สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รู้จักกับ โรคละเมอแชท ภัยเงียบของผู้ที่ติดสมาร์ทโฟน

ผู้ที่รักการแชทเป็นชีวิตจิตใจพึงระวังให้ดี เพราะตอนนี้กำลังมีโรคแปลกใหม่กำลังคุกคามเข้ามา สำหรับผู้ที่ติดสมาร์ทโฟนอย่างหนัก ทั้งวัน ทั้งคืน เรียกกันว่า โรคละเมอแชท ฟังผ่านๆ อาจจะยังไม่ค่อยรู้สึกถึงอันตรายเท่าไหร่นัก ดังนั้น Hello คุณหมอจึงขออาสาพาทุกคนมารู้จัก และวิธีแก้ไขกัน โรคละเมอแชท (Sleep Texting) ภัยเงียบที่ทุกคนควรรู้ไว้ เมื่อตื่นมาจากการนอนหลับส่วนใหญ่เรามักจะจับโทรศัพท์เป็นอย่างแรก แต่พอลองเช็กข้อความดูกลับพบว่า ข้อความบางอย่างได้ถูกส่งไปโดยที่เราไม่รู้ตัว ทางการแพทย์นิยามอาการนี้ว่า โรคละเมอแชท (Sleep Texting) ซึ่งเกิดมาจากการติดสมาร์ทโฟนมากเกินไป ใช้ในการแชท หรือส่งข้อความ แม้กระทั่งถึงเวลาที่คุณจวนจะนอนพักก็ยังไม่ละเว้นที่จะปล่อยโทรศัพท์ไว้ไม่ให้ห่างจากตัว นานวันเข้าจึงทำเกิดอาการละเมอแชทขึ้น โดยผู้ที่มีอาการละเมอแชทนั้นจะอยู่ในสภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น และถูกกระตุ้นการตอบสนองของสมอง ด้วยการลุกขึ้นมาส่งข้อความตอบกลับจากการได้ยินเสียงแจ้งเตือน หรือการสั่นสะเทือนจากสมาร์ทโฟนด้วยความเคยชินทันที จากการศึกษาที่เชื่อถือได้ของการใช้เทคโนโลยี และการนอนหลับ ในปี 2013 นักวิจัยพบว่า 10 % ของผู้เข้าร่วมทดลองมีอาการเข้าข่ายที่จะเป็นโรคละเมอแชท เพราะพวกเขาได้เผลอกดส่งข้อความโดยไม่จำเป็น และมีอาการสะดุ้งตื่นทำให้นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อย่างน้อย 2-3 คืน ต่อสัปดาห์เลยทีเดียว เช็กด่วน คุณมีอาการสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคละเมอแชทหรือเปล่า ?! ภัยเงียบจากโรคละเมอแชทอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้คุณนั้นพักผ่อนไม่เพียงพอ รู้สึกเหนื่อยง่ายไม่มีแรงในการที่จะทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และยังรวมถึงอาการ หรือพฤติกรรมเหล่านี้ปะปนอีกด้วย มีความตึงเครียด หรือวิตกกังวลเป็นเวลาหลายคืน การเปลี่ยนแปลงเวลานอนหลับอย่างไม่สม่ำเสมอ มีไข้ร่วมด้วยเล็กน้อย อดหลับอดนอนเป็นเวลานานติดกัน การนอนหลับโดยมีสิ่งรบกวนรอบข้าง การใช้ยากล่อมประสาทร่วม ความผิดปกติของการหายใจ แก้ไขพฤติกรรมซะ ถ้าไม่อยากเสียสุขภาพเพราะโรคละเมอแชท การศึกษาในปี 2015 จากแหล่งข้อมูลของประเทศนอร์เวย์ พบว่าการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งกลางวัน และก่อนนอนในกลุ่มวัยรุ่นมีความสัมพันธ์กับมาตรการการนอนหลับ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รู้จักกับ โรคกลัวเข็ม โรคใกล้ตัวที่คุณอาจเป็นแบบไม่รู้ตัว

ตอนเด็กๆ คุณเคยร้องไห้เพราะโดนฉีดยากันไหม? สำหรับบางคนเพียงแค่เห็นเข็มต่อมน้ำตาก็เริ่มทำงานแล้ว บางรายถึงขนาดหมดสติ เข่าอ่อนเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ทุกคนล้วนมีความกลัวที่แตกต่างกันไป ไม่ใช่เรื่องแปลก และไม่ใช่เรื่องน่าอาย มารู้จักกับ โรคกลัวเข็ม ไปพร้อมๆ Hello คุณหมอกันเถอะ โรคกลัวเข็ม (Trypanophobia) คืออะไร? เป็นอาการกลัวอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการฉีดยา หรือพบเห็นปลายวัตถุที่แหลมคม ทางการแพทย์ได้นิยามความหมาย ของโรคกลัวเข็ม (Trypanophobia) ไว้ดังนี้ ดร. แมคกี้ (Dr. McGee) จิตแพทย์ และหัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์ของ The Haven at Pismo ศูนย์บำบัดผู้ติดยาเสพติดแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า “อาการกลัวเข็มนั้นเป็นเรื่องธรรมดามาก เพราะเป็นพื้นฐานทางพันธุกรรมที่เราทุกคนมีความกลัวต่อสิ่งที่แหลมคมจะทิ่มแทงทะลุเนื้อของเรา ส่วนมากมักพบในเด็กเสียส่วนใหญ่” แต่สำหรับบางคนอาจมีผลต่อจิตใจเนื่องจากได้รับการกระทบกระเทือน หรือสัมผัสเหตุการณ์ที่ฝังใจในช่วงเยาว์วัย ซึ่งมีอาการกลัวเข็มถึงร้อยละ 20-50% ในช่วงวัยรุ่นอาการกลัวเข็มพบได้ประมาณ 20-30% ส่วนในวัยผู้ใหญ่กลางคน โดยทั่วไปแล้วอาการกลัวเข็มจะลดลงเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น สาเหตุและอาการบ่งบอกว่าคุณ กลัวเข็ม หรือหนามแหลม ยังไม่มีการวิจัย และข้อพิสูจน์ ที่แน่ชัดของนักวิทยาศาสตร์ว่าอะไรเป็นสาเหตุของอาการกลัวเข็ม แต่มีการสันนิษฐานเบื้องต้นว่าอาจะเกิดมากจากปัจจัยเหล่านี้ ความกลัวที่ส่งผ่านพันธุกรรม หรือการบอกเล่า ในผู้ใหญ่หรือคนรอบข้างที่มีอาการกลัวเข็ม การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสมอง ความคิดที่ติดลบต่อแพทย์ และพยาบาลในวัยเด็ก เมื่อคุณเห็นเข็มฉีดยา หรือสิ่งของที่แหลมคม มักจะเกิดอาการ ดังต่อไปนี้ วิงเวียนศีรษะจนถึงขั้นหมดสติ อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตสูงขึ้น เกิดอาการวิตกกังวล เกิดการนอนที่ผิดปกติ เช่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เช็คด่วน 5 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณเป็น โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก

โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome) ถือเป็น 1 ใน 5 โรคฮิตจากโซเชียลมีเดีย หลายคนอาจสงสัยว่า เล่นเฟซบุ๊กก็มีเพื่อนตั้งมากแล้วจะเป็นโรคซึมเศร้าได้อย่างไร แต่อาการนี้เกิดขึ้นได้จริง ๆ เพราะคนเราเมื่อติดอยู่แต่หน้าจอ จิ้มๆ กดๆ คุยกับคนในโลกออนไลน์ ก็กลายเป็นไปเพิกเฉยต่อคนในโลกจริง แถมหลายคนใช้เฟซบุ๊กเป็นเครื่องระบายความรู้สึกมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาเราว้าเหว่ เหงา เดียวดาย ก็ยิ่งโพสต์เยอะ วันนี้ Hello คุณหมอ พามาทำความรู้จักกับโรคนี้อย่างละเอียด เราจะได้รู้ทันและป้องกันก่อนสายเกินแก้ โรคฮิตของคนติดจอ โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome) โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก(Facebook Depression Syndrome)เกิดจากการใช้งานเฟซบุ๊ก จนอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้หากเครือข่ายสังคมก่อให้เกิดความอิจฉาในหมู่ผู้ใช้ ขณะเดียวกัน เฟสบุ๊กอาจเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและส่งผลให้สุขภาพดีหากผู้ใช้ใช้ประโยชน์เพื่อเชื่อมต่อกับครอบครัว และเพื่อนเก่าเพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจและมีความสำคัญในชีวิตในรูปแบบที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากเฝ้ามองเพื่อนที่กำลังทำเงินหรือสร้างความสุข เฟซบุ๊กก็สามารถดึงคุณให้ไปสู่ความรู้สึกที่หดหู่ใจได้ 5 สัญญาณเตือน คุณมีภาวะเสี่ยง โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กหรือไม่? ลองมาดูกันว่าโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กหากคุณมีอาการเหล่านี้อย่างน้อย 2ข้อ แสดงว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เป็นสุข ของเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊ก ตกเป็นเหยื่อทางอารมณ์ของกิจกรรมชีวิตประจำวันของผู้อื่นๆ มักเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของตนเองกับเพื่อนๆ อยู่เสมอ รู้สึกกระวนกระวายใจ เมื่อไม่สามารถเช็คข้อความ ข่าวสาร หรือ สถานะของคุณได้เหมือนที่ทำเป็นปกติ คุณมักลับสมองและค้นหาข้อความขำขัน แหลมคม อัพเดทสถานะแบบดึงดูด  […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

คุณโลกส่วนตัวสูงหรือกำลังเป็น โรคกังวลต่อการเข้าสังคม (Social anxiety disorder)

บางครั้งการที่ต้องการอยู่คนเดียว เงียบๆ อาจหมายถึงคุณมีโลกส่วนตัวสูง แต่ในทางกลับกัน หากคุณเกิดความประหม่า หรือวิตกกังวลที่จะต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม นั่นอาจหมายความว่าคุณกำลังเป็น โรคกังวลต่อการเข้าสังคม ก็เป็นได้ หากยังไม่แน่ใจกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ลองอ่านบทความของ Hello คุณหไมอ และสังเกตตัวเองกันดีกว่า โรคกังวลต่อการเข้าสังคม (social anxiety disorder) คืออะไร? คนที่มีความวิตกกังวลทางสังคน อาจจะเกิดจากการกลัวความอับอายอย่างมากในสถานการณ์ทางสังคม ซึ่งความกลัวที่เกิดขึ้นนี้อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ส่วนตัวและอาชีพที่ทำอยู่ โดยความวิตกกังวลทางสังคมนั้นมักจะเกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก ซึ่งในช่วงวัยเด็กถือเป็นช่วงหนึ่งของการพัมนาการเข้าสังคม แต่ความวิตกกังวลนี้อาจจะไม่มีใครสังเกตเห็นจนกระทั้งอายุมากขึ้น อาการกังวลต่อการเข้าสังคมและความถี่ของอาการที่เกิดขึ้นนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โรคกังวลต่อการเข้าสังคม จำเป็นจะต้องได้รับการรักษา เนื่องจากอาจมีผลกระทบในชีวิตประจำวัน เพราะทำให้เกิดความประหม่า ความละอายใจ จนทำให้เกิดอาการเครียดเมื่อต้องอยู่ร่วมกับเพื่อน หรืออยู่ในที่สาธารณะร่วมกับบุคคลอื่นๆ อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมมีอะไรบ้าง อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมนั้น อาจมีอาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม ซึ่งความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบต่องานประจำวัน ชีวิตในโรงเรียน และกิจกรรมอื่นๆ อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมที่แสดงออกทางพฤติกรรมและอารมณ์ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกว่ากำลังเป็นศูนย์กลางหรือจุดสนใจ กลัวการอยู่ในสถานการ์ที่ต้องอยู่กับคนแปลกหน้า กลัวเมื่อต้องออกไปนำเสนอวิธีการต่างๆ ต่อผู้อื่น กลัวหรือละอายที่ต้องถูกล้อเลียนหรือถูกวิพากษ์วิจารณ์ กลัวการพบปะผู้คนที่มีอำนาจ วิตกกังวลอย่างรุงแรงจนถึงขั้นเสียขวัญ เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความกลัว ไม่ยอมเข้าร่วมกิจกรรมบางอย่าง หรือผู้คุยกับผู้คน เพราะกลัวการอับอายขายหน้า รู้สึกว่างเปล่าเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ทางสังคมที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล รู้สึกกลัวที่จะต้องวิตกกังวล ซึ่งส่งผลทำให้ความวิตกกังวลแย่ลง อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมที่แสดงออกทางร่างกาย ใจสั่น ปวดท้อง หลีกเลี่ยงการสบตา หน้าแดง ร้องไห้ โกรธ เกรี้ยวกราด ยึดติดกับพ่อแม่ หรือเกิดความเหงาขึ้นในเด็ก มือเย็นและชื้น สับสน มีเสียงก้องอยู่ในหัว ท้องร่วง พูดคุยได้ยาก เสียงสั่น ปากและลำคอแห้ง เหงื่อออกมากเกินไป ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ความเกลียดชัง ตัวสั่น เสียสมดุลในการเดิน เดินสะดุด สำหรับผู้ที่เป็นโรคกังวลต่อการเข้าสังคม มักเกิดความวิตกกังวลจนทำให้เกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ตามมา มีความรู้สึกไวต่อการวิจารณ์มากเกินไป มีความนับถือตนเองต่ำ มีทักษะทางสังคมที่ไม่ดี ไม่กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม พูดในแง่ลบเกี่ยวกับตัวเองด้วยความคิดที่ไม่ถูกต้องและเอาชนะตนเอง เมื่อเป็นโรคกังวลต่อการเข้าสังคมต้องรักษา อันดับแรกคือการไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เมื่เกิดอาการกลัวและหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคมที่ปกติ เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดความลำบากใจ กังวล หรือตื่นตระหนก การรักษาด้วยจิตบำบัดและการรักษาด้วยยาถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จิตบำบัด เป็นการรักษาทางจิตวิทยาที่ใช้หลากหลายเทคนิค เพื่อช่วยให้มองเห็นตัวเองและปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองในแง่ที่เป็นจริงมากขึ้น รวมถึงหาวิธีการเอาชนะและรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ จิตบำบัดมีหลายประเภทด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

นวดรักษาซึมเศร้า อีกหนึ่งวิธีรับมือโรคซึมเศร้าที่ไม่ใช่แค่เรื่องเพ้อฝัน

อารมณ์ของคนเราเปลี่ยนแปลงได้แทบจะทุกวินาที และคงไม่มีใครสามารถมีความสุขได้ตลอดเวลา หากจะเครียด หรือซึมเศร้าบ้างก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่หากอาการซึมเศร้าเริ่มเรื้อรัง จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ทำคุณหมดพลัง นอนไม่หลับ อาจเป็นสัญญาณว่า คุณกำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้า ซึ่งต้องหาทางรักษาหรือบรรเทาให้ดีขึ้น ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ปัจจุบันมีวิธีรักษาโรคซึมเศร้ามากมาย เช่น การใช้ยา จิตบำบัด การรักษาด้วยไฟฟ้า และอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือ การ นวดรักษาซึมเศร้า ที่อาจช่วยให้คุณรับมือกับโรคนี้ได้ดีขึ้น นวดบำบัด… อีกตัวเลือกในการรักษาโรค การนวดบำบัดโดยนักบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลให้เรารู้สึกผ่อนคลาย จัดเป็นวิธีบำบัดโรคที่นิยมใช้แพร่หลายในหลายภูมิภาค อย่างประเทศจีนก็มีการนวดบำบัดมาตั้งแต่เมื่อ 3,000 ปีก่อน หรืออย่างประเทศไทยเรา ก็มีการนวดแผนไทย หรือการนวดแผนโบราณเพื่อบำบัดโรคมาช้านาน การ นวดรักษาซึมเศร้า ได้อย่างไร เมื่อกล้ามเนื้อและเนื่อเยื่อเกี่ยวพันแข็งตึง อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวด หรือทำให้เราเคลื่อนไหวร่างกายได้จำกัด แต่เมื่อเราได้รับการนวดบำบัด ก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่แข็งตึงอยู่คลายตัว เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น และทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายขึ้นด้วย การนวดบำบัดอาจไม่ได้รักษาโรคซึมเศร้าได้โดยตรง แต่ก็อาจช่วยบรรเทาอาการทางกาย และอาการทางจิตใจที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าได้ เช่น อาการเฉื่อยชา ปวดหลัง ปวดข้อต่อ ปวดกล้ามเนื้อ รวมถึงยังช่วยลดอาการเหนื่อยล้า และปัญหาเกี่ยวกับการนอน ที่ผู้เป็นโรคซึมเศร้าต้องประสบได้ด้วย เมื่ออาการบรรเทาลง โรคซึมเศร้าของคุณก็อาจดีขึ้น ผลวิจัยทางคลีนิกจากสถาบัน The […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ไม่น่าเชื่อ! โรคกลัวทะเล มีอยู่จริง มารู้จักโรคแปลกใหม่นี้กันเถอะ

ทะเลประกอบด้วยธรรมชาติที่สวยงาม รายล้อมไปด้วยน้ำสีคราม ทรายสีนวลที่นุ่มละมุน ท้องฟ้าอันสดใส และต้นมะพร้าวที่พลิ้วไสว ทำให้ดึงดูดผู้คนมาตากแดดอาบลม เซลฟี่เก็บความทรงจำ แต่สงสัยกันไหมทำไมมีผู้คนบางกลุ่มถึงไม่ยอมลงเล่นน้ำบ้างเลย อาจเป็นเพราะว่าพวกเขากำลังเป็น โรคกลัวทะเล อยู่ก็เป็นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมารู้จักกับโรคแปลกนี้กัน โรคกลัวทะเล (Thalassophobia) คือ สำหรับผู้ที่มีอาการกลัวทะเล เพียงมองจากภาพถ่ายก็กลัวจนตัวสั่นแล้ว เพราะจินตนาการไปไกลว่าภายใต้ท้องทะเลจะมีอะไรซุกซ่อนอยู่จากพื้นผิวที่เราไม่มองเห็นหรือเปล่า โรคกลัวทะเล (Thalassophobia) คือโรคที่จัดอยู่ในประเภทของความหวาดกลัวเฉพาะเมื่อมองดู หรือสัมผัสกับแหล่งน้ำที่มีบริเวณกว้างใหญ่ ลึก และมืด ทำให้การทำงานด้านจิตใจ รวมถึงสมองของคุณนั้นเกิดอาการวิตกกังวลทันที สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (NIMH) เผยว่าโรคนี้เป็นกลุ่มอาการผิดปกติทางจิตไม่มีอันตรายร้ายแรงซึ่งพบได้ในหมู่ประชากรทั่วไปที่กลัวสภาพแวดล้อมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น โรคกลัวชุมชน โรคกลัวที่แคบ โรคกลัวรู  อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลัง กลัวทะเล อัตราการเต้นหัวใจถี่ขึ้น หรือหายใจเร็ว เหงื่อออกทั่วร่างกาย วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ เกิดอารมณ์เกลียดชัง หงุดหงิด ท้องไส้ปั่นป่วน กระสับกระส่าย วิตกกังวลมากกว่าปกติ เสียขวัญจนทำให้การนอนหลับผิดปกติ (นอนไม่หลับ) หากคุณจำเป็นที่ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้ ขอให้คุณอยู่ในระยะที่พอเหมาะเพื่อป้องกันการเกิดอาการข้างต้น สาเหตุที่ทำให้คุณ กลัวทะเล อย่างไม่มีเหตุผล มีหลายปัจจัยด้วยกันที่ทำให้คุณเกิดอาการกลัวทะเล มหาสมุทร หรือแหล่งน้ำลึก อาจเป็นเพราะคุณเคยมีความทรงจำฝังใจที่ไม่ดีต่อแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ ปัจจัยทางพันธุกรรม : การที่คนรอบข้าง หรือคนในครอบครัวของคุณเป็นโรคกลัวทะเล จนนำมาสู่การถ่ายทอดอาจเป็นในรูปแบบบอกเล่า เพื่อสร้างความปลอดภัย คุณจึงจดจำสิ่งที่ถูกถ่ายทอด และทำให้ติดตัวคุณมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม : คือสิ่งที่คุณเคยประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่ดีมาก่อนไม่ว่าในรูปแบบที่พบเจอด้วยตัวเอง หรือตามแหล่งข่าว เช่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวที่แคบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ทุกคนล้วนมีความกลัวอยู่ภายในจิตใจที่เก็บเป็นความลับเอาไว้ สำหรับบางคนอาจกลัวความมืดจนต้องเปิดไฟทั้งวันทั้งคืน บางคนมีอาการกลัวรูเพียงแค่เห็นภาพก็ชวนขนลุก รวมถึง โรคกลัวที่แคบ นี้ด้วย โรคเหล่านี้หลายคนอาจไม่ให้ความสำคัญทั้งที่จริงแล้วสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตในด้านอื่นๆ ได้ด้วย ควรหาวิธีรับมือกับโรครวมทั้งรักษาให้หายขาดเพื่อสุขภาพชีวิตที่ดี [embed-health-tool-bmi] โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia) คือ โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia)  คือ กลุ่มอาการวิตกกังวลผิดปกติ เป็นโรคเฉพาะเจาะจงรายบุคคล เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกให้อยู่คนเดียวในบริเวณที่ปิดล้อม และในพื้นที่แออัด เช่น ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรืออยู่ในลิฟต์ที่เต็มไปด้วยคนเยอะๆ ซึ่งส่งผลให้รู้สึกไม่สบายใจ หายใจไม่สะดวก หรือเริ่มมีอาการหงุดหงิด เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้ สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคกลัวที่แคบ  สาเหตุสำคัญของการเป็นโรคกลัวที่แคบอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของ อะมิกดะลา (Amygdala) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ควบคุมความรู้สึกกลัวหวาดระแวง และอาจเกี่ยวข้องกับความทรงจำในอดีตที่ทำให้สะเทือนต่อจิตใจ บางครั้งความกลัวที่แคบสามารถเริ่มต้นได้จากเหตุการณ์ในวัยเด็กที่ทำให้ฝังใจ เนื่องจากตอเยาว์วัยจิตใจของเด็กนั้นค่อนข้างอ่อนไหวง่ายต่อสิ่งรอบข้าง เช่น การถูกกลั่นแกล้ง การถูกกักขัง อุบัติเหตุที่ทำให้จำเป็นต้องติดในที่แคบแห่งนั้น เช่น ลิฟต์ค้าง และยังส่งผลให้รู้สึกกลัวบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดเมื่อพบเห็น ไม่ว่าจะเป็น ลิฟต์ อุโมงค์ ตู้เสื้อผ้า รถไฟได้ดิน ห้องเล็กๆ เป็นต้น อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคกลัวที่แคบ เหงื่อออก ตัวสั่น อัตราการเต้นของหัวใจแรงขึ้น ความดันโลหิตสูง วิงเวียนศีรษะและมึนหัว ริมฝีปากซีดแห้ง แน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวก ท้องไส้ปั่นป่วน อาการข้างต้นสามารถหายเองได้ ภายใน 5-30 นาที หัดสังเกตอาการของตนเองให้ถี่ถ้วนว่าอยู่ในภาวะที่รุนแรงหรือไม่ เพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที วิธีรักษาให้หายขาดจากโรคกลัวที่แคบ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวการแต่งงาน แค่คิดไปเองหรือปัญหาทางสภาพจิตใจ

การแต่งงานดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายของคู่รักหลายๆ คู่ แต่บางคนกลับกลัวการต้องผูกมัด หรือการสูญเสียความเป็นอิสระเมื่อต้องแต่งงาน จนอาจทำให้เกิดเป็น โรคกลัวการแต่งงาน (Gamophobia) เกิดขึ้น ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ลองมาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นผ่านทางบทความของ Hello คุณหมอ กันดีกว่า โรคกลัวการแต่งงาน (Gamophobia) คืออะไร? การแต่งงาน ถือเป็นพันธะที่น่ากลัวสำหรับบางคน เนื่องจากการแต่งงานถือเป็นการผูกมัดคน 2 คนเอาไว้ด้วยกัน ดังนั้น โรคกลัวการแต่งงาน (Gamophobia) จึงเป็นความกลัวการผูกมัดที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ความกลัวที่เกิดขึ้นไม่สามารถควบคุมได้ จาการศึกษาพบว่า โรคกลัวการแต่งงานนั้นมักเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงส่วนใหญ่นั้นมีความต้องการที่จะแต่งงาน หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ผู้ที่เป็นโรคกลัวการแต่งงานบางคนอาจจะกลัวการใช้ชีวิตทั้งชีวิตกับบุคคลคนเดียว แต่ในบางคนก็อาจกลัวความผิดหวังที่อาจจะเกิดขึ้นหลังแต่งงานนั่นเอง เหตุผลที่ทำให้กลัวการแต่งงาน การหย่าร้าง ถือเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ เหตุผลที่อาจทำให้เกิดโรคกลัวการแต่งงาน แต่ความจริงแล้วยังมีเหตุผลอื่นๆ อีกที่ทำให้คุณกลัวการแต่งงาน ซึ่งเหตุผลอื่นๆ มีดังนี้ ประสบการณ์เชิงลบในอดีต กลัวว่าจะตัดสินใจพลาด รู้สึกว่ากำลังจะสูญเสียความเป็นอิสระ ความไม่สมบูรณ์ของร่างกาย เช่น ภาวะมีบุตรยาก ขาดความมั่นใจในตัวเอง เงื่อไขภาวะซึมเศร้าอื่นๆ วิธีเอาชนะโรคกลัวการแต่งงาน สำหรับผู้ที่ต้องการจะเอาชนะโรคกลัวการแต่งงาน สามารถเอาชนะความกลัวและสร้างชีวิตแต่งงานที่สมบูรณ์และยั่งยืนได้ด้วยการ พัฒนาความคาดหวังให้เป็นความจริง ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง รู้เหตุผลในการแต่งงาน และเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเองว่าจะประสบความสำเร็จ นอกจากนั้นแล้วหากมีความคิดที่จะแต่งงานและต้องการเอาชนะโรคกลัวการแต่งงานที่เกิดขึ้น ก็สามารถทำได้ดังนี้ ตระหนักว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงหลังจากการแต่งงาน นอกเหนือจากนามสกุล หรือบางคนอาจจะไม่เปลี่ยนนามสกุลก็เป็นได้ และพยายามทำตัวให้เคยชินหากถูกเรียกว่าภรรยาหรือสามี ความจริงก็คือความสัมพันธ์ส่วนใหญ่ไม่ได้เปลี่ยนหลังจากเกิดการแต่งงาน อาจจะเข้ารับการบำบัดเล็กน้อย ด้วยการลองเข้าไปมีส่วนร่วมกับคู่แต่งงานที่มีความสุข หากเป็นไปได้ให้พูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับวิธีเอาชนะความกลัวต่อการแต่งงาน และลองคิดว่าจะนำวิธีการเหล่านี้ไปใช้กับความสัมพันธ์ของตัวเองได้อย่างไร ลองหากต้นกำเนิดแห่งการกลัว ด้วยการมองไปรอบๆ ตัว […]


การเสพติด

โนโมโฟเบีย (Nomophobia) โรคยอดฮิตของคนติดมือถือ

โทรศัพท์กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทุกคนต้องมี และเนื่องจากทุกอย่างสามารถทำได้ในโทรศัพท์ จึงทำให้คนจำนวนไม่น้อยเกิดอาการติดโทรศัพท์ บางคนถึงขั้นหงุดหงิด หรือวิตกกังวลเมื่อขาดโทรศัทพ์ไป มากกว่านั้นอาจกลายเป็นโรคโนโมโฟเบีย (Nomophobia) โรคที่หลายคนเป็นแต่ไม่รู้ตัว โนโมโฟเบีย (Nomophobia) คืออะไร? สำหรับคำว่าโนโมโฟเบีย (Nomophobia) มาจากคำศัพท์เต็มๆ ที่ว่า “no mobile phone phobia” ซึ่งเป็นคนที่ใช้อธิบายอาการของผู้ที่มีอาการทุกข์เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความกลัวที่จะต้องไม่มีโทรศัพท์มือถือ สัญญาณโทรศัพท์ รวมถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนั้นสามารถทำให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน งาน รวมถึงความสันพันธ์ต่างๆ ได้ ผลการศึกษาหลายชิ้นชี้ว่าโรคโนโมโฟเบียนี้กำลังแพร่หลายมากขึ้น จากข้อมูลการวิจัยที่เชื่อถือได้ของปี 2019 พบว่าเกือบร้อยละ 53 ของคนอังกฤษที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์ตั้งแต่ปี 2008 จะใความรู้สึกกังวลเมื่อโทรศัพท์ของพวกเขาแบตเตอรี่หมด หรือไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ผู้ที่เป็นโนโมโฟเบีย อาจจะหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์ที่ไม่ดี เหตุผลก็เพราะ เขากลัวที่จะถูกตัดจากการเชื่อมต่อ หรือบางคนอาจจะพลาดการเดินทางไปยังสถานที่บางแห่ง เพราะสถานที่แห่งนั้นเป็นสถานที่ที่ไม่มีที่ให้ชาร์ตแบตเตอรี่โทรศัพท์ นอกจากนั้นแล้วบางคนยังอาจจะชอบตื่นมากลางดึกหลายๆ ครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าพวกเขายังมีการเชื่อมต่ออยู่หรือไม่ รวมถึงตรวจสอบการอัพเดตบนโซเชียลของตนเอง จนทำให้เกิดการนอนไม่หลับ ซึ่งอาจส่งผลร้ายตามมาก็เป็นได้ อาการที่บ่งบอกว่ากำลังเป็นโนโมโฟเบีย หลังจากทำความรู้จักกับโนโมโฟเบียกันไปแล้ว คราวนี้ลองมาดูอาการที่อาจจะบ่งบอกได้ว่าคุณกำลังเป็นโนโมโฟเบียอยู่หรือไม่ โดยอาการนั้นแบ่งเป็นอาการทางอารมณ์ และอาการทางกายภาพ ดังนี้ อาการทางอารมณ์ กังวลหรือตื่นตระหนก เมื่อคิดว่าจะไม่มีโทรศัพท์ใช้ หรือโทรศัพท์อาจใช้งานไม่ได้ กังวลหรือรู้สึกปั่นป่วน หากต้องวางโทรศัพท์ลง หรือรู้ว่าจะไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ในชั่วขณะหนึ่ง วิตกกังวลหรือตื่นตระหนก หากหาโทรศัพท์ไม่พบ เกิดความเครียด หรือวิตกกังวล เมื่อไม่สามารถตรวจสอบโทรศัพท์ได้ อาการทางกายภาย แน่นหน้าอก การหายใจผิดปกติ ตัวสั่น เหงื่อออกมากขึ้น รู้สึกหน้ามืด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

แค่ อ่านหนังสือ ก็ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีได้

อ่านหนังสือ อาจเป็นกิจกรรมยามว่างสำหรับใครหลายๆ คน ได้หนังสือที่ชอบสักหนึ่งเรื่องก็อยู่ได้ทั้งวัน การอ่านหนังสือไม่ใช่แค่กิจกรรมยามว่างเท่านั้น แต่ว่าการอ่านหนังสือยังช่วยส่งเสริม สุขภาพจิตที่ดีให้กับผู้อ่านได้อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับการอ่านหนังสือมาฝากกันค่ะ อ่านหนังสือ ส่งเสริมสุขภาพจิต ได้อย่างไร การอ่านหนังสือเป็นกิจกรรมที่ช่วยสงเสริมทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต ซึ่งประโยชน์ของการอ่านหนังสื่อต่างๆ เหล่านี้จะอยู่กับเราไปตลอด การสงเสริมการอ่านตั้งแต่ยังวัยเยาว์จะส่งผลดีในอนาคตได้ การอ่านช่วยพัฒนาและเพิ่มความแข็งแรงของสมอง งานวิจัยในปี 2013 พบว่าการอ่านหนังสือช่วยให้ การสื่อสารในเซลล์สมองมีการพัฒนา ระบบประสาทและการสื่อสารในสมองนั้นมีความซับซ้อนมาก แต่การอ่านหนังสือจะช่วยให้ระบบต่างๆ เหล่านี้สื่อสารและทำงานได้ดีขึ้น โดยมีการวัดผลจากการทำ MRI สแกน และมีการทำให้ Somatosensory cortex ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่มีการตอบสนองต่อการสัมผัสทางกายภาพ เช่น การเคลื่อนไหว หรือความเจ็บปวด ดังนั้น พ่อ แม่ ผู้ปกครองควรอ่านหนังสือให้เขาฟังตั้งแต่เป็นทารกแม้ว่าเขาจะยังไม่รู้เรื่องก็ตาม อ่านไปเรื่อยๆ จนกว่าเขาจะเริ่มอ่านเองได้ เพราะการอ่านจะช่วยให้เขาเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องที่สนุก และน่าสนใจ แถมยังพัฒนาสมองอีกด้วย การอ่านช่วยลดความเครียด ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งความเครียดเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองมากถึงร้อยละ 50 และทำให้เกิดโรคหัวใจร้อยละ 40 จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Sussex ในปี 2009 พบว่าการอ่าน ช่วยลดระดับความเครียดได้ถึงร้อยละ 68 ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าการฟังเพลงหรือการเดินออกกำลังกาย มีส่วนในการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความจำเสื่อม เมื่ออายุมากขึ้น สมองก็จะทำงนได้ช้าลง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน