สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

การเสพติด

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคชอบขโมยของ โรคทางจิตที่แปลกแต่จริง

เคยดูข่าวแล้วเกิดความสงสัยกันบ้างไหมคะว่า บางคนรวยมาก มีทรัพย์สินเป็นพันล้าน บางคนเป็นถึงผู้บริหารระดับสูงๆ แต่ยังมีข่าวเรื่องการขโมยของ ซึ่งสิ่งของที่ขโมยนั้นมีมูลค่าเพียงหลักร้อยถึงหลักพันเท่านั้น เป็นเพราะว่าเขาเหล่านั้นอาจมีพฤติกรรมเสี่ยงเป็น โรคชอบขโมยของ ฟังดูชื่อโรคแล้วอาจจะไม่คุ้นหู เป็นโรคที่แปลกและมีอยู่จริง แต่จะมีลักษณะอาการเป็นอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอจะพาไปหาคำตอบกันค่ะ โรคชอบขโมยของ (Kleptomania) คืออะไร? โรคชอบขโมยของ (Kleptomania) คือ อาการป่วยทางจิตเป็นโรคเป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติทางสมอง  โดยสมองมีการหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) น้อยลง ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ ไม่สามารถยับยั้งใจต่อแรงกระตุ้นที่จะลักขโมยได้ผู้ป่วยยังสามารถมีอาการทางจิตอื่นๆร่วมด้วยได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตหวาดระแวง เป็นต้น ไขข้อข้องใจ สาเหตุอะไร ที่ทำให้เป็นโรคชอบขโมยของ ผู้ป่วยโรคชอบขโมยของเกิดจากความผิดปกติของการหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมอง จนอาจเสี่ยงเป็นโรคภาวะซึมเศร้า โดยมีสาเหตุดังนี้ พันธุกรรม การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็ก ความเครียด ความวิตกกังวล อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคชอบขโมยของ มีความสุขทุกครั้งที่ได้หยิบฉวยสิ่งของหรือขโมยของจากผู้อื่น เวลาเครียด หรือ มีปัญหา เพียงได้ขโมยของเล็กๆน้อยๆ จะทำให้รู้สึกดีขึ้นมาทันที หลังจากขโมยของไปแล้วจะมีความรู้สึกผิดทางใจ รู้สึกเสียใจทีหลังกับสิ่งที่ทำลงไป ไม่สามารถห้ามใจตัวเองขณะหยิบของได้ วิธีการรักษา ผู้ป่วยเป็นโรคชอบขโมยของมีวิธีการรักษา แบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้ การใช้ยาบำบัดร่วมกับการบำบัดทางจิตใจโดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา ใช้วิธีอธิบายถึงผลเสียของพฤติกรรมการลักขโมย ทำให้ผู้ป่วยตระหนักถึงพฤติกรรมดังกล่าวที่ส่งผลเสียต่อตนเอง การใช้ยาในการบำบัดเพิ่มควบคุมการหลั่งสารเคมีในสมอง โดยสารเพิ่มเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมองช่วยในการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก ลดความเสี่ยงจากภาวะเครียด ซึมเศร้า อาจเป็นการเพิ่มความรู้สึกให้ผู้ป่วยรู้ถึงผลเสียของการขโมยของ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมชอบขโมยของ ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคชอบขโมยของเสมอไป […]


ความผิดปกติทางอารมณ์

Anhedonia หรือภาวะสิ้นยินดี

หากมีความรู้สึกเฉยๆ กับสิ่งที่อยู่รอบตัว โดยเป็นความรู้สึกที่ไม่ได้ทั้งเศร้าหรือยินดีแต่อย่างใด อาจกล่าวได้ว่าทุกอย่างรอบตัวดูว่างเปล่า ไม่ตอบสนองและไม่มีผลต่อความรู้สึกอะไรเลย แม้กระทั่งเรื่องที่เคยทำให้มีความสุขก็ตาม อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความเจ็บป่วยทางจิตใจที่เรียกว่า Anhedonia หรือ ภาวะสิ้นยินดี Anhedonia หรือ ภาวะสิ้นยินดี คืออะไร Anhedonia หรือภาวะสิ้นยินดี เป็นอาการของผู้ที่ไม่มีความรู้สึกร่วมกับสิ่งใดทั้งสิ้น ไม่ยินดียินร้ายหรือสุขทุกข์อะไร ทั้งที่แต่ก่อนสามารถสร้างความสุขให้กับตัวเองได้ด้วยกิจกรรมที่ชื่นชอบ โดยในทางการแพทย์ภาวะนี้เป็นอาการทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติทางด้านอารมณ์ชนิดซึมเศร้า และยังสามารถพบได้ในโรคจิตเภทหรือความผิดปกติทางจิตแบบอื่นๆ สังเกตพฤติกรรมเสี่ยงเป็น Anhedonia หรือไม่  มีการตอบสนองต่อกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสุขลดลง ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่อยากพบเจอผู้คนภายนอกหรือพูดคุยกับใคร ขาดความกระตือรือร้นต่อหรือรู้สึกเฉยชาต่อกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ชอบนอนอยู่เฉย ๆ ไม่ค่อยอยากทำอะไรด้วยความรู้สึกที่ว่าทำไปก็ไม่มีประโยชน์ มีความสนใจดูแลตัวเองน้อยลง แม้ว่าตัวเองจะดูแย่แค่ไหนก็ไม่ได้รู้สึกอะไรทั้งสิ้น เริ่มมีความรู้สึกไม่อยากทำงานหรือเดินทางออกไปไหน เริ่มมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองง่ายขึ้น จนกระทั่งมีความคิดที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป จึงทำให้รู้สึกไม่กลัวหากต้องจากโลกนี้ไป วิธีการรักษา Anhedonia เมื่อทราบแล้วว่าตัวเองนั้นมีอาการที่เสี่ยงต่อการเป็น Anhedonia ควรรีบไปพบจิตแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องและดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ ควรรับประทานยาตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ อย่าลืมให้กำลังใจตัวเองบ้าง ซึ่งอาจจะค่อย ๆ เริ่มจากการทำสิ่งที่ตัวเองเคยชอบอย่างไม่กดดันตัวเอง เพื่อช่วยฝึกให้กลับมามีความรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ เหมือนเดิมที่เคยรู้สึก ทำจิตใจให้สงบ เช่น การเข้าวัดทำบุญ การปฎิบัติธรรม การนั่งสมาธิ เป็นต้น หากิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้เกิดมีส่วนร่วมในสังคม รับมืออย่างไรหากคนใกล้ตัวมีอาการเป็น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ความนับถือในตัวเอง (Self-Esteem) นั้นสำคัญไฉน?

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มี ความนับถือในตัวเอง นั่นแสดงว่าคุณกำลังรู้สึกภาคภูมิใจกับตัวเอง และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับคุณเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะทำให้รักตัวเองแล้ว ยังทำให้สุขภาพจิตดีอีกด้วย แต่ถ้าหากใครมีความนับถือในตัวเองต่ำ ลองอ่านบทความที่ Hello คุณหมอนำมาฝากกันดู ทำความรู้จักกับความนับถือในตัวเอง ความนับถือในตัวเอง (Self-esteem) หมายถึงการมีความภาคภูมิใจในตนเองสูง ทั้งยังเป็นเหตุผลสำคัญของสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย ประสบการณ์ในวัยเด็กของคนๆ หนึ่ง มักทำให้เขามีความนับถือในตัวเองเกิดขึ้น นอกจากนั้นแล้วผู้ปกครอง ครู และเพื่อนในวัยเด็ก ก็ล้วนมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาความนับถือในตัวเองอีกด้วย ซึ่งในผู้ใหญ่นั้นก็จำเป็นจะต้องมีความนับถือในตัวเอง และรักษาความภาคภูมิใจในตัวเองเอาไว้ ในด้านจิตวิทยานั้น คำว่า “ความนับถือในตัวเอง” นั้น ใช้เพื่ออธิบายความรู้สึกโดยรวมของบุคคลเกี่ยวกับคุณค่าของตัวเอง หรือคุณค่าส่วนบุคคลว่า ตัวคุณนั้นชื่นชมและชอบตัวเองมากแค่ไหน ความนับถือในตัวเองมักเป็นลักษณะของบุคลิกภาพ ซึ่งหมายถึง ความมั่นคงและยั่งยืน ความนับถือในตัวเองสามารถเกี่ยวข้องกับความเชื่อที่หลากหลายเกี่ยวกับตัวเอง เช่น การประเมินรูปลักษณ์ ความเชื่อ อารมณ์ และพฤติกรรมของคุณ ความนับถือในตัวเอง (Self-Esteem) ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพบ้าง? อย่างที่กล่าวไปข้างตนแล้วว่า ความนับถือในตัวเองนั้น ก็คือ การที่มีความภาคภูมิใจในตัวเอง ความนี้ลองมาดูดีกว่าว่า ความนับถือในตัวเองส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพบ้าง มีความนับถือในตัวเอง ถ้าหากคุณมีความนับถือในตัวเอง คุณจะแสดงอาการต่างๆ เหล่านี้ออกมาก มีความมั่นใจ สามารถที่จะกล่าวคำว่า “ไม่” ออกมาได้ มีมุมมองเชิงบวก มีความสามารถในการดูจุดแข็งและจุดอ่อนโดยรวมของผู้อื่น และยอมรับได้ ประสบการณ์เชิงลบไม่ส่งผลต่อมุมมองโดยรวม สามารถแสดงความต้องการออกมาได้อย่างชัดเจน มีความนับถือในตัวเองต่ำ แต่ถ้าหากคุณมีความนับถือในตัวเองต่ำ คุณจะแสดงอาการต่างๆ เหล่านี้ออกมาก มีความคิดเชิงลบ ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่สามารถแสดงความต้องการของตัวเองออกมาได้ มักจะมองหาแต่จุดอ่อนของตัวเอง มีความรู้สึกละอาย ซึมเศร้า หรือวิตกกังมากเกินไป มีความเชื่อว่าคนอื่นมักดีกว่าตัวเอง มีปัญหาในการยอมรับข้อเสนอแนะในเชิงบวกของผู้อื่น กลัวความล้มเหลวอย่างรุนแรง หากมีความนับถือในตัวเองต่ำ (Self-Esteem) จะส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพจิตบ้าง? แม้ว่าการมีความนับถือในตัวเองต่ำ จะไม่ได้รับการจัดประเภทว่าเป็นสภาวะสุขภาพจิตในตัวเอง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวงู จนเข้าขั้น Phobia มีจริง

โรคกลัวงู หมายถึง คนที่แค่เพียงพูดถึงคำว่า งู ก็อาจทำให้รู้สึกขนลุกขนพองกันขึ้นมาอย่างช่วยไม่ได้ แม้แต่คนที่ไม่เคยเห็นงูตัวเป็น ๆ มาก่อน ก็อาจจะรู้สึกกลัวทุกครั้งที่เห็นรูปของสัตว์เลื้อยคลานที่เต็มไปด้วยเกล็ดนี้ ลองทำความรู้จักและสำรวจตัวเองว่าเป็น โรคกลัวงู หรือไม่ และรับมืออย่างไร [embed-health-tool-bmi] อย่างไรจึงจะเรียกว่า โรคกลัวงู โรคกลัวงู (Ophidiophobia หรือ ophiophobia) เป็นหนึ่งในโรคกลัว (Phobia) ที่พบได้มากที่สุด นักวิจัยบางรายมีความเชื่อว่าโรคกลัวงูนี้เกิดจากการวิวัฒนาการของมนุษย์ เนื่องจากสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของมนุษย์ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ งูนั้นจะมีภาพลักษณ์ว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่เป็นอันตราย และสามารถฆ่าเราได้โดยการกัดเพียงแค่ครั้งเดียว จึงไม่แปลกที่เรามักจะรู้สึกหวาดกลัวงู แม้ไม่เคยพบเจองูตัวจริงมาก่อน การที่เราจะรับรู้ได้ว่าตัวเองนั้นเป็นโรคกลัวงูหรือไม่ สามารถสังเกตได้จากอาการเมื่อพบเจอกับงู อยู่ใกล้งู พูดหรือคิดอะไรเกี่ยวกับงู หรือเห็นรูปงูในสื่อต่าง ๆ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจมีดังนี้ วิงเวียน หน้ามืด หมดสติ คลื่นไส้ อยากอาเจียน ตื่นตกใจ กรีดร้อง เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะในบริเวณฝ่ามือ หัวใจเต้นเร็ว ขนลุก ตัวสั่น หายใจไม่ออก หรือหายใจไม่อิ่ม อาการเหล่านี้อาจจะรุนแรงขึ้นเมื่อยิ่งเข้าไปใกล้กับตัวงูนั้นมากขึ้น หรือเมื่อเวลาที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่องูนั้นใกล้เข้ามาทุกที ในบางครั้งอาจวินิจฉัยการเป็นโรคกลัวงูได้โดยใช้ข้อบ่งชี้ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (the Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders หรือ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ทำความรู้จัก โรคไซโคพาธ ไม่รีบรักษาเสี่ยงเป็นฆาตกรต่อเนื่องไม่รู้ตัว

นายสมคิด พุ่มพวง ฉายา แจ๊ค เดอะริปเปอร์เมืองไทย ฆาตกรต่อเนื่อง 6 ศพ  ที่ต่างสร้างความสะเทือนใจให้คนในสังคมไทย โดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า พฤติกรรมการฆ่าต่อเนื่องดังกล่าวนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ซึ่งเรียกว่า โรคไซโคพาธ (Psychopaths) มีลักษณะเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง ขาดความเห็นใจผู้อื่น เป็นต้น  วันนี้ Hello คุณหมอพามาทำความรู้จักกับโรคนี้อย่างระเอียด รู้ก่อนป้องกันไว้ก่อนสายเกินแก้กันนะคะ ทำความรู้จัก โรคไซโคพาธ โรคบุคลิกภาพผิดปกติ โรคไซโคพาธ(Psychopaths) หรือ โรคบุคลิกภาพผิดปกติ เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) โดยมีลักษณะความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดความเห็นใจผู้อื่น ขาดความสำนึกผิด เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง เป็นหนึ่งในภาวะที่รักษาได้ยาก มักไม่ร่วมมือกับการรักษาการทำจิตบำบัดจึงได้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย ลักษณะอาการที่แสดงออกต่อสังคม จิตใจแข็งกระด้าง ขาดความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ มีความผิดปกติทางอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเอง คิดว่าตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง โมโหบ่อย หงุดหงิดง่าย ชอบใช้ความรุนแรง เมื่อต้องเข้าสังคมมักทําความรุนแรงซ้ำๆ และก่อให้เกิดอาชญากรรม พฤติกรรมก้าวร้าว ขาดความสำนึกผิด ชอบชั่วดี  สาเหตุของ โรคไซโคพาธ  ด้านร่างกาย มีความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะส่วนหน้า-ส่วนอะมิกดะลา ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง อุบัติเหตุทางสมอง พันธุกรรม ด้านจิตใจและสังคม ถูกกระทําทารุณกรรมในวัยเด็ก  ครอบครัวเลี้ยงดูแบบละเลยเพิกเฉย อาชญากรรม ในครอบครัว ความแตกแยกในครอบครัว เติบโตมาในสภาพสังคมรอบตัวที่โหดร้ายทารุญ การรักษา การรักษาด้วยยามีประโยชน์ในการรักษาโรคทางจิตเวชที่เกิดร่วมกับไซโคพาธ ให้ความรักความเอาใจ สอนให้รู้จักถึงสิ่งที่ถูกต้องและสิ่งที่ผิด ปรับพฤติกรรมเน้นการพัฒนาสิ่งที่สนใจในแง่ดี และการให้รางวัลเมื่อกระทำพฤติกรรมดี การลงโทษมักไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้เนื่องจากอาการด้านชาทางอารมณ์ จากข้อมูลดังกล่าวหากคุณรู้สึกว่าตัวเองมีภาวะเสี่ยงเป็นโรคไซโคพาธ หรือ คนรอบของคุณมีพฤติกรรมการแสดงออกคล้ายโรคดังกล่าว […]


การจัดการความเครียด

6 วิธี คลายเครียดหลังเลิกงาน เหนื่อยแค่ไหนกลับบ้านมาต้องสดชื่น

การทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้เกิดความเครียดสะสม  หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้นเราจึงควรแบ่งเวลาเพื่อพักผ่อนคลายสมองบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอจึงนำ 6 วิธี คลายเครียดหลังเลิกงาน มาฝากกันคะ ภาวะหมดไฟในการทำงานคืออะไร ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ (Burnout Syndrome ) โรคที่เป็นผลจากการความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่เป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงานและไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งลักษณะอาการออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ เหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกหมดพลัง สูญเสียพลังจิตใจ มีทัศนคติเชิงลบต่อความสามารถในการทำงานของตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในความสำเร็จ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ความสัมพันธ์ในที่ทำงานเหินห่างหรือเป็นไปทางลบกับผู้ร่วมงานและลูกค้า 3 สัญญาณเตือน ว่าคุณเครียดจากการทำงาน ร่างกายอ่อนเพลีย อาการร่างกายอ่อนเพลียเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณเริ่มเครียดเกินไปจากการทำงาน หากคุณเป็นผู้ที่มักจะอ่อนเพลียบ่อยครั้ง ควรเริ่มต้นที่การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และให้พลังงานมากที่สุด โดยอาจจะเลือกเป็นเครื่องดื่มที่มีรสหวานเพื่อให้พลังงานก็ได้เช่นกัน  นอนไม่หลับ การนอนไม่หลับนับเป็นปัญหาที่หลาย ๆ คนประสบ ซึ่งการแก้ไขสามารถทำได้โดยเลือกนั่งสมาธิก่อนนอน เพื่อให้จิตใจผ่อนคลายก่อนนอน หงุดหงิดง่าย การหงุดหงิดเกิดขึ้นเพราะจิตใจไม่ปลอดโปร่ง หากเกิดอาการหงุดหงิดให้คุณลองหาวิธีแก้ด้วยการมองไปที่สาเหตุ เพราะการแก้ที่ต้นเหตุจะทำให้ความเครียดและความหงุดหงิดหายไปได้  โรคที่เกิดจากความเครียด ในการทำงาน เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เมื่อคุณเครียดต่อเนื่อง คุณอาจสังเกตว่าตัวเองเริ่มปวดหน้าอกหรือใจสั่น ทั้งนี้ความเครียดที่สามารถส่งผลทางลบต่อเส้นเลือดและหัวใจ ทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคนอนไม่หลับ หากคุณอยู่กับความเครียดทุกวัน มันก็อาจทำให้จิตใจของคุณว้าวุ่นในตอนกลางคืน คุณอาจคิดหาทางออก หรือวิตกกังวลกับสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่ การนอนไม่เพียงพอก็จะยิ่งทำให้คุณวิตกกังวลหรือเครียดมากกว่าเดิม โรคซึมเศร้า ความเครียดสามารถส่งผลจิตใจ และนั่นก็สามารถทำให้เกิดปัญหาทางจิตอย่างโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้า  6 วิธี คลายเครียดหลังเลิกงาน  นำเท้าแช่น้ำอุ่น การแช่เท้าด้วยน้ำอุ่นจะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับง่ายขึ้น ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย หลังการแช่เท้าในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 36-38 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10-15 นาที แล้วเช็ดเท้าให้แห้งแล้วพักผ่อนอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เล่นโยคะ การเล่นโยคะ ช่วยลดความตึงเครียดและผ่อนคลายร่างกาย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รับมือได้อย่างไรเมื่อถูก อาการแพนิก โจมตี

อาการวิตกกังวล เป็นอาการที่ใครๆ ก็มีได้ทั้งนั้น เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด แต่จะมีบางคนที่มีอาการวิตกกังวลเกินไป คิดไปถึงเหตุการณ์ร้ายๆ ต่างๆ นานา กังวลจนส่งผลกระทบต่อตนเอง ทำให้ขวัญเสีย ทั้งๆ ทียังไม่เกิดเรื่องร้ายแรงใดๆ ขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักกับ อาการแพนิก ซึ่งเกิดจากความวิตกกังวลของเราเอง และเมื่อ แพนิก แล้วควรจะจัดการอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ มาฝากกันค่ะ อาการแพนิก (Panic) คืออะไร อาการแพนิกคือการเกิดอาการกลัวหรือไม่สบายใจขึ้นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาที ซึ่งจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ตัวสั่น หายใจถี่หอบ เจ็บหน้าอก รู้สึกคลื่นไส้หรือปวดท้อง วิงเวียนเหมือนจะเป็นลม รู้สึกหนาวหรือร้อน กลัวการเสียชีวิต แต่อาการแพนิก มักจะมีความคล้ายคลึงกับ โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ซึ่งทั้งสองโรคนี้มีความแตกต่างกัน ทั้งสองโรคมีความแตกต่างกันที่ ความเข้มข้นและระยะเวลาของการแสดงอาการของโรค ซึ่งอาการแพนิกจะมีความเข้มข้นของอาการมากกว่า ซึ่งจะมีอาการ 10 นาทีเป็นอย่างต่ำ ส่วนโรควิตกกังวล มีความเข้มข้นไม่เท่าอาการแพนิก แต่จะมีระยะเวลาในการแสดงอาการนานกว่า อาการแพนิกนั้นสามารถเกิดขึ้นในเวลาใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่มีเรื่องวิตกกังวล […]


สุขภาพจิต

คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย ส่งผลเสียอย่างไร

การ คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย มักทำให้รู้สึกแย่ หดหู่ หมดหวัง เป็นการทำร้ายสุขภาพจิต นอกจากนั้น  ยังส่งผลต่อสุขภาพกายอีกด้วย อาจทำให้นอนไม่หลับ หิวบ่อย อีกทั้งอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบตัว เพราะมักทำให้คนใกล้ตัวรู้สึกลบตามไปด้วย นานวันเข้า ย่อมไม่มีใครอยากอยู่ใกล้คนที่คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย [embed-health-tool-bmi] คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย คืออะไร มองโลกในแง่ร้าย เป็นความคิดหรือการมีทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นในแง่ร้าย ส่วนใหญ่แล้วมักจะมองแต่ข้อเสีย ข้อติติง ก่อนเสมอ ถึงแม้ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นเรื่องที่ดี เราจะชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากขนาดไหน แต่ก็ยังหาเรื่องติ หรือหาข้อเสียออกมาคิดหรือพูดได้อยู่เสมอ การที่มีความคิดในแง่ลบบ่อย ๆ นั้นจะส่งผลให้เรานั้นนึกถึงแต่ประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือเรื่องแย่ที่เคยเกิดขึ้น จำคำว่ากล่าวได้มากกว่าคำชม บางครั้งอาจทำให้เราแสดงพฤติกรรมในทางลบต่อเรื่องต่างที่ประสบพบเจอ ตัวอย่างเช่น ในวันที่คุณอารมณ์ดี แต่เพื่อนร่วมงานพูดคุยกันในสิ่งที่คุณไม่ประทับใจ จึงทำให้คุณอารมณ์ หงุดหงิด และรำคาญ หลังจากนั้นคุณก็จะนึกถึงแต่เรื่องที่เพื่อนสร้างความรำคาญให้คุณทั้งวัน หากมีคนถามว่าการทำงานวันนี้เป็นอย่างไร คุณก็จะตอบว่า ไม่ดีเลย น่ารำคาญมาก ทั้งทีในความเป็นจริงแล้ว เรื่องที่เพื่อนพูดคุยกันนั้นเป็นเพียงเรื่องไม่ดีเรื่องเดียวในวันนั้น แต่คุณกลับเหมารวมว่าวันนั้นเป็นวันที่แย่ ซึ่งความคิดแบบนี้ทำให้เราให้ความสำคัญแต่กับเรื่องแย่ จนทำให้เรื่องแย่เหล่านั้นกลายเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งที่จริงแล้วไม่มีอะไรเลย การคิดลบ มองโลกในแง่ร้าย ส่งผลเราอย่างไร การ คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย นั้นส่งผลต่อการทำงานของสมอง ต่อวิธีการคิด การตอบสนอง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รู้หรือไม่ อาการติดเตียง มากเกินไป เสี่ยงต่อโรคทางจิตได้

เรียกได้ว่าเป็นอาการยอดฮิตของผู้คน ทุกเพศ ทุกวัย ในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ สำหรับ อาการติดเตียง หรือนอนกินบ้านกินเมือง ที่ผู้ใหญ่มักนิยมพูดให้เราได้ยินกันบ่อยๆ บางคนแทบใช้เวลา 24 ชม. ไปกับการนอนกลิ้งไปกลิ้งมาไม่ยอมลุกไปไหนมีความสุขกับการนอนพักผ่อนหย่อนใจ แต่คุณรู้ไหมการกระทำเหล่านี้ทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางจิตได้นะ มารู้จักกับอาการติดเตียงให้มากขึ้นพร้อมกับ Hello คุณหมอ กันเถอะ ติดเตียงนุ่มๆ ทั้งวันทั้งคืน รู้ไหมเรียกว่าโรคอะไร… อาการติดเตียง หรือ โรคติดที่นอน (Dysania) ส่วนมากมักเป็นกันในช่วงเวลาที่คุณตื่นนอนในตอนเช้า มีความรู้สึกไม่อยากลุกห่างจากเตียงไปไหน อยากซุกตัวอยู่ใต้ผ้าห่มอุ่นๆ อาจเป็นเพราะการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันจนเกิดความเครียด หดหู่ใจ หรืออ่อนเพลียเรื้อรัง สะสมให้ร่างกายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจนต้องการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารสรีรวิทยาในปี 2008 นักวิจัยได้ทำการทดลองด้วยหนูทดลองอยู่ที่จัดช่วงเวลาการหลับพักผ่อนที่ใกล้เคียงกับมนุษย์ หลังจากผ่านไป 2 สัปดาห์ พบว่าหนูทดลองเริ่มมีพฤติกรรมถึงความเครียด และแสดงอาการซึมเศร้า มึนงง นอกจากนี้การนอนมากเกินไป หรือการใช้ชีวิตติดเตียงอาจเพิ่มความเสี่ยงการทำงานของเส้นเลือดที่อยู่ในบริเวณกระดูกเชิงกราน และขาเนื่องจากถูกกดทับเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเลือดอุดตันนำไปสู่อาการร้ายแรง สัญญาณเหล่านี้ อาจเกี่ยวข้องกับ อาการติดเตียง ของคุณ อาการซึมเศร้า เป็นโรคทางอารมณ์ที่ทำให้อยากอยู่คนเดียวแบบเงียบๆ ไม่มีแรงกระตุ้นที่จะทำกิจวัตรอย่างอื่น รู้สึกไม่มีความสุข โศกเศร้าตลอดเวลา กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (CFS) เกิดจากการพลังงานมากเกินขีดจำกัดของร่างกาย ทำให้เกิดอาการอ่อนล้า ซึ่งเป็นปัจจัยที่เร่งผลให้ต่อการเข้าสู่อาการติดเตียงได้ อาการไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) หรืออาการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ มักมีอาการเจ็บปวดตามลำตัวร่วมกับอาการอ่อนล้า มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ รวมทั้งยังสามารถขัดขวางในระบบความจำทำให้ ความคิด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ ระวังเป็น โรคพีบีเอ (PBA) โดยไม่รู้ตัว!

ร้องไห้ทั้งที่ไม่ได้รู้สึกเสียใจ หัวเราะทั้งที่ไม่มีเรื่องให้ขำ ฟันธง! ได้เลยว่าคุณกำลังเข้าสู่ โรคพีบีเอ (PBA) หรืออาการที่ตัวละครในหนังดังเรื่องหนึ่งกำลังเป็นอยู่นั่นก็คือ โจ๊กเกอร์ จนทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งในชีวิตจริงก็มีผู้ป่วยบางกลุ่มกำลังเผชิญต่อสู้กับโรคนี้ไม่แพ้กัน วันนี้ Hello คุณหมอ ขออาสาพาทุกคนมารู้จักโรคพีบีเอ และเช็กอาการสุ่มเสี่ยงที่คุณอาจยังไม่รู้ตัว โรคพีบีเอ (PBA) ร้ายแรงอย่างที่เราคิดกันไว้ไหมนะ ? โรคพีบีเอ (Pseudobulbar impact) หรือ (PBA) เป็นสภาวะอาการทางอารมณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ในเรื่องของการหัวเราะ และร้องไห้ ซึ่งผู้ป่วยจะแสดงอาการออกมาอย่างฉับพลันทำให้คนรอบข้างไม่ทันตั้งตัวเลยทีเดียว ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ได้จัดอยู่ในโรคทางจิต เพียงแต่อาจเคยได้รับการกระทบกระเทือน อย่างรุนแรงทางระบบประสาทจึงทำให้สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์นั้นได้รับความเสียหาย นักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งเชื่อว่าโรคพีบีเอ เกิดจากความเสียหายต่อเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้า (prefrontal cortex) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยควบคุมอารมณ์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่เชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้า และอารมณ์แปรปรวน เป็นเงื่อนไขที่ทำให้ผู้ป่วยนั้นเริ่มมีอาการหัวเราะ หรือร้องไห้ออกมาโดยที่หาสาเหตุไม่ได้ เช็กอาการของคุณว่ากำลังเข้าข่ายโรคพีบีเอ อยู่หรือเปล่า … สัญญาณหลักของโรคพีบีเอสังเกตได้ง่าย ดังนี้ อาการหัวเราะ หรือร้องไห้ออกมาโดยไม่มีสาเหตุ การร้องไห้ และหัวเราะ เป็นเวลานานหลายนาที หรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องถี่ๆ ในระยะเวลาสั้น รับประทานอาหารได้น้อยลง รู้สึกเศร้าปะปน มีปัญหาด้านการนอนผิดปกติ เช่น นอนไม่หลับ เวลานอนไม่สม่ำเสมอ นอกจากสัญญาณสุ่มเสี่ยงเบื้องต้นที่กล่าวมาแล้วยังมีปัจจัย หรืออาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับในการเข้าสู่ภาวะโรคพีบีเอ นั่นก็คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน