความอ่านวิสัยทัศน์ของตนเป็นจุดศูนย์กลาง
  • คิดสั้น พยายามฆ่าตัวตาย ทำร้ายร่างกายเพื่อให้ผู้อื่นหันมาสนใจ

สำหรับโรคฮิสทีเรียที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทนั้น อาจมีอาการด้านความเคลื่อนไหวที่เริ่มไม่ค่อยคล่องตัว มึนงง พูดไม่ชัด มีปัญหาทางสายตา หูหนวก กลืนอาหารลำบาก และเกิดความอ่อนแอของกล้ามเนื้อจนกลายเป็นอัมพาตได้

หากคนใกล้ชิดของคุณ หรือตัวคุณเองเริ่มมีอาการเหล่านี้ ควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาได้เท่าทัน

รักษาโรคฮิสทีเรีย ดึงบุคลิกภาพ ให้กลับมาดังเดิมอีกครั้งโดย

  1. การบำบัด

การทำจิตบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่ทางการแพทย์นิยมใช้ทั่วไป และมีประสิทธิภาพสูงสุดของอาการบุคลิกภาพที่ผิดปกติแบบฮิสทีเรีย โดยนักบำบัดอาจมีการพูดคุยเจาะถึงความรู้สึกภายในจิตใจของคุณเพื่อให้ทราบถึงปัญหา หรือเหตุการณ์ต่างๆ ของคุณเคยเผชิญมา พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนรู้สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นให้ถูกวิธี และการมีความคิดทัศนคติในเชิงบวก มากกว่าเผยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพื่อเรียกร้องความสนใจ

  1. ยา

อาการทางจิตนั้นผู้ป่วยบางรายอาจมีโรคซึมเศร้าร่วมด้วย จึงทำให้ต้องมีการให้ยาเป็นตัวช่วยเพิ่มเพื่อคลายความวิตกกังวล คลายความเครียด และปรับความสมดุลทางอารมณ์ให้คงที่

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Hysteria? The Past and Present https://www.verywellmind.com/what-is-hysteria-2795232 Accessed January 03,2020

Mass hysteria: An epidemic of the mind? https://www.medicalnewstoday.com/articles/322607.php#1 Accessed January 03,2020

Histrionic Personality Disorder https://www.healthline.com/health/histrionic-personality-disorder#treatment Accessed January 03,2020

Histrionic Personality Disorder https://www.webmd.com/mental-health/histrionic-personality-disorder#1 Accessed January 03,2020

Histrionic Personality Disorder https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9743-histrionic-personality-disorder Accessed January 03,2020

conversion disorder https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/conversion-disorder/symptoms-causes/syc-20355197 Accessed January 03,2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคชอบสะสมสิ่งของ ไม่ใช่เรื่องของนักสะสม แต่เป็นความบกพร่องทางจิต

วิกฤตวัยกลางคน แค่สภาวะทางอารมณ์ หรือจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพจิต


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา