backup og meta

โรคคิดไปเองว่าป่วย (hypochondria) หมอบอกอย่างไรก็ไม่ยอมเชื่อ คุณกำลังเป็นอยู่รึเปล่า

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    โรคคิดไปเองว่าป่วย (hypochondria) หมอบอกอย่างไรก็ไม่ยอมเชื่อ คุณกำลังเป็นอยู่รึเปล่า

    ในช่วงที่กำลังมีโรคระบาดอยู่แบบนี้ การกังวลว่าตัวเองอาจจะติดโรคนั้นถือถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่การวิตกจริตและปักใจเชื่อว่าตัวเองป่วยนั้น อาจจะเป็นอาการป่วยทางจิตที่เรียกว่า โรคคิดไปเองว่าป่วย อยู่ก็เป็นได้ โรคแปลกแต่จริงนี้มีลักษณะเป็นอย่างไร หาคำตอบได้กับบทความนี้

    โรคคิดไปเองว่าป่วย คืออะไร

    โรคคิดไปเองว่าป่วย (Hypochondria หรือ Illness Anxiety Disorder) โรคนี้มีลักษณะคือ ผู้ป่วยจะมีความคิดวิตกกังวลไปเองว่าตัวเองกำลังป่วยเป็นโรคที่อันตราย หรือคิดว่าตัวเองกำลังจะป่วยตาย แม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้มีอาการอะไร หรือมีเพียงแค่อาการป่วยเล็กน้อยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคที่คุณคิดว่าตัวเองเป็นเลยก็ตาม และถึงแม้ว่าจะให้หมอตรวจแล้วไม่พบโรคอะไร คุณก็ยังไม่เชื่อหมออยู่ดี

    โรคคิดไปเองว่าป่วยนี้ เป็นสภาวะเรื้อรังที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงไปมา โดยอาจจะมีอาการรุนแรงมาก ในช่วงที่คุณรู้สึกเครียด หรือมีอายุเพิ่มมากขึ้น ความวิตกกังวลที่มากเกินไปนี้อาจทำให้คุณรู้สึกทรมาน อยู่ไม่เป็นสุข และสิ้นหวังในชีวิต โดยเฉพาะเมื่อหมอตรวจไม่พบโรคอะไร คุณก็จะยิ่งคิดว่าโรคของตัวเองไม่มีทางรักษา และจะต้องตายอย่างแน่นอน ความคิดเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และต้องมานั่งกังวลอยู่ตลอดเวลา

    สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรคคิดไปเองว่าป่วย

    เกณฑ์การวินิจฉัยโรคคิดไปเองว่าป่วยนั้นได้ถูกถอดออกจากคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตฉบับล่าสุด (DSM-5) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นผู้ที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ อาจจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่งที่แทน อย่างไรก็ตาม การจะระบุได้ว่าเป็นโรคคิดไปเองว่าป่วยนั้น อาจสามารถสังเกตได้จากสัญญาณและอาการของโรคดังต่อไปนี้

    • หมกมุ่นอยู่กับความคิดที่ว่าตัวเองป่วยหรือเป็นโรคร้ายแรงบางอย่าง
    • วิตกกังวลกับอาการป่วย หรือความรู้สึกผิดปกติบางอย่างของร่างกาย แม้จะเล็กน้อยเพียงแค่ไหนก็ตาม
    • ตื่นตระหนกอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพ
    • ตรวจดูความผิดปกติของร่างกายตัวเองบ่อยเกินไป
    • ไปพบหมอเพื่อตรวจร่างกายหลายครั้ง แม้ว่าจะไม่มีอาการอะไรก็ตาม
    • ไม่เชื่อมั่นใจในผลการวินิจฉัยโรคของแพทย์
    • บางคนอาจจะหลีกเลี่ยง ไม่ยอมไปพบหมอเลย เพราะคิดว่าจะตรวจเจอโรคอันตราย
    • คนบางคนอาจจะปักใจเชื่อว่าตัวเองป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่ง เช่น มะเร็ง ในขณะที่บางคนอาจจะเชื่อว่าตัวเองป่วยด้วยโรคต่างๆ หลายๆ โรค
    • ในกรณีรุนแรง อาจถึงขั้นหลีกเลี่ยงผู้คน หรือหวาดกลัวการเข้าสังคม เนื่องจากกลัวว่าตัวเองจะติดโรคจากผู้อื่น

    ในบางครั้งการวิตกกังวลว่าจะป่วยมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการบางอย่างต่อร่างกายขึ้นมาได้จริงๆ เช่น ปวดท้อง ปวดหัว วิงเวียน ท้องไส้ปั่นป่วน อาการเหล่านี้เป็นเพียงอาการที่เกิดขึ้นจากความวิตกกังวลที่มากเกินไปเท่านั้น

    สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคคิดไปเองว่าป่วย

    ความเชื่อ ความเข้าใจผิดในเรื่องของสิ่งที่ร่างกายรู้สึก หรืออาการบางอย่างที่ร่างกายแสดงออกมา อาจทำให้คุณเกิดความเชื่ออย่างรุนแรงว่าคุณกำลังป่วย และความเชื่อนี้อาจทำให้คุณไม่ยอมรับคำวินิจฉัยจากแพทย์ว่าคุณไม่ได้ป่วย และพยายามหาหลักฐานมาพิสูจน์ความเชื่อของตัวเองต่อไป

    ครอบครัว คุณมีแนวโน้วที่จะเกิดโรคคิดไปเองว่าป่วยได้ หากคุณมีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องที่คอยกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของคุณมากเกินไป

    ประสบการณ์ในอดีต คุณอาจจะเคยมีอาการป่วยอย่างรุนแรงมาก่อน ดังนั้นเมื่อเกิดอาการอะไรขึ้น จึงกังวลและเข้าใจว่าตัวเองกลับมาป่วยอีกครั้ง

    โรคหรือสภาวะอื่นๆ ในบางครั้งโรคคิดไปเองว่าป่วยอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิตอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือโรคแพนิก

    การรักษาให้หายจากโรคคิดไปเองว่าป่วย

    มีงานวิจัยที่พบว่า โรคคิดไปเองว่าป่วยนั้นอาจสามารถรักษาได้ ด้วยการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy; CBT) ร่วมกับการใช้ยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม SSRIs เช่น ยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมนั้นจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักขบคิดและหาเหตุผลเกี่ยวกับความกลัวและความกังวลของตนเอง ส่วนยาในกลุ่ม SSRIs นั้นจะช่วยลดระดับของความวิตกกังวลลงได้

    นอกจากนี้ ผู้ป่วยก็สามารถจัดการกับอาการของโรคได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    • เรียนรู้วิธีการจัดการกับความเครียด และพยายามหาวิธีผ่อนคลายตัวเอง
    • หลีกเลี่ยงการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอาการที่ตัวเองกำลังเป็นอยู่ ควรไปหาแพทย์เพื่อทำการตรวจเลยทีเดียว
    • พยายามหันไปให้ความสนใจกับสิ่งที่ตัวเองชอบหรืองานอดิเรก เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง
    • พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ที่อาจทำให้ความเครียดและความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นได้
    • จัดตารางเวลาในการไปหาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยอาจจะเป็น ไปตรวจร่างกายทุกๆ 6 เดือน เพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับสภาพร่างกายของตัวเอง

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา