สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

การเสพติด

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ใจสะอาด น้ำไม่ต้องอาบก็ได้ แนวคิดขบขันหรือสัญญาณเตือน โรคกลัวการอาบน้ำ

บทความนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคกลัวการอาบน้ำ ที่หลายคนพอได้ยินชื่อแล้ว อาจจะสงสัยว่ามันมีโรคนี้อยู่บนโลกจริงๆหรือไม่ แต่โรคกลัวการอาบน้ำนี้เป็นความกลัวที่มีอยู่จริงค่ะ และจำเป็นต้องได้รับการรักษา เพราะถ้าหากปล่อยไว้ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาแน่นอน “โรคกลัวการอาบน้ำ” อีกหนึ่งโรคแปลกที่มีอยู่จริง โรคกลัวการอาบน้ำ(Ablutophobia) เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการโรควิตกกังวลที่ส่งผลให้เกิดเป็นความกลัว (Phobia) ตามลำดับ โดยผู้ป่วยจะเกิดอาการกลัวอย่างรุนแรง หากต้องมีการทำความสะอาดเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดร่างกาย เช่น การอาบน้ำ หรือการทำความสะอาดสิ่งของ เช่น การซักล้าง การซักผ้า โรคนี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก แต่ถ้าในวัยผู้ใหญ่ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ สาเหตุ ที่ทำให้คุณเป็นโรคกลัวการอาบน้ำ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม อาจมีผลเนื่องมาจากความทรงจำในวัยเด็ก เช่น การถูกพ่อแม่ทำโทษอย่างรุนแรงสมัยเด็กที่ไม่ยอมอาบน้ำ การไม่อาบน้ำเป็นประจำสม่ำเสมอทำให้ไม่คุ้นชิน การถูกพ่อแม่จู้จี้จุกจิกบ่อยสมัยในวัยเด็กๆ เป็นต้น ประสบการณ์ที่น่ากลัว การได้รับอันตรายหรือการบาดเจ็บหลังจากประสบการณ์ที่น่ากลัว หรือเจ็บปวดจากการอาบน้ำ เช่น หกล้มขณะอาบน้ำ หัวฟาดพื้นขณะอาบน้ำ  นอนแช่อ่างอาบน้ำแล้วเผลอหลับจมน้ำ เป็นต้น การส่งผ่านทางพันธุกรรม พฤติกรรมและความกลัวแฝงต่างๆ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล จากพ่อแม่นั้นถูกถ่ายทอดสู่ลูกผ่านทางยีนที่อยู่ในโครโมโซม ลูกจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีความกลัวเหมือนที่พ่อแม่รู้สึกด้วยเช่นกัน ความผิดปกติทางสมอง เมื่อสมองเกิดความผิดปกติได้รับความกระทบกระเทือนหรืออาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด เช่น การอาบน้ำ การซักผ้า การล้างจาน อาจส่งผลให้เราเกิดอาการกลัวในสิ่งนั้นๆได้ อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจเข้าข่ายเป็นโรคกลัวการอาบน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง หายใจติดขัด เหงื่ออก ปวดศีรษะ ตัวสั่น หัวใจเต้นแรง ผลกระทบจากการไม่อาบน้ำ หากคุณไม่อาบน้ำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้ ปัญหาโรคผิวหนัง หากไม่อาบน้ำเป็นประจำแล้วล่ะก็ รับรองได้เลยว่าคุณต้องมีปัญหาเกี่ยวกับด้านผิวหนังอย่างแน่นอน เช่น เชื้อรา สิว อาการคัน และยิ่งถ้าคุณเกาทุกครั้งที่มีอาการคัน เชื้อโรคเหล่านั้นย่อมเข้าไปสู่ผิวของคุณได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เช็คให้ชัวร์ ลูกขี้เกียจไปโรงเรียน หรือว่าเป็น โรคกลัวโรงเรียน

ลูกร้องไห้งอแง ไม่ยอมไปโรงเรียนทุกเช้า เป็นปัญหาที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนหนักใจ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจและสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยเป็นพิเศษว่าเพราะเหตุใดกันแน่นะที่ทำให้ลูกรักของเราร้องไห้ ไม่ยอมไปโรงเรียน เป็นเพราะขี้เกียจ โดนเพื่อนรังแก หรือจริงๆแล้วลูกของคุณเป็น โรคกลัวโรงเรียน กันแน่ จะเป็นเพราะสาเหตุใดนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ พาไปหาคำตอบด้วยกันค่ะ ทำความรู้จัก โรคกลัวโรงเรียน (School Phobia) โรคกลัวโรงเรียน (School Phobia) เป็นอาการที่เกิดความวิตกกังวลภายในจิตใจ เช่น โดนเพื่อนรังแกที่โรงเรียน โดนคุณครูทำโทษแบบรุนแรง การโดนกระทำเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียนด้วยเช่นกัน โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 4-6 ขวบขึ้นไปจนถึงเด็กโต นอกจากความกังวล ความกลัวที่เกิดขึ้นกับเด็กแล้ว สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เรื่องของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กในโรงเรียน ทำไมลูกจึงไม่อยากไปโรงเรียน มีสาเหตุจากอะไรกันนะ เกิดจากอาการของโรคทางจิตเวชร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคบกพร่องทางการเรียน เป็นต้น มีปัญหากับเพื่อร่วมชั้นในห้องเรียน เข้ากับเพื่อนๆไม่ได้ ก็อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการไม่อยากไปโรงเรียนได้เช่นเดียวกัน ลูกไม่อยากไปโรงเรียนเพราะสาเหตุอาจเกิดจากการไม่อยากโดนพลัดพรากจากพ่อแม่จึงทำให้เกิดสภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน ปัจจัยกระตุ้นจากภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงในครอบครัวต่างๆ อาทิ พ่อแม่หย่าร้าง การสูญเสียสมาชิกในครอบครัว การเปลี่ยนโรงเรียน  เพื่อนแกล้ง กลัวเพื่อน เป็นต้น จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกขี้เกียจไปโรงเรียน หรือเป็นโรคกลัวโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นใส่ใจดูแลและสังเกตพฤติกรรมของลูกเป็นพิเศษ หากมีภาวะเป็นโรคกลัวโรงเรียน จะมีลักษณะอาการดังต่อไปนี้ เด็กมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการไปโรงเรียน โดยมักแสดงคำพูดก่อนวันไปโรงเรียนกับพ่อแม่ว่า ไม่อยากไปโรงเรียน มีความเครียด ความกังวลจนแสดอาการทางกาย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวผู้ชาย มีอาการอย่างไรถึงเข้าขั้นป่วย

โรคกลัวผู้ชาย เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่พบในวัยรุ่นผู้หญิง ซึ่งเป็นโรคที่ไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล หรือรู้สึกโดนคุกคามเมื่อต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม หากมีอาการมากในระดับรุนแรงและไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคมได้ [embed-health-tool-bmi] โรคกลัวผู้ชาย คืออะไร โรคกลัวผู้ชาย (Androphobia) เกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย แต่ส่วนใหญ่จะพบในวัยรุ่นเพศหญิง โดยสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ผู้ป่วยจะหลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับเพศชาย หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นไม่กล้าพูดคุยกับผู้ชายเลย สาเหตุของโรคกลัวผู้ชาย โรคกลัวผู้ชายเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากประสบการณ์เลวร้ายที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก โดยความกลัวขณะนั้นจะถูกบันทึกไว้ที่ ต่อมใต้สมองส่วนกลาง (Hypothalamus) ทำให้รู้สึกถึงอาการกลัวอยู่ซ้ำ ๆ จนกลายเป็นความกลัวที่แสดงออกมา อย่างไรก็ตามโรคกลัวผู้ชายอาจมีสาเหตุมาจากการเห็นเหตุการณ์ที่น่ากลัวจากสื่อต่าง ๆ เช่น ข่าวการข่มขืน การทำร้ายร่างกาย หรือฉากรุนแรงในละคร อาการโรคกลัวผู้ชาย โรคกลัวผู้ชายมีลักษณะอาการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อาการที่แสดงออกทางร่างกาย และอาการที่แสดงออกทางพฤติกรรม ดังนี้  อาการที่แสดงออกทางร่างกาย คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก ตัวสั่น เหงื่อออกบ่อย หายใจติดขัด หัวใจเต้นเร็ว อาการที่แสดงออกทางพฤติกรรม วิตกกังวล รู้สึกสูญเสียความเป็นตัวเอง ประหม่า รู้สึกอับอาย รู้สึกกลัวขึ้นมาทันทีแบบไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกเหมือนตัวเองโดนคุกคาม วิธีรักษาโรคกลัวผู้ชาย โรคกลัวผู้ชายสามารถรักษาให้หายได้ ด้วยวิธีดังนี้ วิธีรักษาแบบพฤติกรรมบำบัด หรือที่เรียกว่า บำบัดโดยใช้เทคนิคการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว (Graded Exposure […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อยากมีรักแต่ไม่อยากผูกพัน โรคกลัวการผูกมัด เมื่อหัวใจดวงนี้ไม่อยากเสียใจ

อยู่คนเดียวก็เหงา พอมีใครสักคนกลับอยากอยู่คนเดียว ลองถามใจตัวเองดูสิคะว่า ที่คุณโสดอยู่ทุกวันนี้ เป็นเพราะคุณยังไม่เจอคนที่ใช่ เหมือนเจอรองเท้าที่ถูกใจแต่ไม่มีไซต์ หรือแท้จริงในหัวใจดวงน้อยๆของคุณกลัวการผูกมัด กลัวการเสียใจอยู่กันแน่  หาคำตอบให้กับหัวใจของคุณได้แล้ววันนี้ กับ Hello คุณหมอค่ะ ทำความรู้จักโรคกลัวการผูกมัด (Commitment Phobia) โรคกลัวการผูกมัด เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย โดยคนส่วนใหญ่คิดว่าโรคนี้คือคนที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง คิดว่าตัวเองรูปร่างหน้าตาไม่ดี แต่จริงๆแล้วโรคนี้คือโรคหรือภาวะที่กลัวการตกลงใจที่จะทำพฤติกรรมร่วมกับผู้อื่นโดยมีคำสัญญาการผูกมัดในรูปแบบต่างๆ เช่น การคบกันในสถานะแฟน กลัวการแต่งงาน ถ้าฝ่ายตรงข้ามเร่งรัด ผูกมัด เพื่อต้องการคำตอบแล้วล่ะก็ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ หวาดระแวง  สุดท้ายความสัมพันธ์ที่มีต่อกันต้องเป็นอันจบลงในที่สุด โรคกลัวการผูกมัด มีสาเหตุมาจากอะไรกันนะ สาเหตุของโรคกลัวการผูกมัดนี้เกิดจากความฝังใจในอดีตที่ทำเราเสียใจมาก่อน เช่น การอกหักถูกคนรักทิ้งไปแบบไม่มีเหตุผล คู่รักไม่สนใจ โดนเพื่อนหักหลัง  กลัวการเสียอิสระ และปัญหาความสัมพันธ์ที่ไม่ดีในครอบครัว เป็นต้น 5 สัญญาณเตือน ว่าคุณเป็นโรคกลัวการผูกมัด เป็นคนที่คาดเดาอะไรไม่ได้ มักเปลี่ยนแปลงความคิดอยู่ตลอดเวลา อยากมีความสัมพันธ์แบบคุยกับอีกฝ่ายไปเรื่อยๆ แต่ไม่อยากมีสถานะเป็นแฟน เมื่อความสัมพันธ์เริ่มจริงจังมากขึ้น จะรู้สึกลำบากใจ อยากหนีไปไกลๆ ชอบอยู่กับตัวเอง ไม่มีเพื่อนสนิท ไม่มีคนรู้จักเยอะ เพราะคิดว่าไม่มีใครน่าไว้ใจเท่ากับตัวเอง ไม่กล้าแสดงความรู้สึกต่อผู้อื่น เช่น ไม่เคยเอ่ยคำว่า รัก หรือ เรียกใครว่า แฟน รับมืออย่างไร หากแฟนของคุณเป็นโรคกลัวการผูกมัด ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันมากขึ้น ศึกษานิสัยใจคอกันให้มากขึ้น พูดคุยบ่อยๆ ให้รู้ว่าเขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ไม่เร่งรัดคนรัก […]


โรควิตกกังวล

เห็นหนังสือแล้วขอลา ไม่ใช่เพราะขี้เกียจ แต่อาจเป็นอาการของ โรคกลัวหนังสือ

“ถ้าจะให้อ่านหนังสือ ฉันขอตายดีกว่า” บางครั้งนั่นอาจไม่ใช่แค่ความรู้สึกขี้เกียจ แต่อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติบางอย่างที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เพราะไม่แน่ว่าคุณอาจกำลังมีอาการของโรคกลัวหนังสืออยู่ก็เป็นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาคุณผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับอาการและความกลัวแบบแปลก ๆ อย่าง โรคกลัวหนังสือ กันค่ะ โรคกลัวหนังสือ (Bibliophobia) คืออะไร สภาวะของโรคกลัวหนังสือ หรือก็คืออาการความรู้สึกที่ไม่ปกติต่อหนังสือ อาจมีอาการหวาดกลัว และไม่อยากอยู่ใกล้หนังสือ ไปจนถึงเกลียดที่จะต้องอ่านหนังสือ แต่ไม่ใช่ว่าอาการนี้จะเป็นกับหนังสือทุกเล่ม บางคนมีอาการแค่กับหนังสือบางประเภทเท่านั้น เช่น นิทานสำหรับเด็ก หนังสือประวัติศาสตร์ หรือหนังสือเรียน อาการกลัวหนังสือนั้น อาจทำให้รู้สึกลำบากใจ เหมือนว่ากำลังถูกบังคับให้ต้องอ่านหนังสือ ไม่อยากแม้แต่จะแตะต้องหนังสือ และหากจะต้องเข้าไปอยู่ในห้องสมุด ก็จะรู้สึกวิตกกังวลขึ้นมาเสียอย่างนั้น อาการของ โรคกลัวหนังสือ เป็นอย่างไร อาการของโรคกลัวหนังสือนั้น คล้ายกับอาการกลัวต่อสิ่งต่าง ๆ อย่าง กลัวผี กลัวงู หรือโรคกลัวรู คือ มีอาการตัวสั่น เหงื่อออกมากผิดปกติ รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว และวิตกกังวลกับสภาพแวดล้อมตรงหน้า ทำไมคนเราถึงเป็นโรคกลัวหนังสือ โรคกลัวหนังสือมีการกล่าวถึง และปรากฏขึ้นในหนังสือเมื่อศตวรรษที่ 18 ซึ่งในสมัยนั้นเป็นที่เชื่อกันว่าความกลัวประเภทนี้มีที่มาจากข้อจำกัดในการอ่านหนังสือ ความเชื่อเกี่ยวกับโชคลาง ความอิจฉาริษยา และความหวาดกลัว แต่ในปัจจุบัน มีการสันนิษฐานว่าความกลัวหนังสือ น่าจะมีที่มาและสาเหตุจากปัจจัยต่าง ๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคศพเดินได้ อาการทางจิต ที่หลงคิดว่าตัวเอง ตายไปแล้ว

พี่มองเห็นหนูด้วยเหรอ? หนูตายไปแล้วไม่ใช่เหรอ?  คำพูดเหล่านี้ฟังดูแล้วอาจจะเหมือนเป็นเรื่องตลก แต่เรื่องนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นจริง โรคนี้เรียกว่า โรคศพเดินได้ เป็นอาการทางจิตแปลกๆ ที่หาได้ยาก และไม่ค่อยจะเป็นที่รู้จักกันสักเท่าไหร่ วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำเรื่องน่ารู้ดีๆ เกี่ยวกับโรคศพเดินได้ โรคศพเดินได้ เป็นอย่างไรกันแน่ โรคศพเดินได้ (Cotard Delusion หรือ Walking Corpse Syndrome) เป็นสภาวะทางจิตที่หายากสภาวะหนึ่ง มีลักษณะเด่นคือ ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีความเข้าใจว่า ตัวเองได้ตายไปแล้ว หรืออาจจะคิดว่าส่วนหนึ่งของร่างกายตัวเอง เช่น แขน ขา หรือแม้กระทั่งวิญญาณของตัวเองได้ตายไปแล้ว หรือไม่มีอยู่จริง อาการหลักของ “โรคศพเดินได้” หนึ่งในอาการหลักของโรคศพเดินได้ ก็คืออาการหลงผิด อาการหลงผิดที่เชื่อว่าโลกใบนี้ไม่มีสิ่งใดที่มีค่าหรือมีความหมาย และอาจรวมไปจนถึงความเชื่อที่ว่าไม่มีสิ่งใดที่มีอยู่จริง ผู้ที่เป็นโรคศพเดินได้นั้นจะมีความรู้สึกเหมือนว่าตัวเองได้ตายไปแล้ว หรือเน่าสลายไปแล้ว หรือในบางกรณีอาจถึงขั้นเชื่อว่าตัวเองไม่มีตัวตนอยู่จริงๆ โรคนี้มีความใกล้เคียงอย่างมากกับโรคซึมเศร้า งานวิจัยได้พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคศพเดินได้กว่า 89% จะมีอาการของโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ก็อาจจะมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น วิตกกังวล เกิดภาพหลอน คิดไปเองว่าป่วย รู้สึกผิด หมกมุ่นอยู่กับความคิดที่จะทำร้ายตัวเองหรือความตาย หนึ่งในกรณีตัวอย่างคือเมื่อปี 2012 มีชายชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งเชื่อว่าตัวเองนั้นได้ตายไปแล้ว และได้ไปหาแพทย์เพื่อทำการตรวจสอบดูว่าจริงหรือไม่ พอจิตแพทย์ถามเขาว่า เขาคิดว่าคนที่ตายไปแล้วจะสามารถพาตัวเองมาหาแพทย์ได้เหรอ เขาก็บอกว่าคำถามนี้ตอบยากจริงๆ แต่ก็ยังคงไม่สามารถเลิกเชื่อได้ว่าตัวเขาตายไปแล้ว ในท้ายที่สุดแล้ว แม้ว่าเขาจะตอบสนองกับการรักษา แต่เขาก็ยังคงมีความเชื่อว่าเขาเคยตายไปแล้วหนหนึ่งอยู่ดี ใครบ้างจะมีโอกาสเสี่ยงที่เป็นโรคศพเดินได้ ในปัจจุบันนั้นนักวิจัยยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคศพเดินได้ แต่อาจมีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่ทำให้คุณมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้อื่น แม้ว่าโรคศพเดินได้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ แต่อายุโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยที่พบได้มากที่สุด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อาการแคปกราส์ โรคทางจิตใหม่ ที่อาจกระทบต่อความทรงจำได้

คุณเคยพบเห็นลักษณะนิสัยของตัวละครบางเรื่องหรือไม่ โดยเฉพาะนางร้ายที่ไม่สมหวังกับพระเอก แล้วเกิดอาการโมโห เสียใจ จนคล้ายคนผิดปกติทางจิต จินตนาการว่าตนเองเป็นคนสมหวัง ไล่ตามอาละวาดนางเอกสารพัด พฤติกรรมที่ได้กล่าวมานี้เรียกว่า อาการแคปกราส์ โรคทางจิตที่มีอยู่ในโลกความเป็นจริงไม่แพ้โลกของละครเลยทีเดียว มารู้จักกับอาการนี้อย่างละเอียดในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนกัน รู้จักกับ อาการแคปกราส์ ให้มากขึ้นกันเถอะ อาการแคปกราส์ (Capgras syndrome) คือความผิดปกติทางจิตที่หลงเชื่อในสิ่งที่เห็นแบบผิดๆ ยกตัวอย่างเช่น กรณีการมีสมรสของบ่าวสาวคู่หนึ่ง เมื่อผู้ป่วยพบเห็นภาพคล้ายเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในความทรงจำ อาจกล่าวหาเจ้าบ่าว หรือเจ้าสาวว่าเป็นตัวปลอม และคิดร้ายต่อคู่สมรสของเขาได้ แท้ที่จริงแล้วในสายตาของผู้อื่นมิได้เป็นอย่างนั้น อาการแคปกราส์นีมีสาเหตุเชื่อมกับผู้ป่วยทางระบบประสาท อัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อม หรือได้รับอุบัติเหตุรุนแรงภายในสมอง ทำให้ความทรงจำได้รับความเสียหายส่งผลให้มีอาการจำผิดจำถูก จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารโรคอัลไซเมอร์รวมถึงอาการแคปกราส์ ได้ศึกษาในผู้ป่วยทั้งหมด 650 คน ที่มีโรคทางระบบประสาทต่างๆ การศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยที่แสดงกิริยาอาการแคปกราส์เกิดขึ้นถึงร้อยละ 16 ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และร้อยละ 16 ของผู้มีภาวะสมองเสื่อมอีกด้วย สังเกตอย่างไร ว่าคนใกล้ตัวคุณกำลังเข้าข่ายอาการแคปกราส์ อาการนี้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางรายอาจมีอาการหงุดหงิดร่วมด้วย แต่อาการที่เห็นได้ชัดที่สุดนั้น คือการเข้าใจในสิ่งที่เห็นจากถูกกลายเป็นผิด โดยกล่าวหาด้วยถ้อยคำรุนแรง หรือมีพฤติกรรมทำร้ายร่างกายต่อผู้ที่เขาคิดว่าคนนั้นคือคนที่ตัวปลอม แอบแฝง จนนำไปสู่ความกังวล ความเครียดให้สังคมรอบข้างได้ วิธีดูแลให้อาการบรรเทาลง เริ่มต้นง่ายๆ จากคนในครอบครัว หลีกเลี่ยงการถกเถียง พยายามปลอบโยนให้เขาอารมณ์เย็นลงเมื่อเริ่มมีอาการ รับฟังในสิ่งที่เขาพูดคุย หลอกล่อให้ผู้ป่วยออกไปจากบริเวณนั้น หรือบอกบุคคลที่ถูกกล่าวหาให้ออกไปจาก ณ สถานที่นั้นก่อน ยังไม่มีข้อมูลถึงการรักษาอาการแคปกราส์ที่มากพอ […]


สุขภาพจิต

ASMR เสียงชวนฟิน ฟังแล้วเพลิน แถมยังดีต่อสุขภาพด้วย

คุณเคยเป็นแบบนี้ไหม แค่ได้ยินเสียงกระซิบข้างหู มีคนลูบผม หรือนวดแขนให้ ก็รู้สึกฟิน ขนลุก ผ่อนคลาย และหลับง่ายขึ้นอย่างบอกไม่ถูก หากคุณเคย เราเรียกภาวะนั้นว่า “ASMR” (เอเอสเอ็มอาร์) ซึ่งคุณน่าจะเคยได้ยินคำนี้กันบ่อยๆ เพราะในปัจจุบัน ภาวะนี้กลายเป็นปรากฏการณ์ยอดฮิตทางอินเตอร์เน็ต และคุณสามารถค้นหาคลิปวิดีโอแนวนี้ ไม่ว่าจะเป็นคลิปกิน คลิปทำเสียงกระซิบ เสียงพลิกหน้าหนังสือ และอื่นๆ อีกมากมาย ได้เป็นล้านๆ คลิปในหลายแพลตฟอร์ม และคลิปหรือเสียงเหล่านั้น ก็ไม่ใช่แค่ฟังเพลิน แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ในแบบที่คุณอาจคาดไม่ถึง ASMR คืออะไร คำว่า ASMR ย่อมาจาก Autonomous Sensory Meridian Response หมายถึง “การตอบสนองต่อประสาทรับความรู้สึกอัตโนมัติ” พูดง่ายๆ คือ เป็นความรู้สึกฟิน รู้สึกสงบ ปลอดภัย และผ่อนคลาย หรือขนลุกแบบแปลก ๆ เริ่มจากหนังศีรษะ ไล่ลงไปตามต้นคอ กระดูกสันหลังและแขนขา ซึ่งมักเกิดขึ้นเพราะมีสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้า เช่น กิจกรรม ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียงบางอย่าง เช่น เสียงกระซิบ เสียงเคี้ยว […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคใคร่เด็ก (Pedophilia) อาการทางจิตอันตราย ที่อาจกลายเป็นปัญหาสังคม

การล่วงละเมิดทางเพศ โดยเฉพาะการล่วงละเมิดเด็กนั้นถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมที่มีความรุนแรง และส่งผลกระทบต่อทั้งบุคคลและสังคม แต่หลายคนอาจยังไม่รู้จัก หรือไม่คุ้นเคยกับ โรคใคร่เด็ก ที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาเหล่านี้ โรคใคร่เด็กนั้นมีอาการเป็นอย่างไร และสามารถรักษาได้หรือไม่ มาหาคำตอบได้จากบทความนี้ โรคใคร่เด็ก คืออะไร โรคใคร่เด็ก (Pedophilia) นั้นเป็นความผิดปกติทางจิตประเภทหนึ่ง ใช้เรียกผู้ที่เกิดความต้องการทางเพศกับเด็กที่อายุน้อยมากๆ อายุโดยเฉลี่ยคือประมาณ 13 ปี หรือต่ำกว่านั้น โดยเฉพาะเมื่อได้เห็น ใกล้ชิด หรือสัมผัสกับตัวเด็ก พวกเขาจะหลงใหลในสรีระและร่างกายของเด็กที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ และมองเด็กเหล่านี้เป็น “วัตถุทางเพศ” และไม่มี ความต้องการทางเพศ หรือความสนใจในคนที่วัยใกล้เคียงกัน มีหลายกรณีที่ผู้ป่วยโรคใคร่เด็กอาจจะรักเด็กสักคนหนึ่ง และเลิกสนใจเขาเมื่อเด็กคนนั้นโตขึ้น และหันไปสนใจเด็กคนอื่นแทน โดยปกติโรคนี้มักจะเกิดกับผู้ชายมากกว่า และพวกเขาอาจจะสนใจเด็กทั้งสองเพศ จะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นโรคใคร่เด็ก การจะสังเกตว่าใครเป็นโรคใคร่เด็กนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก เพราะการจะเป็นผู้ป่วยโรคใคร่เด็กตามความหมายทางการแพทย์นั้นไม่ได้หมายถึงคนที่มีความสัมพันธ์กับผู้ที่อายุน้อยกว่ามากๆ และไม่ได้หมายถึงผู้ที่มี พฤติกรรม ทารุณกรรมหรือล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก เราสามารถทำการวินิจฉัยโรคใคร่เด็กได้โดยไม่ต้องรอให้เขาก่ออาชญากรรมกับเด็ก ความจริงแล้ว มีผู้ป่วยโรคใคร่เด็กหลายคนที่ไม่ได้เป็นอาชญากร ไม่ได้ลงมือกระทำใดๆ กับเด็ก แม้ว่าพวกเขาจะรู้สึกดึงดูดต่อเด็กก็ตาม และมีผู้ที่ล่วงละเมิดทางเพศเด็กจำนวนมากที่ไม่ได้เป็นโรคใคร่เด็ก คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM IV-TR) ได้ระบุลักษณะของผู้ป่วย โรคใคร่เด็ก ดังต่อไปนี้ ผู้ที่มี ความต้องการทางเพศ การเร้าอารมณ์ทางเพศ หรือพฤติกรรมทางเพศกับเด็กวัยก่อนหนุ่มสาว หรือเด็กเล็กที่มีอายุประมาณ 13 ปี หรือต่ำกว่านั้น ผู้ที่ได้กระทำตาม […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

วิธีเพิ่ม เซโรโทนิน สารต่อต้าน ภาวะซึมเศร้า

เซโรโทนิน เป็นสารเคมีอย่างหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น มีคุณสมบัติเป็นสารที่ใช้ในการสื่อประสาทและเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทกับร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบการย่อยอาหาร การนอนหลับ หรือการเบื่ออาหาร และที่สำคัญเซโรโทนินนั้นมีส่วนในการควบคุมอารมณ์ ซึ่งหากร่างกายไม่มีความสมดุลของสารนี้อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มี วิธีเพิ่ม เซโรโทนิน ที่ง่ายและเห็นผลมาฝากกันค่ะ [embed-health-tool-bmr] เซโรโทนิน (Serotonin) คืออะไร เซโรโทนิน เป็นสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้น มีหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ ช่วยให้ร่างกายนอนหลับได้ดี และช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ซึ่งเป็นสารที่มีหน้าที่ในการสื่อประสาท ส่วนใหญ่แล้วพบได้ในระบบย่อยอาหาร เกล็ดเลือดและระบบประสาทต่างๆ ในร่างกาย เซโรโทนินเป็นสารที่เกิดขึ้นจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ได้จากอาหารประเภท ถั่ว ชีส และเนื้อแดง หากร่างกายขาดกรดอะมิโนทริปโตเฟน จะส่งผลให้ระดับเซโรโทนินในร่างกายน้อยลง และอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น โรควิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า เซโรโทนินส่งผลต่อโรคซึมเศร้าอย่างไร เซโรโทนิน เป็นสารที่ช่วยควบคุมให้อารมณ์มีความคงที่ เมื่อระดับเซโรโทนินอยู่ในระดับปกติ เราจะรู้สึกมีความสุข รู้สึกสงบ มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ และวิตกกังวลน้อยลง จากการศึกษาในปี 2007 พบว่าผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามัก จะมีระดับเซโรโทนินในร่างกายน้อย การที่ร่างกายมีระดับเซโรโทนินต่ำนั้น ส่งผลให้เกิดโรควิตกกังวลและโรคนอนไม่หลับ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระดับเซโรโทนินในเลือดจะอยู่ที่ 101-283 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร แต่ระดับเซโรโทนินจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกอื่นๆ ด้วย หากร่างกายมีระดับเซโรโทนินมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดเนื้องอกคาร์ซินอยด์ (Carcinoid Syndrome) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน