ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น เช่น การจัดการกับความโกรธ เทคนิครับมือกับความเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวต่าง ๆ หาคำตอบได้ที่นี่เลย!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สัตว์เลี้ยงบำบัด สุขภาพจิตดีขึ้นได้ ด้วยเพื่อนซี้คลายเหงาแสนรู้!

เมื่อเข้าสู่ช่วงเทศกาลพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเทศกาลแห่งความรัก หรือวันพิเศษใดใด เวลาเราออกไปไหนมาไหนก็คงไม่พ้นที่จะเห็นคู่รักเขาเดินจับมือกัน ถือดอกไม้ช่อโต แถมยังมีรูปคู่ไว้อัพลงโซเชียลอีกต่างหาก คนโสดอย่างเราๆ คงอดไม่ได้ที่จะรู้สึกเหงาใจเป็นแน่ แต่อย่าเพิ่งหมดหวังไป ยังมีสิ่งมีชีวิตบางอย่างที่กำลังรอความรัก และพร้อมมอบความรักให้หัวใจเต้นเร็วกว่าการมีคนรักเสียอีก ลองอ่านบทความนี้ที่ Hello คุณหมอมีวิธีเพิ่มความสุขด้วย สัตว์เลี้ยงบำบัด สุดแสนน่ารักมาฝากทุกคนกัน บำบัดหัวใจให้กระชุ่มกระชวย ด้วย สัตว์เลี้ยงบำบัด สัตว์เลี้ยงบำบัด (Animal-Assisted Therapy ; AAT) คือการนำสัตว์เลี้ยงที่ผ่านการฝึกฝนแล้ว เช่น สุนัข แมว นก มาช่วยบรรเทาความเครียด และสร้างความเพลิดเพลินให้กับคุณ เป็นการปรับปรุงทางอารมณ์ สร้างความผ่อนคลาย นอกเหนือจากนี้ยังใช้เป็นวิธีที่ควบคู่กับเทคนิคทางการแพทย์ในการรักษาโรคจิตเภท หรือภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย ย้อนกลับไปในปี 1950 มีการค้นพบโดยบังเอิญในเรื่องของสุนัขตัวหนึ่งที่ช่วยบำบัด และมอบความสุขให้แก่เด็กออทิสติกอย่างที่คนรอบข้างไม่สามารถทำได้ และในปลายปี 1970 ยังมีสุนัขบำบัดที่ชื่อ เดลต้า ซึ่งเป็นที่ยอมรับในแวดวงของสัตว์เลี้ยงบำบัด ที่นำความสุขมาให้แก่ผู้ป่วยมากที่สุด นอกจากสุนัขแล้ว ทางโครงการยังมีการนำสัตว์อื่นๆ อย่างหมู แมว กระต่าย ม้า นก รวมถึงงูที่นำมาฝึก เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงบำบัด ตอบสนองอาการ และความต้องการแต่ละบุคคลอีกด้วย ประโยชน์มากมายของสัตว์เลี้ยง ที่ช่วยกำจัด ความเหงา ให้แก่คุณ มนุษย์เรานั้นมีความผูกพันธ์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวเลือด คืออะไร รักษาอย่างไร

โรคกลัวเลือด (Hemophobia) เป็นโรคที่อาจทำให้เกิดอาการกลัวเลือดอย่างไม่มีเหตุผล และอาจทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรืออาจรุนแรงถึงขั้นหมดสติได้และอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำบางประการ โรคนี้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย การรู้สาเหตุและวิธีรักษาจึงอาจเป็นวิธีรับมือกับโรคนี้ได้อย่างเหมาะสม สาเหตุของโรคกลัวเลือด โรคกลัวเลือด เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการกลัวแบบไม่มีเหตุผล จัดอยู่ในกลุ่มของโฟเบีย (Phobia) คือ ความผิดปกติคล้ายกับโรคทางด้านระบบประสาท เช่น โรคตื่นตระหนก โรคกลัวแมว หรือสุนัข เป็นต้น แต่สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวนี้ อาจเป็นเพราะเคยได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์กระทบกระเทือนทางจิตใจ นำไปสู่ความหวาดกลัว หรืออาจเป็นโรคทางพันธุกรรมจากคนในครอบครัว ที่มีแนวโน้มทำให้เกิดอาการกลัวเลือด ทำให้มีอารมณ์อ่อนไหว จนถึงขั้นหมดสติเมื่อพบเห็น อาการของโรคกลัวเลือด โรคกลัวทุกประเภทมีการตอบสนองของร่างกายที่คล้ายคลึงกัน โดยมีทั้งอาการทางร่างกาย และทางอารมณ์ ดังนี้ ปฏิกิริยาของอาการกลัวเลือดที่แสดงออกทางร่างกาย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก อัตราการเต้นของหัวใจถี่ และเร็วขึ้น เหงื่อออก และตัวสั่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปฏิกิริยาของอาการกลัวเลือดทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกวิตกกังวล หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเลือดแบบฉับพลัน รู้สึกสูญเสียการควบคุม สำหรับเด็กอาจมีอาการร้องไห้ อารมณ์โกรธ เกรี้ยวกราด หลีกเลี่ยงหรือหลบซ่อนเมื่อเห็นเลือด การรักษาโรคกลัวเลือด การรักษาโรคกลัวเลือดอาจส่งผลให้การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปได้ ด้วยวิธีรักษาเหล่านี้ การรักษาด้วยการสัมผัส (Touch Therapy) คุณหมออาจเริ่มการรักษาด้วยการพูดคุย โดยให้ผู้ป่วยเปิดเผยความรู้สึกกลัวเลือดว่ามีที่มาอย่างไร และสร้างภาพหรือลักษณะที่คล้ายกับเลือดเพื่อให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับความกลัว แต่การรักษาด้วยวิธีนี้อาจมีขั้นตอนอื่น ๆ ร่วมด้วย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เอาชนะ อาการตื่นตระหนก ก่อนที่จะกระทบต่อสุขภาพหัวใจ

ตกใจแรง จนหัวใจเต้นเร็ว ถึงกับชะงักทำอะไรไม่ถูก อาจเป็นที่มาของ อาการตื่นตระหนก จนทำให้รู้สึกตื่นกลัว หวาดระแวง ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และสุขภาพของเราได้ มารู้วิธีรับมือของภาวะนี้ในบทความของ Hello คุณหมอ กันเถอะ อาการตื่นตระหนก คืออะไร อาการตื่นตระหนก (Panic Disoder) คือ อาการที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล หวาดหลัว โดยเฉพาะเมื่อเราพบเจอกับเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่ทำให้รู้สึกกดดัน และตื่นเต้น จนทำให้เกิดการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ หายใจถี่ขึ้นไม่เป็นจังหวะ ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่จะหายได้เองภายใน 2-3 ชั่วโมง ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไป สาเหตุหลักๆ ของอาการตื่นตระหนกนี้อาจมาจากการรับรู้ของสมองที่ไปกระตุ้นต่อมความกลัวเกินจริง เมื่อพบเห็นเหตุการณ์ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ทำให้คุณรู้สึกไม่เป็นตนเอง เรียกอีกโครงสร้างนี้ว่า อะมิกดาลา (amygdala) ในงานวิจัยบางชิ้นระบุไว้ว่าผู้ที่ความวิตกกังวลอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากอัตราของหัวใจเปลี่ยนแปลง (HRV) สัญญาณของ อาการตื่นตระหนก ที่คุณควรรู้ อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น เหงื่อออก แน่นหน้าอก ตัวสั่น รู้สึกร้อนวูบวาบภายใน หายใจเร็ว และถี่ วิงเวียนศีรษะ มึนงง จนถึงขั้นเป็นลมหมดสติ ท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้ กล้ามเนื้อรัดเกร็ง เสียการควบคุมทางด้านอารมณ์ และทางกายภาพ โปรดเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์เพิ่มเติม หากมีอาการอื่นๆ แทรกซ้อนรุนแรง เพื่อความปลอดภัย และห่างไกลจากโรคหัวใจ 6 วิธี รับมือกับอาการตื่นตระหนก เพื่อสุขภาพหัวใจที่ดี หากคุณอยู่ในภาวะตื่นตระหนกเช่นนี้ ควรเรียนรู้ที่จะรับมือเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ สามารถเริ่มต้นได้ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เห็นเจ้าเหมียวทีไร แล้วมีอาการกลัวสุดขีด คุณอาจกำลังเป็น โรคกลัวแมว

ด้วยดวงตาอันบ้องแบ๊วและนิสัยที่ขี้อ้อนของ “แมว” ทำให้มันเป็นสัตว์เลี้ยงอันดับต้นๆ ที่ผู้คนต่างเทใจให้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะตกเป็นทาสแมวหรอกนะ ยังมีคนที่กลัวแมวอยู่ด้วย ถึงขั้นตกใจสุดขีดทุกครั้งที่เห็นเจ้าแมวเหมียวเลยก็ว่าได้ อาการกลัวตกใจนี้ไม่ใช่เพราะเขาคิดไปเอง แต่แท้จริงแล้วเขาอาจเป็น “โรคกลัวแมว” จะมีลักษณะอาการอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบค่ะ ทำความรู้จัก โรคกลัวแมว (Ailurophobia) โรคกลัวแมว (Ailurophobia) จัดอยู่ในกลุ่มโรคความกลัวเฉพาะเจาะจง (Specific phobia) เป็นความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผล ทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งนั้นมันไม่ได้อันตราย ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ไม่สามารถหยุดความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นได้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่เจอ โดยจะมีอาการแสดงโต้ตอบอัตโนมัติทันทีที่เจอกับสิ่งนั้น เช่น ตัวสั่น เหงื่อแตก หัวใจเต้นเร็ว หายใจติดขัด เป็นต้น โรคกลัวแมวมีสาเหตุมาจากอะไรกันนะ สาเหตุของการกลัวแมวนั้นอาจเกิดจากปัจจัยหลายๆ ส่วน ดังนี้ ประสบการณ์ที่น่ากลัวในวัยเด็ก อาจโดนแมวกัดหรือข่วนในสมัยวัยเด็กที่ให้รู้สึกกลัวฝังใจ ปัจจัยทางพันธุกรรม อาการกลัวแฝงจากพ่อแม่ถูกถ่ายทอดสู่ลูกผ่านทางยีนที่อยู่ในโครโมโซม ลูกจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีความกลัวเหมือนที่พ่อแม่รู้สึก ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม อาจมีผลเนื่องจากความทรงจำในวัยเด็ก เช่น ช่วยเหลือแมวลงจากต้นไม้จนได้รับบาดเจ็บ การเห็นแมวโดนรถชน เป็นต้น เช็กด่วน! อาการที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคกลัวแมว  ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวแมวจะมีอาการแสดงออกด้วยกัน 2 ลักษณะคือ ทางด้านร่างกาย และทางด้านจิตใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ทางด้านร่างกาย หายใจติดขัด แน่นหน้าอก ตัวสั่น เหงื่อแตก ปวดท้อง (โดยเฉพาะเมื่อนึกถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่แมวอยู่) ทางด้านจิตใจ รู้สึกตกใจกลัวทุกครั้งเมื่อนึกถึงแมว วิตกกังวลที่ได้ยินเสียงร้องแมว รู้สึกกลัวอย่ายิ่งเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีแมว รับมือและเอาชนะความกลัวได้อย่างไร  โรคกลัวแมวนี้ไม่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก เบื้องต้นเราสามารถหลีกเลี่ยงเพื่อไม่เจอหรือเข้าใกล้แมวได้ แต่เราอาจไม่สามารถที่จะหลีกหนีความหวาดกลัวที่ไม่ได้รับการรักษาได้เสมอไป เช่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวความรัก คืออะไร

โรคกลัวความรัก เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการกลัวที่จะมีความรักและความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ความทรงจำด้านลบในอดีต หรือปัจจัยทางพันธุกรรม และอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นเร็ว หายใจติดขัด และคลื่นไส้อาเจียน การรักษาจึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยบำบัดอาการกลัวความรักให้บรรเทาลงได้ ก่อนที่จะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการเข้าสังคม หรือนำไปสู่อาการซึมเศร้า โรควิตกกังวล การใช้ยาเสพติด หรือแม้กระทั่งความคิดที่จะฆ่าตัวตาย โรคกลัวความรัก คืออะไร โรคกลัวความรัก (Philophobia) เป็นอาการกลัวแบบเฉพาะเจาะจง โดยส่วนใหญ่สาเหตุเกิดจากความผิดหวัง ความเสียใจ ความทรงจำเกี่ยวกับความรักที่ไม่ดีในอดีต ส่งผลให้ในอนาคตกลัวการมีความรัก ไม่กล้ามีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับผู้อื่น กลัวการเริ่มต้นใหม่ ซึ่งความกลัวดังกล่าวนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสดงออกทางร่างกาย เช่น เหงื่อแตก หัวใจเต้นเร็ว หายใจติดขัด คลื่นไส้ อาเจียน บางรายที่มีอาการรุนแรง อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่เข้าสังคมจนอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า สาเหตุของโรคกลัวความรัก โรคกลัวความรักอาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม อาจมีผลเนื่องมาจากความทรงจำในวัยเด็ก เช่น เห็นภาพพ่อแม่ทะเลาะกัน ครอบครัวหย่าร้างจนทำให้เรารู้สึกกลัวไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับใครได้ ความทรงจำด้านลบ ประสบการณ์ความรักที่ไม่ดีในอดีต เช่น การโดนบอกเลิกโดยไม่ทราบสาเหตุ คนรักนอกใจ แอบรักใครแล้วไม่สมหวัง  ส่งผลให้ปัจจุบันกลัวจะต้องเสียใจอีกครั้งจนไม่สามารถเริ่มความสัมพันธ์ใหม่ได้ ปัจจัยทางพันธุกรรม พฤติกรรมและความกลัวแฝงจากพ่อแม่อาจถูกถ่ายทอดสู่ลูกผ่านทางยีนที่อยู่ในโครโมโซม ลูกจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีความกลัวเหมือนที่พ่อแม่รู้สึกด้วยเช่นกัน อาการโรคกลัวความรัก อาการกลัวที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ทางด้านร่างกาย และทางด้านอารมณ์ ดังนี้  ทางด้านร่างกาย เจ็บหน้าอก เป็นลม เหงื่อแตก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทางด้านอารมณ์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

หลากหลายเรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ไบโพลาร์ และ การบำบัดด้วยแสง

การบำบัดด้วยแสง ถือเป็นวิธีการบำบัดที่เป็นที่นิยม ซึ่งจะใช้แสงในการรักษาความผิดปกติด้วยการอาบแสงโดยใช้ “กล่องแสงจ้า (Light box Therapy)”  เพื่อรักษาภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล ภาวะซึมเศร้า ความผิดปกติของการนอนหลับ และยังมีประสิทธิภาพสำหรับใช้รักษาผู้ที่มีโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) หากใครที่กำลังสงสัยว่าการใช้แสงเพื่อบำบัดไบโพลาร์นั้น เป็นอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ ได้ค้นหา ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันแล้วค่ะ หลักการทำงานของ การบำบัดด้วยแสง การบำบัดด้วยแสงโดยทั่วแล้ว เป็นการบำบัดที่ให้ทำสายตาได้รับแสงสเปกตรัมโดยตรง โดยที่ต้องได้รับแสงสเปกตรัมครบทุกสเปกตรัม โดยใช้แหล่งกำเนิดแสง เช่น กล่องแสงจ้า (Light box) วิธีการคือ ผู้ป่วยจะนั่งอยู่ด้านหน้าของกล่องแสงจ้าเพื่อให้ได้รับแสงอย่างเต็มที่ การบำบัดด้วยแสงเป็นการบำบัดที่สามารถทำได้ทั้งที่โรงพยาบาลและมีการให้เช่าอุปกรณ์เพื่อทำที่บ้าน แต่การบำบัดด้วยวิธีนี้จำเป็นที่จะต้องไปพบคุณหมอทุกวัน การบำบัดด้วยแสงถูกใช้เพื่อ รักษาอาการซึมเศร้าของโรคไบโพลาร์ ดังนั้นหากผู้ป่วยที่ต้องการบำบัดด้วยแสงเพื่อรักษาอากรไบโพลาร์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ปริมาณของแสงที่ใช้ในการบำบัด การบำบัดด้วยแสงนั้น จะมีประโยชน์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่เหมาะสมของแสงที่ใช้ในการบำบัด โดยปริมาณของแสงจะถูกกำหนดโดยความเข้มของแสง ระยะห่างระหว่างจุดกำเนิดแสงและบุคคลและระยะเวลาในการรับแสง แหล่งกำเนิดแสงส่วนใหญ่ให้ความสว่างที่ 10,000 ลักซ์(Lux) การใช้แสงเพื่อบำบัดความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder) ความสว่างแสงเริ่มต้นที่แนะนำในการใช้เพื่อบำบัดความผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดูกาลคือ 10,000 ลักซ์ของแสงยามเช้าเป็นเวลานาน 30 นาทีต่อวัน ส่วนผู้ที่มีอาการไบโพลาร์จะมีการใช้ความสว่างของแสงที่แตกต่างออกไป ผลข้างเคียงของ การบำบัดด้วยแสง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการบำบัดด้วยแสง คือ อาการปวดตา ปวดหัว กระสับกระส่ายและนอนไม่หลับ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ดนตรีบำบัด ศาสตร์ที่นอกจะทำให้สุขใจ ยังช่วยบำบัด ภาวะซึมเศร้า ได้อีกด้วย

เสียงเพลงและดนตรี เป็นสิ่งที่ส่งผลต่ออารมณ์ของผู้ฟัง หากยิ่งได้ฟังเพลงที่ตรงกับอารมณ์ในช่วงนั้นๆ ก็จะยิ่งทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมและอินกับเพลงมากเป็นพิเศษ นอกจากเพลงส่งผลต่ออารมณ์แล้วยังมีศาสตร์ที่เรียกว่า ดนตรีบำบัด ซึ่งสามารถใช้ได้กับหลายๆ โรค แต่วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง ดนตรีบำบัด ภาวะซึมเศร้า มาฝากกันค่ะ ดนตรีบำบัด คืออะไร ดนตรีบำบัด (Music Therapy) เป็นศาสตร์ที่ใช้ ดนตรี ในการบำบัด บรรเทาโรคต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นการรวมองค์ประกอบที่มีความแตกต่างเข้าด้วยกัน เช่น การทำเพลง การเขียนเพลง หรือแม้กระทั่งการฟังเพลง แต่ดนตรีบำบัดนั้นเป็นมากกว่าดนตรีธรรมดา เพราะจะเป็นการประยุกต์ดนตรีเข้ากับเทคนิคทางการแพทย์เพื่อใช้ในการรักษาโรค โดยจะรวมเอาองค์ความรู้ด้านการสื่อสาร ประสาทวิทยา และความผิดปกติเกี่ยวกับจิตใจและอารมณ์เข้าด้วยกัน เพื่อบรรเทาอาการป่วยเรื้อรังหรือการจัดการกับความเจ็บปวด เมื่อผู้ป่วยเริ่มใช้ดนตรีบำบัด นักบำบัดจะเริ่มต้นด้วยการถามถึงเป้าหมาย เช่น เมื่อคุณป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และรู้สึกว่าอาการของโรคซึมเศร้าส่งผลให้คุณมีอารมณ์ที่ไม่คงที่ เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง ทั้งวัน เป้าหมายของคุณอาจจะเป็น ต้องการใช้ดนตรีเพื่อปรับปรุงอารมณ์ให้มีความคงที่ โดยนักบำบัดอาจจะเริ่มใช้ดนตรีบำบัดกับอาการอื่นๆ ของภาวะซึมเศร้าก่อน เช่น ความวิตกกังวล อาการนอนไม่หลับหรือมีปัญหาในการโฟกัส หลังจากนั้น นักบำบัดอาจจะเริ่มต้นรักษาในเรื่องอื่นๆ เช่น ปรับปรุงอารมณ์ให้มีความคงที่มากขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตของคุณ เสริมสร้างทักษะการเผชิญปัญหา กระตุ้นการแสดงออกทางอารมณ์ บรรเทาความเครียดและอาการวิตกกังวล การใช้ ดนตรีบำบัด ภาวะซึมเศร้า การใช้ดนตรี เพื่อบำบัดอาการซึมเศร้านั้น เป็นการใช้ดนตรีเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางด้านร่างกาย อารมณ์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ใจสะอาด น้ำไม่ต้องอาบก็ได้ แนวคิดขบขันหรือสัญญาณเตือน โรคกลัวการอาบน้ำ

บทความนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคกลัวการอาบน้ำ ที่หลายคนพอได้ยินชื่อแล้ว อาจจะสงสัยว่ามันมีโรคนี้อยู่บนโลกจริงๆหรือไม่ แต่โรคกลัวการอาบน้ำนี้เป็นความกลัวที่มีอยู่จริงค่ะ และจำเป็นต้องได้รับการรักษา เพราะถ้าหากปล่อยไว้ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาแน่นอน “โรคกลัวการอาบน้ำ” อีกหนึ่งโรคแปลกที่มีอยู่จริง โรคกลัวการอาบน้ำ(Ablutophobia) เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการโรควิตกกังวลที่ส่งผลให้เกิดเป็นความกลัว (Phobia) ตามลำดับ โดยผู้ป่วยจะเกิดอาการกลัวอย่างรุนแรง หากต้องมีการทำความสะอาดเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดร่างกาย เช่น การอาบน้ำ หรือการทำความสะอาดสิ่งของ เช่น การซักล้าง การซักผ้า โรคนี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก แต่ถ้าในวัยผู้ใหญ่ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ สาเหตุ ที่ทำให้คุณเป็นโรคกลัวการอาบน้ำ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม อาจมีผลเนื่องมาจากความทรงจำในวัยเด็ก เช่น การถูกพ่อแม่ทำโทษอย่างรุนแรงสมัยเด็กที่ไม่ยอมอาบน้ำ การไม่อาบน้ำเป็นประจำสม่ำเสมอทำให้ไม่คุ้นชิน การถูกพ่อแม่จู้จี้จุกจิกบ่อยสมัยในวัยเด็กๆ เป็นต้น ประสบการณ์ที่น่ากลัว การได้รับอันตรายหรือการบาดเจ็บหลังจากประสบการณ์ที่น่ากลัว หรือเจ็บปวดจากการอาบน้ำ เช่น หกล้มขณะอาบน้ำ หัวฟาดพื้นขณะอาบน้ำ  นอนแช่อ่างอาบน้ำแล้วเผลอหลับจมน้ำ เป็นต้น การส่งผ่านทางพันธุกรรม พฤติกรรมและความกลัวแฝงต่างๆ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล จากพ่อแม่นั้นถูกถ่ายทอดสู่ลูกผ่านทางยีนที่อยู่ในโครโมโซม ลูกจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีความกลัวเหมือนที่พ่อแม่รู้สึกด้วยเช่นกัน ความผิดปกติทางสมอง เมื่อสมองเกิดความผิดปกติได้รับความกระทบกระเทือนหรืออาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด เช่น การอาบน้ำ การซักผ้า การล้างจาน อาจส่งผลให้เราเกิดอาการกลัวในสิ่งนั้นๆได้ อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจเข้าข่ายเป็นโรคกลัวการอาบน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง หายใจติดขัด เหงื่ออก ปวดศีรษะ ตัวสั่น หัวใจเต้นแรง ผลกระทบจากการไม่อาบน้ำ หากคุณไม่อาบน้ำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้ ปัญหาโรคผิวหนัง หากไม่อาบน้ำเป็นประจำแล้วล่ะก็ รับรองได้เลยว่าคุณต้องมีปัญหาเกี่ยวกับด้านผิวหนังอย่างแน่นอน เช่น เชื้อรา สิว อาการคัน และยิ่งถ้าคุณเกาทุกครั้งที่มีอาการคัน เชื้อโรคเหล่านั้นย่อมเข้าไปสู่ผิวของคุณได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เช็คให้ชัวร์ ลูกขี้เกียจไปโรงเรียน หรือว่าเป็น โรคกลัวโรงเรียน

ลูกร้องไห้งอแง ไม่ยอมไปโรงเรียนทุกเช้า เป็นปัญหาที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนหนักใจ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจและสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยเป็นพิเศษว่าเพราะเหตุใดกันแน่นะที่ทำให้ลูกรักของเราร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน เป็นเพราะขี้เกียจ โดนเพื่อนรังแก หรือจริงๆแล้วลูกของคุณเป็น โรคกลัวโรงเรียน กันแน่ จะเป็นเพราะสาเหตุใดนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ พาไปหาคำตอบด้วยกันค่ะ ทำความรู้จัก โรคกลัวโรงเรียน (School Phobia) โรคกลัวโรงเรียน (School Phobia) เป็นอาการที่เกิดความวิตกกังวลภายในจิตใจ เช่น โดนเพื่อนรังแกที่โรงเรียน โดนคุณครูทำโทษแบบรุนแรง การโดนกระทำเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียนด้วยเช่นกัน โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 4-6 ขวบขึ้นไปจนถึงเด็กโต นอกจากความกังวล ความกลัวที่เกิดขึ้นกับเด็กแล้ว สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เรื่องของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กในโรงเรียน ทำไมลูกจึงไม่อยากไปโรงเรียน มีสาเหตุจากอะไรกันนะ เกิดจากอาการของโรคทางจิตเวชร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคบกพร่องทางการเรียน เป็นต้น มีปัญหากับเพื่อร่วมชั้นในห้องเรียน เข้ากับเพื่อนๆไม่ได้ ก็อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการไม่อยากไปโรงเรียนได้เช่นเดียวกัน ลูกไม่อยากไปโรงเรียนเพราะสาเหตุอาจเกิดจากการไม่อยากโดนพลัดพรากจากพ่อแม่จึงทำให้เกิดสภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน ปัจจัยกระตุ้นจากภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงในครอบครัวต่างๆ อาทิ พ่อแม่หย่าร้าง การสูญเสียสมาชิกในครอบครัว การเปลี่ยนโรงเรียน  เพื่อนแกล้ง กลัวเพื่อน เป็นต้น จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกขี้เกียจไปโรงเรียน หรือเป็นโรคกลัวโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นใส่ใจดูแลและสังเกตพฤติกรรมของลูกเป็นพิเศษ หากมีภาวะเป็นโรคกลัวโรงเรียน จะมีลักษณะอาการดังต่อไปนี้ เด็กมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการไปโรงเรียน โดยมักแสดงคำพูดก่อนวันไปโรงเรียนกับพ่อแม่ว่า ไม่อยากไปโรงเรียน มีความเครียด ความกังวลจนแสดอาการทางกาย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวผู้ชาย มีอาการอย่างไรถึงเข้าขั้นป่วย

โรคกลัวผู้ชาย เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่พบในวัยรุ่นผู้หญิง ซึ่งเป็นโรคที่ไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล หรือรู้สึกโดนคุกคามเมื่อต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม หากมีอาการมากในระดับรุนแรงและไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคมได้ [embed-health-tool-bmi] โรคกลัวผู้ชาย คืออะไร โรคกลัวผู้ชาย (Androphobia) เกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย แต่ส่วนใหญ่จะพบในวัยรุ่นเพศหญิง โดยสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ผู้ป่วยจะหลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับเพศชาย หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นไม่กล้าพูดคุยกับผู้ชายเลย สาเหตุของโรคกลัวผู้ชาย โรคกลัวผู้ชายเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากประสบการณ์เลวร้ายที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก โดยความกลัวขณะนั้นจะถูกบันทึกไว้ที่ ต่อมใต้สมองส่วนกลาง (Hypothalamus) ทำให้รู้สึกถึงอาการกลัวอยู่ซ้ำ ๆ จนกลายเป็นความกลัวที่แสดงออกมา อย่างไรก็ตามโรคกลัวผู้ชายอาจมีสาเหตุมาจากการเห็นเหตุการณ์ที่น่ากลัวจากสื่อต่าง ๆ เช่น ข่าวการข่มขืน การทำร้ายร่างกาย หรือฉากรุนแรงในละคร อาการโรคกลัวผู้ชาย โรคกลัวผู้ชายมีลักษณะอาการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อาการที่แสดงออกทางร่างกาย และอาการที่แสดงออกทางพฤติกรรม ดังนี้  อาการที่แสดงออกทางร่างกาย คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก ตัวสั่น เหงื่อออกบ่อย หายใจติดขัด หัวใจเต้นเร็ว อาการที่แสดงออกทางพฤติกรรม วิตกกังวล รู้สึกสูญเสียความเป็นตัวเอง ประหม่า รู้สึกอับอาย รู้สึกกลัวขึ้นมาทันทีแบบไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกเหมือนตัวเองโดนคุกคาม วิธีรักษาโรคกลัวผู้ชาย โรคกลัวผู้ชายสามารถรักษาให้หายได้ ด้วยวิธีดังนี้ วิธีรักษาแบบพฤติกรรมบำบัด หรือที่เรียกว่า บำบัดโดยใช้เทคนิคการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว (Graded Exposure […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน