สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

การเสพติด

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

หยุดทำร้ายตัวเอง ไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงแค่คุณอยากหยุดมันจริงๆ

การทำร้ายตัวเองถือเป็นเรื่องที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงแต่ทำให้เกิดบาดแผลบนร่างกาย แต่ยังสร้างบาดแผลภายในจิตใจอีกด้วย ในบางรายอาจเลือกทำร้ายตัวเองเพื่อต้องการระบายอารมณ์ รวมถึงมีอาการของภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย แต่ถ้าหากคุณต้องการที่จะ หยุดทำร้ายตัวเอง ขอแนะนำให้ลองมาอ่านบทความนี้ที่ทาง Hello คุณหมอ ได้รวบรวมแนวทางที่อาจจะช่วยให้คุณหยุดทำร้ายตัวเองได้มาฝากกัน [embed-health-tool-bmr] ทำไมถึงต้องการทำร้ายตัวเอง การทำร้ายตัวเองอาจเป็นวิธีที่ใช้สำหรับจัดการกับความทุกข์และความเจ็บปวดทางอารมณ์ ซึ่งมันอาจช่วยให้คุณสามารถแสดงความรู้สึกที่ไม่สามารถบรรยายเป็นคำพูดหรือปลดปล่อยความเจ็บปวดทางอารมณ์ได้ หลังจากนั้นคุณอาจจะรู้สึกดีขึ้นสักพัก แต่แล้วความรู้สึกเจ็บปวดก็จะย้อนหลับมา ทำให้รู้สึกต้องการที่จะทำร้ายตัวเองอีกครั้ง วงจรการทำร้ายตัวเอง (Self-harm Cycle) การทำร้ายตัวเอง นับรวมไปถึงการที่คุณตั้งใจทำร้ายตัวเองโดยเจตนาด้วย ซึ่งวิธีการทำร้ายตัวเองที่คนส่วนใหญ่มักจะทำ ได้แก่ กรีดหรือเกาผิวหนังอย่างรุนแรง เผาหรือเอาน้ำร้อนลวกตัวเอง ตีตัวเองหรือทุบหัวตัวเอง ชกต่อยสิ่งของ หรือพยายามเอาตัวเองไปกระแทกกับกำแพงและวัตถุแข็งๆ เอาวัตถุแหลมๆ มาทิ่มหรือกรีดที่ผิวหนังของตัวเอง ตั้งใจป้องกันไม่ให้แผลหาย กลืนสารพิษหรือวัตถุที่ไม่เหมาะสม การทำร้ายตัวเองอาจรวมถึงวิธีการทำร้ายตัวเองอาจจะรวมถึงการทำให้ตัวเองไปตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย เช่น การขับรถโดยประมาท การดื่มสุรา การเสพยามากเกินไป หรือการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ไม่ว่าคุณจะทำร้ายตัวเองอย่างไร การทำร้ายตัวเองก็เพื่อจุดประสงค์เหล่านี้ จัดการกับความรู้สึก เช่น ความเศร้า ความเกลียดตัวเอง ความว่างเปล่า ความรู้สึกผิด และความโกรธ แสดงความรู้สึกที่ไม่สามารถบรรยายเป็นคำพูด หรือปลดปล่อยความเจ็บปวด และความตึงเครียดที่คุณรู้สึก ควบคุมความรู้สึกผิดหรือลงโทษตัวเอง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองไปจากอารมณ์ที่ท่วมท้น หรือสถานการณ์ในชีวิตที่ยากลำบาก ทำให้รู้สึกมีชีวิตชีวา หรือทำให้ตนเองรู้สึกอะไรบางอย่าง แทนที่การรู้สึกชินชาหรือตกอยู่ในภาวะไร้ความรู้สึก ในความเป็นจริงแล้วคุณต้องรู้ว่ายังมีการช่วยเหลืออื่นๆ ที่สามารถทำให้คุณสามารถเรียนรู้วิธีการรับมือกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณได้ โดยไม่ต้องทำร้ายตัวเอง และทั้งมันยังอาจจะทำให้คุณหยุดทำร้ายตัวเองได้อีกด้วย อยาก หยุดทำร้ายตัวเอง ต้องทำอย่างไร […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคขี้มโน ภาวะสุขภาพทางจิต ที่มักชอบหลอกตนเองว่ามีคนรักใคร่

เรียกได้ว่าเป็นโรคที่แทบจะเกิดขึ้นกับทุกคนยามพบเจอเพศตรงข้ามในฝันเลยก็ว่าได้ เช่น การหลงรักความอบอุ่นของพระเอกในซีรีส์เกาหลี หรือปลาบปลื้มนางเอกแสนสวยในละคร แต่ทว่าบางคนนั้นอาจจินตนาการไปไกลเกินกว่าจะควบคุมตนเองให้กลับเข้าสู่โลกความเป็นจริงได้อีกครั้ง วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมารู้จัก โรคขี้มโน ให้มากขึ้น เพื่อเร่งทำการรักษาก่อนสุขภาพจิตย่ำแย่ มาฝากกันค่ะ โรคขี้มโน (Erotomania) คืออะไร โรคขี้มโน (Erotomania) เป็นภาวะสุขภาพจิตอย่างหนึ่งที่ใกล้เคียงกับอาการหลงผิด หรืออาการคลั่งไคล้ที่มากจนเกินไป โดยมักจะชอบยึดติด หรือคิดเข้าข้างตนเองเสมอว่าฝ่ายตรงข้ามนั้นตกหลุมรักตนเอง เสมือนที่ตนเองก็ตกหลุมรักพวกเขาเช่นกัน จึงอาจทำให้บางครั้งตัวผู้ป่วยมีอาการอยากจะใกล้ชิด หรืออยากติดต่อเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโรคขี้มโนมักจะพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย รวมถึงผู้ป่วยที่กำลังตกอยู่ในภาวะของโรคซึมเศร้า (Depression) และโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) นอกจากนี้ยังมีงานบางวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าอาการหลงผิดดังกล่าว อาจพัฒนากลายเป็นความเครียดที่ทำลายระบบประสาทจนประสาทหลอนรุนแรง ถ้าหากไม่เร่งรักษา หรือไม่ได้รับการบำบัดจิตใจแล้วละก็ ก็อาจทำให้ผู้ป่วยประสบอยู่กับอาการเหล่านี้เป็นเวลาหลายปีได้เลยทีเดียว อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็น โรคขี้มโนอย่างเต็มตัว เมื่อถูกความลุ่มหลงครอบงำจิตใจจนไม่สามารถจะดึงตัวเองให้อยู่ในโลกความเป็นจริงได้ อาจทำให้ผู้ป่วยค่อย ๆ เผยอาการ หรือเป็นพฤติกรรมออกมาให้เห็นเด่นชัด ดังต่อไปนี้ การพยายามติดต่ออีกฝ่ายอย่างไม่ลดละ รู้สึกมีอารมณ์อิจฉาเมื่อเห็นผู้อื่นเข้าใกล้ หรือมีการติดต่ออีกฝ่ายได้มากกว่า คุกคามผู้นั้นจนถึงขั้นถูกดำเนินการทางกฎหมาย อาการนอนไม่หลับ อยากมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมที่ฝ่ายตรงข้ามได้กระทำ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย การรับประทานอาหารร่วมกัน เป็นต้น มีอารมณ์รุนแรงเมื่อถูกฝ่ายนั้นเกิดพฤติกรรม หรือคำพูดเชิงปฏิเสธ ดูเผิน ๆ อาจมองว่าไม่มีความอันตรายแต่อย่างใด แต่ในบางกรณีหากกลุ่มบุคคลเหล่านี้คลั่งไคล้คุณมากเกินกว่าการควบคุม อาจทำให้เกิดการคุกคามอย่างหนักได้ เช่น การสะกดรอยตาม การสืบหาประวัติต่าง ๆ จนคุณรู้สึกหมดความเป็นส่วนตัว อีกทั้งหากตัวผู้ป่วยเองได้รับการปฏิเสธอย่างหนัก ก็ยังอาจนำพาให้พวกเข้ารู้สึกเจ็บปวดจนถึงขั้นคิดทำร้ายตัวเองได้ด้วยเช่นกัน วิธีการรักษาโรคขี้มโน […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

อยากมีเพื่อน ควรเริ่มต้นความสัมพันธ์อย่างไรถึงจะดี

โดยปกติแล้วมนุษย์ถือเป็นสัตว์สังคมที่ไม่อาจสามารถใช้ชีวิตอยู่คนเดียวได้ มนุษย์ทุกคนต้องการเพื่อน อยากมีเพื่อน เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนเรื่องราวต่างๆ ซึ่งกันและกัน แต่บางคนอาจจะไม่รู้วิธีการที่จะทำความรู้จักกับคนอื่น ถึงแม้จะอยากมีเพื่อน ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำวิธีการเริ่มต้นความสัมพันธ์มาแนะนำกัน ทำไม “เพื่อน” ถึงมีความสำคัญ สังคมของเรามักให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์แบบโรแมนติก แค่เราคิดว่าเจอคนที่ใช่ก็จะทำให้เรามีความสุขสมหวัง แต่จากการวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า จริงๆ แล้ว เพื่อนมีความสำคัญต่อสภาพจิตใจของเราเป็นอย่างมาก เพราะเพื่อนสามารถนำความสุขเข้ามาในชีวิตของเราได้มากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นใดเสียอีก มิตรภาพ มีผลอย่างมากต่อสุขภาพจิตและความสุขของคุณ เพราะเพื่อนที่ดีจะช่วยคลายเครียด ให้ความสบายใจ ความสุข ป้องกันความเหงา และความโดดเดี่ยว การพัฒนามิตรภาพที่แน่นแฟ้นอาจส่งผลอย่างมากต่อสุขภาพร่างกายของคุณ การขาดการเชื่อมต่อทางสังคมอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงได้มากพอๆ กับการสูบบุหรี่ การดื่มมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดพฤติกรรมที่ติดไปในชีวิตประจำวัน แต่การมีเพื่อนกลับทำให้ชีวิตของคุณยืนยาวยิ่งกว่า จากการศึกษาชิ้นหนึ่งในสวีเดนพบว่า นอกจากกิจกรรมทางกายภาพต่าง ๆ การรักษาไว้ซึ่งเครือข่ายเพื่อนที่หลากหลายเอาไว้ จะช่วยให้คุณมีอายุยืนขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ มิตรภาพที่แน่นแฟ้นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่ายดาย พวกเราหลายคนต้องดิ้นรนเพื่อพบปะผู้คนและพัฒนาสายสัมพันธ์ที่มีคุณภาพเอาไว้ และไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่หรืออยู่ในสถานการณ์ใด ก็ไม่เป็นเรื่องที่สายไปที่จะหาเพื่อน และสานสัมพันธ์กับเพื่อนเก่า ทั้งยังควรจะต้องปรับปรุงชีวิตทางสังคม สุขภาพ อารมณ์ และความเป็นอยู่โดยรวมของคุณเอาไว้ด้วย ประโยชน์ของการมีเพื่อน เพื่อนที่ดีนั้นจะส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณด้วย เพื่อนๆ สามารถช่วยคุณเฉลิมฉลองช่วงเวลาดีๆ ในช่วงชีวิตของคุณ ทั้งยังให้การสนับสนุนในช่วงเวลาที่คุณเจอกับเรื่องที่เลวร้าย เพื่อนสามารถช่วยป้องกันความเหงาได้อีกด้วย นอกจากนั้นประโยชน์ของการมีเพื่อนก็ยังมีอีกมากมาย ซึ่งได้แก่ เพิ่มความรู้สึกการเป็นเจ้าของและจุดมุ่งหมาย เพิ่มความสุขและลดความเครียด ปรับปรุงความมั่นใจในตัวเองและคุณค่าในตัวเอง ช่วยคุณรับมือกับความเสียใจหรือชอกช้ำ เช่น การหย่าร้าง โรคร้ายแรง การตกงาน […]


โรคการกินผิดปกติ

สัญญาณเตือนของโรคคลั่งผอม ที่ทุกคนควรรู้ไว้

เรื่องรูปร่างกับสาวๆ เป็นของคู่กัน การมีหุ่นที่ดีนั้นช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้เพิ่มขึ้นได้ สาวๆ หลายคนชอบที่จะลดน้ำหนักและออกกำลังกาย เพื่อให้รูปร่างดูดี แต่บางคนอาจมีความกังวลเรื่องน้ำหนัก หรือกลัวอ้วนมากจนไม่ยอมกินอะไร ซึ่งในระยะยาวการอดอาหารอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร และพัฒนาไปสู่การป่วยเป็นโรคคลั่งผอมได้ ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่อง สัญญาณเตือนของโรคคลั่งผอม มาฝากกัน ทำความรู้จักกับโรคคลั่งผอม โรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “โรคคลั่งผอม”  ถือเป็นโรคหนึ่งในกลุ่มโรคการกินผิดปกติ (Eating Disorders) ที่ผู้ป่วยนั้นจะมีภาวะบกพร่องของพฤติกรรมการกิน (Eating Disorders) ซึ่งบุคคลนั้นจะใช้วิธีการลดน้ำหนักแบบไม่ถูกวิธีและสุดขั้ว เพื่อลดน้ำหนักหรือหลีกเลี่ยงการเพิ่มน้ำหนัก ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจะมี 2 ประเภท คือ อดอาหาร (Restricting type) รับประทานอาหารอย่างมากและพยายามอาเจียน ใช้ยาระบายเพื่อให้น้ำหนักลด (Binge-eating/purging type) ผู้ที่เป็นโรคคลั่งผอมมักจะจำกัดการกินอาหาร เพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือถ้ากินอาหารเข้าไปอย่างมาก พวกเขาก็จะใช้วิธีขับอาหารออกมาด้วยการอาเจียน หรือการใช้ยา เช่น ยาระบาย และยาขับปัสสาวะ ผลจากการกระทำดังกล่าว อาจนำไปสู่การเกิดอาการเบื่ออาหาร ซึ่งการพัฒนาอาการเบื่ออาหารในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันออกไป นอกจากจะส่งผลเสียต่อร่างกายแล้ว ยังอาจทำให้เกิดภาวะสุขภาพจิตอื่นๆ ตามมา เช่น ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า (Depression) กลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคคลั่งผอม สำหรับคนที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดในการพัฒนาอาการเบื่ออาหาร ได้แก่ ผู้หญิงในวัยรุ่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger Syndrome)

กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์  (Asperger Syndrome) เป็นกลุ่มอาการเดียวกับออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาทที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การใช้ภาษา คำจำกัดความกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger Syndrome) คืออะไร กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ หรือ แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger Syndrome) เป็นกลุ่มอาการเดียวกับออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาทที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การใช้ภาษา อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์บางรายมีสติปัญญาสูง มีทักษะการพูดและการใช้ภาษาได้ดี (ความรุนแรงของอาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล) พบได้บ่อยเพียงใด โดยส่วนใหญ่ของกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่จะเริ่มพบในวัยเด็ก อาการอาการของ กลุ่มแอสเพอร์เกอร์ หรือ แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม อาการของผู้ป่วยกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ จะมีอาการแตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ อาการทางอารมณ์และพฤติกรรม การแสดงพฤติกรรมซ้ำๆ การเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมแบบเดิมๆ ซ้ำๆ สภาวะทางอารมณ์ มีอารมณ์หงุดหงิดง่ายกว่าคนปกติทั่วไป ความผิดปกติต่อสิ่งเร้า มีการรับรู้ประสาทสัมผัสไวกว่าคนปกติทั่วไป เช่น ความไวต่อแสง ความไวต่อเสียง ความไวต่อความรู้สึก  อาการสื่อสาร ปัญหาทางสังคม ไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ไม่สามารถสื่อสารหรือทำความเข้าใจในเชิงลึกได้ ปัญหาการพูด มีปัญหาในการควบคุมเสียง เช่น เวลาเข้าห้องสมุด ไปวัด และมีอาการพูดซ้ำๆ พูดเรื่องเดิมๆ ไม่สบตา เมื่อผู้ป่วยมีการสื่อสารต่อบุคคลอื่นจะไม่สบตาผู้ที่สื่อสารด้วย อาการอื่นๆ ทักษะด้านอื่นๆ  เช่น เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว ไม่สามารถเข้าใจความหมายต่างๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อาการ สัญญาณ สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ที่มักจะเกิดขึ้น

โรคสมาธิสั้น เป็นโรคที่มักจะเจอในช่วงวัยเด็ก แต่ก็มีโอกาสที่จะเจอ โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ได้ ซึ่งก็จะมีสัญญาณและอาการบางอย่างที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นโรคสมาธิสั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สัญญาณ สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ที่ควรรรู้ว่ามีอะไรบ้าง ไปอ่านกันเลยค่ะ อาการสมาธิสั้น คืออะไร สมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder; ADHD) เป็นโรคทางระบบประสาทที่พัฒนาในวัยเด็ก ซึ่งอาการส่วนใหญ่คือขาดสมาธิ ไม่มีสมาธิจดจ่อในการทำกิจกรรมบางอย่างได้นาน ๆ มีปัญหาในการตัดสินใจและการยับยั้งอารมณ์ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงของอาการสมาธิสั้นนั้นยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด แต่ทางการแพทย์ได้แสดงข้อมูลให้เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม และความบกพร่องในการพัฒนาของสมอง สำหรับการรักษาอาการสมาธิสั้นนั้นยังไม่มีรูปแบบการรักษา แต่สามารถบรรเทาอาการ บำบัดพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้ สัญญาณ สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ที่มักมี ขาดสมาธิ อาการขาดสมาธิถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการสมาธิสั้นได้ดีที่สุด มักจะมีการแสดงอาการวอกแวก หันเหความสนใจได้ง่าย ไม่มีสมาธิในการฟังผู้อื่น หรือทำกิจกรรมใด ๆ อาจเป็นปัญหาในการทำงาน เช่น ไม่สามารถทำงานได้เสร็จตามเวลา ทำงานช้ากว่าที่ควรจะเป็น ความสับสน ไม่เป็นระเบียบ แน่นอนว่าความวุ่นวายในการใช้ชีวิตถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องพบเจอในชีวิตกันบ้าง แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาสมาธิสั้นมักจะมีชีวิตที่วุ่นวายยิ่งกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น การเก็บของให้เป็นระเบียบ เก็บไว้ในที่ที่ควรจะอยู่ถือเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่มีอาการสมาธิสั้น ซึ่งผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสมาธิสั้นที่เจอกับปัญหานี้อาจส่งผลต่อการทำงาน และส่งผลต่อการจัดลำดับความสำคัญในการทำงาน ปัญหาในการบริหารเวลา ปัญหาในการบริหารเวลา เป็นปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับปัญหาความไม่เป็นระเบียบในชีวิต ผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสมาธิสั้นมักจะประสบกับปัญหาในการจัดสรรเวลา การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ พวกเขาอาจมีปัญหาผัดวันประกันพรุ่งในงานที่มีความสำคัญ หรือเพิกเฉยกับงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ […]


โรควิตกกังวล

อาการทางกายภาพที่เกิดจากความวิตกกังวล กับสิ่งที่ควรรู้

ทุกคนล้วนมีความวิตกกังวลเป็นครั้งคราว แต่บางครั้ง อาการทางกายภาพที่เกิดจากความวิตกกังวล ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการวิตกกังวลแบบเรื้อรังนั้นสามารถที่จะรบกวนคุณภาพชีวิตของคุณได้ นอกจากนั้นอาการทางกายภาพดังกล่าว อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกายของคุณได้ ดั้งนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้หยิบยกเรื่องนี้มาฝากกัน จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเกิดความวิตกกังวลมากเกินไป ความรู้สึกกังวล ไม่สบายใจ หรือกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ มันสามารถส่งผลไปยังจิตใจและร่างกายของคุณ ท่ามกลางความกังวลที่มากเกินไปคุณอาจจะประสบกับความวิตกกังวลที่สูงขึ้น ส่งผลทำให้เกิดความตื่นตระหนกได้ สำหรับผู้ที่มีความวิตกกังวลแบบเรื้อรังหลายคนบอกว่า การลงโทษ ความกลัวที่ไม่สมจริง และคำวิจารณ์ของผู้อื่น สามารถเพิ่มความกังวลได้เป็นอย่างมาก ทั้งยังส่งผลให้มีความไวต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวของพวกเขาเป็นพิเศษ ความวิตกกังวลเรื้อรังอาจส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณมาก จนอาจส่งผลต่อความอยากอาหาร นิสัยการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์ การนอน และการทำงาน ผู้คนจำนวนมากที่กังวลมากเกินไปหรือมีความวิตกกังวลอย่างมาก พวกเขาต้อวการความช่วยเหลือจากนิสัยการใช้ชีวิตที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การกินมากเกินไป การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ยาเสพติด ความผิดปกติจากความวิตกกังวลมักเกิดขึ้นกับใคร ความวิตกกังวลเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะรู้สึกวิตกกังวลก่อนการพูดคุยในการสัมภาษณ์งาน ความวิตกกังวลในระยะสั้นจะเพิ่มอัตราการหายใจ และการเต้นของหัวใจ นอกจากนั้นมันยังส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองของคุณอีกด้วย ความผิดปกติของความวิตกกังวลสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่มันมักจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วัยกลางคน โดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีโรควิตกกังวลมากกว่าผู้ชาย นอกจากนั้น ประสบการณ์ชีวิตที่เครียดอาจเพิ่มความเสี่ยงของคุณในการเป็นโรควิตกกังวลได้ เช่น อาการอาจเริ่มขึ้นทันทีหรืออาจจะเกิดขึ้นเมื่อผ่านไปหลายปี ความวิตกกังวลที่รุนแรงทางการแพทย์ระบุเอาไว้ว่า มันอาจมีความผิดปกติในการใช้สารเคมีซึ่งอาจทำให้เกิดความวิตกกังวลได้ ซึ่งความวิตกกังวลมีหลายประเภท อาการทางกายภาพที่เกิดจากความวิตกกังวล การตอบสนองทางกายภาพนี้คือสิ่งที่กำลังเตือนคุณว่าควรคุณควรเตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่รุนแรง แต่ถ้ามันรุนแรงเกินไป คุณอาจจะเริ่มรู้สึกมึนงงและคลื่นไส้ ภาวะวิตกกังวลที่มากเกินไปหรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณ อาการมึนศีรษะ วิงเวียน คือปฏิกิริยาทางสรีรวิทยาของความวิตกกังวลในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวลเรื้อรังสามารถนำไปสู่ผลกระทบที่รุนแรงที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายของคุณ อาการทางกายภาพที่เกิดจากความวิตกกังวล […]


โรควิตกกังวล

ถึงเวลา หยุดความกังวล ก่อนจะส่งผลต่อสุขภาพ

ความกังวล เป็นสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเจอ ความกังวลเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเป็นครั้งคราวและเรื้อรัง ความกังวล เป็นสิ่งที่ทำให้เราทุกข์ร้อนใจ แต่ละคนก็จะมีเรื่องให้ต้องกังวลแตกต่างกันออกไป บางคนกังวลเรื่องงาน บางคนกังวลเรื่องเงิน บางคนก็กังวลเรื่องการใช้ชีวิต ความกังวลเป็นสิ่งที่เราคิด จินตนาการไปก่อนล่วงหน้า บางครั้งความกังวลก็ส่งผลต่อสุขภาพของเรา วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความน่าสนใจ เกี่ยวกับความกังวลส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรและจะ หยุดความกังวล ได้อย่างไรบ้าง ไปติดตามกันได้เลยค่ะ เมื่อไรที่ต้อง หยุดความกังวล ความกังวลนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ที่ทุกคนจะต้องเจอไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ปัญหาครอบครัว การสัมภาษณ์งาน อยู่ที่ว่าจะกังวลมากหรือน้อยเท่านั้นเอง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวิธีจัดการกับความกังวลของเรา ความกังวลถือเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องประสบ แต่อยู่ที่ว่าเรานั้นสามารถควบคุมมันได้หรือไม่ หากไม่สามารถควบคุมความกังวลของตนเองได้ ไม่สามารถลบความกังวลต่าง ๆ ออกจากสมองได้ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง นั่นหมายความว่า คุณกังวลมากไปจนต้องหยุดมันให้ได้แล้ว ความกังวลอย่างต่อเนื่อง จนไม่สามารถจัดการกับความคิดของตัวเองได้ คิดอะไรในแง่ลบไปหมด จินตนาการถึงแต่สิ่งที่เลวร้าย จนส่งผลต่ออารมณ์และสุขภาพร่างกายของตัวเองจนแย่ลง ความกังวลเหล่านี้จะเป็นพลังลบ ๆ ทำให้คุณรู้สึกกระสับกระส่าย หวาดกลัว จนอาจทำให้นอนไม่หลับ ปวดหัว ปวดท้อง กล้ามเนื้อเกิดความตึงตัว ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งคุณอาจจะแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยการใช้สารเสพติด แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นวิธีแก้ที่ผิด แถมยังทำให้ร่างกายของคุณแย่ลงอีกด้วย หากคุณยังไม่สามารถจัดการกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้มันอาจพัฒนาจนกลายไปเป็น โรควิตกกังวลทั่วไป (GAD) […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สัญญาณเตือนว่าควรพบนักบำบัด สามารถสังเกตได้อย่างไรบ้าง

หลายคนอาจมีความคิดที่ว่าคนที่เป็นโรคจิตเภทนั้นเป็นคนที่น่ากลัว แต่ความจริงแล้วยังมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของจิตเภทอีกมากมาย ไม่เพียงเท่านั้น บางคนอาจจะรู้สึกว่าตัวเองอาจจะกำลังเข้าข่ายเป็นโรคจิตเภทอยู่ บทความนี้ Hello คุณหมอ ได้ทำการรวบรวม สัญญาณเตือนว่าควรพบนักบำบัด ที่คุณควรรู้ เพื่อการสำรวจตนเองในเบื้องต้น มาฝากกันค่ะ ทำความรู้จักกับ นักบำบัด และ นักจิตวิทยา  นักบำบัด (Therapist) และ นักจิตวิทยา (Psychologist) คือ คนที่ศึกษาจิตใจและพฤติกรรม โดยส่วนใหญ่แล้วคนมักจะนึกถึง การพูดคุยบำบัด (Talk therapy) เมื่อพวกเขาได้ยินคำว่า “นักจิตวิทยา” อาชีพนี้จริงๆ แล้วมีความหลากหลายของสาขาพิเศษ รวมถึงการวิจัยสัตว์ และพฤติกรรมองค์กร นักบำบัด หรือนักจิตวิทยา จึงอาจหมายถึง คนที่ใช้ความรู้และการวิจัยทางจิตวิทยา เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เช่น รักษาอาการป่วยทางจิต ทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางสังคม เพื่อทำการวิจัยทางจิตวิทยาและสอนที่วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ทางสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (The American Psychological Association หรือ APA) มีหน่วยงานที่แตกต่างกันถึง 54 แผนก โดยแต่ละแผนกจะมีความสามารถเฉพาะด้านหรือด้านจิตวิทยา แม้นักบำบัดจะมีหลายประเภทแต่พวกเขาจะถูกแยกออกเป็น 3 ประเภทที่แตกต่างกัน ดังนี้ นักจิตวิทยาที่ประยุกต์ใช้หลักการทางจิตวิทยาและการวิจัย เพื่อแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งได้แก่ นักจิตวิทยาการบิน นักจิตวิทยาวิศวกรรม […]


โรคการกินผิดปกติ

กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม กินอิ่มแล้วก็ยังหิวได้อีก เป็นเพราะอะไรกันนะ

คุณผู้อ่านเคยสงสัยตัวเองไหมว่า ทำไมหลายๆ ครั้งที่เรารับประทานอาหารเข้าไปจนอิ่มแล้ว แต่วางช้อนได้ไม่เท่าไหร่ ก็รู้สึกหิวอีกแล้ว แถมไม่ว่าจะ กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม อีกด้วย อาการแบบนี้เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณที่ไม่ดีของสุขภาพหรือไม่ และจะป้องกันได้อย่างไรบ้าง Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากที่บทความนี้แล้วค่ะ [embed-health-tool-bmr] ทำไมเราถึงรู้สึกว่า กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม  มีอยู่หลายเหตุผลทีเดียวที่ทำให้หลายต่อหลายครั้งเรากินเข้าไปมากเท่าไหร่ก็ยังไม่รู้สึกว่าอิ่ม แถมกินอิ่มไปไม่เท่าไหร่ก็รู้สึกหิวขึ้นมาอีกแล้ว ซึ่งอาการเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นได้ตามปกติ บางคนก็เป็น แต่บางคนก็ไม่เป็น โดยจะเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันออกไปตามไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวัน ดังนี้ กินอาหารที่มีโปรตีนและไฟเบอร์น้อย ในอาหารหนึ่งมื้อที่เรากิน ควรจะมีสัดส่วนของสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีนและไฟเบอร์ ที่ควรจะมีปริมาณที่มากพอ เพราะถ้าอาหารมื้อนั้นให้โปรตีนและไฟเบอร์น้อยก็จะทำให้รู้สึกหิวขึ้นมาได้อีกแม้ว่าจะกิ่มอิ่มไปแล้วก็ตาม เนื่องจากอาหารที่มีโปรตีนสูงจะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่ม  ส่วนไฟเบอร์ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่จำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลานานในการย่อย จึงช่วยลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาท้องว่าง และเมื่อกระบวนการย่อยอาหารเดินทางไปถึงระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง การย่อยไฟเบอร์ที่บริเวณลำไส้ก็จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมนที่ลดความอยากอาหาร ได้แก่ ฮอร์โมน Glucagon-like polypeptide-1 (GLP-1) และฮอร์โมน PeptideYY (PYY) ซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มและไม่หิวขึ้นมาอีกง่ายๆ กระบวนการทำงานของตัวรับความยืด ในกระเพาะอาหารของคนเราจะมีตัวรับความยืด (Stretch receptors) ที่ทำหน้าที่ตรวจจับการขยายของหน้าท้องในขณะที่กำลังรับประทานอาหาร เมื่อตรวจจับถึงการขยายตัวของหน้าท้องแล้ว ตัวรับการยืดก็จะส่งสัญญาณไปยังสมองให้ปล่อยฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มและลดความอยากอาหาร อย่างไรก็ตามการทำงานของตัวรับความยืดไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับของสารอาหาร แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณรวมของอาหาร ดังนั้น เพื่อให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น จึงควรรับประทานอาหารให้หลากหลายและมากพอต่อความต้องการของร่างกาย หรืออาจเลือกรับประทานอาหารที่ให้แคลอรีต่ำแต่รับประทานในปริมาณมากๆ ได้แก่อาหารจำพวกผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ ก็จะช่วยให้อิ่มได้เร็วและยาวนานขึ้น ภาวะดื้อต่อเลปติน (Leptin resistance) เลปติน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน