สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

โรคการกินผิดปกติ

กินมากเกินไป พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ควรหยุดทันที

เคยเป็นกันไหม กินอิ่มแล้วแต่ก็หยุดกินไม่ได้ เลยกินต่อจนรู้สึกแน่น จุก และไม่สบายท้อง พฤติกรรมนี้เรียกว่า พฤติกรรมการ กินมากเกินไป (Overeating) ซึ่งสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพและร่างกายได้ แล้วคุณควรทำอย่างไรจึงจะสามารถหยุดพฤติกรรมทำลายสุขภาพเช่นนี้ได้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลมาฝากคุณแล้วค่ะ ทำความรู้จักกับการ กินมากเกินไป การ กินมากเกินไป (Overeating) หมายถึง การรับพลังงาน หรือที่เรียกว่าแคลอรี่มากกว่าที่ร่างกายใช้ไป สำหรับบางคนที่กินมากเกินไป อาจเนื่องมาจากเหตุผลทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวล ซึมเศร้า ความเครียด หากต้องการทราบว่าคุณกินมากเกินไปหรือไม่ อย่างแรกที่จะต้องทำก็คือ การตรวจสอบปริมาณแคลอรี่ที่ควรได้รับอย่างถูกต้องในแต่ละวัน คุณจะได้ทราบว่า หากมีน้ำหนักตัว อายุ ระดับการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ระดับการออกกำลังกาย และเพศแบบนี้ ควรกินอาหารเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม เพราะการกินมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นการคุมอาหารจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก สัญญาณเตือนเมื่อกินมากเกินไป หลายคนคงสงสัยว่า แล้วจะรู้ได้ไงว่ากำลังกินมากเกินไป ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนว่า รู้สึกอย่างไรหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ คุณมีอาการอึดอัด ท้องป่อง รู้สึกไม่สบายท้อง รู้สึกจะเป็นลมหรือไม่ อาการต่าง ๆ เหล่านี้คือสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังกินมากเกินไป บ่อยครั้งที่การกินมากเกินไปอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติในการกิน […]


สุขภาพจิต

กินยาเกินขนาด ภัยอันตรายที่อาจคร่าชีวิต

กินยาเกินขนาด (Drug Overdose) อาจเกิดจากอุบัติเหตุ รวมถึงการทำลงไปโดยเจตนา การกินยาเกินขนาด คือ การบริโภคยามากเกินกว่าที่แพทย์กำหนด เมื่อกินเข้าไปแล้วอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ รวมไปถึงอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นเรื่องของการกินยาเกินขนาด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ถูกต้อง [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุของการ กินยาเกินขนาด สาเหตุของการกินยาเกินขนาด (Drug Overdose) อาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือมาจากการยาใช้ในทางที่ผิด การกินยาเกินขนาดโดยอุบัติเหตุมักเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก ผู้ที่มีอาการบกพร่องทางจิต หรือผู้ที่ต้องกินยาหลายชนิด การกินยาเกินขนาดจะส่งผลให้เมตาบอลิซึมไม่สามารถล้างพิษยาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่ได้ตั้งใจตามมา ซึ่งผลของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป การกินยาเกินขนาดในเด็กเล็กอาจเกิดขึ้นโดยความบังเอิญ ความอยากรู้อยากเห็น เด็กที่มีอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 3 ปี มักมีพฤติกรรมหยิบทุกสิ่งที่พบใส่เข้าปาก ส่วนในเด็กวัยหัดเดิน มักมีนิสัยชอบแบ่งปัน ดังนั้นเมื่อพวกเขาพบยาจึงเป็นไปได้ว่าอาจแบ่งยาที่พบให้กับเด็กคนอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดการกินยาเกินขนาดโดยไม่ได้ตั้งใจ ส่วนวัยรุ่นและผู้ใหญ่อาจมีแนวโน้มที่จะใช้ยาเกินขนาด 1 ชนิดหรือมากกว่านั้น เพื่อป้องกันตัวเอง พยายามทำร้ายตัวเอง รวมถึงพยายามฆ่าตัวตาย ดังนั้นผู้ที่ใช้ยาเกินขนาดในกลุ่มนี้ จึงมักจะประสบกับปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งต้องได้รับการวินิฉัยจากคุณหมอเฉพาะทาง กินยาเกินขนาด อาการ เป็นอย่างไร สำหรับสัญญาณและอาการที่เกิดขึ้นเมื่อกินยาเกินขนาด มีดังนี้ ปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณชีพ เช่น อุณหภูมิ อัตราชีพจร อัตราการหายใจ ความดันโลหิต ซึ่งสามารถบ่งบอกอาการผิดปกติของร่างกาย รวมถึงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ที่ชาวมิลเลนเนียลต้องใส่ใจ

ปัจจุบันโลกเราพัฒนาไปมาก มีเทคโนโลยีล้ำสมัยต่างๆ เกิดขึ้นให้เราตื่นตาตื่นใจไม่เว้นแต่ละวัน แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับพบว่า สุขภาพของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะชาวมิลเลนเนียล ซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยทำงานและเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน นั้นแย่ลงเรื่อยๆ ปัญหาสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ในยุคนี้จะมีอะไรบ้างที่เราต้องใส่ใจ แล้วเราจะรับมือกับมันยังไงได้บ้าง บทความนี้มีคำตอบให้แล้ว ท็อปเทน ปัญหาสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ยุคนี้เรื่องสุขภาพถูกพูดถึงมากขึ้น ผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจกับสุขภาพ เน้นการออกกำลังกายและการกินอาหารที่มีประโยชน์ หากมองในแง่นี้ เราอาจจะคิดว่า คนรุ่นใหม่จะต้องมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงกว่าคนรุ่นเก่าๆ แต่ข้อมูลจาก Blue Cross Blue Shield Association (BCBSA) ซึ่งเป็นองค์กรเกี่ยวกับการประกันภัยในประเทศสหรัฐอเมริกากลับเผยว่า สุขภาพของคนรุ่นใหม่นั้นถือว่า ไม่แข็งแรงเลยหากเทียบกับอายุของพวกเขา โดยข้อมูลยังเผยอีกว่า โรคยอดฮิตในสิบอันดับแรกพบในกลุ่มคนรุ่นใหม่ และชาวมิลเลนเนียลมากขึ้นนั้น ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคที่เกิดจากการใช้สารเสพติด โรคที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความดันโลหิตสูง อาการไฮเปอร์ (Hyperactivity) หรือภาวะอยู่ไม่สุข ขาดสมาธิ โรคจิต โรคโครห์น และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ โรคเบาหวานชนิดที่สอง นอกจากสิบโรคดังกล่าวแล้ว ชาวมิลเลนเนียลและคนรุ่นใหม่ในยุคนี้ยังมีความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพดังกล่าวมีทั้งปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า ชาวมิลเลนเนียลนั้นมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าและอาการไฮเปอร์ และความชุกของโรคในกลุ่มประชากรชาวมิลเลนเนียลนั้นสูงกว่า คนเจนเอ็กซ์และคนกลุ่มเบบี้บูมเบอร์เสียอีก ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ปัญหาสุขภาพของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะชาวมิลเลนเนียลที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ นี้ อาจเป็นผลมาจาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ชาวมิลเลนเนียลถือว่า เป็นกลุ่มคนที่เติบโตมากับเทคโนโลยีโดยแท้จริง และได้เรียนรู้การใช้อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ และใช้ชีวิตอยู่กับอุปกรณ์เหล่านั้นมากกว่าจะเรียนรู้ในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การสบตาผู้คน ทำให้ไม่ถนัดในการอ่านสีหน้า หรือไม่ระมัดระวังในการรับมือกับอารมณ์ของผู้อื่นรวมถึงตัวเองเท่าไหร่นัก การขาดความตระหนักรู้ทางอารมณ์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล (SAD) เกิดขึ้นได้ เพราะอากาศที่เปลี่ยนไป

เมื่ออากาศหนาวๆ เข้าปกคลุมทีไร ฟ้าสลัวๆ อากาศครึ้มๆ มักทำให้เรารู้สึกเศร้าขึ้นมาอย่างไม่มีสาเหตุ บางครั้งที่เราเศร้าอยู่แล้วเจ้าอากาศเย็นๆ ก็พาให้เราเศร้าขึ้นไปอีก แล้วความเศร้านี้มันมาจากไหน ทำไมฤดูหนาวถึงพาเราเศร้ากว่าปกติทุกที วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักกับภาวะหนึ่งที่เรียกว่า “Seasonal affective disorder (SAD)” หรือ ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล แล้วเราจะจัดการกับความเศร้าในหน้าหนาวนี้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ ทำไมเราเศร้าเป็นพิเศษในฤดูหนาว? Seasonal affective disorder (SAD) ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล เป็นรูปแบบของ ภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล หรือ ภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูหนาว คนที่มีอาการ SAD จะมีอารมณ์แปรปรวนและมีอาการคล้ายกับภาวะซึมเศร้าทำให้เรารู้สึกหดหู่ เศร้า ไม่สนใจทำกิจกรรมใดๆ  บางครั้งส่งผลให้นอนหลับยาก หรือแม้จะได้นอนมากแต่ก็จะมีอาการเมื่อยล้า อาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น หลังจากตื่นนอนรู้สึกไม่สดชื่น  โดยอาการมักเกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ที่มีแสงแดดน้อยลงและมักจะดีขึ้นเมื่อฤดูใบไม้ผลิฤดูร้อนมาถึง SAD ไม่ใช่แค่ “Winter blue” อาการอาจเป็นที่น่าวิตกกังวล และสามารถแทรกแซงการทำงานประจำวันของเราได้ และมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สาเหตุของการเกิด ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล (SAD)  ในทางการแพทย์ยังไม่มีงานวิจัยที่มีความเฉพาะเจาะจงถึงปัญหาของโรค SAD ว่ามาจากอะไร […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ไม่ได้ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น

หลายคนคงมีความเชื่อว่า การดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงอากาศเย็น จะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า…การ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในหลายๆ ด้าน ทาง Hello คุณหมอ จึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ในแง่มุมต่างๆ มาฝากกัน ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย แม้แอลกอฮอล์จะช่วยทำให้เลือกสูบฉีดและไหวเวียนได้ดี แต่การ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย เมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป มีดังนี้ สมองทำงานช้าลง ในช่วงระยะเวลา 30 นาที หลังจากดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป จะส่งผลให้สมองทำงานได้ช้าลง ทั้งในด้านการสื่อสาร อารมณ์ รวมถึงการตอบสนองต่างๆ อีกด้วย เซลล์สมองเปลี่ยนแปลง หากดื่มหนักเป็นเวลานานอาจทำให้เซลล์สมองเปลี่ยนแปลง และสมองหดลง จึงส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ และการจดจำสิ่งต่างๆ นอกจากนี้ส่งผลทำให้ร่างกายรักษาอุณหภูมิได้ยากขึ้น ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ แอลกอฮอล์อาจทำให้เผลอหลับได้ง่ายขึ้น แต่ร่างกายจะไม่ได้พักผ่อนเพราะเมื่อร่างกายมีแอลกอฮอล์อยู่ตลอดทั้งคืน จะทำให้รู้สึกวิงเวียนอยู่ตลอดคืน ตื่นบ่อยเพื่อเข้าห้องน้ำ ส่งผลให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะฝันร้าย แผลในกระเพาะอาหาร การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคือง และทำให้น้ำย่อยไหลผ่าน เมื่อร่างกายมีกรดและแอลกอฮอล์อยู่เป็นจำนวนมาก จะทำให้รู้สึกคลื่นไส้และอาเจียน ในช่วงที่ดื่มหนักๆ อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมีน้ำย่อยในปริมาณที่สูง จนทำให้ไม่รู้สึกหิว ดังนั้นเหล่านักดื่มที่ดื่มมาอย่างยาวนาน มักจะไม่ได้รับสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการ ลำไส้เกิดการระคายเคือง ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เกิดอาการระคายเคือง จึงเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องเสีย นอกจากนั้นยังทำให้มีอาการเสียดท้องมากยิ่งขึ้น ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากแอลกอฮอล์ส่งผลต่อการทำงานของสมอง ดังนั้นสมองจึงหยุดสั่งการฮอร์โมนที่ป้องกันไม่ให้ไตผลิตปัสสาวะมากเกินไป นั่นจึงทำให้เกินการปัสสาวะบ่อยขึ้น เซลล์ตับได้รับผลกระทบ ไตหยุดทำงาน ถ้าหากเป็นโรคตับอยู่ การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ขั้นตอนในการรักษาตับสูญเปล่า ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้ไขมันในอวัยวะและเนื้อเยื่อหนาขึ้นจนเป็นเส้นใย ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด เซลล์ตับก็จึงได้รับผลกระทบเช่นกัน อาจทำให้ไตถึงขั้นหยุดการทำงาน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวรู (Trypophobia) ขนลุกแบบขำๆ หรืออันตรายที่ต้องระวัง

หลายคนคงจะเคยเห็นภาพรูเล็กๆ ที่เรียงต่อกันหลายๆ รู ผ่านสายตากันมาบ้าง หลังจากเห็นภาพรูมากมายเหล่านั้นแล้ว คุณรู้สึกอย่างไร? รู้สึกขนลุกซู่ ขยะแขยง หรือรังเกียจหรือไม่? ถ้าหากคุณมีปฏิกิริยากับภาพรูเล็กๆ เหล่านั้น ไม่แน่ว่า คุณอาจจะกำลังเป็น โรคกลัวรู อยู่ก็เป็นได้ มาทำความรู้จักกับโรคกลัวรูให้มากขึ้นกับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ กันค่ะ รู้จักกับ โรคกลัวรู (Trypophobia)  เชื่อว่าไม่ใช่แค่เพียงคุณที่กำลังอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่าตนเองมีอาการหวาดกลัว ขนลุก ขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นภาพรูเล็กๆ เช่น ภาพฝักบัว รังผึ้ง หรือภาพวงกลมเล็กๆ หลายๆ วงเรียงต่อกัน ยังมีอีกหลายคนที่มีอาการเช่นเดียวกันกับที่คุณกำลังเป็นอยู่ อาการนั้นเรียกว่า โรคกลัวรู หรือ Trypophobia โดยคำว่า “Trypophobia” ได้เกิดขึ้นในสื่อเว็บไซต์ต่างๆ เมื่อปี 2005 ก่อนที่จะกลายมาเป็นกระแสไวรัลไปทั่วทั้งอินเทอร์เน็ตจนกระทั่งปัจจุบัน โรคกลัวรู คือ การที่บุคคลหนึ่งมีความรู้สึกรังเกียจและกลัวต่อรูเล็ก ๆ ที่เรียงติดกัน บุคคลนั้นจะรู้สึกอีดอัด ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หากจะต้องจ้องมองไปยังรูหรือหลุมเล็ก ๆ ที่เรียงติดกันเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม โรคกลัวรูก็ยังไม่ได้รับการระบุว่าเป็นความผิดปกติของโรค หรือความผิดปกติทางสุขภาพจิตแต่อย่างใด เนื่องจากข้อจำกัดในการวิจัย และข้อมูลที่ยังไม่เพียงพอ […]


การเสพติด

การใช้เบนโซไดอะซีปีนในทางที่ผิด (Benzodiazepine abuse)

ยาเบนโซไดอะซีปีน บางชนิดเป็นยาที่แพทย์ในสหรัฐอเมริกาสั่งจ่ายให้ผู้ป่วยมากที่สุด เมื่อผู้ป่วยได้รับและใช้ยาเหล่านี้สำหรับการออกฤทธิ์ระงับประสาทโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่ง จะถือเป็น การใช้เบนโซไดอะซีปีนในทางที่ผิด คำจำกัดความการใช้เบนโซไดอะซีปีนในทางที่ผิด คืออะไร เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) เป็นยาประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะ “ยาระงับประสาท (tranquilizers)” ชื่อที่คุ้นเคย ได้แก่ แวเลียม (Valium) ซาแน็กซ์ (Xanax) ยาเบนโซไดอะซีปีน บางชนิดเป็นยาที่แพทย์ในสหรัฐอเมริกาสั่งจ่ายให้ผู้ป่วยมากที่สุด เมื่อผู้ป่วยได้รับและใช้ยาเหล่านี้สำหรับการออกฤทธิ์ระงับประสาทโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่ง จะถือเป็น การใช้เบนโซไดอะซีปีนในทางที่ผิด แพทย์อาจสั่งยาเบนโซไดอะซีปีนสำหรับอาการทางร่างกายที่ไม่ผิดกฎหมาย ดังต่อไปนี้ ภาวะวิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ ภาวะถอนพิษสุรา การรักษาอาการชัก การคลายกล้ามเนื้อ รักษาภาวะความจำเสื่อม (amnesia) ใช้ก่อนการให้ยาระงับความรู้สึก เช่น ก่อนการผ่าตัด เบนโซไดอะซีปีนออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ก่อให้เกิดการระงับประสาท และการคลายกล้ามเนื้อ และลดระดับความวิตกกังวล แม้จะมีการผลิตเบนโซไดอะซีปีนมากกว่า 2,000 ชนิด แต่ในปัจจุบัน ก็มีเพียง 15 ชนิดเท่านั้นที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ยาชนิดนี้มักจำแนกโดยระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์ ยาที่มีฤทธิ์ระยะสั้นมาก เช่น ยาไมดาโซแลม (Midazolam) อย่างเวอร์เซด (Versed) ยาทรัยอาโซแลม (triazolam) อย่างฮาลซิออน (Halcion) ยาที่มีฤทธิ์ระยะสั้น เช่น ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam) อย่างซาแนกซ์ ( Xanax) ยาลอราซีแพม (lorazepam) อย่างอะทีแวน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รู้จักกับ โรค ไม่ชอบมี เพศ สัมพันธ์

โรค ไม่ชอบมี เพศ สัมพันธ์ถือเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีทัศนคติเชิงลบต่อเรื่องเพศ หรืออาจจะเคยโดนล่วงละเมิดทางเพศก็เป็นได้ แต่ความจริงแล้ว ภาวะเกลียดเซ็กส์นี้ยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีกด้วย แล้วเมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องเกี่ยวกับภาวะเกลียดเซ็กส์ มาฝากกัน [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จักกับ โรค ไม่ชอบมี เพศ สัมพันธ์ โรค ไม่ชอบมี เพศ สัมพันธ์ คือ ภาวะที่มีอาการเบื่อทางเพศ หลีกเลี่ยง หวาดระแวง หรือหวาดกลัวเมื่อมีเพศตรงข้ามเข้ามาใกล้ชิด บางครั้งเป็นอาการที่เกิดขึ้น เพื่อยับยั้งความต้องการทางเพศ หลีกเลี่ยงทางเพศ หรือความเกลียดชังทางเพศ และอาจเกี่ยวข้องถึงปัญหาทางด้านร่างกายได้ ภาวะเกลียดเซ็กส์นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง โดยอาการหลัก ๆ ของภาวะเกลียดเซ็กส์ คือ เบื่อกิจกรรมทางเพศ ขาดความต้องการทางเพศ รวมทั้งอาจรู้สึกกลัวหรือโกรธ เมื่อได้รับรู้เรื่อง ได้ยิน เนื้อหาเรื่องเซ็กส์ เหตุผลที่ทำให้เกิด โรค ไม่ชอบมี เพศ สัมพันธ์ สำหรับเหตุผลที่ทำให้เกิด โรค ไม่ชอบมี เพศ สัมพันธ์ มีด้วยกันหลายหลายสาเหตุ ตามแต่อาการ หรือผลกระทบจากประสบการณ์ที่ผู้ป่วยพบเจอมา ซึ่งสาเหตุต่าง […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

คนที่เป็นพิษต่อผู้อื่น (Toxic People) ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคุณอย่างไรบ้าง

คุณเคยมีเพื่อนที่เหมือนจะดี แต่ก็ทำให้คุณรู้สึกไม่มีความสุขไหม ? หรือว่าในที่ทำงาน มีเพื่อนร่วมงานที่คุณไม่อยากพูดคุยกับเขาเลย เพราะแค่เห็นหน้าก็รู้สึกไม่สบายใจแล้ว บทความนี้ชวนมาดู คุณสมบัติของคนที่เป็นพิษต่อผู้อื่น  (Toxic People)  ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วการคบกับพวกเขา จะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของคุณได้อย่างไรบ้าง คนที่เป็นพิษต่อผู้อื่น มีลักษณะอย่างไร คนที่เป็นพิษต่อผู้อื่น (Toxic People) มักจะมีลักษณะร่วมกันดังต่อไปนี้ มาลองดูกันว่าเพื่อนของคุณ หรือตัวคุณเองมีลักษณะแบบนี้หรือเปล่า 1.ชอบใช้คนอื่นเป็นเครื่องมือ – คนที่เป็นพิษต่อผู้อื่นมักจะชอบใช้คนอื่นเป็นเครื่องมือ โดยจะพยายามทำให้คนอื่น ยอมทำตามในสิ่งที่พวกเขาต้องการ โดยไม่สนใจว่าคนอื่นจะเดือนร้อนหรือไม่ เช่น ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นตลอดเวลา รบกวนผู้อื่นอยู่ตลอด เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ 2. ชอบวิจารณ์และตัดสินทุกอย่าง – ควรระวังการวิพากษ์วิจารณ์จากคนพวกนี้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่คุณควรนำมาใส่ใจ เนื่องจากพวกเขามักจะตัดสินคนอื่น ว่าเป็นแบบนั้นแบบนี้ คนนั้นเป็นคนไม่ดี คนนี้ไม่สวย ไม่หล่อ ซึ่งความจริงแล้วสิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เป็นก็ได้ คุณควรรับฟังข้อมูลจากหลายๆ แหล่งก่อนที่จะตัดสินใจอะไร 3. ไม่เคยโทษตัวเองเลย – บางคนก็ไม่เคยรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ เวลาเกิดปัญหาต่างๆ ก็จะโทษผู้อื่นไว้ก่อน หรือกล่าวโทษโชคชะตา ผลกรรมแต่ชาติปางก่อน ทุกอย่างผิดไปหมด ยกเว้นตัวเอง 4. ไม่เคยขอโทษ – เพราะโทษคนอื่นตลอด พวกเขาไม่เคยคิดว่าตัวเองผิด ก็เลยไม่เคยขอโทษ 5. เล่นบทเหยื่อตลอดเวลา […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

ปัญหาโลกแตก! รับมืออย่างไรเมื่อ เพื่อนร่วมงานเป็นไบโพลาร์

ชีวิตในการทำงานของแต่ละคนอาจไม่ราบรื่นเสมอไป การทำงานส่วนใหญ่มักมีปัญหาให้เราต้องแก้ไขอยู่ตลอดเวลา แต่บางครั้ง ปัญหาจากงานอาจกลายเป็นเรื่องเล็กไปเลย เมื่อเทียบกับปัญหาที่เกิดจากคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า โดยเฉพาะเพื่อนร่วมงาน เพราะเป็นคนที่เราต้องทำงานด้วยและเจอหน้ากันแทบทุกวัน ยิ่งหากใครเจอ เพื่อนร่วมงานเป็นไบโพลาร์ ด้วยแล้ว ชีวิตในการทำงานอาจยิ่งย่ำแย่ จนส่งผลกระทบกับสุขภาพและลามไปถึงคุณภาพในการทำงานด้วย ใครกำลังประสบปัญหานี้อยู่ Hello คุณหมอ มีวิธีรับมือมาให้คุณแล้ว รับรองว่า… ชีวิตการทำงานของคุณจะง่ายขึ้นอีกเยอะ เพื่อนร่วมงานเป็นแบบนี้ ไบโพลาร์ชัวร์! โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างช่วงซึมเศร้าหรือภาวะซึมเศร้า (Depressive Episode) กับช่วงมาเนีย (Mania) หรือภาวะฟุ้งพล่าน หรือ คุ้มคลั่ง (Manic Episode) โดยอาการในแต่ละช่วง อาจเป็นอยู่หลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน และอาจกลับมาเป็นปกติได้ในช่วงสั้นๆ ก่อนจะกลับไปมีอาการของโรคไบโพลาร์สลับกันไปมาอีกครั้ง อาการของโรคไบโพลาร์นั้นวินิจฉัยได้ยาก แต่หากคุณสงสัยว่า เพื่อนร่วมงานเป็นไบโพลาร์หรือไม่ ก็สามารถสังเกตเบื้องต้นได้จากอาการและสัญญาณดังต่อไปนี้  สัญญาณของภาวะฟุ้งพล่าน รู้สึกมีความสุข หรือคึกคักเกินปกติ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่อยากนอน หรือนอนน้อย พูดเร็ว คิดเร็ว หุนหันพลันแล่น หรือ ด่วนตัดสินใจ ไม่มีสมาธิ มั่นใจในตัวเองมากเกินไป มักแสดงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ช้อปปิ้งกระจาย เอาเงินเก็บมาใช้แบบไม่เหมาะสม สัญญาณของภาวะซึมเศร้า รู้สึกเศร้าหรือสิ้นหวัง ติดต่อกันเป็นเวลานาน ปลีกตัวออกจากเพื่อนร่วมงาน ครอบครัว คนใกล้ชิด เลิกสนใจกิจกรรมที่เคยโปรดปราน ความอยากอาหารเปลี่ยนไป เช่น จากกินจุกลายเป็นไม่อยากอาหาร […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน