สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

คิดมาก สามารถกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตได้หรือเปล่า?

คุณเคยมีอาการคิดมากแบบนี้หรือเปล่า คือคิดวนเวียนอยู่กับเรื่องเรื่องเดียว หรือหลาย ๆ เรื่อง และคุณเอาแต่ คิดมาก กับเรื่องบางอย่างซ้ำไปซ้ำมา ไม่สามารถเลิกคิดได้ กระบวนการคิดอย่างต่อเนื่องในเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ สามารถจัดว่าเป็นการครุ่นคิด ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทางจิตอย่างโรคซึมเศร้าได้ วันนี้ Hello คุณหมอ อยากชวนทุกคนไปทำความรู้จักกับการคิดมากกัน ว่าส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราหรือไม่ การครุ่นคิด คืออะไร การครุ่นคิด (Rumination) คือการคิดมากกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่องซ้ำๆ ซึ่งถ้าทำจนเป็นนิสัยสามารถเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิต และสามารถทำให้อาการซึมเศร้ารุนแรงขึ้น รวมทั้งทำให้ความสามารถในการคิดและประมวลอารมณ์ของคุณแย่ลง นอกจากนี้ยังอาจทำให้คุณรู้สึกโดดเดี่ยว และอาจผลักคนอื่นออกไปจากชีวิต ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าหลายคนรายงานว่า พวกเขาจมอยู่กับอาการซึมเศร้าของตัวเองซ้ำไปซ้ำมา เช่น การเฝ้าถามตัวเองว่าทำไมฉันถึงไม่สามารถดีขึ้นได้ นอกจากนี้พวกเขายังอยู่กับความไม่พอใจในตัวเอง เหตุการณ์ไม่ดีในอดีต และการสูญเสีย ซึ่งจากการติดตามระยะยาวและจากการศึกษาทดลองพบว่า การคร่ำครวญ ครุ่นคิดกับเรื่องเดิมๆ ทำให้อารมณ์เชิงลบแย่ลง และสามารถเพิ่มภาวะซึมเศร้า แต่ถึงแม้จะรู้ว่า การคิดมากและคิดซ้ำไปซ้ำมา อาจทำให้มีปัญหาสุขภาพจิต แต่ก็ยังมีรายงานว่า หลายคนพบว่ามันยากที่จะหยุดคิด ซึ่งผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะบรรบายการครุ่นคิดว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ และทำจนเป็นนิสัย รวมถึงเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ มากไปกว่านั้น การครุ่นคิดมักจะเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ในสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมเดิม ๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณรู้สึกเศร้าและกังวล หรืออยู่ในบางสถานที่และบางเวลา เช่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ออกกำลังกายตอนโกรธ ได้ประโยชน์หรือโทษกันแน่

เวลาที่เรารู้สึกโกรธ การได้ระบายอารมณ์ออกไปสามารถช่วยให้อารมณ์เดือดพล่านที่กำลังปะทุอยู่นั้นทุเลาและเบาบางลงได้ แต่การใช้แรงกายเพื่อระบายอารมณ์อาจไม่ได้เป็นผลดีเสมอไป เพราะอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อตนเองและบุคคลรอบข้าง แล้วถ้าเป็นการระบายความโกรธด้วยการออกกำลังกายล่ะ จะดีกว่ารึเปล่า? เพราะหลายคนอาจเคยได้ยินว่าการออกกำลังกายช่วยบรรเทาความโกรธได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะขอพาทุกท่านไปดูกันว่า ออกกำลังกายตอนโกรธ จะมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง การออกกำลังกายกับความโกรธสัมพันธ์กันอย่างไร ความโกรธและการออกกำลังกายนั้นมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันในเรื่องทางสรีระวิทยาและจิตวิทยา กล่าวคือเมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกโกรธ กล้ามเนื้อ อารมณ์ ความรู้สึกก็จะทำงานสัมพันธ์กัน เราอาจต้องการที่จะแสดงออกทางกายด้วยอารมณ์โกรธที่กำลังพลุ่งพล่าน จนบางครั้งเราอาจแสดงออกไปในทางที่ค่อนข้างจะเป็นมุมลบหรือสร้างอันตรายทั้งต่อตนเองและกับผู้อื่น การออกกำลังกายในขณะที่โกรธ จะเป็นช่วงเวลาที่เราได้ควบคุมอารมณ์รุนแรงเอาไว้ เพราะร่างกายและสมองจะได้ใช้พลังงานและขบคิดถึงต้นตอที่ทำให้รู้สึกไม่พอใจ ซึ่งอาจช่วยให้ความรู้สึกเหล่านั้นเบาบางลงเมื่อได้อยู่กับตนเองสักพัก  ออกกำลังกายช่วยผ่อนคลายความโกรธได้หรือไม่ ความโกรธสามารถระงับได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการควบคุมความโกรธด้วยการออกกำลังกาย หรือที่เราอาจเคยได้ยินว่าเวลาที่โกรธให้ลองออกไปวิ่ง เพื่อที่จะได้คลายความเกรี้ยวกราดของอารมณ์ออกไปในขณะที่วิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากเวลาที่เราออกแรงขณะที่โกรธร่างกายจะได้ใช้พลังงานไปกับการขบคิด และจดจ่อกับสิ่งที่ออกแรงทำ รวมถึงยังเป็นการกำจัดเอาพลังงานส่วนเกินออกไปขณะที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหวด้วย จึงมีส่วนช่วยให้รู้สึกสงบลง และผ่อนคลายมากขึ้น โดยกิจกรรมที่เป็นทางเลือกสำหรับเวลาที่รู้สึกโกรธหากสถานที่และอุปกรณ์เอื้ออำนวย เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ เป็นต้น  ออกกำลังกายตอนโกรธ มีผลเสียหรือไม่ การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ และมีส่วนช่วยลดความรู้สึกโกรธและความโมโหให้ลดลงได้จริง เพราะร่างกายได้มีการใช้พลังงานในการจดจ่อกับสิ่งที่ออกแรง สมองได้ใช้ความคิดเพื่อทบทวนหาสาเหตุ และค่อยๆ จัดการกับอารมณ์ของตนเองในที่สุด อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายขณะที่กำลังโกรธอย่างรุนแรงนั้นก็มีข้อควรระวังที่ไม่ควรมองข้ามด้วยเช่นกัน นั่นคือ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ เช่น โรคหัวใจ หัวใจวาย เนื่องจากในขณะที่กำลังโกรธนั้นอัตราการเต้นของหัวใจจะเร็วและแรง ลมหายใจจะสั้นและเร็ว กล้ามเนื้อจะเกร็งและตึง ซึ่งอาจมีผลต่ออาการทางสุขภาพเช่น อาการช็อค […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สัญญาณของโรคไบโพลาร์ ที่คุณอาจมองข้ามไปโดยไม่รู้ตัว

โรคไบโพลาร์ (bipolar disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้วนั้น เป็นโรคทางจิตเภทที่หลายคนอาจจะรู้จักชื่อกันเป็นอย่างดี แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าความจริงแล้ว มันมี สัญญาณของโรคไบโพลาร์ ที่อาจจะแสดงออกมาแต่คุณอาจจไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็นโรคนี้อยู่ บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาณของโรคดังกล่าว พร้อมให้คุณได้สำรวจตนเองกันว่าเข้าข่ายเป็นโรคไบโพลาร์หรือไม่ สัญญาณของโรคไบโพลาร์ ที่คุณอาจมองข้ามไป ถือเป็นเรื่องยากที่คุณจะสามารถแยกให้ออกได้ว่า คุณเป็นเพียงคนที่ขี้โมโห อารมณ์แปรปรวน หรือคุณกำลังเจ็บป่วยทางจิตอย่างรุนแรง ดังนั้น ลองมาสังเกตตนเองว่ากำลังมี สัญญาของโรคไบโพลาร์ ปรากฏอยู่หรือไม่ ซึ่งสัญญาณเตือนต่างๆ มีดังนี้ รู้สึกกดดัน โรคอารมณ์สองขั้นนั้นในช่วงที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าจะมีอาการเช่นเดียวกับคนที่มีภาวะซึมเศร้า โดยมักจะมีอาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย และลดความอยากอาหาร  สิ่งที่แตกต่างระหว่างภาวะซึมเศร้าและโรคไบโพลาร์ก็คือ ความผันผวนของอารมณ์ ดังนั้นการปรึกษากับนักบำบัดหรือแพทย์เพื่อรักษาภาวะซึมเศร้าจะแตกต่างจากการรักษาโรคอารมณ์สองขั้น นอกจากนั้นการจ่ายยากล่อมประสาทเพียงอย่างเดียวในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าแบบสองขั้น แพทย์จะไม่แนะนำ เพราะมันอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกกดดัน จนนำไปสู่อารมณ์ที่บ้าคลั่งได้ นอนไม่หลับ เป็นเรื่องปกติที่คุณจะมีช่วงเวลาที่นอนไม่หลับ ซึ่งเกิดจากความเครียดหรือความคาดหวังในเรื่องต่างๆ แต่บางคนที่อยู่ในระยะของโรคไบโพลาร์มักจะได้นอนน้อยกว่าปกติ มันไม่ใช่แค่การอดนอน แต่มันคือการไม่อยากนอนเลย บางครั้งผู้ที่อยู่ในช่วงซึมเศร้าก็อาจจะนอนนานกว่าปกติ ดังนั้น ตารางการนอนแบบปกติ ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีอารมณ์สองขั้ว มีความคิดฆ่าตัวตาย อาการที่เกิดโรคไบโพลาร์นั้นเป็นเรื่องยากที่จะสามารถทนได้ บางครั้งคุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีหรือคุณมักจะคิดว่าถ้าคนที่คุณรักไม่มีคุณอยู่มันอาจจะดีกว่า หากเกิดความคิดเช่นนี้การไปพบนักบำบัดหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วจะเป็นการดีที่สุด อย่ารู้สึกอายที่จะต้องขอความช่วยเหลือหากคุณกำลังรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย หรือต้องการทำร้ายตัวเอง หลายคนที่เป็นโรคไบโพลาร์ทักจะมีปัญหาเกี่ยวกับความคิดเหล่านี้ การคุยกับแพทย์หรือนักบำบัด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงแผนการรักษา อาจเป็นสิ่งที่คุณต้องการ ทั้งมันอาจจะทำให้คุณรู้สึกมีความหวังมากขึ้นเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่ อารมณ์ดีมากผิดปกติ แน่นอนว่าใครๆ ก็อยากจะมีอารมณ์ที่ดี แถมอารมณ์ดีแล้วไม่เห็นจะเป็นสัญญาณของความเจ็บป่วยทางจิตตรงไหน Smitha Murthy จิตแพทย์และผู้ช่วยศาสตราจารย์ในภาควิชาจิตเวชศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัสกล่าวว่า การที่อารมณ์ดีมากเกินไปนั้นไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด โดยการที่มีอารมณ์ดีมากเกินปรกติอาจจะอยู่เพียงแค่ช่วง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) ทางเลือกในการแก้ไข ปัญหาสุขภาพจิต

ในปัจจุบันนี้ ทางเลือกในการรักษาปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีอยู่มากมายหลายทางเลือก หนึ่งในนั้นก็คือการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การบำบัดทางจิตด้วยวิธีการนี้ เป็นทางเลือกในการบำบัดที่ใช้เพื่อการรักษาโรคทางจิตเวชมากมาย รวมไปจนถึงโรคซึมเศร้า วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม ว่าคืออะไร และเหมาะสำหรับการจัดการกับโรคแบบไหนบ้าง การ บำบัดทางความคิดและพฤติกรรม คืออะไร การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy ; CBT) เป็นจิตบำบัดประเภทหนึ่ง ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเรียนรู้ ตระหนัก และรับมือกับปัญหา รูปแบบ ความคิด หรือความผิดปกติทางจิตต่างๆ ที่รบกวนหรือส่งผลกระทบด้านลบ ทั้งต่อการกระทำและอารมณ์ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมนั้นจะมุ่งเน้นที่การพูดคุยและให้คำปรึกษา เพื่อหาทางจัดกับปัญหาให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยการแบ่งปัญหาออกเป็นส่วน ๆ แล้วค่อย ๆ เข้าแก้ไขไปทีละส่วนร่วมกัน ทั้งกับตัวแพทย์และตัวผู้ป่วย การบำบัดด้วยวิธีการนี้จะแตกต่างกับการบำบัดอื่น ๆ เนื่องจากจะมุ้งเน้นจัดการและแก้ไขกับปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยไม่ไปเน้นกับปัญหาในอดีตมากนัก และเป้าหมายสูงสุดของการบำบัดคือต้องการให้เข้ารับการรักษา สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติและมีความสุข การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมใช้เพื่ออะไรบ้าง การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมนั้นครอบคลุมการรักษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับจิตใจได้อย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดว่าจะต้องรักษาแค่โรคทางจิตเวชเท่านั้น แต่ยังอาจครอบคลุมไปจนถึงปัญหาเกี่ยวกับสภาพจิตใจอื่น ๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น การจัดการกับอาการป่วยทางจิต การป้องกันไม่ให้อาการป่วยทางจิตกำเริบ การจัดการกับความรู้สึก เช่น การรับมือกับความสูญเสีย การจัดการทางอารมณ์ เช่น อารมณ์โกรธ อารมณ์โศกเศร้า นอกจากนี้ ยังอาจใช้เพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคทางจิตเวชต่าง ๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคการกินผิดปกติ โรคจิตเภท โรคกลัวต่าง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ อาจแย่ลงได้เพราะปัจจัยเหล่านี้

โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD) เกิดจากสมองส่วนหน้าทำงานบกพร่อง โดยเฉพาะบริเวณที่ควบคุมเรื่องสมาธิจดจ่อ การเคลื่อนไหวร่างกาย การตัดสินใจและการยับยั้งชั่งใจ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า โรคสมาธิสั้นนี้เกิดขึ้นเฉพาะกับเด็กเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แม้แต่ผู้ใหญ่เองก็เป็นโรคสมาธิสั้นได้ แถมวัยผู้ใหญ่ยังมีสิ่งกระตุ้นให้อาการของโรคสมาธิสั้นกำเริบได้มากกว่าวัยเด็กด้วย ว่าแต่ปัจจัยกระตุ้นอาการของโรค สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ จะมีอะไรบ้าง วันนี้ Hello คุณ เราลองไปดูกันเลย ปัจจัยกระตุ้นอาการ สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ การกินอาหารขยะมากไป ผลการศึกษาวิจัยพบว่า สารปรุงแต่งอาหาร เช่น สีผสมอาหารสามารถทำให้อาการสมาธิสั้นในเด็กแย่ลงได้ ซึ่งสารปรุงแต่งเหล่านี้นั้นพบมากในอาหารขยะ เช่น น้ำอัดลม ลูกอม ขนมหวาน และถึงแม้งานวิจัยจะยังไม่ยืนยันว่า อาหารขยะจะส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นด้วยหรือไม่ แต่ก็แนะนำให้คุณลองสังเกตอาการของตัวเองดู หากกินอาหารขยะแล้วอาการของโรคสมาธิสั้นกำเริบ หรือแย่ลง ก็ควรลดหรืองดอาหารขยะดีกว่า การอดมื้อเช้า อาหารเช้าช่วยให้ร่างกาย จิตใจ และสมองของเรามีพลังงาน พร้อมเริ่มต้นวันใหม่ และสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องพบเจอได้ ทั้งยังช่วยให้คุณมีสมาธิและคิดอะไรได้ดีขึ้นด้วย ฉะนั้นต่อให้คุณไม่รู้สึกหิว ก็ควรหาอะไรรองท้องสักหน่อย โดยเน้นเป็นอาหารที่ให้พลังงานที่ดีต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ไข่ต้ม โยเกิร์ต การไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายหรือการขยับร่างกายเป็นประจำ จะช่วยให้สมองของคุณไบรท์ ทำงานได้ดี […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

สนทนากันผ่าน วิดีโอคอล ช่วยให้เราหายเหงาได้จริงไหม

การต้องอยู่ห่างจากคนที่เรารัก ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน คนรัก หรือแม้แต่การเปลี่ยนจากสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ เช่น เปลี่ยนทำงานที่ใหม่ เปลี่ยนที่อยู่ใหม่ บางครั้งก็ทำให้เรารู้สึกเหงา หรือรู้สึกโดดเดี่ยวขึ้นมาได้ง่าย ๆ ยิ่งช่วงนี้ ทั่วโลกกำลังเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 หลายคนอาจต้องกักตัว หรือต้องทำงานที่บ้าน ก็อาจทำให้ยิ่งเหงาเข้าไปใหญ่ เทคโนโลยีอย่าง วิดีโอคอล จึงกลายมาเป็นเครื่องมือที่คนเราใช้ติดต่อสื่อสารกันในช่วงเวลาเหล่านี้ ว่าแต่การพูดคุยกันผ่านวิดีโอคอล จะช่วยให้เราหายเหงาได้จริงไหม Hello คุณหมอ มีข้อมูลเรื่องนี้มาฝากกัน ความเหงาและโดดเดี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพ ความเหงาและความโดดเดี่ยว เป็นความรู้สึกที่มักเกิดขึ้นเมื่อเราต้องอยู่ตามลำพัง หรือต้องแยกตัวจากคนอื่น หรือต่อให้เราอยู่กับผู้คนมากมาย แต่หากเรารู้สึกว่าไม่ได้รับการใส่ใจหรือการสนับสนุน หรือรู้สึกเป็นทุกข์ ก็ทำให้เราเหงาและโดดเดี่ยวได้เช่นกัน แม้ความเหงาและความโดดเดี่ยวจะเป็นสภาวะที่พบได้ทั่วไป ไม่ว่าใครก็ต้องเคยเกิดความรู้สึกนี้ แต่หากปล่อยเอาไว้นาน ๆ ความเหงาและความโดดเดี่ยวก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่บางครั้งอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ งานศึกษาวิจัยหลายชิ้นเผยว่า ความเหงา ความโดดเดี่ยว และการอาศัยอยู่ตามลำพัง สามารถทำลายสุขภาพได้ไม่ต่างจากการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนักเกินไป และโรคอ้วน ยิ่งหากคุณต้องอยู่ตามลำพัง รู้สึกเหงา หรือโดดเดี่ยวอย่างกะทันหัน ในช่วงที่อยู่ในวัยสูงอายุ ก็ยิ่งทำร้ายสุขภาพได้มากขึ้นไปอีก ปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมความเหงาและความโดดเดี่ยว ปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรควิตกกังวล ทำให้มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือตัดสินใจฆ่าตัวตายจริง ๆ ปัญหาสุขภาพกาย เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ประโยชน์ของเสียงเพลงที่มีต่อสุขภาพ ที่คุณอาจไม่เคยรู้

เพลงนั้นมีหลายแนวด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นคลาสสิก ป็อป ร็อค หรือแม้แต่อะคูสติก ซึ่งแนวการฟังนั้นก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล แต่คุณรู้หรือไม่ว่าประโยชน์ของเสียงเพลงนอกจากจะให้ความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย เสียงเพลงยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย ประโยชน์ของเสียงเพลงที่มีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน ประโยชน์ของเสียงเพลงที่มีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง จากการวิจับเมื่อไม่นานมากนี้แสดงให้เห็นว่า การฟังเพลงช่วยเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีของจิตใจและช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีอย่างน่าประหลาดใจ การเรียนวิชาดนตรีหรือฝึกดนตรี สามารถช่วยยกระดับสติปัญญาและยังทำให้ฉลาดได้อีกด้วย และนี่คือ ประโยชน์ของเสียงดนตรีที่มีต่อสุขภาพ ทำให้มีความสุข จากงานวิจัยได้พิสูจน์ว่า เมื่อคุณฟังเพลงที่ชอบ สมองจะปล่อยสารโดพามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำให้รู้สึกดี Valorie Salimpoor นักประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย McGill ได้ฉีดสารกัมมันตรังสีที่จับกับตัวรับโดพามีนให้กับคนที่ชอบฟังเพลงจำนวน 8 คน หลังจากนั้นก็ให้พวกเขาได้ฟังเพลงโปรด จากการสแกนด้วยเครื่องเพ็ท (PET) แสดงให้เห็นว่า โดพามีนจำนวนมากถูกปล่อยออกมา ทำให้ผู้เข้าร่วมงายวิจัยทางชีวภาพ รู้สึกถึงอารมณ์ เช่น ความสุข และความตื่นเต้น ดังนั้นถ้าอยากอารมณ์ดีขึ้น แนะนำว่าให้ฟังเพลงโปรดเป็นเวลา 15 นาที ทำให้รู้สึกสงบ จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Ohio State การฟังเพลงโปรดสามารถลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยไอซียูประมาณ 1 ใน 3 นอกจากนั้นการฟังเพลงยังช่วยทำให้นอนหลับสนิทอีกด้วย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่ง Dr. Marcelo Bigliassi […]


โรควิตกกังวล

ใครที่ไม่ชอบทำฟัน อาจเพราะคุณเป็น โรคกลัวหมอฟัน (Dentophobia) ก็ได้นะ

หลายคนไม่ชอบไปหาหมอ โดยเฉพาะเมื่อเป็นหมอฟัน บางคนอาจไม่ได้ไปหาหมอฟันนานมาก จนจำไม่ได้แล้วด้วยซ้ำว่าไปหาหมอฟันครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ เวลาคนเราไม่อยากไปหาหมอฟัน ก็มักจะมีข้ออ้างต่าง ๆ นานา เช่น ไม่มีเวลาบ้างล่ะ ค่าทำฟันแพงไปบ้างล่ะ หรือหากจำเป็นต้องไปหาหมอฟันจริง ๆ ก็จะรู้สึกวิตกกังวลมากอย่างบอกไม่ถูก แต่คุณเคยคิดบ้างไหมว่า การที่ตัวเองไม่ชอบทำฟัน ไม่อยากไปหาหมอฟัน จริง ๆ แล้ว อาจเป็นเพราะคุณเป็น โรคกลัวหมอฟัน ก็ได้นะ ดังนั้น บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับโรคกลัวหมอฟันมาฝากกันค่ะ ทำความรู้จักกับ โรคกลัวหมอฟัน โรคกลัวหมอฟัน คืออะไร โรคกลัวหมอฟัน (Dentophobia) เป็นโรคกลัวที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ผู้เชี่ยวชาญเผยว่าคนวัยผู้ใหญ่ 7 ใน 10 เป็นโรคนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากประสบการณ์ฝังใจ หรือบาดแผลทางใจที่เกิดขึ้นในอดีต หรือไม่ก็ความกลัวเจ็บ พอไปทำฟันแล้วได้กลิ่นในคลินิกทำฟันที่ค่อนข้างเป็นกลิ่นเฉพาะตัว หรือได้ยินเสียงเครื่องมือทำฟัน ก็มักจะกระตุ้นให้นึกถึงอดีตที่เคยฝังใจ และรู้สึกกลัวขึ้นมา ในบางครั้งผู้ที่เป็นโรคกลัวหมอฟันก็เป็นโรคกลัวหมอ (Iatrophobia) หรือโรคกลัวเข็ม (Trypanophobia) ด้วย ประเภทของโรคกลัวหมอฟัน โรคกลัวหมอฟันสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้น และคนที่เป็นโรคกลัวหมอฟันส่วนใหญ่ก็มักจะมีปัจจัยกระตุ้นหลายชนิดรวมกัน หรือหากใครที่เป็นโรคกลัวหมอฟันขั้นรุนแรง ก็อาจกลัวทุกปัจจัยที่เกี่ยวกับการทำฟันเลยก็ได้ โดยประเภทของโรคกลัวหมอฟันนั้นแบ่งได้ตามปัจจัยต่อไปนี้ หมอฟัน โรคกลัวหมอฟันของคุณ อาจเกิดจากคุณเคยทำฟันกับหมอฟันบางคน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เลิกขี้เกียจ ได้ไม่ยาก ด้วยวิธีเหล่านี้

ความขี้เกียจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากทำกิจกรรม หรือหมดกำลังใจในการทำงาน เหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น วิธีเลิกขี้เกียจจึงอาจเป็นการจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มกำลังใจ ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น วิธีเลิกขี้เกียจสามารถทำได้อย่างไร ไม่ควรคิดว่าตัวเองต้องสมบูรณ์แบบ การหมกมุ่นในความสมบูรณ์แบบมากเกินไป อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ ผู้ที่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ มักจะคาดหวังว่าหนทางสู่เป้าหมายต้องได้มาอย่างง่ายดาย ทั้งที่ในความเป็นจริงเส้นทางสู่เป้าหมายอาจมีอุปสรรคอยู่เสมอ มีงานวิจัยเผยว่า ผู้ที่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบมักจะเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น จนนำไปสู่โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลได้ อีกทั้งคนกลุ่มนี้ยังชอบรับมือกับปัญหาด้วยวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกเลี่ยง (Avoidant coping) คือ มักไม่หาวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เอาแต่หลบเลี่ยงจนถึงที่สุด นอกจากนี้ โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลมักทำให้รู้สึกเฉื่อยชาเพิ่มขึ้นด้วย ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ที่ทำได้จริง หากเป้าหมายใหญ่หรือซับซ้อนเกินไป ก็อาจทำให้รู้สึกว่าการไปสู่เป้าหมายนั้นเป็นเรื่องยาก อาจทำให้รู้สึกขี้เกียจลงมือทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ฉะนั้น วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เลิกขี้เกียจ และสามารถพิชิตเป้าหมายที่ตัวเองวางไว้ให้สำเร็จ ควรการตั้งเป้าหมายให้เล็กและต้องเป็นเป้าหมายที่ทำได้จริงด้วย ฉลองให้กับชัยชนะของตนเอง เมื่อทำสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้แล้ว แม้จะเป็นแค่เป้าหมายเล็ก ๆ ก็ควรเฉลิมฉลองให้ความสำเร็จนั้นด้วย ซึ่งการเฉลิมฉลองเปรียบเหมือนการให้รางวัลตัวเองที่จะทำให้รู้สึกมีกำลังใจ และเป็นแรงกระตุ้นให้เลิกขี้เกียจ อยากลุกขึ้นมาทำเป้าหมายต่อ ๆ ไปให้สำเร็จ โดยสามารถฉลองด้วยกิจกรรมที่ชื่นชอบได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการไปสังสรรค์กับเพื่อน การซื้อเครื่องสำอางชิ้นใหม่ เป็นต้น ตราบใดที่วิธีการเหล่านั้นไม่ส่งผลเสียกับตัวเองและผู้อื่น เลิกขี้เกียจ ด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวน สิ่งรบกวนอาจทำให้รู้สึกขี้เกียจและรู้สึกไม่อยากทำอะไร เช่น การเล่นโซเชียลมีเดีย การเล่นเกม การเล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่กิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพอย่างการนอนหลับและการอ่านหนังสือ ก็กลายเป็นสิ่งรบกวนได้หากทำสิ่งเหล่านั้นผิดเวลา ฉะนั้นหากต้องการเลิกขี้เกียจให้ลุกขึ้นมาทำงานหรือธุระต่าง ๆ ให้สำเร็จ โดยวางโทรศัพท์มือถือไว้ให้ห่างมือ หรือปิดเครื่องไว้ก่อน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สัตว์เพื่อการบำบัด (Emotional Support Animal) ในวันที่สัตว์ช่วยให้เราดีขึ้นได้

สัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ช่วยให้เรารู้สึกมีความสุข แถมสัตว์ยังเป็นเพื่อนที่ดีกับเราอีกด้วย ในทางการแพทย์มีการใช้ สัตว์เพื่อการบำบัด (Emotional Support Animal) ซึ่งเป็นการใช้สัตว์เพื่อสนับสนุนผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางสุขภาพกายหรือปัญหาทางสุขภาพจิต ซึ่งสัตว์เหล่านี้ไม่ใช่ สัตว์เลี้ยง แต่เป็นสัตว์ที่มีการฝึกฝนมาเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้ป่วยนั้นดีขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับวิธีการใช้สัตว์เพื่อการบำบัดว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ไปอ่านกันเลยค่ะ สัตว์เพื่อการบำบัด (Emotional Support Animal)  คืออะไร สัตว์เพื่อการบำบัดนั้น เป็นสัตว์ที่มีการฝึกฝนมาเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต จุดประสงค์ของสัตว์เหล่านั้นคือการเป็นมิตร และช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ให้ดีขึ้น สัตว์เพื่อการบำบัดนั้นมีความหลากหลายมาก ระดับพื้นฐานก็คือ สุนัข แมว นอกจากนี้ยังมีเป็ด นกยูง ไก่งวงอีกด้วย แต่สัตว์ที่มักพบได้ทั่วไปสำหรับสัตว์บำบัดคือ สุนัขและแมว การใช้สัตว์เพื่อการบำบัดนั้นสามารถใช้ได้กับอาการป่วยหลายๆ อย่าง สภาวะป่วยทางจิตหลังจากเผชิญกับเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) ก็สามารถใช้สัตว์เพื่อการบำบัดได้เช่นกัน บางครั้งสัตว์เพื่อการบำบัดก็ไม่ใช้สัตว์ที่ผ่านการฝึกฝนหรืออบรมใด ๆ แต่เป็นสัตว์ที่มีคุณค่าทางจิตใจกับผู้ป่วย ประโยชน์ของการใช้สัตว์เพื่อการบำบัด จากการวิจัยพบว่าการเลือกใช้สัตว์เพื่อสนับสนุนทางอารมณ์นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพจิต โดยผลการวิจัยชี้ว่าผู้ที่ใช้สัตว์เพื่อการบำบัดนั้นมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น อารมณ์ดีขึ้น และยังมีความสามารถในดารรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นในยามวิกฤตได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้แล้วการบำบัดด้วยสัตว์เลี้ยงยังมีประโยชน์อื่นๆ อีก เช่น วิตกกังวลน้อยลง แค่การได้ลูบสัตว์ ร่างกายก็จะมีการตอบสนองต่อการผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวลและช่วยทำให้อารมณ์นั้นดีขึ้นได้ ลดความเจ็บปวดทางใจ ในเวลาที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่สร้างความปวดร้าวให้กับเรานั้น การได้มีสัตว์ใกล้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน