ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น เช่น การจัดการกับความโกรธ เทคนิครับมือกับความเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวต่าง ๆ หาคำตอบได้ที่นี่เลย!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อยากมีรักแต่ไม่อยากผูกพัน โรคกลัวการผูกมัด เมื่อหัวใจดวงนี้ไม่อยากเสียใจ

อยู่คนเดียวก็เหงา พอมีใครสักคนกลับอยากอยู่คนเดียว ลองถามใจตัวเองดูสิคะว่า ที่คุณโสดอยู่ทุกวันนี้ เป็นเพราะคุณยังไม่เจอคนที่ใช่ เหมือนเจอรองเท้าที่ถูกใจแต่ไม่มีไซต์ หรือแท้จริงในหัวใจดวงน้อยๆของคุณกลัวการผูกมัด กลัวการเสียใจอยู่กันแน่  หาคำตอบให้กับหัวใจของคุณได้แล้ววันนี้ กับ Hello คุณหมอค่ะ ทำความรู้จักโรคกลัวการผูกมัด (Commitment Phobia) โรคกลัวการผูกมัด เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย โดยคนส่วนใหญ่คิดว่าโรคนี้คือคนที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง คิดว่าตัวเองรูปร่างหน้าตาไม่ดี แต่จริงๆแล้วโรคนี้คือโรคหรือภาวะที่กลัวการตกลงใจที่จะทำพฤติกรรมร่วมกับผู้อื่นโดยมีคำสัญญาการผูกมัดในรูปแบบต่างๆ เช่น การคบกันในสถานะแฟน กลัวการแต่งงาน ถ้าฝ่ายตรงข้ามเร่งรัด ผูกมัด เพื่อต้องการคำตอบแล้วล่ะก็ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ หวาดระแวง  สุดท้ายความสัมพันธ์ที่มีต่อกันต้องเป็นอันจบลงในที่สุด โรคกลัวการผูกมัด มีสาเหตุมาจากอะไรกันนะ สาเหตุของโรคกลัวการผูกมัดนี้เกิดจากความฝังใจในอดีตที่ทำเราเสียใจมาก่อน เช่น การอกหักถูกคนรักทิ้งไปแบบไม่มีเหตุผล คู่รักไม่สนใจ โดนเพื่อนหักหลัง  กลัวการเสียอิสระ และปัญหาความสัมพันธ์ที่ไม่ดีในครอบครัว เป็นต้น 5 สัญญาณเตือน ว่าคุณเป็นโรคกลัวการผูกมัด เป็นคนที่คาดเดาอะไรไม่ได้ มักเปลี่ยนแปลงความคิดอยู่ตลอดเวลา อยากมีความสัมพันธ์แบบคุยกับอีกฝ่ายไปเรื่อยๆ แต่ไม่อยากมีสถานะเป็นแฟน เมื่อความสัมพันธ์เริ่มจริงจังมากขึ้น จะรู้สึกลำบากใจ อยากหนีไปไกลๆ ชอบอยู่กับตัวเอง ไม่มีเพื่อนสนิท ไม่มีคนรู้จักเยอะ เพราะคิดว่าไม่มีใครน่าไว้ใจเท่ากับตัวเอง ไม่กล้าแสดงความรู้สึกต่อผู้อื่น เช่น ไม่เคยเอ่ยคำว่า รัก หรือ เรียกใครว่า แฟน รับมืออย่างไร หากแฟนของคุณเป็นโรคกลัวการผูกมัด ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันมากขึ้น ศึกษานิสัยใจคอกันให้มากขึ้น พูดคุยบ่อยๆ ให้รู้ว่าเขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ไม่เร่งรัดคนรัก […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคศพเดินได้ อาการทางจิต ที่หลงคิดว่าตัวเอง ตายไปแล้ว

พี่มองเห็นหนูด้วยเหรอ? หนูตายไปแล้วไม่ใช่เหรอ?  คำพูดเหล่านี้ฟังดูแล้วอาจจะเหมือนเป็นเรื่องตลก แต่เรื่องนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นจริง โรคนี้เรียกว่า โรคศพเดินได้ เป็นอาการทางจิตแปลกๆ ที่หาได้ยาก และไม่ค่อยจะเป็นที่รู้จักกันสักเท่าไหร่ วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำเรื่องน่ารู้ดีๆ เกี่ยวกับโรคศพเดินได้ โรคศพเดินได้ เป็นอย่างไรกันแน่ โรคศพเดินได้ (Cotard Delusion หรือ Walking Corpse Syndrome) เป็นสภาวะทางจิตที่หายากสภาวะหนึ่ง มีลักษณะเด่นคือ ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีความเข้าใจว่า ตัวเองได้ตายไปแล้ว หรืออาจจะคิดว่าส่วนหนึ่งของร่างกายตัวเอง เช่น แขน ขา หรือแม้กระทั่งวิญญาณของตัวเองได้ตายไปแล้ว หรือไม่มีอยู่จริง อาการหลักของ “โรคศพเดินได้” หนึ่งในอาการหลักของโรคศพเดินได้ ก็คืออาการหลงผิด อาการหลงผิดที่เชื่อว่าโลกใบนี้ไม่มีสิ่งใดที่มีค่าหรือมีความหมาย และอาจรวมไปจนถึงความเชื่อที่ว่าไม่มีสิ่งใดที่มีอยู่จริง ผู้ที่เป็นโรคศพเดินได้นั้นจะมีความรู้สึกเหมือนว่าตัวเองได้ตายไปแล้ว หรือเน่าสลายไปแล้ว หรือในบางกรณีอาจถึงขั้นเชื่อว่าตัวเองไม่มีตัวตนอยู่จริงๆ โรคนี้มีความใกล้เคียงอย่างมากกับโรคซึมเศร้า งานวิจัยได้พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคศพเดินได้กว่า 89% จะมีอาการของโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ก็อาจจะมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น วิตกกังวล เกิดภาพหลอน คิดไปเองว่าป่วย รู้สึกผิด หมกมุ่นอยู่กับความคิดที่จะทำร้ายตัวเองหรือความตาย หนึ่งในกรณีตัวอย่างคือเมื่อปี 2012 มีชายชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งเชื่อว่าตัวเองนั้นได้ตายไปแล้ว และได้ไปหาแพทย์เพื่อทำการตรวจสอบดูว่าจริงหรือไม่ พอจิตแพทย์ถามเขาว่า เขาคิดว่าคนที่ตายไปแล้วจะสามารถพาตัวเองมาหาแพทย์ได้เหรอ เขาก็บอกว่าคำถามนี้ตอบยากจริงๆ แต่ก็ยังคงไม่สามารถเลิกเชื่อได้ว่าตัวเขาตายไปแล้ว ในท้ายที่สุดแล้ว แม้ว่าเขาจะตอบสนองกับการรักษา แต่เขาก็ยังคงมีความเชื่อว่าเขาเคยตายไปแล้วหนหนึ่งอยู่ดี ใครบ้างจะมีโอกาสเสี่ยงที่เป็นโรคศพเดินได้ ในปัจจุบันนั้นนักวิจัยยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคศพเดินได้ แต่อาจมีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่ทำให้คุณมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้อื่น แม้ว่าโรคศพเดินได้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ แต่อายุโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยที่พบได้มากที่สุด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อาการแคปกราส์ โรคทางจิตใหม่ ที่อาจกระทบต่อความทรงจำได้

คุณเคยพบเห็นลักษณะนิสัยของตัวละครบางเรื่องหรือไม่ โดยเฉพาะนางร้ายที่ไม่สมหวังกับพระเอก แล้วเกิดอาการโมโห เสียใจ จนคล้ายคนผิดปกติทางจิต จินตนาการว่าตนเองเป็นคนสมหวัง ไล่ตามอาละวาดนางเอกสารพัด พฤติกรรมที่ได้กล่าวมานี้เรียกว่า อาการแคปกราส์ โรคทางจิตที่มีอยู่ในโลกความเป็นจริงไม่แพ้โลกของละครเลยทีเดียว มารู้จักกับอาการนี้อย่างละเอียดในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนกัน รู้จักกับ อาการแคปกราส์ ให้มากขึ้นกันเถอะ อาการแคปกราส์ (Capgras syndrome) คือความผิดปกติทางจิตที่หลงเชื่อในสิ่งที่เห็นแบบผิดๆ ยกตัวอย่างเช่น กรณีการมีสมรสของบ่าวสาวคู่หนึ่ง เมื่อผู้ป่วยพบเห็นภาพคล้ายเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในความทรงจำ อาจกล่าวหาเจ้าบ่าว หรือเจ้าสาวว่าเป็นตัวปลอม และคิดร้ายต่อคู่สมรสของเขาได้ แท้ที่จริงแล้วในสายตาของผู้อื่นมิได้เป็นอย่างนั้น อาการแคปกราส์นีมีสาเหตุเชื่อมกับผู้ป่วยทางระบบประสาท อัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อม หรือได้รับอุบัติเหตุรุนแรงภายในสมอง ทำให้ความทรงจำได้รับความเสียหายส่งผลให้มีอาการจำผิดจำถูก จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารโรคอัลไซเมอร์รวมถึงอาการแคปกราส์ ได้ศึกษาในผู้ป่วยทั้งหมด 650 คน ที่มีโรคทางระบบประสาทต่างๆ การศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยที่แสดงกิริยาอาการแคปกราส์เกิดขึ้นถึงร้อยละ 16 ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และร้อยละ 16 ของผู้มีภาวะสมองเสื่อมอีกด้วย สังเกตอย่างไร ว่าคนใกล้ตัวคุณกำลังเข้าข่ายอาการแคปกราส์ อาการนี้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางรายอาจมีอาการหงุดหงิดร่วมด้วย แต่อาการที่เห็นได้ชัดที่สุดนั้น คือการเข้าใจในสิ่งที่เห็นจากถูกกลายเป็นผิด โดยกล่าวหาด้วยถ้อยคำรุนแรง หรือมีพฤติกรรมทำร้ายร่างกายต่อผู้ที่เขาคิดว่าคนนั้นคือคนที่ตัวปลอม แอบแฝง จนนำไปสู่ความกังวล ความเครียดให้สังคมรอบข้างได้ วิธีดูแลให้อาการบรรเทาลง เริ่มต้นง่ายๆ จากคนในครอบครัว หลีกเลี่ยงการถกเถียง พยายามปลอบโยนให้เขาอารมณ์เย็นลงเมื่อเริ่มมีอาการ รับฟังในสิ่งที่เขาพูดคุย หลอกล่อให้ผู้ป่วยออกไปจากบริเวณนั้น หรือบอกบุคคลที่ถูกกล่าวหาให้ออกไปจาก ณ สถานที่นั้นก่อน ยังไม่มีข้อมูลถึงการรักษาอาการแคปกราส์ที่มากพอ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคใคร่เด็ก (Pedophilia) อาการทางจิตอันตราย ที่อาจกลายเป็นปัญหาสังคม

การล่วงละเมิดทางเพศ โดยเฉพาะการล่วงละเมิดเด็กนั้นถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมที่มีความรุนแรง และส่งผลกระทบต่อทั้งบุคคลและสังคม แต่หลายคนอาจยังไม่รู้จัก หรือไม่คุ้นเคยกับ โรคใคร่เด็ก ที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาเหล่านี้ โรคใคร่เด็กนั้นมีอาการเป็นอย่างไร และสามารถรักษาได้หรือไม่ มาหาคำตอบได้จากบทความนี้ โรคใคร่เด็ก คืออะไร โรคใคร่เด็ก (Pedophilia) นั้นเป็นความผิดปกติทางจิตประเภทหนึ่ง ใช้เรียกผู้ที่เกิดความต้องการทางเพศกับเด็กที่อายุน้อยมากๆ อายุโดยเฉลี่ยคือประมาณ 13 ปี หรือต่ำกว่านั้น โดยเฉพาะเมื่อได้เห็น ใกล้ชิด หรือสัมผัสกับตัวเด็ก พวกเขาจะหลงใหลในสรีระและร่างกายของเด็กที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ และมองเด็กเหล่านี้เป็น “วัตถุทางเพศ” และไม่มี ความต้องการทางเพศ หรือความสนใจในคนที่วัยใกล้เคียงกัน มีหลายกรณีที่ผู้ป่วยโรคใคร่เด็กอาจจะรักเด็กสักคนหนึ่ง และเลิกสนใจเขาเมื่อเด็กคนนั้นโตขึ้น และหันไปสนใจเด็กคนอื่นแทน โดยปกติโรคนี้มักจะเกิดกับผู้ชายมากกว่า และพวกเขาอาจจะสนใจเด็กทั้งสองเพศ จะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นโรคใคร่เด็ก การจะสังเกตว่าใครเป็นโรคใคร่เด็กนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก เพราะการจะเป็นผู้ป่วยโรคใคร่เด็กตามความหมายทางการแพทย์นั้นไม่ได้หมายถึงคนที่มีความสัมพันธ์กับผู้ที่อายุน้อยกว่ามากๆ และไม่ได้หมายถึงผู้ที่มี พฤติกรรม ทารุณกรรมหรือล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก เราสามารถทำการวินิจฉัยโรคใคร่เด็กได้โดยไม่ต้องรอให้เขาก่ออาชญากรรมกับเด็ก ความจริงแล้ว มีผู้ป่วยโรคใคร่เด็กหลายคนที่ไม่ได้เป็นอาชญากร ไม่ได้ลงมือกระทำใดๆ กับเด็ก แม้ว่าพวกเขาจะรู้สึกดึงดูดต่อเด็กก็ตาม และมีผู้ที่ล่วงละเมิดทางเพศเด็กจำนวนมากที่ไม่ได้เป็นโรคใคร่เด็ก คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM IV-TR) ได้ระบุลักษณะของผู้ป่วย โรคใคร่เด็ก ดังต่อไปนี้ ผู้ที่มี ความต้องการทางเพศ การเร้าอารมณ์ทางเพศ หรือพฤติกรรมทางเพศกับเด็กวัยก่อนหนุ่มสาว หรือเด็กเล็กที่มีอายุประมาณ 13 ปี หรือต่ำกว่านั้น ผู้ที่ได้กระทำตาม […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

วิธีเพิ่ม เซโรโทนิน สารต่อต้าน ภาวะซึมเศร้า

เซโรโทนิน เป็นสารเคมีอย่างหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น มีคุณสมบัติเป็นสารที่ใช้ในการสื่อประสาทและเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทกับร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบการย่อยอาหาร การนอนหลับ หรือการเบื่ออาหาร และที่สำคัญเซโรโทนินนั้นมีส่วนในการควบคุมอารมณ์ ซึ่งหากร่างกายไม่มีความสมดุลของสารนี้อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มี วิธีเพิ่ม เซโรโทนิน ที่ง่ายและเห็นผลมาฝากกันค่ะ [embed-health-tool-bmr] เซโรโทนิน (Serotonin) คืออะไร เซโรโทนิน เป็นสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้น มีหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ ช่วยให้ร่างกายนอนหลับได้ดี และช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ซึ่งเป็นสารที่มีหน้าที่ในการสื่อประสาท ส่วนใหญ่แล้วพบได้ในระบบย่อยอาหาร เกล็ดเลือดและระบบประสาทต่างๆ ในร่างกาย เซโรโทนินเป็นสารที่เกิดขึ้นจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ได้จากอาหารประเภท ถั่ว ชีส และเนื้อแดง หากร่างกายขาดกรดอะมิโนทริปโตเฟน จะส่งผลให้ระดับเซโรโทนินในร่างกายน้อยลง และอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น โรควิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า เซโรโทนินส่งผลต่อโรคซึมเศร้าอย่างไร เซโรโทนิน เป็นสารที่ช่วยควบคุมให้อารมณ์มีความคงที่ เมื่อระดับเซโรโทนินอยู่ในระดับปกติ เราจะรู้สึกมีความสุข รู้สึกสงบ มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ และวิตกกังวลน้อยลง จากการศึกษาในปี 2007 พบว่าผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามัก จะมีระดับเซโรโทนินในร่างกายน้อย การที่ร่างกายมีระดับเซโรโทนินต่ำนั้น ส่งผลให้เกิดโรควิตกกังวลและโรคนอนไม่หลับ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระดับเซโรโทนินในเลือดจะอยู่ที่ 101-283 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร แต่ระดับเซโรโทนินจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกอื่นๆ ด้วย หากร่างกายมีระดับเซโรโทนินมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดเนื้องอกคาร์ซินอยด์ (Carcinoid Syndrome) […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อาการเตียงดูด (Dysania) อีกหนึ่งสัญญาเตือน อาการป่วยทางจิต

หลายคนคงเคยเป็นกันใช่ไหม เมื่อถึงเวลาต้องตื่นนอนในตอนเช้า แล้วรู้สึกไม่อยากลุกออกจากเตียง หรือบางครั้งลุกมาแล้วก็อยากกลับไปนอนอีก นั่นอาจกำลังเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมี อาการเตียงดูด ก็เป็นได้ ซึ่งโรคนี้สามารถทำให้เกิดผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน ทำความรู้จักกับ อาการเตียงดูด (Dysania หรือ Clinomania) อาการเตียงดูด (Dysania หรือ Clinomania) เป็นสภาวะที่พบว่ามีอาการลุกออกจากเตียงได้ยากในตอนเช้า มันทำให้คนที่มีอาการนี้รู้สึกทุกข์ทรมาน เพราะลุกออกจากเตียงได้ยากในตอนเช้าทั้งยังมีความรู้สึกที่มากกว่าการง่วงนอนอีกด้วย แม้ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจะนอนนานกว่าชั่วโมงที่ได้แนะนำเอาไว้ แต่พวกเขาก็ยังพบว่าพวกเขาสามารถลุกออกจากเตียงได้ยากมาก นอกจากนั้นพวกเขายังจะมีความรู้สึกอยากกลับไปนอนที่เตียงอีกทั้งๆ ที่ลุกออกมาได้แล้ว ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจทำให้พวกเขาเกิดความหดหู่ ความเหนื่อยล้าเรื้องรัง จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้เลยทีเดียว อาการเตียงดูดเป็นสัญญาณของโรคอะไรได้บ้าง ผู้ที่เป็นมีอาการเตียงดูดนั้น ยังสามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้อีกด้วย ซึ่งโรคที่ตามมา ได้แก่ อาการซึมเศร้า อาการซึมเศร้านั้นเป็นโรคทางอารมณ์ที่อาจทำให้เกิดความเศร้า การสูญเสียพลังงาน และความเหนื่อยล้า กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome หรือ CFS) ผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการเหนื่อยเรื้อรังจะมีความรู้สึกว่าเหนื่อยล้าเป็นอย่างมาก ซึ่งอาการนี้จะคงอยู่เป็นเวลานานและไม่สามารถหายได้ ซึ่งนี่เป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดอาการเตียงดูดนั่นเอง ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)  โรคนี้ทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมากมาย เช่น ส่งผลทางด้านความจำ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดความเหนื่อยล้าขึ้นได้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีบางสิ่งขัดขวางการหายใจของคุณในขณะที่คุณหลับ ส่งผลให้พลังงานของคุณลดต่ำลง และเกิดอาการง่วงตอนกลางวันได้อีกด้วย โรคโลหิตจาง เมื่อคุณไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงเพียงพอ ระดับพลังงานของคุณอาจจะลดลง ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หากต่อมไทรอยด์ของคุณทำงานอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ มันจะส่งผลให้คุณรู้สึกเฉื่อยชา โรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดสูงสามารถส่งผลต่อพลังงานในร่างกายของคุณได้ โรคขาอยู่ไม่สุข […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

แปลกแต่จริง โรคชอบจุดไฟ โรคอันตราย ที่อาจทำให้กลายเป็นนักลอบวางเพลิง

จากข่าวปัญหาไฟป่าครั้งใหญ่ที่ออสเตรเลีย ที่สามารถรวบตัวผู้กระทำผิดฐานเจตนาลอบวางเพลิงได้มากถึง 24 คน และมีอีกกว่าร้อยคนที่ถูกจับเนื่องจากพัวพันกับการลอบวางเพลิง ทำให้เราทราบว่า แม้ว่าจะเกิดปัญหาใหญ่อย่างไฟป่า ที่ทำให้เกิดความเดือนร้อน และพรากชีวิตของสัตว์ป่าไปเป็นจำนวนมาก ก็ยังคงมีคนที่อยากจะร่วมลงมือจุดไฟ และทำให้ไฟป่านั้นลุกลามไปมากกว่าเดิมอยู่ดี โดยที่คนเหล่านี้ อาจจะมีจำนวนไม่น้อยที่เป็น โรคชอบจุดไฟ โรคชอบจุดไฟ คืออะไร โรคชอบจุดไฟ (Pyromania) เป็นความผิดปกติทางจิตที่หายากชนิดหนึ่ง มีลักษณะคือ มักจะพยายามจุดไฟ ก่อไฟ หรือวางเพลิงโดยเจตนา และหลายครั้ง คนที่เป็นโรคชอบจุดไฟนั้นจะหลงใหลชื่นชอบในไฟและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจุดไฟ เช่น ไม้ขีดไฟ พวกเขาจะรู้สึกพอใจ และได้ปลดปล่อยความเครียดจากการจุดไฟ คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตฉบับล่าสุด (DSM-5) ได้จำแนกโรคชอบจุดไฟให้อยู่ในกลุ่ม Disruptive, Impulse-Control, and Conduct Disorders หมายถึง กลุ่มโรคที่มีลักษณะเด่นคือ มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ทำให้เกิดความขัดแย้งกับสิทธิของผู้อื่น หรือบรรทัดฐานของสังคม จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณเป็นโรคชอบจุดไฟ โรคชอบจุดไฟนั้น สามารถพบได้ทั้งในกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้ใหญ่ และมักจะพบได้ในผู้ชายบ่อยกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และผู้ที่ขาดทักษะทางสังคม โดยการวินิจฉัยโรคชอบจุดไฟนั้น สามารถทำได้โดยการอิงตามเกณฑ์ของ DSM-5 DSM-5 ได้กำหนดเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคชอบจุดไฟดังต่อไปนี้ ชื่นชอบไฟ ชอบจุดไฟบ่อยๆ รู้สึกตื่นเต้นอย่างรุนแรงก่อนที่จะจุดไฟ และจะรู้สึกผ่อนคลายขึ้นหลังจากจุดไฟ ไฟที่จุดขึ้นนั้นไม่มีได้ก่อประโยชน์ หรือมีจุดประสงค์ใดเป็นพิเศษ พกไม้ขีดไฟหรือไฟแช็กในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น เผาสิ่งของต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ หรือกระดาษ บางคนที่เป็นโรคชอบจุดไฟ อาจจะหมกหมุ่นอยู่กับไฟ จนชอบที่จะไปอยู่ในสถานที่ที่มีไฟ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

Stockholm Syndrome

หากผู้หญิงหรือใครสักคนถูกลักพาตัว ข่มขืน กังขังหน่วงเหนี่ยว ย่อมส่งผลร้ายและกระทบกระเทือนจิตใจจนนำไปสู่ภาวะและปัญหาด้านจิตใจที่ร้ายแรงได้ แต่มีภาวะทางจิตรูปแบบหนึ่งที่เป็นไปในทางตรงกันข้าม นั่นคืออาการ Stockholm Syndrome หรือสตอกโฮล์ม ซินโดรม ซึ่งเป็นอาการที่ตัวประกันหรือผู้ถูกกระทำรู้สึกดีต่อผู้ร้ายหรือต่อผู้ที่ลงมือกระทำ  Stockholm Syndrome คืออะไร Stockholm Syndrome เป็นชื่อของอาการที่นักจิตวิทยาใช้ในการอธิบายลักษณะทางจิตวิทยารูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นครั้งแรกจากเหตุการณ์ปล้นธนาคารที่เมืองสตอกโฮล์มในปี 1973 โดยชายสองคนจับพนักงานธนาคาร 4 คนเป็นตัวประกันในห้องนิรภัยของธนาคาร โดยใช้อาวุธปืนข่มขู่เป็นระยะเวลา 6 วัน โดยเมื่อเหตุการณ์จบลง ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อก็ดูเหมือนจะมีความรู้สึกในเชิงบวกและะมีความเห็นอกเห็นใจต่อคนร้าย มันเป็นการยากที่จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดตัวประกันถึงมีความรู้สึกแบบนั้น หลังจากได้ผ่านเหตุการณ์ที่น่ากลัวและถูกคุกคามถึงชีวิต นักจิตวิทยาพบว่า ปรากฎการณ์เช่นนี้ จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก และอาจเกิดขึ้นได้ในลัทธิต่างๆ หรือเกิดขึ้นได้ในเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวด้วยเช่นกัน หนึ่งในตัวอย่างที่โด่งดังของอาการ Stockholm Syndrome คือ Patty Hearst ที่ถูกลักพาตัวโดยกลุ่มก่อการร้ายในปี 1974 โดยในภายหลัง Patty รู้สึกเห็นอกเห็นใจกลุ่มผู้ก่อการร้ายจนถึงขั้นสนับสนุนและร่วมกระทำความผิดไปกับกลุ่มนั้นด้วย อาการของ Stockholm Syndrome อาการของ Stockholm Syndrome สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเหตุการณ์ เหยื่อเริ่มพัฒนาความรู้สึกในเชิงบวกต่อบุคคลที่จับพวกเขาเป็นตัวประกันหรือบุคคลที่ทำร้ายพวกเขา เหยื่อเริ่มพัฒนาความรู้สึกในเชิงลบต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือใครก็ตามที่อาจจะพยายามช่วยพวกเขาให้หลุดพ้นจากสถานการณ์นั้นๆ โดยที่พวกเขาอาจเริ่มที่จะไม่ต่อต้านผู้ที่จับกุมพวกเขาอยู่ เหยื่อเริ่มมีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ และมีความเชื่อเช่นเดียวกันกับผู้จับกุม โดยที่เหยื่อมักจะรู้สึกถูกคุกคามจากผู้จับกุม […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รำคาญเสียงรอบข้าง เสี่ยงเข้าสู่ ภาวะมีโซโฟเนีย หรือเปล่านะ?

หากคุณกำลังมีอารมณ์หงุดหงิด รำคาญ กับเสียงเล็กเสียงน้อย เช่น เสียงเคี้ยวอาหารจากคนรอบข้าง เสียงพูดคุย เสียงกดปากกา ฟันธงได้เลย คุณกำลังเข้าสู่ ภาวะมีโซโฟเนีย แน่นอน แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนได้รู้ถึงวิธีรับมืออย่างปลอดภัย เพื่อให้การทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันนั้นง่ายขึ้น รู้จักกับ ภาวะมีโซโฟเนีย อาการของคนไม่ชอบเสียง มีโซโฟเนีย (Misophonia)  เป็นคำภาษากรีกโบราณแปลว่า “ความเกลียดชังด้านเสียง” หรืออาการผิดปกติต่อการตอบสนองทางด้านอารมณ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) กลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette syndrome) และอาจได้รับการสืบทอดของภาวะนี้จากทางพันธุกรรมที่รับในครอบครัว เมื่อผู้ป่วยได้รับเสียงบางอย่างโดยเฉพาะเสียงเคี้ยวอาหาร ซึ่งสามารถทำให้พวกเขาเกิดความหงุดหงิด และแสดงกิริยาอาการเกรี้ยวโกรธ ตื่นตระหนก จนหนีเตลิดออกไปจากเสียง หรือบริเวณเหล่านั้น มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้เริ่มศึกษาภาวะมีโซโฟเนียนี้ โดยทีมวิจัยจากอังกฤษ ได้นำอาสาสมัครในช่วงวัยผู้ใหญ่จำนวน 20 คน รับเสียงที่แตกต่างกันออกไปแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ  กลุ่มแรกเป็นเสียงทั่วไป เช่น เสียงหายใจ เคี้ยวอาหาร  กลุ่มที่สองอยู่ในเสียงรบกวนระดับสากล เช่น ทารกร้อง ผู้คนกรี๊ดกร๊าด กลุ่มที่สามเสียงที่เป็นกลาง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ผลสรุปเป็นไปตามที่ทีมวิจัยได้คาดการณ์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวการถูกสัมผัส รักษาอย่างไร เพื่อให้เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น

ส่วนมาก โรคกลัวการถูกสัมผัส เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในผู้หญิง มากกว่าเพศอื่นๆ เมื่อจำเป็นที่คุณต้องออกไปทำธุระด้านนอก พบเจอผู้คนที่เสี่ยงต่อการถูกเนื้อต้องตัว ทำให้มีความรู้สึกหวาดกลัว จนจำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่เพียง ลำพังเข้าสังคมได้ยาก ไม่สามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนหมู่มากได้ เช่น ไปปาร์ตี้ หรือแฮงค์เอ้าท์ รวมทั้งทำงานร่วมกับบุคคลอื่นๆ ได้ค่อนข้างลำบาก  วันนี้ Hello คุณหมอ มีแนวทางการรักษา เพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตประจำวันกันได้อย่างมีความสุขขึ้น โรคกลัวการถูกสัมผัส (Aphenphosmphobia) คืออะไร เป็นโรคเกี่ยวกับความวิตกกังวลที่มีลักษณะกลัวการถูกสัมผัสร่างกาย โดยเฉพาะกับเพศตรงข้าม หรือคนแปลกหน้าที่ตัวผู้ป่วยไม่ได้รับการยินยอม ทำให้เกิดความไม่สบายใจเมื่อต้องอยู่ในที่คนพลุกพล่าน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์สะเทือนจิตใจตั้งแต่เยาว์วัย หรือช่วงวัยกลางคน เช่น ถูกละเมิดทางเพศ การใช้ความรุนแรง (ทำร้ายร่างกาย) อาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณโดนสัมผัสร่างกาย รู้สึกกลัว วิตกกังวล และอารมณ์โกรธทันที เมื่อถูกการสัมผัส เมื่อถูกสัมผัสร่างกาย จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น เหงื่อออก ร่างกายรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ เป็นลม หมดสติกะทันหัน อาการข้างต้นนี้สามารถส่งผลให้คุณก่อเกิดโรคความกลัวอื่นๆ อีกดังนี้ ความกลัวเชื้อโรค (mysophobia) : เป็นโรคความกลัวที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสิ่งปนเปื้อน หรือการสัมผัสกับสิ่งที่ไม่สะอาด เช่น ฝุ่นละอองบนโต๊ะ ความกลัวฝูงชน (ochlophobia) : คือภาวะที่ผู้ที่ป่วยมีความกลัวสังคม หรือฝูงชนเยอะๆ ในที่สาธารณะ เพราะจะทำให้เกิดความกังวล หวาดกลัวต่อการโดนสัมผัสจากผู้คนแปลกหน้า หากคุณอยู่กับภาวะนี้เป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา ส่งผลให้คุณเป็นโรคซึมเศร้าได้ ในอนาคต ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพทางด้านจิตใจอย่างมากเลยทีเดียว วิธีรักษาให้อาการบรรเทาลง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน