ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น เช่น การจัดการกับความโกรธ เทคนิครับมือกับความเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวต่าง ๆ หาคำตอบได้ที่นี่เลย!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger Syndrome)

กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์  (Asperger Syndrome) เป็นกลุ่มอาการเดียวกับออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาทที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การใช้ภาษา คำจำกัดความกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger Syndrome) คืออะไร กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ หรือ แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger Syndrome) เป็นกลุ่มอาการเดียวกับออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาทที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การใช้ภาษา อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์บางรายมีสติปัญญาสูง มีทักษะการพูดและการใช้ภาษาได้ดี (ความรุนแรงของอาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล) พบได้บ่อยเพียงใด โดยส่วนใหญ่ของกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่จะเริ่มพบในวัยเด็ก อาการอาการของ กลุ่มแอสเพอร์เกอร์ หรือ แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม อาการของผู้ป่วยกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ จะมีอาการแตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ อาการทางอารมณ์และพฤติกรรม การแสดงพฤติกรรมซ้ำๆ การเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมแบบเดิมๆ ซ้ำๆ สภาวะทางอารมณ์ มีอารมณ์หงุดหงิดง่ายกว่าคนปกติทั่วไป ความผิดปกติต่อสิ่งเร้า มีการรับรู้ประสาทสัมผัสไวกว่าคนปกติทั่วไป เช่น ความไวต่อแสง ความไวต่อเสียง ความไวต่อความรู้สึก  อาการสื่อสาร ปัญหาทางสังคม ไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ไม่สามารถสื่อสารหรือทำความเข้าใจในเชิงลึกได้ ปัญหาการพูด มีปัญหาในการควบคุมเสียง เช่น เวลาเข้าห้องสมุด ไปวัด และมีอาการพูดซ้ำๆ พูดเรื่องเดิมๆ ไม่สบตา เมื่อผู้ป่วยมีการสื่อสารต่อบุคคลอื่นจะไม่สบตาผู้ที่สื่อสารด้วย อาการอื่นๆ ทักษะด้านอื่นๆ  เช่น เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว ไม่สามารถเข้าใจความหมายต่างๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อาการ สัญญาณ สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ที่มักจะเกิดขึ้น

โรคสมาธิสั้น เป็นโรคที่มักจะเจอในช่วงวัยเด็ก แต่ก็มีโอกาสที่จะเจอ โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ได้ ซึ่งก็จะมีสัญญาณและอาการบางอย่างที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นโรคสมาธิสั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สัญญาณ สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ที่ควรรรู้ว่ามีอะไรบ้าง ไปอ่านกันเลยค่ะ อาการสมาธิสั้น คืออะไร สมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder; ADHD) เป็นโรคทางระบบประสาทที่พัฒนาในวัยเด็ก ซึ่งอาการส่วนใหญ่คือขาดสมาธิ ไม่มีสมาธิจดจ่อในการทำกิจกรรมบางอย่างได้นาน ๆ มีปัญหาในการตัดสินใจและการยับยั้งอารมณ์ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงของอาการสมาธิสั้นนั้นยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด แต่ทางการแพทย์ได้แสดงข้อมูลให้เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม และความบกพร่องในการพัฒนาของสมอง สำหรับการรักษาอาการสมาธิสั้นนั้นยังไม่มีรูปแบบการรักษา แต่สามารถบรรเทาอาการ บำบัดพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้ สัญญาณ สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ที่มักมี ขาดสมาธิ อาการขาดสมาธิถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการสมาธิสั้นได้ดีที่สุด มักจะมีการแสดงอาการวอกแวก หันเหความสนใจได้ง่าย ไม่มีสมาธิในการฟังผู้อื่น หรือทำกิจกรรมใด ๆ อาจเป็นปัญหาในการทำงาน เช่น ไม่สามารถทำงานได้เสร็จตามเวลา ทำงานช้ากว่าที่ควรจะเป็น ความสับสน ไม่เป็นระเบียบ แน่นอนว่าความวุ่นวายในการใช้ชีวิตถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องพบเจอในชีวิตกันบ้าง แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาสมาธิสั้นมักจะมีชีวิตที่วุ่นวายยิ่งกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น การเก็บของให้เป็นระเบียบ เก็บไว้ในที่ที่ควรจะอยู่ถือเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่มีอาการสมาธิสั้น ซึ่งผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสมาธิสั้นที่เจอกับปัญหานี้อาจส่งผลต่อการทำงาน และส่งผลต่อการจัดลำดับความสำคัญในการทำงาน ปัญหาในการบริหารเวลา ปัญหาในการบริหารเวลา เป็นปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับปัญหาความไม่เป็นระเบียบในชีวิต ผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสมาธิสั้นมักจะประสบกับปัญหาในการจัดสรรเวลา การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ พวกเขาอาจมีปัญหาผัดวันประกันพรุ่งในงานที่มีความสำคัญ หรือเพิกเฉยกับงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สัญญาณเตือนว่าควรพบนักบำบัด สามารถสังเกตได้อย่างไรบ้าง

หลายคนอาจมีความคิดที่ว่าคนที่เป็นโรคจิตเภทนั้นเป็นคนที่น่ากลัว แต่ความจริงแล้วยังมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของจิตเภทอีกมากมาย ไม่เพียงเท่านั้น บางคนอาจจะรู้สึกว่าตัวเองอาจจะกำลังเข้าข่ายเป็นโรคจิตเภทอยู่ บทความนี้ Hello คุณหมอ ได้ทำการรวบรวม สัญญาณเตือนว่าควรพบนักบำบัด ที่คุณควรรู้ เพื่อการสำรวจตนเองในเบื้องต้น มาฝากกันค่ะ ทำความรู้จักกับ นักบำบัด และ นักจิตวิทยา  นักบำบัด (Therapist) และ นักจิตวิทยา (Psychologist) คือ คนที่ศึกษาจิตใจและพฤติกรรม โดยส่วนใหญ่แล้วคนมักจะนึกถึง การพูดคุยบำบัด (Talk therapy) เมื่อพวกเขาได้ยินคำว่า “นักจิตวิทยา” อาชีพนี้จริงๆ แล้วมีความหลากหลายของสาขาพิเศษ รวมถึงการวิจัยสัตว์ และพฤติกรรมองค์กร นักบำบัด หรือนักจิตวิทยา จึงอาจหมายถึง คนที่ใช้ความรู้และการวิจัยทางจิตวิทยา เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เช่น รักษาอาการป่วยทางจิต ทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางสังคม เพื่อทำการวิจัยทางจิตวิทยาและสอนที่วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ทางสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (The American Psychological Association หรือ APA) มีหน่วยงานที่แตกต่างกันถึง 54 แผนก โดยแต่ละแผนกจะมีความสามารถเฉพาะด้านหรือด้านจิตวิทยา แม้นักบำบัดจะมีหลายประเภทแต่พวกเขาจะถูกแยกออกเป็น 3 ประเภทที่แตกต่างกัน ดังนี้ นักจิตวิทยาที่ประยุกต์ใช้หลักการทางจิตวิทยาและการวิจัย เพื่อแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งได้แก่ นักจิตวิทยาการบิน นักจิตวิทยาวิศวกรรม […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

คิดมาก สามารถกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตได้หรือเปล่า?

คุณเคยมีอาการคิดมากแบบนี้หรือเปล่า คือคิดวนเวียนอยู่กับเรื่องเรื่องเดียว หรือหลาย ๆ เรื่อง และคุณเอาแต่ คิดมาก กับเรื่องบางอย่างซ้ำไปซ้ำมา ไม่สามารถเลิกคิดได้ กระบวนการคิดอย่างต่อเนื่องในเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ สามารถจัดว่าเป็นการครุ่นคิด ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทางจิตอย่างโรคซึมเศร้าได้ วันนี้ Hello คุณหมอ อยากชวนทุกคนไปทำความรู้จักกับการคิดมากกัน ว่าส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราหรือไม่ การครุ่นคิด คืออะไร การครุ่นคิด (Rumination) คือการคิดมากกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่องซ้ำๆ ซึ่งถ้าทำจนเป็นนิสัยสามารถเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิต และสามารถทำให้อาการซึมเศร้ารุนแรงขึ้น รวมทั้งทำให้ความสามารถในการคิดและประมวลอารมณ์ของคุณแย่ลง นอกจากนี้ยังอาจทำให้คุณรู้สึกโดดเดี่ยว และอาจผลักคนอื่นออกไปจากชีวิต ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าหลายคนรายงานว่า พวกเขาจมอยู่กับอาการซึมเศร้าของตัวเองซ้ำไปซ้ำมา เช่น การเฝ้าถามตัวเองว่าทำไมฉันถึงไม่สามารถดีขึ้นได้ นอกจากนี้พวกเขายังอยู่กับความไม่พอใจในตัวเอง เหตุการณ์ไม่ดีในอดีต และการสูญเสีย ซึ่งจากการติดตามระยะยาวและจากการศึกษาทดลองพบว่า การคร่ำครวญ ครุ่นคิดกับเรื่องเดิมๆ ทำให้อารมณ์เชิงลบแย่ลง และสามารถเพิ่มภาวะซึมเศร้า แต่ถึงแม้จะรู้ว่า การคิดมากและคิดซ้ำไปซ้ำมา อาจทำให้มีปัญหาสุขภาพจิต แต่ก็ยังมีรายงานว่า หลายคนพบว่ามันยากที่จะหยุดคิด ซึ่งผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะบรรบายการครุ่นคิดว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ และทำจนเป็นนิสัย รวมถึงเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ มากไปกว่านั้น การครุ่นคิดมักจะเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ในสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมเดิม ๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณรู้สึกเศร้าและกังวล หรืออยู่ในบางสถานที่และบางเวลา เช่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ออกกำลังกายตอนโกรธ ได้ประโยชน์หรือโทษกันแน่

เวลาที่เรารู้สึกโกรธ การได้ระบายอารมณ์ออกไปสามารถช่วยให้อารมณ์เดือดพล่านที่กำลังปะทุอยู่นั้นทุเลาและเบาบางลงได้ แต่การใช้แรงกายเพื่อระบายอารมณ์อาจไม่ได้เป็นผลดีเสมอไป เพราะอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อตนเองและบุคคลรอบข้าง แล้วถ้าเป็นการระบายความโกรธด้วยการออกกำลังกายล่ะ จะดีกว่ารึเปล่า? เพราะหลายคนอาจเคยได้ยินว่าการออกกำลังกายช่วยบรรเทาความโกรธได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะขอพาทุกท่านไปดูกันว่า ออกกำลังกายตอนโกรธ จะมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง การออกกำลังกายกับความโกรธสัมพันธ์กันอย่างไร ความโกรธและการออกกำลังกายนั้นมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันในเรื่องทางสรีระวิทยาและจิตวิทยา กล่าวคือเมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกโกรธ กล้ามเนื้อ อารมณ์ ความรู้สึกก็จะทำงานสัมพันธ์กัน เราอาจต้องการที่จะแสดงออกทางกายด้วยอารมณ์โกรธที่กำลังพลุ่งพล่าน จนบางครั้งเราอาจแสดงออกไปในทางที่ค่อนข้างจะเป็นมุมลบหรือสร้างอันตรายทั้งต่อตนเองและกับผู้อื่น การออกกำลังกายในขณะที่โกรธ จะเป็นช่วงเวลาที่เราได้ควบคุมอารมณ์รุนแรงเอาไว้ เพราะร่างกายและสมองจะได้ใช้พลังงานและขบคิดถึงต้นตอที่ทำให้รู้สึกไม่พอใจ ซึ่งอาจช่วยให้ความรู้สึกเหล่านั้นเบาบางลงเมื่อได้อยู่กับตนเองสักพัก  ออกกำลังกายช่วยผ่อนคลายความโกรธได้หรือไม่ ความโกรธสามารถระงับได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการควบคุมความโกรธด้วยการออกกำลังกาย หรือที่เราอาจเคยได้ยินว่าเวลาที่โกรธให้ลองออกไปวิ่ง เพื่อที่จะได้คลายความเกรี้ยวกราดของอารมณ์ออกไปในขณะที่วิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากเวลาที่เราออกแรงขณะที่โกรธร่างกายจะได้ใช้พลังงานไปกับการขบคิด และจดจ่อกับสิ่งที่ออกแรงทำ รวมถึงยังเป็นการกำจัดเอาพลังงานส่วนเกินออกไปขณะที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหวด้วย จึงมีส่วนช่วยให้รู้สึกสงบลง และผ่อนคลายมากขึ้น โดยกิจกรรมที่เป็นทางเลือกสำหรับเวลาที่รู้สึกโกรธหากสถานที่และอุปกรณ์เอื้ออำนวย เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ เป็นต้น  ออกกำลังกายตอนโกรธ มีผลเสียหรือไม่ การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ และมีส่วนช่วยลดความรู้สึกโกรธและความโมโหให้ลดลงได้จริง เพราะร่างกายได้มีการใช้พลังงานในการจดจ่อกับสิ่งที่ออกแรง สมองได้ใช้ความคิดเพื่อทบทวนหาสาเหตุ และค่อยๆ จัดการกับอารมณ์ของตนเองในที่สุด อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายขณะที่กำลังโกรธอย่างรุนแรงนั้นก็มีข้อควรระวังที่ไม่ควรมองข้ามด้วยเช่นกัน นั่นคือ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ เช่น โรคหัวใจ หัวใจวาย เนื่องจากในขณะที่กำลังโกรธนั้นอัตราการเต้นของหัวใจจะเร็วและแรง ลมหายใจจะสั้นและเร็ว กล้ามเนื้อจะเกร็งและตึง ซึ่งอาจมีผลต่ออาการทางสุขภาพเช่น อาการช็อค […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สัญญาณของโรคไบโพลาร์ ที่คุณอาจมองข้ามไปโดยไม่รู้ตัว

โรคไบโพลาร์ (bipolar disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้วนั้น เป็นโรคทางจิตเภทที่หลายคนอาจจะรู้จักชื่อกันเป็นอย่างดี แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าความจริงแล้ว มันมี สัญญาณของโรคไบโพลาร์ ที่อาจจะแสดงออกมาแต่คุณอาจจไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็นโรคนี้อยู่ บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาณของโรคดังกล่าว พร้อมให้คุณได้สำรวจตนเองกันว่าเข้าข่ายเป็นโรคไบโพลาร์หรือไม่ สัญญาณของโรคไบโพลาร์ ที่คุณอาจมองข้ามไป ถือเป็นเรื่องยากที่คุณจะสามารถแยกให้ออกได้ว่า คุณเป็นเพียงคนที่ขี้โมโห อารมณ์แปรปรวน หรือคุณกำลังเจ็บป่วยทางจิตอย่างรุนแรง ดังนั้น ลองมาสังเกตตนเองว่ากำลังมี สัญญาของโรคไบโพลาร์ ปรากฏอยู่หรือไม่ ซึ่งสัญญาณเตือนต่างๆ มีดังนี้ รู้สึกกดดัน โรคอารมณ์สองขั้นนั้นในช่วงที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าจะมีอาการเช่นเดียวกับคนที่มีภาวะซึมเศร้า โดยมักจะมีอาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย และลดความอยากอาหาร  สิ่งที่แตกต่างระหว่างภาวะซึมเศร้าและโรคไบโพลาร์ก็คือ ความผันผวนของอารมณ์ ดังนั้นการปรึกษากับนักบำบัดหรือแพทย์เพื่อรักษาภาวะซึมเศร้าจะแตกต่างจากการรักษาโรคอารมณ์สองขั้น นอกจากนั้นการจ่ายยากล่อมประสาทเพียงอย่างเดียวในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าแบบสองขั้น แพทย์จะไม่แนะนำ เพราะมันอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกกดดัน จนนำไปสู่อารมณ์ที่บ้าคลั่งได้ นอนไม่หลับ เป็นเรื่องปกติที่คุณจะมีช่วงเวลาที่นอนไม่หลับ ซึ่งเกิดจากความเครียดหรือความคาดหวังในเรื่องต่างๆ แต่บางคนที่อยู่ในระยะของโรคไบโพลาร์มักจะได้นอนน้อยกว่าปกติ มันไม่ใช่แค่การอดนอน แต่มันคือการไม่อยากนอนเลย บางครั้งผู้ที่อยู่ในช่วงซึมเศร้าก็อาจจะนอนนานกว่าปกติ ดังนั้น ตารางการนอนแบบปกติ ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีอารมณ์สองขั้ว มีความคิดฆ่าตัวตาย อาการที่เกิดโรคไบโพลาร์นั้นเป็นเรื่องยากที่จะสามารถทนได้ บางครั้งคุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีหรือคุณมักจะคิดว่าถ้าคนที่คุณรักไม่มีคุณอยู่มันอาจจะดีกว่า หากเกิดความคิดเช่นนี้การไปพบนักบำบัดหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วจะเป็นการดีที่สุด อย่ารู้สึกอายที่จะต้องขอความช่วยเหลือหากคุณกำลังรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย หรือต้องการทำร้ายตัวเอง หลายคนที่เป็นโรคไบโพลาร์ทักจะมีปัญหาเกี่ยวกับความคิดเหล่านี้ การคุยกับแพทย์หรือนักบำบัด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงแผนการรักษา อาจเป็นสิ่งที่คุณต้องการ ทั้งมันอาจจะทำให้คุณรู้สึกมีความหวังมากขึ้นเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่ อารมณ์ดีมากผิดปกติ แน่นอนว่าใครๆ ก็อยากจะมีอารมณ์ที่ดี แถมอารมณ์ดีแล้วไม่เห็นจะเป็นสัญญาณของความเจ็บป่วยทางจิตตรงไหน Smitha Murthy จิตแพทย์และผู้ช่วยศาสตราจารย์ในภาควิชาจิตเวชศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัสกล่าวว่า การที่อารมณ์ดีมากเกินไปนั้นไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด โดยการที่มีอารมณ์ดีมากเกินปรกติอาจจะอยู่เพียงแค่ช่วง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) ทางเลือกในการแก้ไข ปัญหาสุขภาพจิต

ในปัจจุบันนี้ ทางเลือกในการรักษาปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีอยู่มากมายหลายทางเลือก หนึ่งในนั้นก็คือการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การบำบัดทางจิตด้วยวิธีการนี้ เป็นทางเลือกในการบำบัดที่ใช้เพื่อการรักษาโรคทางจิตเวชมากมาย รวมไปจนถึงโรคซึมเศร้า วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม ว่าคืออะไร และเหมาะสำหรับการจัดการกับโรคแบบไหนบ้าง การ บำบัดทางความคิดและพฤติกรรม คืออะไร การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy ; CBT) เป็นจิตบำบัดประเภทหนึ่ง ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเรียนรู้ ตระหนัก และรับมือกับปัญหา รูปแบบ ความคิด หรือความผิดปกติทางจิตต่างๆ ที่รบกวนหรือส่งผลกระทบด้านลบ ทั้งต่อการกระทำและอารมณ์ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมนั้นจะมุ่งเน้นที่การพูดคุยและให้คำปรึกษา เพื่อหาทางจัดกับปัญหาให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยการแบ่งปัญหาออกเป็นส่วน ๆ แล้วค่อย ๆ เข้าแก้ไขไปทีละส่วนร่วมกัน ทั้งกับตัวแพทย์และตัวผู้ป่วย การบำบัดด้วยวิธีการนี้จะแตกต่างกับการบำบัดอื่น ๆ เนื่องจากจะมุ้งเน้นจัดการและแก้ไขกับปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยไม่ไปเน้นกับปัญหาในอดีตมากนัก และเป้าหมายสูงสุดของการบำบัดคือต้องการให้เข้ารับการรักษา สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติและมีความสุข การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมใช้เพื่ออะไรบ้าง การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมนั้นครอบคลุมการรักษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับจิตใจได้อย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดว่าจะต้องรักษาแค่โรคทางจิตเวชเท่านั้น แต่ยังอาจครอบคลุมไปจนถึงปัญหาเกี่ยวกับสภาพจิตใจอื่น ๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น การจัดการกับอาการป่วยทางจิต การป้องกันไม่ให้อาการป่วยทางจิตกำเริบ การจัดการกับความรู้สึก เช่น การรับมือกับความสูญเสีย การจัดการทางอารมณ์ เช่น อารมณ์โกรธ อารมณ์โศกเศร้า นอกจากนี้ ยังอาจใช้เพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคทางจิตเวชต่าง ๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคการกินผิดปกติ โรคจิตเภท โรคกลัวต่าง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ อาจแย่ลงได้เพราะปัจจัยเหล่านี้

โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD) เกิดจากสมองส่วนหน้าทำงานบกพร่อง โดยเฉพาะบริเวณที่ควบคุมเรื่องสมาธิจดจ่อ การเคลื่อนไหวร่างกาย การตัดสินใจและการยับยั้งชั่งใจ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า โรคสมาธิสั้นนี้เกิดขึ้นเฉพาะกับเด็กเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แม้แต่ผู้ใหญ่เองก็เป็นโรคสมาธิสั้นได้ แถมวัยผู้ใหญ่ยังมีสิ่งกระตุ้นให้อาการของโรคสมาธิสั้นกำเริบได้มากกว่าวัยเด็กด้วย ว่าแต่ปัจจัยกระตุ้นอาการของโรค สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ จะมีอะไรบ้าง วันนี้ Hello คุณ เราลองไปดูกันเลย ปัจจัยกระตุ้นอาการ สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ การกินอาหารขยะมากไป ผลการศึกษาวิจัยพบว่า สารปรุงแต่งอาหาร เช่น สีผสมอาหารสามารถทำให้อาการสมาธิสั้นในเด็กแย่ลงได้ ซึ่งสารปรุงแต่งเหล่านี้นั้นพบมากในอาหารขยะ เช่น น้ำอัดลม ลูกอม ขนมหวาน และถึงแม้งานวิจัยจะยังไม่ยืนยันว่า อาหารขยะจะส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นด้วยหรือไม่ แต่ก็แนะนำให้คุณลองสังเกตอาการของตัวเองดู หากกินอาหารขยะแล้วอาการของโรคสมาธิสั้นกำเริบ หรือแย่ลง ก็ควรลดหรืองดอาหารขยะดีกว่า การอดมื้อเช้า อาหารเช้าช่วยให้ร่างกาย จิตใจ และสมองของเรามีพลังงาน พร้อมเริ่มต้นวันใหม่ และสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องพบเจอได้ ทั้งยังช่วยให้คุณมีสมาธิและคิดอะไรได้ดีขึ้นด้วย ฉะนั้นต่อให้คุณไม่รู้สึกหิว ก็ควรหาอะไรรองท้องสักหน่อย โดยเน้นเป็นอาหารที่ให้พลังงานที่ดีต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ไข่ต้ม โยเกิร์ต การไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายหรือการขยับร่างกายเป็นประจำ จะช่วยให้สมองของคุณไบรท์ ทำงานได้ดี […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ประโยชน์ของเสียงเพลงที่มีต่อสุขภาพ ที่คุณอาจไม่เคยรู้

เพลงนั้นมีหลายแนวด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นคลาสสิก ป็อป ร็อค หรือแม้แต่อะคูสติก ซึ่งแนวการฟังนั้นก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล แต่คุณรู้หรือไม่ว่าประโยชน์ของเสียงเพลงนอกจากจะให้ความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย เสียงเพลงยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย ประโยชน์ของเสียงเพลงที่มีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน ประโยชน์ของเสียงเพลงที่มีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง จากการวิจับเมื่อไม่นานมากนี้แสดงให้เห็นว่า การฟังเพลงช่วยเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีของจิตใจและช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีอย่างน่าประหลาดใจ การเรียนวิชาดนตรีหรือฝึกดนตรี สามารถช่วยยกระดับสติปัญญาและยังทำให้ฉลาดได้อีกด้วย และนี่คือ ประโยชน์ของเสียงดนตรีที่มีต่อสุขภาพ ทำให้มีความสุข จากงานวิจัยได้พิสูจน์ว่า เมื่อคุณฟังเพลงที่ชอบ สมองจะปล่อยสารโดพามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำให้รู้สึกดี Valorie Salimpoor นักประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย McGill ได้ฉีดสารกัมมันตรังสีที่จับกับตัวรับโดพามีนให้กับคนที่ชอบฟังเพลงจำนวน 8 คน หลังจากนั้นก็ให้พวกเขาได้ฟังเพลงโปรด จากการสแกนด้วยเครื่องเพ็ท (PET) แสดงให้เห็นว่า โดพามีนจำนวนมากถูกปล่อยออกมา ทำให้ผู้เข้าร่วมงายวิจัยทางชีวภาพ รู้สึกถึงอารมณ์ เช่น ความสุข และความตื่นเต้น ดังนั้นถ้าอยากอารมณ์ดีขึ้น แนะนำว่าให้ฟังเพลงโปรดเป็นเวลา 15 นาที ทำให้รู้สึกสงบ จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Ohio State การฟังเพลงโปรดสามารถลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยไอซียูประมาณ 1 ใน 3 นอกจากนั้นการฟังเพลงยังช่วยทำให้นอนหลับสนิทอีกด้วย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่ง Dr. Marcelo Bigliassi […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เลิกขี้เกียจ ได้ไม่ยาก ด้วยวิธีเหล่านี้

ความขี้เกียจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากทำกิจกรรม หรือหมดกำลังใจในการทำงาน เหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น วิธีเลิกขี้เกียจจึงอาจเป็นการจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มกำลังใจ ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น วิธีเลิกขี้เกียจสามารถทำได้อย่างไร ไม่ควรคิดว่าตัวเองต้องสมบูรณ์แบบ การหมกมุ่นในความสมบูรณ์แบบมากเกินไป อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ ผู้ที่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ มักจะคาดหวังว่าหนทางสู่เป้าหมายต้องได้มาอย่างง่ายดาย ทั้งที่ในความเป็นจริงเส้นทางสู่เป้าหมายอาจมีอุปสรรคอยู่เสมอ มีงานวิจัยเผยว่า ผู้ที่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบมักจะเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น จนนำไปสู่โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลได้ อีกทั้งคนกลุ่มนี้ยังชอบรับมือกับปัญหาด้วยวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกเลี่ยง (Avoidant coping) คือ มักไม่หาวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เอาแต่หลบเลี่ยงจนถึงที่สุด นอกจากนี้ โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลมักทำให้รู้สึกเฉื่อยชาเพิ่มขึ้นด้วย ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ที่ทำได้จริง หากเป้าหมายใหญ่หรือซับซ้อนเกินไป ก็อาจทำให้รู้สึกว่าการไปสู่เป้าหมายนั้นเป็นเรื่องยาก อาจทำให้รู้สึกขี้เกียจลงมือทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ฉะนั้น วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เลิกขี้เกียจ และสามารถพิชิตเป้าหมายที่ตัวเองวางไว้ให้สำเร็จ ควรการตั้งเป้าหมายให้เล็กและต้องเป็นเป้าหมายที่ทำได้จริงด้วย ฉลองให้กับชัยชนะของตนเอง เมื่อทำสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้แล้ว แม้จะเป็นแค่เป้าหมายเล็ก ๆ ก็ควรเฉลิมฉลองให้ความสำเร็จนั้นด้วย ซึ่งการเฉลิมฉลองเปรียบเหมือนการให้รางวัลตัวเองที่จะทำให้รู้สึกมีกำลังใจ และเป็นแรงกระตุ้นให้เลิกขี้เกียจ อยากลุกขึ้นมาทำเป้าหมายต่อ ๆ ไปให้สำเร็จ โดยสามารถฉลองด้วยกิจกรรมที่ชื่นชอบได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการไปสังสรรค์กับเพื่อน การซื้อเครื่องสำอางชิ้นใหม่ เป็นต้น ตราบใดที่วิธีการเหล่านั้นไม่ส่งผลเสียกับตัวเองและผู้อื่น เลิกขี้เกียจ ด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวน สิ่งรบกวนอาจทำให้รู้สึกขี้เกียจและรู้สึกไม่อยากทำอะไร เช่น การเล่นโซเชียลมีเดีย การเล่นเกม การเล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่กิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพอย่างการนอนหลับและการอ่านหนังสือ ก็กลายเป็นสิ่งรบกวนได้หากทำสิ่งเหล่านั้นผิดเวลา ฉะนั้นหากต้องการเลิกขี้เกียจให้ลุกขึ้นมาทำงานหรือธุระต่าง ๆ ให้สำเร็จ โดยวางโทรศัพท์มือถือไว้ให้ห่างมือ หรือปิดเครื่องไว้ก่อน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน