สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

การเสพติด

สำรวจ สุขภาพจิต

สุขภาพจิต

วิธีออกจาก คอมฟอร์ตโซน (Comfort zone) เปลี่ยนคุณเป็นคนใหม่ ไฉไลกว่าเดิม

ทุกคนต่างมีพื้นที่ “คอมฟอร์ตโซน”  เป็นของตัวเอง โดยเจ้าคอมฟอร์ตโซนนี้คือโซนปลอดภัยของตัวเรา ช่วงเวลาที่ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย สบายใจ ไม่มีปัญหาอุปสรรคใดๆมารบกวน ความสบายนั้นเป็นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องการ แต่ทำไมหลายคนจึงมองว่าคอมฟอร์ตโซนนั้นอยู่ในจุดที่ไม่ดีและเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จกันนะ วันนี้ Hello คุณหมอ พาไปหาคำตอบกันค่ะ คอมฟอร์ตโซน (Comfort zone) คืออะไร คอมฟอร์ตโซน (comfort zone) คือ ช่วงเวลาชีวิตที่เรารู้สึกว่าทุกอย่างดูปลอดภัย เรียบง่าย สบายๆ และทุกอย่างดูลงตัวไปหมด ไม่มีปัญหาใดๆ โดยเฉพาะในเรื่องหน้าที่การงาน ตำแหน่ง หรือการเงิน ไม่ต้องดิ้นรนอะไร ทำไมเราจึงต้องออกจากคอมฟอร์ตโซน ผู้คนมักจะปรารถนาการมีชีวิตที่ดีขึ้น มีบ้านหลังใหญ่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีรถขับ มีเงินที่สามารถจับจ่ายได้สบาย ๆ แต่ส่วนใหญ่นั้นยังคงติดอยู่ในคอมฟอร์ตโซนโดยไม่รู้ตัว ทำให้ไม่เกิดการพัฒนาทักษะต่างๆ ทำให้โอกาสที่จะได้สิ่งที่ปรารถนาหรือประสบความสำเร็จจึงเกิดขึ้นได้ยากหรืออาจจะต้องใช้เวลาแทบทั้งชีวิตเลยทีเดียว ความแน่นอนคือความไม่นอน เราจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ลองนึกถึงอนาคตข้างหน้าว่า ถ้าวันหนึ่งทุกอย่างไม่ได้เป็นไปอย่างคิดเอาไว้ เช่น เราอาจตกงานเมื่ออายุเกือบ 40 ปี ซึ่งมีแค่เพียงเงินชดเชย 3 เดือน เราจะทำอย่างไรเพื่อให้เราสามารถอยู่รอดได้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายเช่นนี้ได้ 5 ความรู้สึกที่บ่งบอกว่าคุณอยู่ในคอมฟอร์ตโซน (Comfort zone) ความรู้สึกเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันว่าเรากำลังหลงอยู่ในกับดักที่เรียกว่าคอมฟอร์ตโซน หน้าที่การงานราบรื่นไม่มีปัญหาเท่าไร เมื่อมีปัญหาก็มั่นใจว่าสามารถจัดการได้หรือมีคนคอยช่วยเสมอ เงินเดือนก็อยู่ในระดับที่พอใจ เคยมองหางานใหม่แต่ไม่ได้สนใจจริงจัง หรือไม่ได้หาแต่รอโอกาสดี ๆ เข้ามาเอง ใช้ชีวิตส่วนตัวอย่างเรียบง่าย เดินทางจากที่พักไปทำงานแล้วกลับบ้าน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อาการเตียงดูด (Dysania) อีกหนึ่งสัญญาเตือน อาการป่วยทางจิต

หลายคนคงเคยเป็นกันใช่ไหม เมื่อถึงเวลาต้องตื่นนอนในตอนเช้า แล้วรู้สึกไม่อยากลุกออกจากเตียง หรือบางครั้งลุกมาแล้วก็อยากกลับไปนอนอีก นั่นอาจกำลังเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมี อาการเตียงดูด ก็เป็นได้ ซึ่งโรคนี้สามารถทำให้เกิดผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน ทำความรู้จักกับ อาการเตียงดูด (Dysania หรือ Clinomania) อาการเตียงดูด (Dysania หรือ Clinomania) เป็นสภาวะที่พบว่ามีอาการลุกออกจากเตียงได้ยากในตอนเช้า มันทำให้คนที่มีอาการนี้รู้สึกทุกข์ทรมาน เพราะลุกออกจากเตียงได้ยากในตอนเช้าทั้งยังมีความรู้สึกที่มากกว่าการง่วงนอนอีกด้วย แม้ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจะนอนนานกว่าชั่วโมงที่ได้แนะนำเอาไว้ แต่พวกเขาก็ยังพบว่าพวกเขาสามารถลุกออกจากเตียงได้ยากมาก นอกจากนั้นพวกเขายังจะมีความรู้สึกอยากกลับไปนอนที่เตียงอีกทั้งๆ ที่ลุกออกมาได้แล้ว ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจทำให้พวกเขาเกิดความหดหู่ ความเหนื่อยล้าเรื้องรัง จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้เลยทีเดียว อาการเตียงดูดเป็นสัญญาณของโรคอะไรได้บ้าง ผู้ที่เป็นมีอาการเตียงดูดนั้น ยังสามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้อีกด้วย ซึ่งโรคที่ตามมา ได้แก่ อาการซึมเศร้า อาการซึมเศร้านั้นเป็นโรคทางอารมณ์ที่อาจทำให้เกิดความเศร้า การสูญเสียพลังงาน และความเหนื่อยล้า กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome หรือ CFS) ผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการเหนื่อยเรื้อรังจะมีความรู้สึกว่าเหนื่อยล้าเป็นอย่างมาก ซึ่งอาการนี้จะคงอยู่เป็นเวลานานและไม่สามารถหายได้ ซึ่งนี่เป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดอาการเตียงดูดนั่นเอง ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)  โรคนี้ทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมากมาย เช่น ส่งผลทางด้านความจำ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดความเหนื่อยล้าขึ้นได้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีบางสิ่งขัดขวางการหายใจของคุณในขณะที่คุณหลับ ส่งผลให้พลังงานของคุณลดต่ำลง และเกิดอาการง่วงตอนกลางวันได้อีกด้วย โรคโลหิตจาง เมื่อคุณไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงเพียงพอ ระดับพลังงานของคุณอาจจะลดลง ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หากต่อมไทรอยด์ของคุณทำงานอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ มันจะส่งผลให้คุณรู้สึกเฉื่อยชา โรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดสูงสามารถส่งผลต่อพลังงานในร่างกายของคุณได้ โรคขาอยู่ไม่สุข […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

รับมือกับ อาการเหวี่ยงวีน ของสาวๆ มนุษย์เมนส์ ที่คนรักควรรู้ไว้

อารมณ์ของสาวๆ ที่ขึ้นๆ ลงๆ นั้น ไม่ได้แปลว่าคนรักของคุณกำลังเข้าสู่ช่วงวัยทองแต่อย่างใด แต่อาจเป็นเพราะเธอกำลังเข้าสู่การมีรอบเดือนจึงมี อาการเหวี่ยงวีน จนทำให้คุณทำตัวไม่ถูกเลยทีเดียว วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำเคล็บลับการเอาใจสาวๆ มนุษย์เมนส์ มาแนะนำให้คุณผู้ชายทั้งหลายลองทำตามกัน โมโหร้าย หงุดหงิดง่ายก่อนมีประจำเดือน สาเหตุมาจากอะไร? เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในกลุ่มของ ในผู้หญิงหมู่มากก่อนประจำเดือนมา มีชื่อเรียกว่า (Premenstrual Syndrome ; PMS) อารมณ์ไม่คงที่นี้มักมาในเวลาสั้นๆ ประมาณ 5-11 วัน และมักหายเองเมื่อสาวๆ เมนส์มาหรือมีรอบเดือนนั่นเอง ซึ่งสาเหตุของการเกิดอาการ PMS มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น ทำให้อารมณ์แปรปรวน ทั้งเกรี้ยวกราด และหงุดหงิด นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องเป็นผลให้คนรักของคุณเหวี่ยงวีนได้ ดังนี้ มีภาวะซึมเศร้า ได้รับผลกระทบที่ส่งผลต่อจิตใจ และอารมณ์ ประวัติการใช้ความรุนแรงของครอบครัว โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder) โรคอารมณ์สองขั้ว หรือไบโพลาร์ (Bipolar disorder) เช็กอาการทั่วไป ที่เกิดจากสาวๆ ก่อนเป็นประจำเดือน อาการหลักทั่วไปที่ทำให้สาวๆ เริ่มมีอารมณ์ไม่คงที่ อาการปวดท้องหน่วงๆ บริเวณหน้าท้องช่วงล่าง เจ็บหน้าอก สิวขึ้นบนใบหน้า ความอยากอาหารเพิ่ม รวมถึงน้ำหนักที่มากขึ้น ปวดศีรษะ ร่างกายรู้สึกเมื่อยล้า ปวดตามข้อกระดูก และกล้ามเนื้อ สัญญาณทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิด […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

สำรวจตัวเอง เป็น Sociopath ชอบต่อต้านสังคม หรือไม่

Sociopath เป็นความผิดปกติทางบุคลิภาพประเภทหนึ่ง โดยคำว่าโซซิโอพาธ หมายถึง ผู้ที่มีพฤติกรรมและทัศนะคติที่ต่อต้านสังคม หรือผู้ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) มักไม่มีมโนธรรม แปลกแยก เกลียดชัง หลีกเลี่ยงสังคม [embed-health-tool-bmi] Sociopath คืออะไร โดยปกติแล้วคำว่า  Sociopath  มักใช้สำหรับอธิบายถึงบุคคลที่มีลักษณะไม่มีมโนธรรม แปลกแยก เกลียดชัง หลีกเลี่ยงสังคม คำว่าโซซิโอพาธ หมายถึง ผู้ที่มีพฤติกรรมและทัศนะคติที่ต่อต้านสังคม หรือผู้ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) โดยคนเหล่านี้จะแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดว่าไม่ชอบเข้าสังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่นยาก ขี้เบื่อ ตลอดไปจนถึงหลอกลวงและชักจูงผู้อื่น โดยมักจะมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมที่เลี้ยงดูมา Sociopath นั้นอาจจะไม่ใช่คำเรียกอย่างเป็นทางการ แต่คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders หรือ DSM) ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่เป็นโรคโซซิโอพาธนั้นจะมีลักษณะใกล้เคียงกับผู้ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคมที่สุดแล้ว คนที่เป็นโรค Sociopath นั้นในบางครั้งอาจจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับคนที่เป็นไซโคพาธ (Psychopaths) แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้สองภาวะนี้แตกต่างกัน คือการที่ผู้ที่เป็นโรค Sociopath นั้นยังสามารถมีความรู้สึกผิด เห็นอกเห็นใจ และเข้าใจได้ว่าการกระทำของตัวเองนั้นเป็นเรื่องที่ผิด เพราะพวกเขายังคงมีกระบวนการทางสมองเป็นปกติอยู่ แต่ก็เลือกที่จะไม่สนใจอยู่ดี จะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นโรค […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

แปลกแต่จริง โรคชอบจุดไฟ โรคอันตราย ที่อาจทำให้กลายเป็นนักลอบวางเพลิง

จากข่าวปัญหาไฟป่าครั้งใหญ่ที่ออสเตรเลีย ที่สามารถรวบตัวผู้กระทำผิดฐานเจตนาลอบวางเพลิงได้มากถึง 24 คน และมีอีกกว่าร้อยคนที่ถูกจับเนื่องจากพัวพันกับการลอบวางเพลิง ทำให้เราทราบว่า แม้ว่าจะเกิดปัญหาใหญ่อย่างไฟป่า ที่ทำให้เกิดความเดือนร้อน และพรากชีวิตของสัตว์ป่าไปเป็นจำนวนมาก ก็ยังคงมีคนที่อยากจะร่วมลงมือจุดไฟ และทำให้ไฟป่านั้นลุกลามไปมากกว่าเดิมอยู่ดี โดยที่คนเหล่านี้ อาจจะมีจำนวนไม่น้อยที่เป็น โรคชอบจุดไฟ โรคชอบจุดไฟ คืออะไร โรคชอบจุดไฟ (Pyromania) เป็นความผิดปกติทางจิตที่หายากชนิดหนึ่ง มีลักษณะคือ มักจะพยายามจุดไฟ ก่อไฟ หรือวางเพลิงโดยเจตนา และหลายครั้ง คนที่เป็นโรคชอบจุดไฟนั้นจะหลงใหลชื่นชอบในไฟและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจุดไฟ เช่น ไม้ขีดไฟ พวกเขาจะรู้สึกพอใจ และได้ปลดปล่อยความเครียดจากการจุดไฟ คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตฉบับล่าสุด (DSM-5) ได้จำแนกโรคชอบจุดไฟให้อยู่ในกลุ่ม Disruptive, Impulse-Control, and Conduct Disorders หมายถึง กลุ่มโรคที่มีลักษณะเด่นคือ มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ทำให้เกิดความขัดแย้งกับสิทธิของผู้อื่น หรือบรรทัดฐานของสังคม จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณเป็นโรคชอบจุดไฟ โรคชอบจุดไฟนั้น สามารถพบได้ทั้งในกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้ใหญ่ และมักจะพบได้ในผู้ชายบ่อยกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และผู้ที่ขาดทักษะทางสังคม โดยการวินิจฉัยโรคชอบจุดไฟนั้น สามารถทำได้โดยการอิงตามเกณฑ์ของ DSM-5 DSM-5 ได้กำหนดเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคชอบจุดไฟดังต่อไปนี้ ชื่นชอบไฟ ชอบจุดไฟบ่อยๆ รู้สึกตื่นเต้นอย่างรุนแรงก่อนที่จะจุดไฟ และจะรู้สึกผ่อนคลายขึ้นหลังจากจุดไฟ ไฟที่จุดขึ้นนั้นไม่มีได้ก่อประโยชน์ หรือมีจุดประสงค์ใดเป็นพิเศษ พกไม้ขีดไฟหรือไฟแช็กในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น เผาสิ่งของต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ หรือกระดาษ บางคนที่เป็นโรคชอบจุดไฟ อาจจะหมกหมุ่นอยู่กับไฟ จนชอบที่จะไปอยู่ในสถานที่ที่มีไฟ […]


การจัดการความเครียด

บรรเทาความเครียด เสริมสร้างความสุข ด้วยน้ำมันหอมระเหย

เวลาที่เรารู้สึกเหนื่อยๆ การได้ดมกลิ่นลาเวนเดอร์ หรือกลิ่นไม้หอม อาจจะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการสกัดส่วนต่างๆ ของพืชเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการบำบัดผ่อนคลายความเครียด และใช้เพื่อรักษาสภาวะอื่นๆ กันมานานตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว แต่บางคนอาจจะยังใช้น้ำมันหอมระเหยอย่างผิดวิธีกันอยู่ บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ น้ำมันหอมระเหย เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ น้ำมันหอมระเหย ได้อย่างปลอดภัย ไร้กังวล น้ำมันหอมระเหย คืออะไร น้ำมันหอมระเหยคือน้ำมันที่ได้จากการสกัดเอาสารต่างๆ ที่มีประโยชน์มาจากพืช ทำให้ได้น้ำมันที่มีกลิ่นหอมแรงกว่าวัตถุดิบดั้งเดิม และมีสารที่ออกฤทธิ์เข้มข้นกว่าพืชที่ใช้สกัดน้ำมันนั้น วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย มีอยู่หลายวิธี ดังต่อไปนี้ การกลั่นโดยใช้ไอน้ำ กระบวนการนี้จะใช้ไอน้ำความร้อนสูง ส่งผ่านเข้าไปในหม้อควบคุมความดันที่มีวัตถุดิบของพืชที่เราต้องการกลั่นน้ำมันหอมระเหยอยู่ ไอน้ำนั้นจะกระทบกับวัตถุดิบ แล้วไหลผ่านออกไปทางท่อ โดยไอน้ำจะเอาน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในพืชติดมาด้วย หลังจากนั้นไอน้ำจะทำการควบแน่น แล้วนำมาแยกชั้น เพื่อให้ได้น้ำมันหอมระเหย วิธีการนี้จะทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยคุณภาพดี และบริสุทธิ์มากถึง 100% การสกัดเย็น การสกัดเย็น คือการสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการกดทับ หรือคั้นวัตถุดิบ เพื่อให้น้ำหรือน้ำมันไหลออกมาจากวัตุดิบ การสกัดเย็นมักจะใช้กับการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากผิวของพืชตระกูลส้ม เช่น ส้ม มะนาว หรือมะกรูด วิธีการนี้จะไม่ทำให้เกิดความร้อน จึงไม่ทำลายสารสำคัญที่อยู่ในน้ำมันมากนัก การสกัดโดยใช้ตัวทำละลาย วัตถุดิบบางชนิดอาจจะไม่สามารถกลั่นด้วยไอน้ำได้ เนื่องจากความร้อนจากไอน้ำอาจทำลายสารสำคัญที่อยู่ในวัตถุดิบได้ ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีการสกัดโดยใช้ตัวทำละลาย เช่น acetone หรือ benzene เพื่อให้ตัวทำละลายเหล่านี้สามารถดึงเอาสารที่ต้องการออกมาจากวัตถุดิบได้ ในบางครั้งหลังจากที่ได้น้ำมันสกัดออกมาแล้ว อาจจะมีการเติมน้ำมันอื่นๆ เข้าไปด้วย เพื่อให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นพอสำหรับขาย ดังนั้นน้ำมันหอมระเหยเหล่านั้นจึงมักจะไม่ใช่น้ำมันบริสุทธิ์ แต่เป็นน้ำมันผสม ทำไมเราจึงเลือกใช้น้ำมันหอมระเหย น้ำมันหอมระเหยมักจะทำมาใช้ในกระบวนการสุคนธบำบัด หรืออโรมาเทอราพี (Aromatherapy) […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

ปีเตอร์ แพน ซินโดรม หยุดโรคนี้ด้วยการไม่เลี้ยงลูกแบบตามใจ

คงไม่มีใครไม่รู้จักวรรณกรรมสุดคลาสสิคอย่าง เรื่อง ปีเตอร์แพน  ตำนานเด็กผู้ชายบินได้และไม่มีวันโต เด็กๆหลายคนเมื่อดูเรื่องนี้ต่างมีความฝันว่า อยากจะบินได้เหมือนปีเตอร์แพนและเล่นสนุกกับเพื่อนๆในดินแดนเนเวอร์แลนด์ ทว่าในชีวิตจริงก็มีเช่นกัน พวกเขาเหล่านี้ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ และมีความคิดเหมือนเด็กๆ เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า ปีเตอร์ แพน ซินโดรม ซึ่งสาเหตุนั้นมักเกิดขึ้นกับเด็กที่ถูกเลี้ยงดูจากครอบครัวที่ตามใจลูกมากจนเกินไป วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามาทำความรู้จักโรคนี้กันค่ะ โลกการ์ตูน สู่ชีวิตจริงปีเตอร์ แพน ซินโดรม (Peter Pan Syndrome) ปีเตอร์ แพน ซินโดรม (Peter Pan Syndrome)  คือโรคที่ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ มีความคิดเป็นเด็ก ไม่อยากทำงาน ไม่รับผิดชอบอะไรเลย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่ถูกครอบครัวเลี้ยงแบบตามใจมากจนเกินไป ทำให้ลูกต้องพึ่งพ่อแม่ตลอดเวลา ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้  ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม และไม่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตและแก้ปัญหาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ พ่อแม่รังแกฉัน ในปัจจุบันเชื่อว่ามีหลายครอบครัวที่ถูกพ่อแม่เลี้ยงดูแบบตามใจ ไม่ว่าลูกจะขออะไรก็หามาให้ลูกทุกอย่าง ตามใจลูกตลอด แม้แต่ลูกทำผิดก็ไม่ลงโทษ รู้หรือไม่ว่า พฤติกรรมการเลี้ยงดูลูกดังกล่าวนี้เป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ของพ่อแม่ที่ส่งผลกระทบต่อลูกในอนาคต การเลี้ยงดูแบบตามใจนั้นส่งผลกระทบต่อลูกในอนาคตดังนี้ ขาดทักษะในการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ เป็นคนไม่มีระเบียบวินัย เอาแต่ใจตัวเอง คิดว่าตัวเองมีศูนย์กลางของจักรวาล เห็นไหมคะว่าการเลี้ยงดูลูกแบบตามใจไม่ส่งผลดีต่อลูกเราเลย ทำให้เขาไม่รู้จักโตและไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตัวเองได้ และเป็นสาเหตุให้ลูกของคุณเป็นโรคปีเตอร์ แพน ซินโดรม โดยไม่รู้ตัว 4 สัญญาณเตือนว่าลูกของคุณเสี่ยงเป็นโรคปีเตอร์ แพน ซินโดรม ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่สามารถแก้ด้วยตัวเองได้ ต้องถามพ่อแม่หรือคนในครอบครัวทุกครั้ง ขาดความรับผิดชอบ อยากใกล้ชิดพ่อแม่ตลอดเวลาเพราะรู้ว่าครอบครัวคุ้มครองเขาได้ วิธีการรักษาเมื่อลูกเป็นโรคปีเตอร์ แพน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

Stockholm Syndrome

หากผู้หญิงหรือใครสักคนถูกลักพาตัว ข่มขืน กังขังหน่วงเหนี่ยว ย่อมส่งผลร้ายและกระทบกระเทือนจิตใจจนนำไปสู่ภาวะและปัญหาด้านจิตใจที่ร้ายแรงได้ แต่มีภาวะทางจิตรูปแบบหนึ่งที่เป็นไปในทางตรงกันข้าม นั่นคืออาการ Stockholm Syndrome หรือสตอกโฮล์ม ซินโดรม ซึ่งเป็นอาการที่ตัวประกันหรือผู้ถูกกระทำรู้สึกดีต่อผู้ร้ายหรือต่อผู้ที่ลงมือกระทำ  Stockholm Syndrome คืออะไร Stockholm Syndrome เป็นชื่อของอาการที่นักจิตวิทยาใช้ในการอธิบายลักษณะทางจิตวิทยารูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นครั้งแรกจากเหตุการณ์ปล้นธนาคารที่เมืองสตอกโฮล์มในปี 1973 โดยชายสองคนจับพนักงานธนาคาร 4 คนเป็นตัวประกันในห้องนิรภัยของธนาคาร โดยใช้อาวุธปืนข่มขู่เป็นระยะเวลา 6 วัน โดยเมื่อเหตุการณ์จบลง ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อก็ดูเหมือนจะมีความรู้สึกในเชิงบวกและะมีความเห็นอกเห็นใจต่อคนร้าย มันเป็นการยากที่จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดตัวประกันถึงมีความรู้สึกแบบนั้น หลังจากได้ผ่านเหตุการณ์ที่น่ากลัวและถูกคุกคามถึงชีวิต นักจิตวิทยาพบว่า ปรากฎการณ์เช่นนี้ จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก และอาจเกิดขึ้นได้ในลัทธิต่างๆ หรือเกิดขึ้นได้ในเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวด้วยเช่นกัน หนึ่งในตัวอย่างที่โด่งดังของอาการ Stockholm Syndrome คือ Patty Hearst ที่ถูกลักพาตัวโดยกลุ่มก่อการร้ายในปี 1974 โดยในภายหลัง Patty รู้สึกเห็นอกเห็นใจกลุ่มผู้ก่อการร้ายจนถึงขั้นสนับสนุนและร่วมกระทำความผิดไปกับกลุ่มนั้นด้วย อาการของ Stockholm Syndrome อาการของ Stockholm Syndrome สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเหตุการณ์ เหยื่อเริ่มพัฒนาความรู้สึกในเชิงบวกต่อบุคคลที่จับพวกเขาเป็นตัวประกันหรือบุคคลที่ทำร้ายพวกเขา เหยื่อเริ่มพัฒนาความรู้สึกในเชิงลบต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือใครก็ตามที่อาจจะพยายามช่วยพวกเขาให้หลุดพ้นจากสถานการณ์นั้นๆ โดยที่พวกเขาอาจเริ่มที่จะไม่ต่อต้านผู้ที่จับกุมพวกเขาอยู่ เหยื่อเริ่มมีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ และมีความเชื่อเช่นเดียวกันกับผู้จับกุม โดยที่เหยื่อมักจะรู้สึกถูกคุกคามจากผู้จับกุม […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

ทนไม่ไหว แต่ยังต้องทน จะมี วิธีอดทนกับเพื่อนร่วมงาน อย่างไรบ้าง

เคยไหมที่รู้สึกไม่โอเคกับเพื่อนร่วมงาน ทำไมเอาเปรียบฉันแบบนี้? โยนงานอีกแล้วหรือ? การพบเจอเพื่อนร่วมงานที่จัดว่าแย่ และก่อปัญหาที่กระทบตัวคุณ อาจส่งผลให้คุณมีอาการเครียดได้ แม้ปลายทางของปัญหาอาจจบลงได้ง่าย ๆ ด้วยการลาออก แต่ปัจจัยในชีวิตของคนเราที่แตกต่างกัน อาจเป็นเหตุผลให้เราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้เหมือนกันทุกคน ทั้งเรื่องภาระค่าใช้จ่าย อายุที่มากขึ้น หรือประสบการณ์ทำงานที่ยังน้อย และถ้าหากคุณยังจำเป็นต้องทนกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา เพื่อรอจังหวะดี ๆ ที่จะเข้ามาล่ะก็ วันนี้ Hello คุณหมอ มี วิธีอดทนกับเพื่อนร่วมงาน มาฝากทุกท่านค่ะ ความเครียดจากที่ทำงาน การไปออฟฟิศเพื่อทำงานสำหรับใครหลายคน อาจไม่ใช่สถานที่ที่ต้องไปเพื่อแสดงออกถึงทักษะ ประสบการณ์ ความรู้และความสามารถในการที่จะร่วมพัฒนาให้องค์กรที่ปฏิบัติงานอยู่สามารถเจริญเติบโตและก้าวหน้าต่อไป เพียงอย่างเดียว เพราะบางครั้ง และหลายครั้ง ที่ทำงานอาจเป็นขุมนรกที่ส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ ความเครียดจากที่ทำงานเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ละออฟฟิศก็จะมีสาเหตุที่ต่างกันออกไป เช่น ระบบของงานที่ไม่เป็นสัดส่วน การทำงานที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่เคยคุยกันไว้ตั้งแต่วันแรก หรืออาจมาจากสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เมื่อความไม่สบายใจจากปัญหาเหล่านี้ถูกสะสมเข้าทุกวัน ๆ ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเครียด หรืออาจนำไปสู่ภาวะของโรคซึมเศร้าเพราะหาทางออกจากปัญหาเหล่านั้นไม่ได้ ความเครียดจากเพื่อนร่วมงาน อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทั้งชาวออฟฟิศ และไม่ออฟฟิศต้องปวดหัวไปตาม ๆ กัน ก็คือ ปัญหาความเครียดที่มาจากเพื่อนร่วมงาน การอยู่ร่วมกับคนหมู่มาก ย่อมหมายถึงการอยู่กับความแตกต่างนับร้อย ยิ่งอยู่กันหลายคน ก็ยิ่งมีความแตกต่างทางความคิดและทัศนคติที่มากตามไปด้วย หลายคนถูกบูลลี่ในที่ทำงาน หลายคนถูกลั่นแกล้งให้รับผิดที่ไม่ได้ก่อ หรือหลายคนต้องรับภาระงานที่เกินหน้าที่ของตนเอง เนื่องจากเพื่อนร่วมงานที่ไม่เอาไหน หรือการถูกโยนงาน […]


โรควิตกกังวล

วิตกกังวลมากไป อาจเป็นเหตุให้คุณเกิด อาการแน่นหน้าอก

บ่อยครั้งที่จู่ ๆ คนเราก็มี อาการแน่นหน้าอก ขึ้นมา อาจเป็นในช่วงหลังรับประทานอาหาร หรือจากการออกกำลังกายมาอย่างหนัก แต่รู้หรือไม่ว่า หลายครั้งความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ที่กดดันต่าง ๆ ของคุณ ก็สามารถทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกได้ด้วยเช่นกัน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น มาหาคำตอบกันได้กับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ [embed-health-tool-heart-rate] อาการแน่นหน้าอก คืออะไร สภาวะของอาการแน่นหน้าอก คือ ความรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย มีอาการปวดหรือเจ็บ แสบร้อนกลางอก รู้สึกถึงความดันอัดแน่น บริเวณหน้าท้องส่วนบนและบริเวณคอส่วนล่าง อาการแน่นหน้าอกนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และอาจเป็นความเสี่ยงที่มาจากโรคร้ายอย่าง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ หรืออาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้ นอกจากนี้อาการแน่นหน้าอกยังอาจมาจากอาการกรดไหลย้อน หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หลอดลมฝอยอักเสบ อาการหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เส้นเลือดอุดตันที่ปอด โรคปอดบวม เป็นต้น ถือได้ว่าอาการแน่นหน้าอกนั้น เป็นทั้งความเสี่ยงของโรคร้าย  และมีสาเหตุมาจากโรคภัยไข้เจ็บที่อันตรายอีกด้วย ภาวะวิตกกังวลส่งผลต่อ อาการแน่นหน้าอก อย่างไร อีกหนึ่งสาเหตุของอาการแน่นหน้าอกที่หลายคนกำลังเป็นอยู่นั้น อาจมาจากปัญหาในเรื่องของอาการวิตกกังวล เมื่อความเครียด หรือความกลัว ถูกสะสมไว้มากจนแสดงออกว่ามีความรู้สึกวิตกกังวล ประหม่า หวาดกลัว อาจเป็นผลทำให้เกิดอาการ ดังนี้ หายใจเร็ว หายใจลำบาก หัวใจเต้นรัว วิงเวียนศีรษะ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน