สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ย้ายบ้าน ย้ายงานใหม่ มีวิธีปรับตัวอย่างไร เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง

ความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เราทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วดับไป แต่หลายครั้งการเปลี่ยนแปลงก็ส่งผลต่อตัวเรา ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต เช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนที่ทำงานใหม่ อาจทำให้หลายคนกังวลใจ บทความนี้ Hello คุณหมอจึงมี วิธีปรับตัว มาแนะนำ สำหรับผู้ที่กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการตนเอง ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสมเหมาะสม ทำไมคนเราถึงไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ก่อนจะไปรู้วิธีรับมือ เรามาดูสาเหตุกันก่อนดีกว่า ว่าทำไมคนเราไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ลองมาตรวจสอบดูกันว่าคุณต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เพราะสาเหตุเหล่านี้หรือเปล่า… สูญเสียการควบคุม การเปลี่ยนแปลงมักจะทำให้รู้สึกว่า เราไม่สามารถควบคุมเรื่องต่างๆ ได้ และเรื่องต่างๆ อาจอยู่เหนือการควบคุม จนทำให้คุณเกิดความกลัวขึ้นมา มีแต่ความไม่แน่นอน เวลาที่ต้องปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลง คุณอาจจะมีความรู้สึกเหมือนกำลังเดินไปข้างหน้าทั้งๆ ที่มีผ้าปิดตาอยู่ เลยรู้สึกไม่ปลอดภัยกับความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้น จนเป็นเหตุให้ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง มีแต่เรื่องไม่คาดคิด เมื่อคุณเปลี่ยนที่ทำงานใหม่ หรือเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ คุณอาจต้องเจอกับเรื่องเซอร์ไพรส์ตลอดเวลา เช่น เพื่อนร่วมงานนิสัยแปลกๆ หรือเพื่อนบ้านนิสัยน่ากลัว ซึ่งคุณอาจไม่ได้เตรียมตัวที่จะรับมือกับเรื่องที่น่าประหลาดใจเหล่านี้ ทุกอย่างแตกต่างจากเดิมไปหมด การ ‘เปลี่ยนแปลง’ หมายถึง การ ‘เปลี่ยนไป’ แต่จะเปลี่ยนไปในแง่ไหนบ้างล่ะ คุณก็ต้องมาดูทีละเรื่อง เช่น การย้ายบ้านทำให้ชีวิตประจำวันของคุณเปลี่ยนไป หรือการไปในที่ทำงานใหม่ อาจทำให้คุณต้องปรับเปลี่ยนนิสัยการทำงานของตัวเอง ซึ่งความแตกต่างที่เกิดขึ้นนี้ อาจสร้างความสับสันและความกังวลให้คุณได้ กังวลเกี่ยวกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เวลาต้องย้ายไปอยู่ในสถานที่ใหม่ๆ อาจทำให้หลายคนกลัว ว่าตัวเองจะรับมือกับปัญหาต่างๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคไบโพลาร์ในวัยรุ่น สัญญาเตือนและการรับมือที่ถูกต้อง

โรคไบโพลาร์ หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) นั้นเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์เป็นสำคัญ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เวลาเศร้าก็จะเศร้ามากเป็นพิเศษ แต่เมื่อมีความสุขก็จะมีความสุขมากเป็นพิเศษเช่นกัน ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคนในครอบครัว และควรจะต้องไปปรึกษาแพทย์ เพื่อรับวิธีการรักษาที่ถูกต้อง โรคไบโพลาร์ นั้นสามารถเกิดได้กับคนทุกวัย โดยเฉพาะ โรคไบโพลาร์ในวัยรุ่น คุณพ่อคุณมีควรจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะในวัยนี้บางครั้งยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้เท่าที่ควร  บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกัน โรคไบโพลาร์ในวัยรุ่น ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ อาจมีหลายคนสงสัยว่า เมื่อเป็นโรคไบโพลาร์แล้ว จะยังสามารถใช้ชีวิตแบบปกติได้หรือไม่ หรือเมื่อเป็นแล้วจะกลับมาเป็นปกติได้หรือไม่ ลองมาดูข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อสงสัยต่างๆ ดังนี้ หลายคนเชื่อว่า เมื่อเป็นโรคอารมณ์สองขั้วแล้ว จะไม่สามารถมีอาการที่ดีขึ้น หรือใช้ชีวิตแบบปกติได้ ต้องบอกเลยว่า การใช้ชีวิตอยู่กับโรคไบโพลาร์นั้น ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก แต่จริงๆ แล้ว คนที่เป็นไบโพลาร์หลายคน มีอาชีพที่ประสบความสำเร็จ มีครอบครัวที่ดี และมีชีวิตที่มีความสุข ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะพวกเขาได้เข้ารับการรักษา พร้อมทั้งได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะในการเผชิญหน้ากับความเครียดที่ดี รวมถึงได้รับการสนับสนุนที่มั่นคงอีกด้วย โรคไบโพลาร์ส่งผลทางอารมณ์เท่านั้น ความจริงแล้ว โรคไบโพลาร์ ยังส่งผลต่อระดับพลังงาน การตัดสิน ความจำ สมาธิ ความอยากอาหาร รูปแบบการนอนหลับ แรงขับเคลื่อนทางเพศ รวมถึงการเห็นคุณค่าในตัวเอง นอกจากนี้ความผิดปกติของโรคนี้ ยังเชื่อมโยงกับความวิตกกังวล การใช้สารเสพติด […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

8 เหตุผลที่ทำให้คนนอกใจ ที่ไม่ได้มีแค่ ‘เราเข้ากันไม่ได้’

เหตุผลที่ทำให้คนนอกใจ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ไม่ว่าคุณจะโดนคนรักนอกใจ หรือเป็นคุณที่นอกใจคนรักเสียเอง ก็ล้วนแล้วแต่จะกระทบต่อความสัมพันธ์ จนอาจทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้สึกเจ็บปวด โกรธแค้น ซึมเศร้า หรือแม้แต่มีอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย แล้วสาเหตุที่ทำให้คนเรานอกใจกัน เกิดจากอะไรกันแน่ ลองมาดูข้อมูลจากงานวิจัยกันค่ะ 8 เหตุผลที่ทำให้คนนอกใจ งานวิจัยในปี 2017 ที่เผยแพร่ในวารสาร The Journal of Sex Research ได้ทำการศึกษาวิจัย โดยใช้แบบสำรวจทางออนไลน์ในการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 495 คนที่นอกใจคนรัก ว่าพวกเขามีเหตุผลอะไรในการนอกใจกันแน่ โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้หญิง 259 คน ผู้ชาย 213 คน และไม่ระบุเพศ 23 คน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ชายและผู้หญิง 87.9% ส่วนใหญ่อยู่ในวัย 20 ปี และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้มีความสัมพันธ์อย่างจริงจัง มีเพียง 51.8% ที่รายงานว่า มีความสัมพันธ์แบบคบหากันเป็นคู่รัก ผลการวิจัยพบว่ามี 8 ปัจจัยหลักที่ทำให้คนนอกใจ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้อธิบายการนอกใจทุกกรณี เพราะบางกรณีอาจไม่ได้เกิดจาก 8 สาเหตุนี้ก็ได้ แต่ข้อมูลเหล่านี้ก็สามารถช่วยทำให้เข้าใจเหตุผล ที่คนนอกใจได้มากขึ้น ดังนี้ 1 ความโกรธ หรือต้องการแก้แค้น หลายคนนอกใจ เพราะความโกรธและอยากแก้แค้น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ไม่ใช่แค่ป่วยบ่อย แต่ ความเครียดจากการทำงาน ส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด

ใครที่ป่วยบ่อย ป่วยง่าย ร่างกายไม่แข็งแรง แถมนอนไม่ค่อยหลับ คุณอาจโดนความเครียดเล่นงานเข้าให้แล้ว แล้วรู้หรือเปล่าว่า ถ้ายิ่งเป็น ความเครียดจากการทำงาน ที่คุณต้องเผชิญทุกวัน ก็สามารถทำให้สุขภาพแย่ลงในระยะยาว มาดูกันว่า ความเครียดจากการทำงาน จะส่งผลต่อสุขภาพของคุณอย่างไรได้บ้าง และเราจะเตรียมพร้อมรับมือ ความเครียดจากการทำงาน กันอย่างไรดี ความเครียดจากการทำงาน ส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด – ความเครียดทำให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ งานวิจัยพบว่า แม้จะเป็นเพียงความเครียดที่ไม่รุนแรง เช่น ความเครียดที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน ก็อาจทำให้เสียความสามารถในการควบคุมความกลัวและความกังวลได้ – ความเครียดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการป่วยทางจิต ความเครียดเชื่อมโยงกับความเจ็บป่วย และการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคปอด การฆ่าตัวตายเนื่องจากโรคซึมเศร้า นอกจากนี้งานวิจัยจากสถาบัน Johns Hopkins University  ให้ข้อมูลว่าเด็กที่เผชิญกับความเครียดเรื้อรัง มีแนวโน้มว่าจะพัฒนาอาการป่วยทางจิต หากมีความอ่อนแอทางพันธุกรรม – ความเครียดส่งผลต่อเรื่องทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์อาจมีส่วนช่วยบรรเทาความเครียด แต่ความเครียดก็สามารถส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ได้เช่นกัน เนื่องจากมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า ความเครียดสามารถส่งผลต่อน้ำหนักตัวของผู้ชาย ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และความปรารถนาทางเพศ – ความเครียดอาจทำร้ายสุขภาพเหงือกและฟัน ความเครียดอาจส่งผลให้คุณมีอาการนอนกัดฟัน ขณะนอนหลับโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจทำลายสุขภาพเหงือกและฟัน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดกับโรคเหงือกด้วย – ความเครียด ทำร้ายหัวใจ ความเครียดสามารถสร้างความเสียหายให้กล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อฮอร์โมนเครียด หรือฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจก็จะเพิ่มขึ้นด้วย หลอดเลือดก็จะหดตัว ซึ่งส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น มากไปกว่านั้นความเครียดยังเพิ่มความดันโลหิต ถ้าคุณเป็นคนที่เครียดบ่อย […]


การจัดการความเครียด

เครียดแล้วอยากกินของหวาน เกิดจากสาเหตุใดกันแน่นะ

เครียดแล้วอยากกินของหวาน เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับใครหลายคน ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมเวลาที่คนเราเครียด แล้วต้องหาของหวานมากินนั้น ในบทความนี้มีข้อมูลมาฝาก แต่ก่อนที่เราจะไปรู้สาเหตุ มาสังเกตพฤติกรรมตัวเองกันหน่อยดีกว่าว่า คุณเป็นคนที่เครียดแล้วกินหรือเปล่า ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ก็มีแนวโน้มว่า เวลาที่คุณเครียด คุณอาจจะมองหาของหวาน และกินมากเกินไป เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น เช่น เวลาเครียดคุณจะอยากกินอาหารเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น คุณกินทั้งๆ ที่ไม่รู้สึกหิว หรือว่ากินทั้งๆ ที่อิ่มแล้ว คุณกินอาหารมื้อใหญ่ คุณไม่สามารถควบคุมการกินของตัวเองได้ ทำไมเวลา เครียดแล้วอยากกินของหวาน อาหารกับความเครียด เวลาที่คุณรู้สึกเครียดนั้น การกินตามอารมณ์ (Emotional eating) หรือการกินเพราะความเครียด (Stress eating) มักจะเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายตอบสนอง ต่อฮอร์โมนแห่งความเครียด งานวิจัยในปี 2010 จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ที่ได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีและไม่มีความเครียด ผลการวิจัยพบว่า เมื่อระดับฮอร์โมนความเครียด หรือฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงขึ้น กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มว่าจะกินขนมขบเคี้ยวมากขึ้น นอกจากนี้ความเครียด ยังอาจเพิ่มความอยากอาหาร โดยเฉพาะของหวาน เช่น โดนัท ไอศกรีม อาหารที่มีไขมันสูงและมีน้ำตาลสูง รวมถึงทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะกินอาหารที่มีประโยชน์น้อยลง กินผักน้อยลง และหันไปกินของหวานมากขึ้น ระวังเรื่องน้ำหนัก ถ้าคุณเป็นคนที่ ‘เครียดแล้วกิน’ จะต้องหาของหวานมากินในเวลาที่รู้สึกเครียด ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะหลายคนเป็นแบบนี้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ผู้ที่เครียดแล้วกินส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักมากกว่าหรืออ้วนกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ไม่ได้กินอาหารเวลาเครียด ของหวานกับฮอร์โมนเซโรโทนิน สาเหตุที่ทำให้เราอยากกินของหวานเวลาเครียดนั้น เป็นเพราะว่าอาหารสามารถช่วยบรรเทาความเครียดได้ เช่น คอมฟอร์ทฟู้ด (Comfort food) อย่างเช่น […]


การป้องกันการฆ่าตัวตาย

อัตราการฆ่าตัวตาย ที่เพิ่มขึ้น ในยุค "Modernization"

ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตมองว่า การฆ่าตัวตายเกิดจากปัญหาส่วนบุคคลหรือเหตุผลทางครอบครัว แต่จริง ๆ แล้ว สังคมและวัฒนธรรมก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่มีส่วนทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย จาก อัตราการฆ่าตัวตาย ในประเทศกรีนแลนด์พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นมีความเกี่ยวข้องกับ สังคมยุคใหม่ ที่มาพร้อมภาวะทันสมัย (Modernization) วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับอัตราการฆ่าตัวตายที่มาในยุคภาวะทันสมัย มาฝากทุกคนกันค่ะ ภาวะทันสมัย (Modernization) กับอัตราการฆ่าตัวตาย ภาวะทันสมัย (Modernization) เป็นภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพทางสังคมอย่างรวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม มีแนวคิดในเรื่องของทุนนิยม ที่เน้นสร้างความเจริญเติบโตให้กับสภาพทางเศรษฐกิจ และมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม ทำให้สังคมมีความทันสมัยและเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีมีส่วนช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและความสะดวกสบายให้คนในปัจจุบัน แทบทุกคนในปัจจุบันมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในมือ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเสียจนเปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในร่างกาย ที่บางคนไม่สามารถขาดได้หรือเข้าขั้นติดเลยก็ว่าได้ งานวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาเผยว่า คนกว่าร้อยละ 43 เสพติดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และหมั่นเช็กเฟสบุ๊ค ไลน์ อินสตาแกรมหรือช่องทางโซเชียลมีเดียอื่น ๆ อยู่เสมอ แต่การใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ก็ทำให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยงานวิจัยชี้ว่า คนที่ติดมือถือมีภาวะเครียดมากกว่าคนที่ใช้งานน้อยกว่าถึงร้อยละ 18 อีกทั้งยังส่งผลให้ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างแย่ลง แม้จะนั่งอยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม จากผลสำรวจของผู้ที่ติดเทคโนโลยีพบว่า พวกเขารู้สึกว่า การเจอหน้ากันเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น แม้ว่าคน ๆ นั้นจะเป็นพ่อแม่หรือเพื่อนสนิทก็ตาม เพราะพวกเขาเชื่อว่า เทคโนโลยีในปัจจุบัน และแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

วิกฤตวัยกลางคน แค่สภาวะทางอารมณ์ หรือจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพจิต

วิกฤตวัยกลางคน (midlife crisis) คือ ความรู้สึกไม่มีความสุข กังวล และรู้สึกผิดหวัง ที่หลายคนจะประสบในช่วงอายุประมาณ 37-59 ปี และภาวะนี้อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต โดยทั่วไปแล้ว คนส่วนใหญ่ไม่ได้ประสบกับวิกฤตวัยกลางคนอย่างรุนแรง แต่ก็มีหลายคนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตวัยกลางคน จนพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล หากคุณกำลังเผชิญกับวิกฤตวัยกลางคน บทความนี้ Hello คุณหมอ ชวนมาตรวจสอบ ‘อาการและสัญญาณ’ ที่บอกว่าวิกฤตวัยกลางคน ส่งผลต่อสุขภาพจิตแล้ว วิกฤตวัยกลางคน คืออะไร ความจริงแล้ว จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิกฤตวัยกลางคนไม่ได้เป็นปัญหาต่อคนส่วนใหญ่ในโลก และไม่ใช่ทุกคนที่จะเผชิญกับวิกฤตวัยกลางคน ซึ่งวิกฤตวัยกลางคน (midlife crisis) หมายถึงความรู้สึกไม่มีความสุข กังวล และรู้สึกผิดหวัง ที่หลายคนจะประสบในช่วงอายุประมาณ 37-59 ปี ความรู้สึกต่างๆ ช่วงวัยกลางคนสามารถเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง หรือการสูญเสียครั้งใหญ่ เช่น การหย่าร้าง หรือพ่อแม่เสียชีวิต และโดยทั่วไปแล้ว หลายคนจะคิดว่าวิกฤตวัยกลางคน คือความรู้สึกกลัวความตาย หรือความปรารถนาที่จะกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตวัยกลางคนนี้ อาจไม่แตกต่างจากความทุกข์ที่ใครบางคนกำลังประสบในช่วงวัยอื่นๆ เช่น วัยรุ่น หรือวัยชรา สัญญาณของวิกฤตวัยกลางคน หากคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้ และมีอายุ 37-59 ปี อาจหมายความว่าคุณกำลังเผชิญกับวิกฤตวัยกลางคน เหนื่อยล้า […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

งานหนักไม่เคยฆ่าใคร จริงเหรอ คนเราควรทำงานวันละกี่ชั่วโมงกันแน่

ไม่ว่าใครอาจก็เคยได้ยินวลีที่ว่า “งานหนักไม่เคยฆ่าใคร” ก่อน เราทุกคนอาจจะคิดว่า การทำงานหนัก นั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะแสดงให้เห็นถึงความขยัน และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเรา แต่จริง ๆ แล้ว การทำงานหนักเกินไป อาจจะส่งผลร้ายต่อเราได้มากกว่าที่ทุกคนคิด และแท้จริงแล้ว เราควรทำงานวันละเท่าไหร่จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด มาลองหาคำตอบด้วยกันกับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ การทำงานหนักเกินไป ส่งผลเสียอย่างไร การทำงานหนักเกินไป หมายถึงการที่คุณทำงานมากกว่าสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง หรือก็คือมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ถือว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของเวลาในหนึ่งวัน มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การทำงานหนักเกินไปนั้นส่งผลให้เกิดผลเสียอย่างมาก ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ จากข้อมูลที่ศึกษาผู้ที่ทำงานหนักเกินไป ในช่วงปี 1995-2012 พบว่า ผู้ที่ทำงานงานหนักมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมงนั้นมีโอกาสที่จะเกิดอาการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากสาเหตุดังต่อไปนี้ เช่น โรคระบบไหลเวียนโลหิต โรคเบาหวาน กลุ่มอาการอ้วนลงพุง สภาวะความผิดปกติทางจิต โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล การนอนหลับผิดปกติ และสภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การทำงานหนักเกินไปเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต นอกจากนี้ยังมีการวิจัยความเกี่ยวข้องของการทำงานในระยะเวลานานต่อโรคซึมเศร้าและความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพพบว่าผู้หญิงที่ทำงานเป็นระยะเวลานานนั้น จะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้บ่อยกว่า และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ชาย ส่วนผู้ชายนั้นจะมีโอกาสสูบบุหรี่กับดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นมากกว่าผู้หญิง ระยะเวลาทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แม้ว่างานวิจัยจะแสดงให้เห็นว่า […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รู้จักและรับมือกับ Xenophobia หรือ โรคหวาดกลัวชาวต่างชาติ

ปัจจุบันแม้ว่ากระแสนิยมเทรนด์แฟชั่นของชาติตะวันตกและอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ศิลปะ ดนตรี อาหาร ภาษา หรือผู้คนมีอยู่ไม่น้อย แต่ว่าในขณะเดียวกันก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รู้สึกสบายใจถ้าหากต้องอยู่ร่วมกับชาวต่างชาติเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้องมีการพบปะ หรือทำกิจกรรมร่วมกับชาวต่างชาติ อาการดังกล่าวเป็นที่รู้จักในชื่อ โรคหวาดกลัวชาวต่างชาติ หรือ Xenophobia วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะอาการของ โรคหวาดกลัวชาวต่างชาติ มาฝากผู้อ่าน ดังต่อไปนี้ โรคหวาดกลัวชาวต่างชาติเป็นอย่างไร โรคหวาดกลัวชาวต่างชาติ (Xenophobia) หรือพูดง่ายๆคือ อาการหวาดกลัว หรือ ความเกลียดชังชาวต่างชาติหรือคนแปลกหน้า โดยจะมีทัศนคติและพฤติกรรมที่มีการเลือกปฏิบัติต่อชาวต่างชาติ จนบ่อยครั้งทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้ ผลการวิจัยหลายฉบับก็รายงานให้เห็นอีกว่าอาการหวาดกลัวชาวต่างประเทศไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามในสังคมเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพด้วยเหมือนกัน  อาการของโรคหวาดกลัวชาวต่างชาติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้วินิจฉัยคนที่เป็นโรค Xenophobia ว่า อาการดังกล่าวอาจมีลักษณะคล้ายกับโรควิตกกังวลอื่นๆ นักวิจัยได้ทำการค้นคว้าเพื่อค้นหาว่าทำไมคนเราถึงมีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างสุดโต่งต่อคนแปลกหน้าที่ไม่เคยพบมาก่อน และพบอาการดังนี้ มีความวิตกกังวลเมื่อต้องพบปะกับชาวต่างชาติ หรือการเดินทางไปยังต่างประเทศ หายใจถี่รัวหากต้องสนทนากับชาวต่างชาติ มีอาการตื่นตระหนกอย่างหนัก ตัวสั่นรัว เหงื่อออกมากผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นแรงผิดปกติ หากผู้ที่มีอาการหวาดกลัวชาวต่างชาติ (Xenophobic) ถูกปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะส่งผลทำให้การใช้ชีวิตมีความลำบากมากขึ้น นำไปสู่อาการหวาดกลัวคนแปลกหน้าที่ไม่ได้เจาะจงแค่เพียงชาวต่างชาติเท่านั้น และส่งผลให้มีพฤติกรรมปลีกตัวออกจากสังคม  สาเหตุของอาการหวาดกลัวชาวต่างชาติ สาเหตุหลักของโรคนี้มาจากความไม่เข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม รวมไปถึงการสร้างภาพซ้ำหรือการผลิตภาพลักษณ์เดิมๆของกลุ่มชาติพันธ์บางกลุ่มออกมา ทำให้เกิดความยึดติดกับภาพนั้นจนเกิดเป็นความหวาดกลัว ในขณะเดียวกันเรื่องของภาษาพูดที่แตกต่างกันก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กลัวการเผชิญหน้าและต้องพูดคุยกับคนต่างชาติ วิธีบำบัดอาการ การรักษาโรคหวาดกลัวชาวต่างประเทศก็เหมือนโรควิตกกังวลอื่นๆ ที่จำเป็นต้องมีการบำบัดและฟื้นฟูโดยผู้เชี่ยวชาญ ในบางกรณีมีการใช้ยาเพื่อลดความวิตกกังวล แต่การรักษาส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสงบหรือผ่อนคลายลง เพื่อที่จะสามารถควบคุมปฏิกิริยาของตนเองให้ดีขึ้น พร้อมกับมีการบำบัดพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อช่วยตรวจสอบสาเหตุของความวิตกกังวล และเช่นเดียวกับโรควิตกกังวลรูปแบบอื่นๆ การฟื้นตัวของผู้ที่เป็นโรคหวาดกลัวชาวต่างชาตินั้นเป็นกระบวนการที่อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่ผู้ป่วยจะรู้สึกผ่อนคลายกับชาวต่างชาติหรือคนแปลกหน้า โรคหวาดกลัวชาวต่างชาตินำไปสู่การเหยียดเชื้อชาติอย่างไร ความหวาดกลัวชาวต่างชาติและการเหยียดเชื้อชาติมักจะมีความทับซ้อนกันอยู่ แต่เป็นปรากฏการณ์ที่แตกต่างกัน เพราะในขณะที่การเหยียดเชื้อชาติมักจะสร้างความแตกแยกจากความแตกต่างของลักษณะทางกายภาพ การมีอคติหรือเป็นปรปักษ์ต่อเชื้อชาติ สีผิว […]


สุขภาพจิต

ทำความรู้จักกับ ความสัมพันธ์แบบมากรัก

“รักเดียวใจเดียว” ยังคงเป็นคำ ที่หลายๆ คนยึดถือเอาไว้ในการครองคู่ แต่มีคนบางกลุ่ม ที่นิยมมี ความสัมพันธ์แบบมากรัก แล้วความสัมพันธ์แบบนี้คืออะไร? Hello คุณหมอ มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ มาให้ได้ศึกษากัน ความสัมพันธ์แบบมากรักคืออะไร? หากจะให้อธิบายแบบให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ความสัมพันธ์ ที่มีสามีทีละหลายๆ คน ในเวลาเดียวกัน รวมถึงการที่ภรรยา มีสามีทีละหลายๆ คนในเวลาเดียวกัน ซึ่งการกระทำแบบนี้ จะแตกต่างจากความสัมพันธ์แบบ รักเดียวใจเดียว อย่างสิ้นเชิง โดยความสัมพันธ์เช่นนี้ เคยเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก และบางคน ก็ยังคงปฏิบัติ มาจนถึงทุกวันนี้ แต่ปัจจุบัน มีหลายประเทศ ที่ไม่ยอมรับ การกระทำเช่นนี้ รวมถึง เป็นการกระทำ ที่ผิดกฎหมาย อีกด้วย ความแตกต่างระหว่าง ความสัมพันธ์แบบมากรัก และความสัมพันธ์แบบจดทะเบียนสมรสซ้อน ในประเทศสหรัฐอเมริกา การมีความสัมพันธ์แบบมากรัก (Polygamy) รวมถึงความสัมพันธ์ แบบจดทะเบียนสมรสซ้อน (Bigamy) ถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย แต่จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้ ความสัมพันธ์แบบจดทะเบียนสมรสซ้อน คือการแต่งงานกับคู่สมรสคนแรก อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยการจดทะเบียนสมรส แต่อาจจะมีการจดทะเบียนสมรสเพิ่ม โดยที่คู่สมรสอีกคน อาจจะถูกหลอกลวง  หรือไม่ทราบว่า คู่สมรสของตัวเอง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน