สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

การเสพติด

สำรวจ สุขภาพจิต

ความสัมพันธ์ที่ดี

ความสัมพันธ์แบบโกสติง (Ghosting Relationship) คุยอยู่ดีๆ ก็หายไปเฉยเลย

บอกขอเวลาแต่งตัว 5 นาที ผ่านไป 1 ปี เธอยังแต่งตัวไม่เสร็จอีกเหรอ? ความสัมพันธ์ของคุณและเขากำลังไปได้สวย คุยอะไรกันก็ถูกคอ ลื่นไหลไปหมด เขาเองก็ไม่มีท่าทีและวี่แววว่าจะไม่ชอบอะไร แต่แล้วอยู่ๆ หลังจากบอกว่าขอเวลาทำธุระ เขาก็หายไปเลย ไม่เคยตอบแชตกลับมาอีก คุยกันอยู่ ๆ ก็หายไปเฉย ๆ หรือคุณกำลังตกอยู่ใน ความสัมพันธ์แบบโกสติง (Ghosting Relationship) หากใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วเกิดความสงสัยว่าความสัมพันธ์แบบนี้คืออะไร Hello คุณหมอ ได้เรียบเรียงมาให้อ่านแล้วค่ะ [embed-health-tool-ovulation] ความสัมพันธ์แบบโกสติง คืออะไร ความสัมพันธ์ แบบโกสติง (Ghosting Relationship) เกิดขึ้นเมื่อ ใครสักคนที่อยู่ ๆ ก็หายไปจากความสัมพันธ์ โดยไม่บอกไม่กล่าวอย่างกะทันหัน ไม่แม้แต่จะโทรหรือแม้กระทั่งส่งข้อความมาก่อนสักนิด ไม่ว่าคุณจะพยายามโทรกลับไปหาเขา หรือกระหน่ำส่งข้อความไปถามถึงสาเหตุการจากไปมากเท่าไร คำตอบที่ได้กลับมาก็มีเพียง ความเงียบ ไร้การตอบกลับจากเขา ความสัมพันธ์นี้จึงถูกเรียกว่า Ghost ที่แปลว่า ผี เพราะใครบางคนนั้นหายไปในอากาศราวกับว่าเป็นผีนั่นเอง จากผลการศึกษาเรื่องนี้พบว่า มีคนประมาณร้อยละ 25 เคยตกอยู่ในความสัมพันธ์แบบโกสติง สาเหตุที่ทำให้คนมี ความสัมพันธ์แบบโกสติง มีสาเหตุมากมายที่พวกเขาใช้เป็นเหตุผลในการหายไปแบบไม่บอกกล่าว ด้วยความซับซ้อนของความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์แบบโกสติง ความกลัว ความกลัวเป็นหนึ่งในเหตุผลที่พวกเขาเลือกที่จะหายไปอย่างไร้ร่องรอย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ภาวะดื้อคาเฟอีน (Caffeine tolerance) เมื่อปริมาณคาเฟอีนเท่าเดิม เอาไม่อยู่แล้ว

คาเฟอีน (Caffeine) เป็นสารที่สามารถพบได้ตามอาหาร เครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เมื่อร่างกายได้รับสารคาเฟอีนแล้ว จะไปเพิ่มสารเคมีในสมอง ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว ต่อสู้กับอาการเมื่อยล้า ด้วยเหตุนี่หลายๆ คนจึงหันมาดื่มกาแฟ เพื่อเป็นตัวช่วยในการทำงานของเช้าวันใหม่ แต่สำหรับบางคนที่ดื่มกาแฟในปริมาณเท่าเดิม แต่ร่างกายกลับไม่ตอบสนอง หรือตอบสนองได้น้อยลง วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่น่าสนใจ ที่จะช่วยอธิบาย ภาวะดื้อคาเฟอีน ว่าคาเฟอีนนั้นตอบสนองต่อร่างกายของคนเราอย่างไร และตอบสนองต่อความทนทานต่อคาเฟอีนของร่างกายลดลงจริงหรือไหม ภาวะดื้อคาเฟอีน (Caffeine tolerance) คืออะไร คาเฟอีนเป็นสารที่ไม่ได้ผลิตขึ้นมาเองจากร่างกาย ตามธรรมชาติ แต่เป็นสารที่เราต้องบริโภคเข้าไป ร่างกายจึงจะได้รับสารนี้ ดังนั้นผู้ที่ได้รับคาเฟอีนในครั้งแรก หรือไม่ได้บริโภคคาเฟอีนติดต่อกันเป็นเวลานาน ร่างกายจะตอบสนองต่อกรบริโภคคเฟอีนได้ดีที่สุด คาเฟอีนจะทำงานได้ดีที่สุด ดังนี้ รู้สึกสบายตัว ตื่นตัว เพิ่มพลังงาน มีสมาธิในการทำงาน แต่การบริโภคคาเฟอีนในขนาดและปริมาณเท่าเดิมเป็นเวลานานจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้อคาเฟอีน เป็นภาวะที่ร่างกายจะตอบสนองต่อคาเฟอีนที่ได้รับน้อยลง จนกระทั่งรู้สึก ปกติ แม้ว่าจะบริโภคคาเฟอีนในปริมาณเท่าเดิมก็ตาม เมื่อร่างกายเกิดภาวะดื้อคาเฟอีน หากไม่ได้รับปริมาณคาเฟอีนที่มากขึ้น จะทำให้ร่างกายเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้ามากขึ้น ภาวะดื้อคาเฟอีน ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร ภาวะดื้อคาเฟอีนเป็นภาวะที่ ร่างกายสามารถทนทานต่อผลกระทบของคาเฟอีนได้ ทำให้คาเฟอีนนั้นออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ ซึ่งส่งผลต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน ภาวะดื้อคาเฟอีนนั้นสามารถเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ จริงๆ แล้วคาเฟอีนนั้นทำหน้าที่เสมือน ยาเสพติด เมื่อร่างกายเสพติดคาเฟอีนจนรู้สึกขาดมันไม่ได้ จนเกิดภาวะดื้อคาเฟอีน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รักความสมบูรณ์แบบ คุณกำลังเข้าข่าย เพอร์เฟคชั่นนิสต์ (Perfectionist) หรือเปล่า

คุณเคยรึเปล่า มองเห็นกรอบรูปที่เบี้ยว ผ้าปูโต๊ะที่ไม่ตรง แล้วรู้สึกหงุดหงิด อยากจะเข้าไปจัดการให้มันตรง หรือพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้งานมันออกมาสมบูรณ์แบบ แต่พอมีอะไรขัดข้อง ไม่เป็นไปดังที่หวัง ก็ล้มเลิก ไม่ทำต่อเสียอย่างนั้น อาการเหล่านี้ อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า คุณกำลังเข้าข่าย เพอร์เฟคชั่นนิสต์ อยู่ก็ได้ อาการเพอร์เฟคชั่นนิสต์นั้นเป็นอย่างไร และเป็นอันตรายหรือไม่ มาหาคำตอบร่วมกันกับ Hello คุณหมอ เลยค่ะ [embed-health-tool-bmr] เพอร์เฟคชั่นนิสต์ คืออะไร ผู้ที่เป็น เพอร์เฟคชั่นนิสต์ (Perfectionist หรือ Perfectionism) นั้นไม่ได้หมายถึงแค่ การเป็นคนเจ้าระเบียบ หรือจุกจิกจู้จี้เพียงเท่านั้น แต่หมายถึงลักษณะนิสัยของผู้ที่ รักความสมบูรณ์แบบ หรือ ต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามที่วางแผนหรือคำนวณไว้แล้วแบบเป๊ะๆ การเป็นเพอร์เฟคชั่นนิสต์นั้นสามารถส่งผลได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ สำหรับเด็กและวัยรุ่น การเป็นเพอร์เฟคชั่นนิสต์อาจหมายถึงการพยายามเรียน ทำการบ้าน และกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นกีฬา การแข่งขัน คะแนนสอบ ให้ดีกว่าคนอื่นๆ ส่วนในวัยผู้ใหญ่ ก็อาจจะเป็นความต้องการความสมบูรณ์แบบในหน้าที่การงาน ความรัก และการประสบความสำเร็จ ลักษณะของ “ความสมบูรณ์แบบ” นี้อาจจะแบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภทคือ ความสมบูรณ์แบบตามมาตรฐานส่วนบุคคล หมายถึงการที่บุคคลได้สร้างมาตรฐานที่ตัวเองต้องการเอาไว้ แล้วยึดมาตรฐานนั้นเป็นหลักว่าต้องทำให้ได้ตามที่ตั้งไว้ โดยส่วนใหญ่แล้วมาตรฐานเหล่านี้มักจะสูงกว่ามาตรฐานของคนปกติทั่วไป ความสมบูรณ์แบบแบบวิจารณ์ตัวเอง เพอร์เฟคชั่นนิสต์เหล่านี้มักจะโทษตัวเอง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

แพนิกตอนขับรถ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองมีภาวะนี้ และควรรับมืออย่างไรดี

อาการแพนิก หรือที่เรียกว่า Panic Attack คือ อาการตื่นกลัวสุดขีด ซึ่งเป็นอาการของโรคแพนิกที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังขับรถ และหากคุณควบคุมอาการไม่อยู่ ก็อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการ แพนิกตอนขับรถ ให้มากขึ้น คุณจะได้รู้ตัวเมื่อเกิดอาการนี้ และสามารถรับมือได้ดีขึ้นด้วย อาการของภาวะ แพนิกตอนขับรถ หากคุณขับรถอยู่แล้วเกิดอาการเหล่านี้ นั่นแปลว่าคุณอาจมีภาวะแพนิกตอนขับรถ อยู่ ๆ ก็รู้สึกตื่นกลัวสุดขีด หัวใจเต้นแรง หรือเต้นเร็วกว่าปกติ รู้สึกวิงเวียนศีรษะ รู้สึกเหมือนจะหมดสติ หายใจติดขัด หรือเหมือนจะสำลัก คลื่นไส้ ตัวเย็น และเหงื่อออก ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก หรือปวดท้อง มือ แขน และขาสั่น รู้สึกชา หรือเจ็บจี๊ดเหมือนมีเข็มทิ่มทั่วร่างกาย ปากแห้ง จู่ ๆ ก็อยากเข้าห้องน้ำ มีเสียงวิ้ง ๆ ในหู ควบคุมตัวเองไม่ได้ รู้สึกเหมือนกำลังจะตาย โดยทั่วไปแล้ว อาการแพนิกตอนขับรถ จะมีอาการประมาณ 5-20 นาที แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจเกิดอาการต่อเนื่องยาวนานได้ถึง 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการนี้เดือนละ 1-2 ครั้ง หรือในรายที่มีอาการรุนแรง ก็อาจแพนิกตอนขับรถสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเลยทีเดียว ภาวะแพนิกกำเริบตอนขับรถ เกิดจากอะไร ผู้ที่เกิดอาการแพนิกตอนขับรถมักประสบปัญหานี้ตอนขับรถบนทางด่วน ขับรถบนสะพาน ขับรถตอนรถติด ขับรถในตอนกลางคืน เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้ว […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

มองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว อาการประหลาดทางจิตเภทที่คุณอาจไม่เคยรู้จัก!

วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับการมองมุมกลับ หรือที่เรียกว่าการ “มองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว” ฟังดูแล้วอาจไม่น่าเชื่อ แต่มันเป็นเรื่องประหลาดที่เกิดขึ้นจริง โดยจัดเป็นอาการทางจิตเภทที่หาได้ยาก น้อยคนนักที่จะมีอาการนี้ แทบจะเรียกได้ว่ามี 1 ในหลายล้านคนเลยทีเดียว จะมีลักษณะอาการ และวิธีการรักษาอย่างไร เรามาทำความรู้จักกับอาการดังกล่าว ให้มากขึ้นกันค่ะ มองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว (Spatial orientation phenomenon)  อาการมองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว (Spatial orientation phenomenon) เป็นอาการทางจิตเภทที่หาได้ยาก น้อยคนนักที่จะมีอาการนี้ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาท ส่งผลให้ทิศทางการมองเห็นเปลี่ยนไป อาการดังกล่าวนี้อาจดูน่าเหลือเชื่อสำหรับคนอื่น ๆ แต่สำหรับ  Bojana Danilovic พนักงานสภาชาวเซอร์เบีย วัย 28 ปี ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เธอมีอาการผิดปกติทางระบบประสาท ที่เรียกว่า “อาการมองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว” ทำให้เธอมองเห็นภาพทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว เช่น การอ่านหนังสือและการเขียนหนังสือกลับหัว อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเธอจะมีอาการผิดปกติทางสมองที่มองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้และการมองเห็นของเธอเลย สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ อาการมองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว หนึ่งในอาการทางจิตเภท อาการมองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัวเป็นอีกหนึ่งในอาการทางจิตเภทที่ยังไม่มีข้อระบุถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาท ซึ่งสาเหตุของโรคทางจิตเภททั่วไปอาจเกิดจากสาเหตุและปัจจัยดังต่อไปนี้ ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคทางจิตเภท ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์มารดา เช่น การขาดสารอาหาร การได้รับสารพิษ ผลข้างเคียงจากการใช้ยา  วิธีการรักษา ในปัจจุบันยังไม่มีข้อระบุที่แน่ชัดถึงวิธีการรักษาอาการมองทุกอย่างเป็นภาพกลับหัว ดังนั้นผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอยู่เสมอ เนื่องจากอาการทางจิตเภทเป็นภาวะที่อยู่กับเราไปตลอดชีวิต โดยวิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่แพทย์จะใช้วิธีการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รู้สึกมีปมด้อย เกิดจากสาเหตุใด แล้วจะเอาชนะความรู้สึกนี้อย่างไรดี

โดยส่วนใหญ่แล้วการที่คนเราจะ รู้สึกมีปมด้อย มักจะสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในวัยเด็กที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ มันทำให้เกิด ความทรงจำที่ไม่ดี ความรู้สึกเชิงลบ หรือแม้แต่ประสบการณ์แย่ๆ ฝังอยู่ในจิตใจ ซึ่งผลกระทบนี้สามารถส่งผลมาจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้ นอกจากประสบการณ์แย่ๆ ในวัยเด็กแล้ว ยังอาจจะมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ รู้สึกมีปมด้อย วันนี้ Hello คุณทางได้หยิบเรื่องนี้มาฝากกัน สาเหตุที่ทำให้ รู้สึกมีปมด้อย Alfred Adler นักจิตวิทยาชาวออสเตรเลีย คือผู้ที่อธิบายปมด้อยเอาไว้เป็นคนแรก ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 โดยเขาเชื่อว่า ความผิดปกตินี้เป็นการชดเชย ซึ่งหมายความว่า บุคคลที่แสดงพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อชดเชยความรู้สึกเชิงลบที่พวกเขามี หากใครบางคนไม่สามารถหักล้างความเชื่อที่ไม่เพียงพอเกี่ยวกับตัวเองได้สำเร็จ พวกเขาอาจจะมีการพัฒนาของปมด้อย Alfred Adler คิดว่า ปฏิกิริยาเหล่านี้เริ่มต้นในวัยเด็ก เขาเชื่อว่าเด็กทารกที่รู้สึกหมดหนทางและด้อยโอกาสพยายามเอาชนะอารมณ์เหล่านั้น ด้วยการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น วงจรของการชดเชยความรู้สึกต่ำต้อยนี้ติดตามเด็กๆ ไปตลอดชีวิต เมื่อเด็กตระหนักถึงข้อบกพร่องของตัวเองมากขึ้น และเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น พวกเขาก็จะเริ่มคิดว่าตัวเองมีปมด้อย ซึ่งกระตุ้นให้พวกเขาผลักดันการกระทำบางอย่างออกมา มากไปกว่านั้นแล้วผู้เชี่ยวชาญยังเชื่อว่า ปัจจัยบางอย่างหรือหลายปัจจัยอาจทำให้เกิดความรู้สึกมีปมด้อยได้ นอกจากทฤษฎีที่ Alfred Adler ได้กล่าวเอาไว้ การรู้สึกมีปมด้วย ยังมีสาเหตุมาจากสิ่งต่างๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ซึ่งถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ประสบการณ์ในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ การเผชิญหน้าในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ สามารถจุดความรู้สึกมีปมด้อยขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น เด็กที่ได้ยินคำพูดที่ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือความสามารถอย่างต่อเนื่อง อาจพัฒนาความเชื่อเชิงลบเกี่ยวกับตัวเอง ซึ่งมันจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งผู้ใหญ่ก็สามารถได้รับประสบการณ์ประเภทเดียวกันได้ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ชอบเห็นภาพหลอน หูแว่วบ่อย อาจเพราะคุณมี อาการประสาทหลอน ก็ได้นะ

Hello คุณหมอ เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยมีอาการ หูแว่ว เห็นภาพหลอน รู้สึกเหมือนมีอะไรไต่ตามแขนขา หรือไม่ก็ได้กลิ่นอะไรแปลก ๆ แต่พอถามคนอื่น เขากลับไม่รู้สึกเช่นเดียวกับคุณ และบอกว่าคุณคิดไปเอง อาการเหล่านี้หากนาน ๆ เป็นทีก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถ้าใครที่หูแว่วบ่อย เห็นภาพหลอนเป็นประจำ ได้กลิ่นแปลก ๆ รู้สึกว่ามีอะไรไต่อยู่ในผิวหนัง นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีปัญหาสุขภาพจิต อย่าง อาการประสาทหลอน ที่ควรเข้ารับการรักษาโดยเร็ว จะได้ไม่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา อาการประสาทหลอน คืออะไร อาการประสาทหลอน (Hallucinations) คือ ความผิดปกติทางการรับรู้รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสที่เกิดขึ้นโดยที่อวัยวะรับสัมผัสไม่ได้ถูกกระตุ้น หรือไม่มีสิ่งเร้าภายนอกแต่อย่างใด ผู้ป่วยจะรู้สึกว่ามีสิ่ง ๆ นั้นเกิดขึ้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วสิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง หรือไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น เห็นภาพหลอน หูแว่ว รู้สึกว่ามีอะไรชอนไชตามผิวหนัง ส่วนใหญ่แล้ว อาการประสาทหลอน มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคจิตเวช เช่น โรคจิตเภท โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว แต่คนที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคทางจิตเวช ก็สามารถมีอาการประสาทหลอนได้เช่นกัน ประเภทของ อาการประสาทหลอน อาการประสาทหลอนมีหลายประเภทดังนี้ อาการประสาทหลอนทางตา (Visual […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ทำความรู้จักกับ อคติทางความคิด (Cognitive Bias) ปัญหาสำคัญที่จะนำไปสู่การตัดสินใจผิดพลาด

การที่เราจะตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง จะต้องใช้การคิดวิเคราะห์ และพิจารณาภาพรวมให้ดีก่อนการตัดสินใจ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด แต่ในบางครั้ง อคติทางความคิด ก็อาจจะจะกลายปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลให้เราตัดสินใจอย่างผิดพลาดได้ในที่สุด วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักกับ อคติทางความคิด ว่าคืออะไร แล้วทำอย่างไรเราจึงจะจัดการกับอคติเหล่านี้ได้ อคติทางความคิด คืออะไร อคติทางความคิด (Cognitive Bias) หมายถึง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความคิด เมื่อมีการประมวลผลและตีความข้อมูลที่ได้รับมา จนอาจส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจและวิจารณาณของบุคคลนั้นๆ ได้ อคติทางความคิดนั้นมักจะเป็นผลมาจาก การที่สมองของคุณพยายามทำให้การประมวลผลและตีความข้อมูลนั้นง่ายขึ้น ช่วยให้สามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นและตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว โดยอาจได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความทรงจำ แนวคิด สิ่งที่คุ้นเคย หรือคนหมู่มาก ซึ่งอคติเหล่านี้นั้นอาจมีอิทธิพลอย่างมาก ต่อการมองโลกและความคิดของคุณ ประเภทต่างๆ ของความอคติทางความคิด อคติทางความคิดนั้นมีอยู่มากมายหลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น อคติเพื่อยืนยัน (Confirmation bias) หมายถึงคนที่จะหาข้อมูล เพื่อมายืนยันกับความคิดหรือความเชื่อเดิมที่ตนมีอยู่เท่านั้น และจะไม่ให้ความสนใจกับข้อมูลอื่นที่ขัดแย้งต่อความเชื่อเดิมของตัวเอง อคติเชื่อในประสบการณ์ (Conservatism bias) หมายถึงการที่เชื่อและให้ความสำคัญกับประสบการณ์ และข้อมูลเก่าๆ มากกว่าหลักฐานข้อมูลใหม่ คนเหล่านี้มักจะมีความเชื่อว่า สิ่งที่เป็นจริงในอดีตนั้นคือความถูกต้องแน่นอน หรือเชื่อมั่นว่าประสบการณ์ของตัวเองนั้นถูกต้อง เช่น ความเชื่อในการป้อนกล้วยให้เด็กแรกเกิดกินเพราะกลัวว่าเด็กจะขาดสารอาหาร แม้ว่าหมอในปัจจุบันจะยืนยันว่าห้ามทำ อคติเชื่อข้อมูลใหม่ (Recency bias) อคตินี้จะตรงข้ามกับข้อที่ผ่านมา […]


โรควิตกกังวล

จัดการความวิตกกังวล ก่อนจะกลายเป็นความเครียดที่ส่งผลต่อสุขภาพ

ความวิตกกังวล เป็นอารมณ์และความรู้สึกที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน แต่การที่รู้สึกกังวลมากจนไม่สามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้นั้น ความวิตกกังวลอาจส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ จนกระทบต่อการใช้ชีวิตได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีการ จัดการความวิตกกังวล ด้วยตัวเองอย่างไร ก่อนจะกลายเป้นความเครียด จนส่งผลต่อสุขภาพ โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) และ Anxiety attack คืออะไร ความวิตกกังวล (Anxiety) เป็นการตอบสนองของร่างกายที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อถูกกดดัน หรือตกอยู่ในสถานการณ์ที่ท้าทายหรือเลวร้าย เช่น การสอบ การสัมภาษณ์งาน ความวิตกกังวลถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เมื่อปัญหาต่างๆ ผ่านไปได้ ความรู้สึกกังวลนั้นก็จะดีขึ้นตามไปด้วย แต่หากความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นนั้น มากจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตจนกลายเป็น โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) และส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้เกิดความเครียด นอนไม่หลับ หรือในบางคนอาการวิตกกังวลอาจมีความรุนแรงมากกว่านี้ คุณจะต้อง จัดการความวิตกกังวล ก่อนที่โรควิตกกังวลจะทำให้สุขภาพคุณแย่ไปกว่านี้ ส่วนอาการ Anxiety attacks หรืออาการแพนิค (Panic attacks) เป็นอาหารที่คุณจะรู้สึกตื่นตระหนก รู้สึกกลัว ซึ่งอาการวิตกกังวลนั้นจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เฉียบพลัน ไม่ทันให้เรานั้นตั้งตัว ซึ่งสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการ Anxiety attacks […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

OCD หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำ สาเหตุ อาการ การรักษา

OCD หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะมีอาการชอบคิดหรือรู้สึกเรื่องเดิมซ้ำ ๆ และอยากทำอะไรบางอย่างซ้ำ ๆ พฤติกรรมที่พบได้บ่อย เช่น ล้างมือซ้ำบ่อยครั้งเพราะกลัวติดเชื้อโรค ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการเข้าสังคมได้ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของ OCD โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder หรือ OCD) ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเหล่านี้ : พันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวเป็น OCD ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ความผิดปกติในสมอง โรคย้ำคิดย้ำทำอาจเกิดจากสมองบางส่วนไม่ตอบสนองต่อเซโรโทนิน (Serotonin) หรือมีระดับเซโรโทนินต่ำเกินไป โดยเซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาท หมายถึง สารเคมีถูกสร้างขึ้นในเซลล์ประสาทเพื่อให้เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์สามารถสื่อสาร หรือส่งสัญญาณหากันได้ เหตุการณ์ในชีวิต ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า OCD หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำพบมากในผู้ที่เคยถูกรังแก ถูกทำร้าย หรือถูกทอดทิ้ง และในบางครั้งก็อาจเกิดขึ้นหลังจากต้องพบเจอเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตที่ส่งผลต่อจิตใจ เช่น การคลอดลูก การสูญเสียญาติหรือคนที่รัก บุคลิกภาพ คนที่มีมาตรฐานสูง เช่น ใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบแบบแผนตลอด เป็นคนเจ้าระเบียบ รักความสะอาดมาก อาจเสี่ยงในการเกิด OCD ทำได้มากขึ้น นอกจากนี้ คนที่วิตกกังวลง่าย หรือรู้สึกว่าตัวเองต้องรับผิดชอบทั้งเรื่องของตัวเองและคนอื่นก็อาจเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำได้เช่นกัน อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ มักมีความคิด ความรู้สึก หรือการกระทำที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ : ใช้เวลาคิด รู้สึก หรือทำพฤติกรรมเดิม ๆ นานเกินหนึ่งชั่วโมงต่อวัน คิด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน