สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

การเสพติด

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รำคาญเสียงรอบข้าง เสี่ยงเข้าสู่ ภาวะมีโซโฟเนีย หรือเปล่านะ?

หากคุณกำลังมีอารมณ์หงุดหงิด รำคาญ กับเสียงเล็กเสียงน้อย เช่น เสียงเคี้ยวอาหารจากคนรอบข้าง เสียงพูดคุย เสียงกดปากกา ฟันธงได้เลย คุณกำลังเข้าสู่ ภาวะมีโซโฟเนีย แน่นอน แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนได้รู้ถึงวิธีรับมืออย่างปลอดภัย เพื่อให้การทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันนั้นง่ายขึ้น รู้จักกับ ภาวะมีโซโฟเนีย อาการของคนไม่ชอบเสียง มีโซโฟเนีย (Misophonia)  เป็นคำภาษากรีกโบราณแปลว่า “ความเกลียดชังด้านเสียง” หรืออาการผิดปกติต่อการตอบสนองทางด้านอารมณ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) กลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette syndrome) และอาจได้รับการสืบทอดของภาวะนี้จากทางพันธุกรรมที่รับในครอบครัว เมื่อผู้ป่วยได้รับเสียงบางอย่างโดยเฉพาะเสียงเคี้ยวอาหาร ซึ่งสามารถทำให้พวกเขาเกิดความหงุดหงิด และแสดงกิริยาอาการเกรี้ยวโกรธ ตื่นตระหนก จนหนีเตลิดออกไปจากเสียง หรือบริเวณเหล่านั้น มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้เริ่มศึกษาภาวะมีโซโฟเนียนี้ โดยทีมวิจัยจากอังกฤษ ได้นำอาสาสมัครในช่วงวัยผู้ใหญ่จำนวน 20 คน รับเสียงที่แตกต่างกันออกไปแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ  กลุ่มแรกเป็นเสียงทั่วไป เช่น เสียงหายใจ เคี้ยวอาหาร  กลุ่มที่สองอยู่ในเสียงรบกวนระดับสากล เช่น ทารกร้อง ผู้คนกรี๊ดกร๊าด กลุ่มที่สามเสียงที่เป็นกลาง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ผลสรุปเป็นไปตามที่ทีมวิจัยได้คาดการณ์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวการถูกสัมผัส รักษาอย่างไร เพื่อให้เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น

ส่วนมาก โรคกลัวการถูกสัมผัส เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในผู้หญิง มากกว่าเพศอื่นๆ เมื่อจำเป็นที่คุณต้องออกไปทำธุระด้านนอก พบเจอผู้คนที่เสี่ยงต่อการถูกเนื้อต้องตัว ทำให้มีความรู้สึกหวาดกลัว จนจำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่เพียง ลำพังเข้าสังคมได้ยาก ไม่สามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนหมู่มากได้ เช่น ไปปาร์ตี้ หรือแฮงค์เอ้าท์ รวมทั้งทำงานร่วมกับบุคคลอื่นๆ ได้ค่อนข้างลำบาก  วันนี้ Hello คุณหมอ มีแนวทางการรักษา เพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตประจำวันกันได้อย่างมีความสุขขึ้น โรคกลัวการถูกสัมผัส (Aphenphosmphobia) คืออะไร เป็นโรคเกี่ยวกับความวิตกกังวลที่มีลักษณะกลัวการถูกสัมผัสร่างกาย โดยเฉพาะกับเพศตรงข้าม หรือคนแปลกหน้าที่ตัวผู้ป่วยไม่ได้รับการยินยอม ทำให้เกิดความไม่สบายใจเมื่อต้องอยู่ในที่คนพลุกพล่าน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์สะเทือนจิตใจตั้งแต่เยาว์วัย หรือช่วงวัยกลางคน เช่น ถูกละเมิดทางเพศ การใช้ความรุนแรง (ทำร้ายร่างกาย) อาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณโดนสัมผัสร่างกาย รู้สึกกลัว วิตกกังวล และอารมณ์โกรธทันที เมื่อถูกการสัมผัส เมื่อถูกสัมผัสร่างกาย จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น เหงื่อออก ร่างกายรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ เป็นลม หมดสติกะทันหัน อาการข้างต้นนี้สามารถส่งผลให้คุณก่อเกิดโรคความกลัวอื่นๆ อีกดังนี้ ความกลัวเชื้อโรค (mysophobia) : เป็นโรคความกลัวที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสิ่งปนเปื้อน หรือการสัมผัสกับสิ่งที่ไม่สะอาด เช่น ฝุ่นละอองบนโต๊ะ ความกลัวฝูงชน (ochlophobia) : คือภาวะที่ผู้ที่ป่วยมีความกลัวสังคม หรือฝูงชนเยอะๆ ในที่สาธารณะ เพราะจะทำให้เกิดความกังวล หวาดกลัวต่อการโดนสัมผัสจากผู้คนแปลกหน้า หากคุณอยู่กับภาวะนี้เป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา ส่งผลให้คุณเป็นโรคซึมเศร้าได้ ในอนาคต ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพทางด้านจิตใจอย่างมากเลยทีเดียว วิธีรักษาให้อาการบรรเทาลง […]


การเสพติด

เล่มเกมมากไป ระวังกลายเป็น "โรคติดเกม"

การเล่นเกมเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมนันทนาการที่ช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย หายเครียดได้ หากบางวันคุณรู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงาน เพียงหยิบเกมขึ้นมาเล่น ก็ทำให้เรารู้สึกอารมณ์ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณเล่นเกมมากจนเกินไปจนติดเกมแบบงอมแงมแล้วล่ะก็ คุณอาจกลายเป็น โรคติดเกม โดยไม่รู้ตัว วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันมากขึ้นพร้อมวิธีการป้องกันก่อนที่คุณจะกลายเป็นโรคนี้แบบถอนตัวไม่ขึ้น ทำความรู้จักกับ โรคติดเกม (Gaming disorder) โรคติดเกม (Gaming disorder) เป็นโรคทางจิตเวชที่ผู้ป่วยมีอาการเสพติดการเล่นเกมจนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ ต้องการเล่นเกมอย่างต่อเนื่องและเล่นเกมในแต่ละครั้งเป็นระยะเวลายาวนานขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่สนใจกิจกรรมอื่น ๆ โรคนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมองในส่วนการยับยั้งชั่งใจ เช่น เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น ไม่สามารถควบคุมการเล่นเกมได้เนื่องจากพวกเขาขาดความยับยั้งชั่งใจ 5 สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคติดเกม ตัดขาดจากโรคภายนอก หมกมุ่นอยู่แต่กับการเล่นเกม โดยไม่สนใจในการทำกิจกรรมอื่น ๆ มีพฤติกรรมก้าวร้าว ฉุนเฉียว โมโหง่าย ควบคุมอารมณตัวเองไม่ได้หรือหยุดการเล่นเกมไม่ได้ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่ยอมรับตัวเองว่ามีพฤติกรรมเสพติดการเล่นเกม นอนหลับยาก นอนไม่ค่อยหลับรู้สึกอยากเล่นเกมตลอดเวลา เสพติดการเล่นเกม ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร ปวดคอ ปวดไหล่ การเล่นเกมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้คุณมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และส่งผลเสียต่อระบบภายในร่างกาย สายตาพร่ามัว อ่อนล้า การใช้สายตาเพ่งหน้าจอนาน ๆ เวลาเล่นเกม ทำให้ดวงตาเกิดอาการพร่ามัว อ่อนล้า หรือรุนแรงถึงขั้นตาอักเสบได้ โรคอ้วน เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวน้อยลง ขาดการออกกำลังกายเป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน ๆ ทำให้เป็นโรคอ้วนโดยไม่รู้ตัว โรคซึมเศร้า เมื่อเสพติดการเล่นเกมมากจนเกินไป มักทำให้แยกตัวจากสังคม ชอบอยู่โดดเดี่ยว […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ชอบดึงผมบ่อย ๆ รู้ไหมว่าเป็นอาการทางจิต ของ โรคดึงผม

ใครมีพฤติกรรม ชอบดึงผม บ้าง รู้หรือไม่ว่า เมื่อทำแบบนี้ไปนานๆจะทำให้หัวล้าน ผมแหว่ง และเกิดอาการอักเสบของหนังศีรษะ จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน  หากคุณมีพฤติกรรมชอบดึงผมตัวเองบ่อยๆแล้วนั้น แสดงว่าคุณอาจเสี่ยงเป็น โรคดึงผม โดยไม่รู้ตัว วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักโรคนี้กัน โรคดึงผม (Trichotillomania) คืออะไร โรคดึงผม (Trichotillomania) เป็นโรคที่เกิดจากภาวะผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่ง จนกลายมาเป็นอาการย้ำคิดย้ำทำที่แสดงออกโดยการดึงขนต่างๆบนร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ก็จะมีอาการเป็นๆ หายๆ และเรื้อรัง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมากในช่วงที่มีความเครียด ความเศร้า วิตกกังวล หรือช่วงมีประจำเดือน ชอบดึงผมตัวเองบ่อยๆ สาเหตุเกิดจากอะไรกันนะ ความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของสมองที่เชื่อมโยงระหว่างส่วนควบคุมอารมณ์ ได้แก่ การเคลื่อนไหว ความเคยชิน และการยับยั้งชั่งใจ ความผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ เช่น ความเครียด วิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้น ความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ของตนเอง และไม่มีความมั่นใจ พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวเคยมีพฤติกรรมดังกล่าว อาจส่งผลมาถึงลูกหลานในรุ่นต่อๆ ไป  สัญญาณเตือนว่าคุณเสี่ยงเป็นโรคดึงผม ดึงผมตนเองโดยรู้ตัว เมื่อดึงผมแล้วจะทำให้รู้สึกดีขึ้นและผ่อนคลายขึ้น ดึงผมตนเองโดยไม่รู้ตัว ส่วนใหญ่จะเกิดในตอนทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ดูหนัง อ่านหนังสือ ฟังเพลง เป็นต้น มีความวิตกกังวลประเภทย้ำคิดย้ำทำ หรือเป็นโรคซึมเศร้าก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคดึงผม สมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคดึงผม โรคเครียด หรือโรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ เช่น โรคกลัวอ้วน […]


สุขภาพจิต

เทคนิคการ รับมือ กับ คนรักที่มี วิกฤตวัยกลางคน อย่างมีประสิทธิภาพ

การรับมือกับ วิกฤตวัยกลางคน (Midlife Crisis) อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แต่การ รับมือ กับคนรักที่มี วิกฤตวัยกลางคน อาจจะเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่ามาก ปัญหาชีวิตในช่วงวัยทองนี้ ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อตัวเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โดยเฉพาะคู่ชีวิตของคุณอีกด้วย บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จะมาช่วยให้ทุกคนสามารถรับมือกับปัญหาคนรักที่มี วิกฤตวัยกลางคน ให้สามารถผ่านพ้นได้ด้วยดี แต่จะด้วยวิธีไหนบ้างนั้น มาติดตามที่บทความนี้ได้เลย จะรู้ได้อย่างไรว่าคนรักของคุณกำลังมีวิกฤตวัยกลางคน เนื่องจากปัญหาวิกฤตวัยกลางคน นั้นจะส่งผลกระทบแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล การที่เราจะสามารถรับรู้ได้ทันทีว่าคนไหนมีปัญหา วิกฤตวัยกลางคน จึงอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็มีสัญญาณบางอย่าง ที่สามารถพบได้ทั่วไปในหมู่คนที่กำลังเผชิญกับปัญหานี้ เช่น นิสัยหรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง อารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวดี เดี่ยวร้าย รู้สึกโมโห หรืออารมณ์เสียบ่อยครั้ง วิตกกังวล ไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ หมดอาลัยตายอยาก ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของ วิกฤตวัยกลางคน ที่พบได้บ่อย คนที่เคยเข้าร่วมกิจกรรม อาจจะไม่ยอมเข้าร่วมกิจกรรมอีกเลย เช่น ไม่ออกไปเที่ยว ไม่สังสรรค์ เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จทางด้านการงาน การใช้ชีวิต หรือเงินทอง ตั้งคำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจในอดีตของตัวเอง นอกจากนี้ยังมีลักษณะพิเศษของ วิกฤตวัยกลางคน ที่อาจจะพบได้ในเพศใดเพศหนึ่งมากกว่าอีกเพศ เช่น ผู้ชาย มักจะชอบประเมินคุณค่าของตัวเองที่ความสำเร็จทางด้านการงานหรือการเงิน ดูว่าตัวเองมีหน้าที่การงานดีหรือเปล่า หรือมีรถมีบ้านเหมือนกับคนอื่นหรือไม่ ในขณะที่ผู้หญิง มักจะให้ความสนใจกับความสัมพันธ์ มีการประเมินคุณค่าของตัวเองผ่านการเป็นภรรยา เป็นแม่ หรือเป็นทั้งสองอย่าง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รู้ไว้ มลภาวะทางเสียง อาจเพิ่มความเสี่ยง โรคซึมเศร้า ไม่รู้ตัว

เสียงรบกวนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงก่อสร้างที่ดังรบกวนในเช้าวันหยุดขณะที่คุณกำลังนอนหลับ หรือเสียงพูดคุยจอแจในเวลาที่คุณกำลังต้องการสมาธิ มลภาวะทางเสียงเหล่านี้แม้ว่าจะสร้างความรำคาญให้คุณ แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ให้เป็นอันตรายอะไรจนต้องระมัดวัง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า มลภาวะทางเสียง นั้นอาจทำให้เรากลายเป็นโรคซึมเศร้าได้โดยที่เราไม่รู้ตัว อย่างไรจึงจะเรียกว่า มลภาวะทางเสียง มลภาวะทางเสียงโดยทั่วไปแล้ว จะหมายถึงระดับเสียงที่ดังอย่างต่อเนื่อง และทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ให้ข้อมูลว่า ระดับเสียงที่ต่ำกว่า 70 เดซิเบล นั้นจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ และระดับเสียงที่มากกว่า 85 เดซิเบลขึ้นไป หากฟังอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 8 ชั่วโมง อาจจะเป็นอันตรายได้ หากคุณต้องทำงานนานกว่า 8 ชั่วโมง ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับสถานที่ที่มีเสียงรบกวน เช่น ติดถนน หรือติดกับไซต์ก่อสร้าง ก็อาจทำให้คุณได้รับอันตรายจากมลภาวะทางเสียงได้ มลภาวะทางเสียงที่คุณอาจจะพบเจอได้มีดังต่อไปนี้ เสียงการจราจรบนท้องถนน เช่น เสียงรถ เสียงแตร เสียงรถฉุกเฉิน เสียงจากการก่อสร้าง เช่น เสียงขุดเจาะ หรือเสียงเครื่องจักรอื่นๆ เสียงจากสนามบิน ในขณะที่เครื่องบินกำลังบินขึ้น หรือลงจอด เสียงจากที่ทำงาน โดยเฉพาะหากทำงานในสถานที่ที่เปิดโล่ง การฟังเสียงเพลงดังเป็นเวลานาน เสียงจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เสียงพัดลม หรือเครื่องจักร เสียงจากสถานีรถไฟ เสียงจากเครื่องใช้ในบ้าน เช่น เครื่องดูดฝุ่น เครื่องตัดหญ้า หรือการเปิดเพลงดังเป็นเวลานานๆ เสียงจากพลุหรือดอกไม้ไฟ มลภาวะทางเสียงเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าอย่างไร เสียงรบกวน หรือมลภาวะทางเสียงนั้นเป็นตัวการในการสร้างความรำคาญและความตึงเครียดทางสภาพแวดล้อม การเปิดรับกับมลภาวะทางเสียงในระดับที่ดังเกินกำหนด หรือเป็นเวลานาน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

จากจอหนัง สู่ชีวิตจริง! โรคอลิซในดินแดนมหัศจรรย์ ที่คุณควรรู้จัก

เชื่อว่าหลายๆ คน อาจเคยดูหนังหรือได้ยินนิทานเรื่องอลิซในดินแดนมหัศจรรย์กันมาบ้าง บางคนถึงกับจินตนาการว่าอยากเป็นสาวสวยวัยใสอย่างอลิซที่นั่งจิบน้ำชาในดินแดนแปลกประหลาด และยังสามารถพูดคุยกับสัตว์ต่างๆ ได้อีกด้วย ความเป็นจริงนั้นอาจไม่ใช่แค่สิ่งที่คุณคิด แต่กลับมีผู้ป่วย โรคอลิซในดินแดนมหัศจรรย์ ซึ่งถือเป็นอาการทางจิต และความผิดปกติอย่างหนึ่ง ไปรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกับ Hello คุณหมอ กันเถอะ มารู้จักกับโรคแปลกใหม่ ที่ชวนให้คุณต้องอึ้ง อลิซในดินแดนมหัศจรรย์ (Alice in Wonderland syndrome) ไม่ใช่แค่ชื่อหนังแต่เป็นชื่อของโรคทางจิตกลุ่มใหม่ที่มีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วยทางจิต ระบบประสาท และการทำงานของสมองส่งผลให้เห็นภาพหลอนมองเห็นวัตถุเคลื่อนไหวได้ รวมถึงรู้สึกได้ว่าตัวคุณเองดูเล็กลง หรือใหญ่ขึ้นกว่าความเป็นจริง ทางการแพทย์ได้พบผู้ป่วยรายหนึ่งเป็นเด็กผู้ชายอายุเพียง 6 ขวบมีการรับรู้ทางสายตาที่มองเห็นสิ่งรอบตัวอยู่ไกลขึ้นและมีขนาดที่เล็กลง โดยในเฉพาะช่วงเย็นของวัน ซึ่งอาการนี้เกิดขึ้นเพียง 15- 20 นาทีเท่านั้น สันนิษฐานว่าคลื่นไฟฟ้าในสมองของเด็กมีผลเป็นลบจึงทำให้เกิดอาการมองเห็นที่ผิดเพี้ยนขึ้น ดร.จอห์น ทอดด์ (Dr. John Todd) จิตแพทย์ชาวอังกฤษได้ระบุไว้ในปี 1950 เขาได้ตั้งข้อสังเกตของผู้ป่วยที่มีอาการนี้ และเห็นว่าเป็นอาการคล้ายในนวนิยายของ ลูอิสคาร์โรลล์ (Lewis Carroll’s) ในเรื่องอลิซในดินแดนมหัศจรรย์ เขาเชื่อว่ามีการไหลเวียนของเลือดที่ไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะระบบประสาทของสมอง จึงทำให้เกิดการประมวลผลสภาพแวดล้อมรอบข้างต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก ได้แก่ อาการซึมเศร้า โรคจิตเภท ความตึงเครียด ไมเกรน การใช้ยาหลอนประสาทเกินขนาด โรคลมบ้าหมู […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคนิมโฟมาเนีย คลั่งไคล้ในเซ็กส์

หากใครมีอาการคลั่งไคล้ในเซ็กส์ หรือที่เรียกกันว่า โรคนิมโฟมาเนีย อยู่นั้นไม่ต้องเป็นกังวล หรือรู้สึกว่าตนเองแปลกประหลาดกว่าผู้อื่น เพราะถึงแม้จะเป็นเรื่องของอารมณ์ทางเพศที่ควบคุมได้ค่อนข้างยาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ารักษาให้หายไม่ได้ ถึงเวลาที่ทุกคนควรเปิดใจทำความรู้จัก และหาวิธีรับมือกับอาการคลั่งไคล้ในเซ็กส์ [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิมโฟมาเนียโดยไม่รู้ตัว ในปัจจุบันมีการเปิดให้เพศทางเลือกได้มีสิทธิ อิสระต่างๆ ไม่ว่าจะชาย หญิง สาวประเภทสอง ในการทำกิจกรรมร่วมกันได้มากขึ้น เช่น การเลือกจำแหน่งหน้าที่การทำงาน การคบหาดูใจ การแต่งตัวตามแฟชั่นอย่างไม่มีจำกัด และอีกเรื่องหนึ่งนั่นก็ คือ การมีเซ็กส์ ขณะเดียวกันยังมีผู้คนบางกลุ่มที่คุณอาจคาดไม่ถึง และมีอยู่ในสังคมรอบตัวของเราจริงๆ พวกเขาเหล่านี้มักมีความหลงไหลในการมีเพศสัมพันธ์ที่มากเกินกว่าคนปกติทั่วไป หรือที่เรียกว่า โรคนิมโฟมาเนีย (Nymphomania) ซึ่งเป็นโรคทางจิตที่มีพฤติกรรมความต้องการทางเพศสูง โดยอาจเกิดได้จากการชักชวน หรือการมีเซ็กส์บ่อยจนทำให้เกิดความเคยชินมีอารมณ์เกินกว่าที่จะควบคุม รวมถึงความสมดุลของสารเคมีในสมองผิดปกติ และการถ่ายทอดพันธุกรรมภายในครอบครัวที่สามารถส่งผลให้คุณเป็นนิมโฟมาเนียได้ ในบางครั้งอาจเกิดจากความเครียด ความวิตกกังวล จนทำให้ผู้ป่วยใช้เซ็กส์เป็นทางออกของปัญหาในการระบายอารมณ์ภายในจิตใจได้อีกด้วย อาการแรกเริ่มที่ก่อให้เกิดโรคนิมโฟมาเนีย  ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย ช่วยตนเองให้สำเร็จความใคร่อยู่บ่อยครั้ง เสพสื่ออนาจาร จากสื่อต่างๆ เช่น เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง ภาพที่มีแบบเปลือยโป๊ มีคู่นอนหลายคน รวมถึงการนอกใจคู่รัก มีเพศสัมพันธ์ด้วยความรู้สึกอับอาย ซึมเศร้าหรือแสดงอาการวิตกกังวล โรคนิมโฟมาเนียอาจเกิดมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่เคยมีประวัติทางจิต เหตุการณ์ในชีวิตบางอย่างที่เคยเกิดขึ้นให้รู้สึกจดจำฝังใจ ความเจ็บป่วยทางจิต และความเครียดสะสม วิธีรักษาความต้องการทางเพศให้สมดุล  การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญาจากนักบำบัด ยาคลายกังวล ยารักษาอาการซึมเศร้า และอาการทางจิต โดยได้รับการอนุญาตจากแพทย์เท่านั้น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

บุคลิกภาพผิดปกติ เปลี่ยนไปจากเดิมเกี่ยวข้องกับ โรคฮิสทีเรีย ?

คุณเคยสังเกตคนใกล้ตัว หรือสังคมรอบข้างที่คุณอยู่หรือไม่ ว่าทำไมบางคนถึงมีบุคลิกแปลกๆ เช่น ชอบพูดคุยเสียงดัง แสดงกิริยาที่โดดเด่นเกินงาม พฤติกรรมเหล่านี้คุณสามารถฟันธงได้เลยว่าพวกเขากำลังเข้าสู่ โรคฮิสทีเรีย อย่างแน่นอน! วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมารู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น เพื่อที่คุณจะได้รับมือให้ทัน รู้จักกับโรคใกล้ตัวอย่าง โรคฮิสทีเรีย กันเถอะ ผู้คนส่วนใหญ่มักตีความหมายของโรคฮิสทีเรีย (Hysteria)  กันแบบผิดๆ โดยเข้าใจว่าเป็นอาการที่ขาดผู้ชาย หรือเพศตรงข้ามไม่ได้ แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงแค่พฤติกรรม และอาการบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับทางด้านจิตเวชเท่านั้น โรคฮิสทีเรีย นี้สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ ความผิดปกติของระบบประสาท (Conversion disorder) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว หรืออารมณ์ความรู้สึก เช่น การเดิน การได้ยินผิดเพี้ยนไป กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาจก่อให้เกิดอัมพาตที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ส่วนสาเหตุหลักๆ นั้นยังไม่มีการทราบแน่ชัด เพียงแต่สันนิฐานว่าอาจมาจากความเครียด ความวิตกกังวล ส่งผลให้ไปทำลายระบบประสาทจนโครงสร้างสมองได้รับความเสียหาย บุคลิกภาพที่ผิดปกติแบบฮิสทีเรีย (Histrionic Personality Disorder) มักพบได้บ่อยกว่าความผิดปกติของระบบประสาท เป็นความผิดปกติของภาวะทางจิตที่จัดอยู่ในกลุ่มบุคลิกภาพที่ผิดปกติของกลุ่มบี (Cluster B : Dramatic Personality Disorders) มีอารมณ์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ มีความรู้สึกหลงตัวเองปะปน ภูมิใจในตัวเองเกินควร […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ทำความเข้าใจ โรคหลายบุคลิก อาการทางจิตที่มาพร้อมความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย

หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อ “โรคหลายบุคลิก” หรือเคยได้ดูภาพยนตร์ที่มีตัวละครเป็นโรคหลายบุคลิกกันมาบ้างแล้ว โรคหลายบุคลิกนี้ไม่ใช่แค่ความแฟนตาซีที่ถูกสร้างขึ้นในโลกภาพยนตร์เท่านั้น แต่เป็นโรคทางจิตที่มีอยู่จริง โรคนี้ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย และมักสร้างปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมบางอย่างโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจรวมถึงการทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายด้วย โรคหลายบุคลิก คืออะไร โรคหลายบุคลิก (Multiple Personality Disorder หรือ MPD) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคดิสโซสิเอทีฟ (Dissociative Disorders) ปัจจุบันถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโรคหลายอัตลักษณ์ (Dissociative Identity Disorder หรือ DID) แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังคงคุ้นเคยกับชื่อโรคหลายบุคลิกมากกว่า คำว่า “อัตลักษณ์ (Identity)” หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ โดยปกติแล้ว คนเราจะมีเพียงอัตลักษณ์เดียวเท่านั้น แต่ผู้ที่เป็นโรคหลายบุคลิกหรือโรคหลายอัตลักษณ์ มักมีมากกว่าหนึ่งอัตลักษณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการทางจิต (mental process) ทำให้สติ ความคิด ความทรงจำ อารมณ์ความรู้สึก การกระทำ และการยอมรับอัตลักษณ์ของตนเองแยกจากกันโดยสิ้นเชิง ไม่ปะติดปะต่อกัน ผู้ป่วยโรคนี้จึงแสดงพฤติกรรมและอารมณ์ไม่ต่อเนื่องและไม่เหมือนกัน หรือมีบุคลิกภาพแตกแยก ราวกับว่ามีหลายคนอยู่ในร่างเดียว วิธีสังเกตอาการของโรคหลายบุคลิก สัญญาณและอาการของโรคหลายบุคลิก หรือโรคหลายอัตลักษณ์ ในผู้ใหญ่ รู้สึกสับสน มีบุคลิกภาพ หรืออัตลักษณ์มากกว่า 2 แบบ โดยแต่ละแบบแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน และผลัดกันแสดงออกมา ความทรงจำขาดหาย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน