สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รักขมหรือรักหวาน? คุณกำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่มี การใช้ความรุนแรง หรือเปล่า

เราทุกคนต่างก็ควรมีความสัมพันธ์หรือความรักที่ดี ที่ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย มีคุณค่า และทำให้เรารู้สึกได้ถึงความรักที่แท้จริง แต่สำหรับบางคน อาจยังไม่ได้เจอกับรักดีๆ เพราะมัวแต่อยู่กับความรักแย่ๆ หรือความสัมพันธ์ที่มี การใช้ความรุนแรง ที่ไม่ใช่แค่ทำให้เสียสุขภาพกายและสุขภาพจิต แต่ยังส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคุณอีกหลายด้าน ทั้งการเงิน ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว การงาน สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าความสัมพันธ์ของตัวเองตอนนี้ เป็นความสัมพันธ์ที่มี การใช้ความรุนแรง หรือไม่ Hello คุณหมอ มีจุดสังเกตมาฝาก สัญญาณเตือนว่ารักที่มีไม่ใช่รักที่ดี หลายคนอาจคิดว่าความสัมพันธ์แบบกดขี่ หรือความสัมพันธ์ที่มีการใช้ความรุนแรง (abusive relationship) มักจะต้องมีการลงไม้ลงมือ ทำร้ายร่างกาย แต่ความจริงแล้ว การใช้ความรุนแรงมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบกับแค่ร่างกาย แต่ยังส่งผลต่อจิตใจ ความรู้สึก รวมไปถึงการเห็นคุณค่าในตัวเองของคุณด้วย รูปแบบความสัมพันธ์ที่มีการใช้ความรุนแรง เช่น ทำร้ายร่างกาย เช่น การทุบตี เตะต่อย ดึงผม บีบคอ ขว้างปาข้าวของใส่ ทำให้ร่างกายคุณได้รับบาดเจ็บ ทารุณกรรมทางเพศ ด้วยการข่มขืน กระทำชำเรา หรือบังคับให้คุณทำกิจกรรมทางเพศ เช่น จูบ มีเพศสัมพันธ์ด้วยโดยไม่เต็มใจ ทำร้ายด้วยคำพูด หรือการทำร้ายจิตใจและความรู้สึก เช่น ชอบโกหกหลอกลวง พูดจาดูถูก เหยียดหยาม ตะคอก หรือต่อว่าจนทำให้คุณรู้สึกเศร้า เจ็บปวด รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง และไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อย่าเรียกชื่อเก่า! การเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อเกิด (Deadnaming) ส่งผลกระทบกว่าที่คิด

ชื่อ ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่บอกถึงตัวตนของเราได้ สำหรับคนที่ไม่พอใจชื่อเก่า หรือชื่อเดิมของตัวเอง ก็สามารถเปลี่ยนชื่อได้ หากไม่ผิดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อบุคคลตามกฎหมาย เมื่อใครเปลี่ยนชื่อแล้ว เราก็ควรเรียกเขาด้วยชื่อใหม่ที่เขาเลือก เพราะถือเป็นการยอมรับในตัวตน และให้เกียรติคนๆ นั้น โดยเฉพาะ คนข้ามเพศ หรือเพศทางเลือก  ที่เปลี่ยนชื่อให้เข้ากับตัวตนและสถานะเพศจริงๆ ของพวกเขา ซึ่ง Hello คุณหมอ แนะนำว่า คุณควรเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อใหม่ เพราะ การเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อเกิด อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด ทำความรู้จักกับ การเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อเกิด (Deadnaming) สำหรับเพศทางเลือก โดยเฉพาะผู้ที่เป็นคนข้ามเพศ การเปลี่ยนชื่อจากชื่อเก่าหรือชื่อเกิด มาใช้ชื่อที่ตัวเองเลือกและเหมาะสมกับตัวเอง ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ผู้คนรอบข้างมองคนข้ามเพศด้วยสภาพเพศที่พวกเขาเป็นจริงๆ ไม่ใช่เพศโดยกำเนิด รวมถึงยังช่วยให้คนข้ามเพศและคนรอบข้างรู้สึกอึดอัดใจน้อยกว่าการถูกเรียกชื่อเดิมด้วย แต่บางครั้งด้วยความเคยชิน คนรอบข้างก็อาจยังเผลอเรียกชื่อคนข้ามเพศด้วยชื่อเก่า หรือซ้ำร้ายกว่านั้น บางคนจงใจเรียกชื่อเก่า หรือชื่อเกิด เพราะต้องการหยอกล้อ ล้อเลียน หรือทำให้คนข้ามเพศอับอาย แม้คนข้ามเพศจะเปลี่ยนชื่ออย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วก็ตาม ซึ่ง การเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อเก่า ชื่อเกิด หรือชื่อก่อนที่พวกเขาจะผ่าตัดแปลงเพศ ซึ่งเป็นชื่อที่พวกเขาไม่ได้ใช้อีกแล้ว ไม่เรียกชื่อคนข้ามเพศด้วยชื่อที่พวกเขาเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เราเรียกว่า “Deadnaming” ผลกระทบของการเรียกชื่อเก่าหรือชื่อเกิด หากเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อเกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคนข้ามเพศคนนั้นเปลี่ยนชื่ออย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว อาจทำให้คนข้ามเพศรู้สึกไม่ได้รับการยอมรับ คนไม่ให้เกียรติ หรือเคารพในตัวตนของพวกเขา และการเรียกคนข้ามเพศด้วยชื่อเกิด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ คืออะไร ทำแล้วดีต่อสุขภาพจิตหรือเปล่า

ทุกวันนี้ โซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตเราอย่างมาก และจากการสำรวจพบว่าคนไทยใช้โซเชียลมีเดียเป็นประจำ 51 ล้านคน จากจำนวนประชากรประมาณ 69.24 ล้านคน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นประจำ Hello คุณหมอ ชวนให้คุณลองใช้วิธี โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ ดังต่อไปนี้ เหตุผลที่คุณควรทำโซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ หากคุณใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรือโซเชียลมีเดีย จนกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณ ก็ถึงเวลาแล้วที่คุณควรจะลองห่างกันสักพักกับโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตบ้าง นอกจากนี้การใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตดังนี้ สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิต งานวิจัยในปี 2016 ให้ข้อมูลว่า ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย วัยประมาณ 20-30 ปี มีภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลเพิ่มขึ้น มากไปกว่านั้นยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า ในโลกโซเชียลมีมาตรฐานความสวยความงาม และความสำเร็จที่ไม่อาจบรรลุได้ จนมีแนวโน้มว่าจะทำให้วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ได้รับผลกระทบ จากการอยู่ภายใต้ความกดดันของความสมบูรณ์แบบเหล่านี้ อาจส่งผลต่อการนอนหลับ งานวิจัยในปี 2014 ที่ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง วัย 19-32 ปี ที่ใช้โซเชียลมีเดียมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันโดยเฉลี่ย และประมาณ 30 ครั้งต่อสัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า 57% รายงานว่าพวกเขามีปัญหาการนอนหลับ ซึ่งถ้าการนอนหลับถูกรบกวน จะส่งผลต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เกิดความเครียด และมีปัญหาสุขภาพตามมาในที่สุด โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ผู้หญิงทำงานหนัก มากกว่า 11 ชั่วโมงต่อวัน อาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว

โดยปกติแล้ว การทำงานติดต่อกันเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า (Depression) แต่มีงานวิจัยที่ชี้ว่า ผู้หญิงทำงานหนัก มากกว่า 11 ชั่วโมงต่อวัน อาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ทาง Hello คุณหมอ ขอเตือนคุณผู้หญิงหลายๆ ท่าน หากคุณกำลังทำงานหนักเกิน 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แถมยิงยาวไปถึงวันเสาร์อาทิตย์ ระวังเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว งานวิจัยชี้ว่า ผู้หญิงที่ทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร the Journal of Epidemiology & Community Health ให้ข้อมูลว่า ผู้หญิงที่ทำงาน 55 ชั่วโมงหรือมากกว่า ต่อสัปดาห์ และผู้หญิงที่ทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์ มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ดังนั้น ผู้หญิงทำงานหนัก มากกว่า 11 ชั่วโมงต่อวัน อาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้ค่อนข้างง่าย งานวิจัยนี้ได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานผู้ชาย 11,215 คน และผู้หญิง 12,188 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม นอกจากผลการศึกษาจะพบว่า ผู้หญิงทำงานมากกว่า 55 […]


การจัดการความเครียด

ทำงานหนักต้องระวัง เครียดเรื่องงาน อาจส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ

หากคุณมีงานมากมายที่ต้องเคลียร์ให้เสร็จ แต่มีเวลาทำเพียง 1 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าน้อยเกินไป แล้วคุณคิดว่าต้องทำไม่ทันแน่นอน หรือแม้แต่บรรยากาศในการทำงาน รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่ไม่เป็นใจ ก็สามารถทำให้เกิดความ เครียดเรื่องงาน ได้ ซึ่งนายแพทย์ไมเคิล มิลเลอร์ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ความเครียดในที่ทํางานเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพหัวใจ Hello คุณหมอ จึงขอเตือนหนุ่มสาววัยทำงาน ให้ระวังปัญหาหัวใจที่อาจเกิดจากความเครียดเรื่องงาน ดังนี้ อาการที่บอกว่า ความเครียดจากงานเริ่มส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ คุณอาจจะเกิดปัญหาในเรื่องงาน เวลาที่หัวหน้ามอบหมายงานให้มากจนเกินไป จนไม่สามารถควบคุมและจัดการกับงานได้ ซึ่งความเครียดจากงานที่เกิดขึ้น อาจทำให้คุณมีอาการเหล่านี้ ที่หมายถึงการที่ความ เครียดจากงาน เริ่มส่งผลต่อสุขภาพหัวใจแล้ว หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกที่ฝ่ามือ และความดันโลหิตสูงขึ้น คุณรู้สึกเหนื่อย และอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ จนบางครั้งคุณอาจตะคอกใส่เพื่อน หรือคนในครอบครัว คุณมีปัญหาการนอนหลับ และการมีสมาธิจดจ่อ คุณเป็นหวัดบ่อยขึ้น และหายช้าลง คุณเยียวยาตัวเองด้วยของหวาน หรือแอลกอฮอล์ วัยทำงานควรระวัง ความเครียดเรื้อรังไม่ดีต่อสุขภาพหัวใจ ความเครียดเรื้อรังอาจส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ โดยเฉพาะถ้าคุณมีไลฟ์สไตล์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากมีงานวิจัยคือรายงานในวารสารวิชาการ the European Heart Journal ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ศึกษาเป็นเวลา 12 ปี จากกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 10,000 คน ที่เป็นพนักงานออฟฟิศ […]


การเสพติด

สัญญาณที่บอกว่าคุณกำลัง เสพติดการออกกำลังกาย

เสพติดการออกกำลังกาย ไม่ได้ถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิต แต่อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายมากเกินไปจนเสพติด อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่นทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ อย่างการกินผิดปกติ ภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ และร่างกายเหนื่อยล้าเกินไปด้วย Hello คุณหมอ จึงชวนมาเช็คว่า คุณมีสัญญาณและอาการ ของการเสพติดการออกกำลังกายหรือเปล่า สัญญาณของการ เสพติดการออกกําลังกาย คุณออกกำลังกายเพื่อชดเชย หรือเพื่อลงโทษตัวเอง สัญญาณที่ชัดเจนที่สุด ว่าการออกกำลังกายเริ่มเป็นปัญหาแล้ว คือเมื่อคุณออกกำลังกายบ่อยเกินไป และหนักเกินไป เพื่อชดเชยหรือเพื่อลงโทษตัวเอง สำหรับการกินอาหาร เช่น ออกกำลังกายอย่างหนักเพื่อชดเชยมื้ออาหารที่กิน หรือออกกําลังกายเฉพาะส่วนมากเกินไป ในส่วนของร่างกายที่คุณรู้สึกไม่พอใจ คุณอยู่ที่ฟิตเนสตลอดเวลา ถ้าพนักงานในฟิตเนส รู้จักคุณมากกว่าเพื่อนร่วมงาน อาจเป็นสัญญาณว่า คุณใช้เวลามากเกินไปในยิม ซึ่งโดยปกติแล้ว เรามักจะใช้เวลาอยู่ในยิมประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะอยู่ในยิมนานเกินไป อาจใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน หรือออกกำลังกายที่ยิม 2-3 ครั้งต่อวัน คุณรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา การออกกำลังกายจนส่งผลต่อสุขภาพ มักจะทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า และเหนื่อยจัดจากการใช้เวลานาน ในการออกกำลังกาย จนไม่มีเวลาที่จะดูแลตัวเอง นอกจากนี้ความเหนื่อยล้าจากการออกกำลังกายอย่างหนัก อาจทำให้ร่างกายเกิดความเครียด จนทำให้ป่วย หรือบาดเจ็บได้ คุณเปลี่ยนตารางเวลา เพื่อมาออกกำลังกาย ถ้าคุณปฏิเสธนัดต่างๆ ในนาทีสุดท้าย หรือปรับตารางเวลาให้มีแต่การออกกำลังกาย ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้เวลาออกกำลังกายมากเกินไป นอกจากนี้ผู้ที่ เสพติดการออกกําลังกาย อาจปฏิเสธการไปกินอาหารเย็นกับเพื่อน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อย่างไร

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการ ออกกำลังกาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพิ่มเติมไปกว่านั้น การออกกำลังกาย ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพจิต Hello คุณหมอ มีข้อมูลว่าในด้าน สุขภาพจิต ออกกำลังกาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพจิตดังนี้ ออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อย่างไร ออกกำลังกายช่วยทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น เพราะช่วยลดความกังวล ภาวะซึมเศร้า และอารมณ์ด้านลบ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความนับถือตนเอง (self-esteem) ด้วย มากไปกว่านั้น ยังมีหลักฐานที่พบว่าการออกกำลังกาย สามารถบรรเทาอาการ เช่น การนับถือตนเองต่ำ (low self-esteem) และการปลีกตัวออกจากสังคม และยังสำคัญต่อคนไข้ที่เป็นโรคจิตเภท เนื่องจากคนไข้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคจิตเภท และเข้าร่วมโปรแกรมปรับสภาพร่างกาย เป็นเวลา 3 เดือน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สุขภาพจิตกับการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กัน ในคนไข้โรคจิตเภทมีการพัฒนาในด้านการควบคุมน้ำหนัก และจากรายงานพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของระดับการออกกำลังกาย ความทนทานต่อการออกกำลังกาย ระดับความดันโลหิตลดลง และระดับพลังงานเพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มระดับความแข็งแรงของร่างกายส่วนบน และการใช้มือจับด้วย ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ให้ออกกำลังกาย 30 นาที ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่า การออกกำลังกาย ดีต่อสุขภาพจิต ตราบใดที่ไม่ได้ออกกำลังกายหนักเกินไป และผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำอีกว่า การออกกำลังกาย 30 […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ไม่มีเงินแล้วหดหู่ เรื่องเงินๆ ทองๆ เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตหรือเปล่า

เงินทองมีปัญหา ปรึกษาใครได้บ้าง Hello คุณหมอ อาจให้ความช่วยเหลือเรื่องเงินไม่ได้ แต่ช่วยบอกได้ว่า คุณไม่ใช่คนเดียวที่มี ปัญหาเรื่องเงิน เนื่องจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ได้ให้ข้อมูลว่า ประมาณ 75% ของชาวอเมริกันทั้งหมด มีความเครียดหรือความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเงิน บทความนี้จึงมีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากว่า ความเครียดและความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเงิน สามารถส่งผลต่อสุขภาพของเราได้อย่างไรบ้าง ปัญหาเรื่องเงิน กับสุขภาพจิต ปัญหาเรื่องเงินส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างไรบ้าง เรื่องเงินสามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราได้ เช่น ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คุณเคยประสบเหล่านี้ คุณจ่ายเงินเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น แต่เพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน จนทำให้ต้องหยุดทำงานหรือไม่สามารถทำงานได้ การหยุดงานจะกระทบกับรายได้ของคุณ คุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการพูดคุยทางโทรศัพท์ เวลาไปธนาคาร หรือกังวลตอนเปิดอ่านจดหมาย คุณรู้สึกว่าถูกบังคับให้ทำงานที่ไม่ชอบ เพราะภาระหนี้สิน คุณอาจหมดกำลังใจที่จะจัดการกับเรื่องเงิน คุณกังวลเวลาที่จ่ายเงินเพื่อชำระหนี้สิน ทั้ง ๆ ที่มีเงินมากพอที่จะจ่าย แต่ก็รู้สึกไม่สบายใจ การจัดการกับเรื่องหนี้สิน ทำให้คุณรู้สึกเครียดและกังวลเกี่ยวกับอนาคต คุณมีเงินไม่พอ ที่จะซื้อของที่จำเป็น หรือปัจจัย 4 เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม หรือยารักษาโรค ปัญหาเรื่องเงินส่งผลต่อความสัมพันธ์ เช่น ยืมเงินจนเสียเพื่อน ซึ่งการมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ งานวิจัยชี้ มีเงินมากขึ้น อาจไม่ทำให้มีความสุขมากขึ้น เป็นความจริงที่ว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องสำคัญ และการมีเงินจะทำให้เรามีความสุข รวมถึงเราจะไม่มีความสุขแน่ ๆ เวลาที่ไม่มีเงิน อย่างไรก็ตาม […]


การป้องกันการฆ่าตัวตาย

สัญญาณเตือนความคิดฆ่าตัวตาย หากมีอาการเหล่านี้จะรับมืออย่างไรดี

ฆ่าตัวตาย เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ โดยจากข้อมูลในปี 2016 พบว่าชาวอเมริกันเกือบ 45,000 คน เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และจากข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่า คนไทยคิดสั้นเฉลี่ยแล้วชั่วโมงละ 6 คน อย่างไรก็ตาม การฆ่าตัวตายสามารถป้องกันได้ ซึ่งใน Hello คุณหมอ บทความนี้ มีข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาณของการฆ่าตัวตาย ดังนี้ สิ่งที่ควรทำเมื่อคนใกล้ตัวมีแนวโน้มว่าอาจจะฆ่าตัวตาย หากคนใกล้ตัวคิดฆ่าตัวตาย ควรติดต่อสายด่วนสุขภาพจิต 1323  และไม่ควรปล่อยให้คนที่คิดจะฆ่าตัวตายอยู่เพียงลำพัง และหากเกิดกรณีฉุกเฉินให้ติดต่อ 191 หรือติดต่อสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด สัญญาณเตือนความคิดฆ่าตัวตาย สำหรับการดูแลบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลใกล้ตัวที่อาจคิดฆ่าตัวตายนั้น จำเป็นต้องอาศัยการสังเกตุอย่างใกล้ชิด บางครั้งเรื่องเล็ก ๆ อาจจะเป็นสัญญาณของความคิดอยากฆ่าตัวตาย ดังนั้นมาเฝ้าระวังบุคคลที่เสี่ยงฆ่าตัวตาย ด้วยการสังเกตสัญญาณและอาการเหล่านี้ มีความคิดที่จะ ฆ่าตัวตาย ผู้ที่ต้องการจะฆ่าตัวตาย ไม่ได้อยากตาย แต่พวกเขาต้องการที่จะหยุดความเจ็บปวด ดังนั้นไม่ควรละเลยหากคนใกล้ตัวคิดจะจบชีวิตตัวเอง และควรช่วยเหลือพวกเขาให้เร็วที่สุด ด้วยการพาไปพบคุณหมอทันที คิดแต่เรื่องความตาย บางคนอาจพูดออกมาตรง ๆ ว่าอยากตาย หรืออยากฆ่าตัวตาย แต่บางคนอาจพูดเกี่ยวกับประเด็นในเรื่องความตายแทน ซึ่งพวกเขามีแนวโน้มว่า จะค้นหาวิธีที่จะจบชีวิต เช่น การซื้อปืน มีด หรือยา วางแผน ผู้ที่เตรียมตัวที่จะจบชีวิต จะเตรียมตัวเขียนพินัยกรรม หรือมอบข้าวของให้กับคนอื่น รวมถึงบอกลาคนรอบตัว และเขียนจดหมายลาตายด้วย เริ่มปลีกตัวออกจากสังคม อีกสัญญาณหนึ่งคือการหลีกเลี่ยงสังคม โดยอาจไม่ไปพบปะเพื่อนและครอบครัว รวมถึงหมดความสนใจในกิจกรรม […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

จัดการอย่างไรกับอาการ นอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง

ในภาวะที่ชีวิตเต็มไปด้วยความเครียด ความวิตกกังวล แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อความคิดของเราอย่างแน่นอน หากเราไม่สามารถควบคุมและกำจัดมันออกไปได้ ก็ย่อมส่งผลต่อชีวิตของเรา บางคนมีอาการ นอนไม่หลับ[embed-health-tool-heart-rate]เพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง ก่อนนอนทีไรคิดนู้นนี่ ฟุ้งซ่านเต็มไปหมด ไม่ยอมหลับสักที วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับอาการ Racing Thoughts หรืออาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดคิด ว่าเกิดจากอะไรและทำอย่างไรถึงจะควบคุมมันได้   อาการ นอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง คืออะไร อาการ นอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง เป็นอาการนอนไม่หลับที่มีสาเหตุมาจากการที่สมองไม่ยอมหยุดคิด ยังคงคิดวนเวียนอยู่แต่เรื่องเดิม ซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งเรื่องส่วนใหญ่ที่มักจะคิดเป็นเรื่องความกลัว เรื่องน่าอายในอดีต ปัญหาต่างๆ ที่เจอมา ซึ่งอาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดคิดทำให้เราวิตกกังวล รู้สึกอึดอัดและไม่มีสมาธิอยู่กับปัจจุบัน แน่นอนว่าอาการต่างๆ เหล่านี้ย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ความจำ และการนอนหลับอีกด้วย อาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดคิด ทำให้คุณรู้สึกว่า คุณควบคุมความคิดไม่ได้ ไม่มีสมาธิ อีกสักครู่ก็กลับมาคิดเรื่องเดิมอีกแล้ว แต่อาการเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกว่าคุณมีอาการทางจิต เพียงแค่คุณมีความเครียดและความวิตกกังวลสูงกว่าปกติเท่านั้นเอง สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง จริงๆ แล้ว อาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หากทราบถึงต้นต่อของปัญหาที่แท้จริง ก็จะง่ายต่อการรักษาและแก้ไข ลองไปดูกันค่ะว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง ความวิตกกังวล ความวิตกกังวลเป็นสาเหตุที่พบได้ทั่วๆ ไปของ อาการนอนไม่หลับเพพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง ซึ่งอาการนี้มักเกิดขึ้นหลังจาก ที่คุณถูกความวิตกกังวลโจมตี โรคสมาธิสั้น (ADHD) อาการของโรคสมาธิสั้น เป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถมีสมาธิกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ทำให้เมื่อเจอหรือได้รับเหตุการณ์ใหม่ๆ เข้ามาทำให้มุ่งความสนใจไปที่เรื่องใหม่ๆ ที่เข้ามา ทำให้คิดอยู่ตลอดเวลา จนสมองไม่ได้หยุดพัก โรคย้ำคิดย้ำทำ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน