สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

Cortisol (ฮอร์โมนความเครียด) มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

Cortisol หรือฮอร์โมนความเครียด เป็นฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยให้ร่างกายจัดการกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด โดยสมองจะกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล เพื่อตอบสนองต่อความเครียดหลายรูปแบบ แต่หากระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงเกินไปเป็นเวลานาน ฮอร์โมนชนิดนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ผลเสียของ Cortisol มากเกินไป จากการศึกษาพบว่า ระดับ Cortisol ที่สูงมากเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ดังนี้ โรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคกระดูกพรุน น้ำหนักเพิ่มขึ้น คอร์ติซอลสามารถเพิ่มความอยากอาหาร และส่งสัญญาณให้ร่างกายเปลี่ยนการเผาผลาญพลังงาน เป็นการสะสมไขมัน ซึ่งส่งผลให้อ้วนขึ้นได้ เหนื่อยล้า ฮอร์โมนความเครียดสามารถส่งผลต่อฮอร์โมนอื่น ๆ ในร่างกาย และยังรบกวนการนอนหลับ ซึ่งสามารถทำให้มีอาการเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย ส่งผลต่อการทำงานของสมอง คอร์ติซอลรบกวนหน่วยความจำของสมอง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะสมองล้า (Brain Fog) การติดเชื้อ ระดับฮอร์โมนเครียดที่สูงขึ้นส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อ วิธีลดระดับ Cortisol ด้วยวิธีธรรมชาติ ระดับคอร์ติซอลอาจลดลงได้ด้วยวิธีธรรมชาติ ดังนี้ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เวลานอน ระยะเวลาในการนอนหลับ และคุณภาพของการนอนหลับต่างมีผลกระทบต่อคอร์ติซอลเนื่องจากมีการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 28 คนที่ทำงานเป็นกะ ผลการศึกษาพบว่าระดับคอร์ติซอลเพิ่มขึ้นในผู้ที่นอนหลับในช่วงเวลากลางวัน มากกว่าผู้ที่นอนหลับในเวลากลางคืน นอกจากนี้ การนอนหลับไม่เพียงพออาจทำให้ระดับ Cortisol สูงขึ้น ดังนั้นจึงควรนอนหลับสนิทเป็นเวลา 7-8 ชั่วโมงในเวลากลางคืน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ทำงานเป็นกะ และจำเป็นต้องนอนหลับในเวลากลางวัน วิธีเหล่านี้อาจช่วยลดระดับ Cortisol ได้ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนตอนเย็น งีบหลับ จำกัดสิ่งรบกวน เช่น […]


โรควิตกกังวล

วิตกกังวล (Anxiety)

วิตกกังวล เป็นหนึ่งในอารมณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป แต่หากคุณมีความกังวลที่รุนแรงมากในทุกๆ วัน และความกังวลนั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ นั่นอาจหมายความว่าคุณกำลังเป็น โรควิตกกังวล (Anxiety)  ก็เป็นได้ คำจำกัดความ วิตกกังวล คืออะไร เป็นเรื่องปกติที่เราอาจจะรู้สึกกังวลได้ในนานๆ ครั้ง ความกังวลนั้นเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ทุกคนจะต้องพบเจอ อย่างไรก็ตาม หากคุณมีความกังวลที่รุนแรงมากในทุกๆ วัน และความกังวลนั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณ คุณอาจจะกำลังเป็นโรควิตกกังวลอยู่ก็เป็นได้ ความวิตกกังวลและตื่นตระหนกเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ความรู้สึกเหล่านี้จะยากต่อการควบคุม คุณอาจจะพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอารมณ์เหล่านี้ขึ้น อาการของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในช่วงสมัยเด็กหรือวัยรุ่น และยังคงมีอยู่ในจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ ในบางครั้งความวิตกกังวลอาจส่งผลให้เกิดสภาวะที่ต้องรับการรักษา โรควิตกกังวลมีอยู่หลายประเภทดังต่อไปนี้ โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก เป็นช่วงที่เกิดอาการกลัวกะทันหันและเกิดขึ้นซ้ำๆ พร้อมกับเกิดอาการเหงื่อออก เจ็บหน้าอก และหัวใจเต้นผิดปกติ อาการตื่นตระหนกกำเริบนั้นอาจจะรู้สึกคล้ายกันอาการหัวใจวาย (heart attack) โรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder) ผู้ที่มีภาวะนี้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางสังคมต่างๆ ศูนย์กลางของความกังวลคือความกลัวที่จะถูกตัดสิน หรือการอับอายต่อหน้าผู้อื่น ความกลัวเฉพาะอย่างหรือโรคโฟเบีย (Specific phobias) ความกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเป็นพิเศษ (เช่น ความสูง) ทำให้คนต้องการที่จะหลีกเลี่ยงต่อสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัวนั้นๆ โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder) คุณอาจจะรู้สึกกังวลและตึงเครียดอย่างมากเกินจริงจากสาเหตุเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีสาเหตุใดๆ โรคนี้พบได้บ่อยเพียงใด โรคนี้สามารถพบได้บ่อยมาก คุณสามารถจัดการกับโรคได้โดยลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรควิตกกังวล อาการทั่วไปของโรควิตกกังวล ได้แก่ รู้สึกประหม่า อ่อนเพลีย หรือเหนื่อย หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็ว เหงื่อออกและตัวสั่นเทา ควบคุมความกลัวหรือความกังวลได้ยาก นอนไม่หลับ รู้สึกว่ามีอันตรายหรือตื่นตระหนก อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ […]


โรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)

โรควิตกกังวลทั่วไป มีลักษณะเป็นความวิตกและความกังวลที่มากเกินไป และเพิ่มมากขึ้นโดยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน โดยไม่ทราบเหตุผลที่ชัดเจน คำจำกัดความโรควิตกกังวลทั่วไป คืออะไร โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder หรือ GAD) มีลักษณะเป็นความวิตกและความกังวลที่มากเกินไป และเพิ่มมากขึ้นโดยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน โดยไม่ทราบเหตุผลที่ชัดเจน ผู้ที่มีอาการของโรควิตกกังวลทั่วไป มีแนวโน้มที่จะคิดในแง่ร้ายอยู่เสมอ และไม่สามารถหยุดวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพ เงิน ครอบครัว งาน หรือการเรียนได้ ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไปนั้น ความกังวลมักเป็นเรื่องเกินจริง หรือไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้นๆ ชีวิตประจำวันกลายเป็นความกังวล ความกลัว และความหวาดวิตกอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุดแล้ว ความกังวลก็เข้าครอบงำความคิดของผู้ป่วยมากเสียจนมีผลต่อการทำหน้าที่ประจำวัน ซึ่งได้แก่ การทำงาน การเรียน กิจกรรมทางสังคม และความสัมพันธ์ต่างๆ พบได้บ่อยเพียงใด โรควิตกกังวลทั่วไปเป็นโรควิตกกังวลที่พบได้มากที่สุดในผู้สูงอายุ ถึงแม้ว่าโรควิตกกังวลต่างๆ ในประชากรกลุ่มนี้ มักสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เช่น การล้มหรืออาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน ผู้หญิงมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรควิตกกังวลทั่วไป อาการทั่วไปของโรควิตกกังวลทั่วไป ได้แก่ ความกังวลและความตึงเครียดที่มากเกินไปและต่อเนื่อง การมองปัญหาต่างๆ ที่ไม่เป็นความจริง ความกระสับกระส่ายหรือความรู้สึก “กังวล” ความรู้สึกหงุดหงิด กล้ามเนื้อตึง ปวดศีรษะ มีเหงื่อออก สมาธิสั้น คลื่นไส้ จำเป็นต้องเข้าห้องน้ำบ่อย รู้สึกเหนื่อย มีปัญหาในการล้มหรือนอนหลับ ตัวสั่น ตื่นตระหนกได้ง่าย นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไปมักเป็นโรควิตกกังวลอื่นๆ เช่น โรคแพนิคหรือโรคตื่นตระหนก (panic disorder) หรือโรคหวาดกลัว (phobias) โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder) โรคซึมเศร้า (clinical depression) […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

งานวิจัยชี้ แชท คือตัวป่วนชวนให้คนยิ่งเครียด!

ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ การสนทนาด้วยข้อความหรือการ แชท กลายเป็นการสื่อสารหลักในชีวิตประจำวันของเราไปเสียแล้ว การแชทผ่านแอพลิเคชั่นหรือโซเชียลมีเดีย อย่าง Line, Whatsapp, Wechat, Facebook, และ Instagram ได้กลายเป็นการสื่อสารที่แพร่หลาย แต่คุณเคยรู้สึกเครียด จากการตอบข้อความสนทนาในแชทใช่มั้ย? คุณรู้สึกรำคาญ ที่ได้รับข้อความสนทนาเป็นร้อยๆ ข้อความจากห้องสนทนาแบบกลุ่มหรือเปล่า ? คุณต้องคอยหมั่นเช็กข้อความสนทนาในแชท เพราะกลัวว่าจะพลาดเรื่องสำคัญหรือเปล่า? การศึกษาชิ้นหนึ่งจัดทำโดย Viber เมื่อไม่นานมานี้ พบว่า หนึ่งในสามของผู้ร่วมวิจัยพบว่า ตัวเองมีความเครียด เมื่อต้องใช้การสนทนาด้วยข้อความ และนี่คือรายละเอียดที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมมาให้คุณผู้อ่านได้ทราบกัน ทำไมคนเราถึงเครียดเมื่อสนทนาด้วยข้อความ คนส่วนใหญ่รู้สึกเครียดจากการสนทนาด้วยข้อความ เนื่องจากพฤติกรรมที่น่ารำคาญ งานวิจัยระบุว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 32 นั้นเกิดความรู้สึกหงุดหงิด จากการที่คู่สนทนาหายไประหว่างการสนทนา นอกจากนี้ การใช้ไวยกรณ์ผิดๆ และการใช้อีโมจิมากเกินไป ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้นอีกด้วย บางคนยังพบว่า บางครั้งการสนทนานั้นก็เข้าใจยาก เนื่องจากมีการใช้งานอีโมจิมากเกินไป โดยทั่วไป คนเราจะรู้สึกหงุดหงิด กับการสนทนาแบบกลุ่มที่มีคนมากกว่า 3 คนขึ้นไป โดยผู้ร่วมตอบแบบสอบถามร้อยละ 39 รู้สึกไม่ชอบการใช้งานการสนทนาแบบกลุ่ม โดยการสนทนากันคนละหัวข้อ เป็นพฤติกรรมที่น่ารำคาญที่สุดในการสนทนาแบบกลุ่ม ตามด้วยการแชร์ข้อมูลที่มากเกินไป หรือการส่งภาพหรือวิดีโออันไม่พึงประสงค์ ดังนั้น […]


การจัดการความเครียด

อาหารคลายเครียด

เมื่อรู้สึกเครียด มีหลากหลายวิธีที่จะช่วยจัดการความเครียดได้ หนึ่งในนั้นคือการกินอาหารในปริมาณและเวลาที่เหมาะสม  เพราะอาหารและเครื่องดื่มบางชนิดสร้างความผ่อนคลาย และเพิ่มระดับฮอร์โมนในร่างกายที่ใช้ในการต่อต้านความเครียดตามธรรมชาติได้ อาหารคลายเครียดนั้นมีอยู่จริงหากเราเลือกกินอย่างถูกต้อง อะโวคาโดและกล้วย ผลไม้ทั้งสองชนิดนี้ อัดแน่นไปด้วยคุณประโยชน์จากโพแทสเซียม ที่เป็นแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยลดระดับความดันโลหิต ส้ม เราต่างทราบกันดีว่า ส้มนั้นอุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอล (Cortisol) และความดันโลหิต ยิ่งไปกว่านั้น ส้มยังมีส่วนช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอีกด้วย เชื่อกันว่า หากรับประทานวิตามินซีในปริมาณมาก จะช่วยลดระดับการตอบสนองทางร่างกายและจิตใจ ที่มีต่อความเครียด ผักโขม นี่อาจไม่ใช่อาหารที่คุณอยากจะรับประทานสักเท่าใดนัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผักโขมและผักใบเขียวชนิดอื่นๆ อุดมไปด้วยแมกนีเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญ ต่อปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกายมากกว่า 300 ชนิด แมกนีเซียมยังช่วยป้องกันอาการวิตกกังวล และมีส่วนช่วยบรรเทาอาการสมาธิสั้น (ADHD) อีกด้วย โยเกิร์ต อาหารที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติก  อย่างโยเกิร์ต  มีส่วนช่วยเปลี่ยนการตอบสนองของร่างกาย ต่อความเครียดและความวิตกกังวล ปัญหาระบบย่อยอาหารบ่อยครั้งมักมาพร้อมกับโรควิตกังวล โดยโพรไบโอติกจะช่วยป้องกันการอักเสบในลำไส้ ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายอาการเครียดเหล่านั้นได้ แซลมอน แซลมอนนั้นเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีประโยชน์ ซึ่งช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนความเครียดให้อยู่ในระดับต่ำ และต่อต้านการอักเสบ นับเป็นอาหารคลายเครียดที่ทำให้ร่างกายสามารถขจัดปัญหาความวิตกกังวลได้ ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วพิตาชิโอและวอลนัท อุดมไปด้วยไขมันดี วิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ รวมทั้ง วิตามินบี 21 และ วิตามิน อี ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สารอาหารเหล่านี้ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของสุขภาพจิตใจ ในยามที่รู้สึกกระวนกระวาย เครียด หรือแม้แต่ซึมเศร้า เมล็ดเจียและเมล็ดทานตะวัน เมล็ดเจียและเมล็ดทานตะวันนั้น มีกรดอะมิโนทริบโตแฟน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

คอร์ติซอล ฮอร์โมนความเครียด ที่ไม่ได้หยุดอยู่แค่ทำให้เครียด!

เวลาที่ร่างกายอยู่ในสภาวะกดดันหรือเครียด ร่างกายจะหลั่งสารที่เรียกว่า คอร์ติซอล ออกมารับมือกับความเครียด แต่ความจริงแล้ว คอร์ติซอลไม่ได้เกี่ยวข้องแค่กับความเครียด แต่ส่งผลกับร่างกายในหลายด้าน การเรียนรู้หน้าที่ต่างๆ ของคอร์ติซอล จึงอาจช่วยให้เราควบคุมระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงได้ง่ายขึ้น คอร์ติซอล ฮอร์โมนความเครียดมาจากไหน คอร์ติซอล คือสเตียรอยด์ฮอร์โมน (Steroid hormone) จัดเป็นฮอร์โมนกลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids) ที่ผลิตจากต่อมหมวกไตชั้นนอก และส่งผ่านไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านกระแสเลือด เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมา เพื่อตอบสนองต่อสภาวะเครียดหรือกดดันต่างๆ จึงมักเรียกกันว่า “ฮอร์โมนความเครียด” หลากหลายหน้าที่ของคอร์ติซอล เนื่องจากเซลล์ส่วนใหญ่ในร่างกายมีตัวรับคอร์ติซอล (cortisol receptor) ฮอร์โมนตัวนี้จึงไม่ได้หยุดอยู่แค่ความเครียด แต่ส่งผลกับการทำงานของร่างกายในหลายด้าน ขึ้นอยู่กับประเภทของเซลล์ เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้กระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) หรือการเผาผลาญพลังงานในร่างกายคงที่ ทำหน้าที่เป็นสารต้านการอักเสบ ช่วยเรื่องความจำ ควบคุมความสมดุลของโซเดียมและของเหลวในร่างกาย ช่วยควบคุมความดันโลหิต ช่วยให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการเป็นปกติ มากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ได้ การหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลส่วนใหญ่ถูกควบคุมโดยสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) และต่อมหมวกไต หรือที่เรียกรวมกันว่า แกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล (Hypothalamic–pituitary–adrenal axis / HPA axis) โดยในแต่ละวัน ระดับคอร์ติซอลในร่างกายของเราจะขึ้นลงหลายครั้ง ปกติจะต่ำสุดในช่วงประมาณเที่ยงคืน และจะค่อยๆ ไต่ระดับสูงขึ้น จนถึงระดับสูงที่สุดในช่วงประมาณ 9 โมงเช้า อย่างไรก็ตาม การใช้ชีวิตที่ผิดปกติ เช่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรควิตกกังวล ผู้ป่วยมีทางทางเลือกการรักษาอย่างไรบ้าง

ความวิตกกังวล (Anxiety) โดยทั่วไปถือเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่ออันตราย ซึ่งเป็นการแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อคุณรู้สึกถูกคุกคาม อยู่ภายใต้ความกดดัน หรือเมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ตึงเครียด แต่หากความวิตกกังวลนั้นมีความรุนแรงเกินไป อาจเป็นอาการของ โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ขึ้นมาได้ โดยแต่ละคนจะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันไป การรักษาสำหรับผู้ป่วยโรควิตกกังวลมีหลายวิธี เช่น การบำบัดความกังวล การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่อบรรเทาความวิตกกังวล รวมถึงการใช้ยา [embed-health-tool-bmi] การบำบัดความกังวล การบำบัดทางจิต (Psychotherapy) โดยใช้หรือไม่ใช้ยาร่วมด้วยก็ตาม มักจัดว่าเป็นพื้นฐานในการรักษาโรควิตกกังวลโดยทั่วไป รูปแบบเฉพาะของการบำบัดทางจิตหลายประการ ดังที่มีการอธิบายไว้ในการศึกษาวิจัยต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการบรรเทาอาการต่างๆ ของ GAD (Generalized Anxiety Disorder ซึ่งเป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง) ได้แก่ จิตบำบัดแบบจิตพลวัต (Psychodynamic psychotherapy) การบำบัดทางจิตแบบประคับประคองและระบายถึงปัญหา (Supportive-expressive therapy) การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive-behavioral therapy) การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่อบรรเทาความวิตกกังวล การออกกำลังกายทุกวันเป็นการรักษาที่มีประโยชน์อีกประการหนึ่งสำหรับบรรเทาอาการต่างๆ ของความวิตกกังวล ให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในช่วงเป้าหมายสำหรับอายุเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาทีในแต่ละครั้งที่ออกกำลังกาย หรือให้ลองรูปแบบการหายใจโยคะดังต่อไปนี้ นอนหงายในสถานที่ซึ่งให้ความรู้สึกสบาย หายใจเข้าอย่างช้าๆ ทางจมูก โดยใช้กระบังลมเพื่อดูดอากาศเข้าสู่ปอดพร้อมกับปล่อยให้ท้องขยายออก เมื่อหายใจออก ให้กลับกระบวนการดังกล่าว โดยให้หดท้องในขณะที่หายใจออกอย่างช้าๆ และทั้งหมด ทำซ้ำหลายๆครั้ง ในกรณีที่จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการใช้ยานั้น ความผิดปกติเกี่ยวกับความวิตกกังวลอาจมีการรักษาด้วยการใช้ยาที่แตกต่างกัน กล่าวคือยาบางชนิดช่วยป้องกันและยาบางชนิดมีไว้รักษาให้หายขาด การใช้ยา ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressants) ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressants) […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สัญญาณของโรคซึมเศร้า ที่บอกว่าคุณควรต้องรับความช่วยเหลือได้แล้ว

เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเศร้าสักครั้งหนึ่งในชีวิต มนุษย์นั้นให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึก การรู้สึกหดหู่หลังจากตกงาน หรือมีปัญหาในความสัมพันธ์นั้น ไม่ได้หมายความว่า คุณจะเป็นโรคซึมเศร้า แต่หากคุณเคยมีอาการวิตกกังวลอย่างรุนแรง หรือถูกครอบงำด้วยความรู้สึกเศร้าหมอง จนทำให้ชีวิตของคุณยุ่งเหยิง หรือมี สัญญาณของโรคซึมเศร้า ต่อไปนี้ คุณอาจจำเป็นต้องรับการช่วยเหลือทางการแพทย์ [embed-health-tool-bmr] สัญญาณทั่วไปของโรคซึมเศร้า สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (The National Institute of Mental Health) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ทำรายการอาการของโรคซึมเศร้าไว้ดังนี้ มีความสนใจในระยะสั้น ความจำไม่ดี ตัดสินใจไม่ได้ รู้สึกผิด ผิดหวังในตัวเอง รู้สึกหมดหนทาง มองโลกในแง่ร้าย การนอนหลับที่ผิดปกติ ทั้งนอนมากเกินไป หรือนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย สูญเสียความสนใจในสิ่งต่างๆ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ นิสัยการกินอาหารเปลี่ยนแปลงไป ทั้งกินมากขึ้นหรือกินน้อยลง มีอาการปวดทางกายภาพที่ไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวด รู้สึกว่างเปล่า มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย และพยายามฆ่าตัวตาย สัญญาณของการฆ่าตัวตายในโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้านั้นนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความตั้งใจที่จะฆ่าตัวตาย สัญญาณเตือนของการฆ่าตัวตายในโรคซึมเศร้า ที่มักพบโดยทั่วไปมีดังนี้ อารมณ์เปลี่ยนแปลงจากรู้สึกเศร้าไปมีความสุขอย่างฉับพลัน พูดถึงเกี่ยวกับเรื่องของความตายบ่อยๆ ทำอะไรเสี่ยงๆ ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ สูญเสียความสนใจในทุกสิ่งอย่างสิ้นเชิง พูดเกี่ยวกับความสิ้นหวัง จัดการทำงานให้เสร็จสิ้น ทำพินัยกรรม ติดต่อหาคนรัก พูดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย หากคุณหรือคนใกล้ตัวคุณมีอาการเหล่านี้ ควรติดต่อรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในทันที การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า เพื่อการวินิจฉัยโดยสมบูรณ์ แพทย์จำเป็นต้องทราบรายละเอียด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

นอนมากกว่าปกติ เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า และอีกสารพัดโรคร้าย!

คุณเคยพบว่าตัวเอง นอนมากกว่าปกติ หรือเปล่า? หากเป็นเช่นนั้น อาจเป็นผลมาจากภาวะซึมเศร้าก็เป็นได้ ปัญหาเกี่ยวกับการนอนและภาวะซึมเศร้าอาจมีปัจจัยเสี่ยง และอาการทางร่างกายแบบเดียวกัน และภาวะทั้งสองอาจมีการตอบสนองต่อวิธีการรักษาเดียวกัน ปัญหาเกี่ยวกับการนอนยังสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าที่รุนแรงมากขึ้นด้วย การนอนและภาวะซึมเศร้าสัมพันธ์กันอย่างไร ปัญหาเกี่ยวกับการนอน เป็นสิ่งบ่งชี้ประการหนึ่งของภาวะซึมเศร้า คุณอาจนอนมากเกินไป หรือนอนไม่หลับ เมื่อมีภาวะซึมเศร้า สำหรับผู้ที่ทรมานจากการนอนมากเกินไป (hypersomnia) เป็นความผิดปกติทางสุขภาพอย่างแท้จริง ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยส่วนใหญ่แล้ว อาการนอนไม่หลับ (insomnia) มักพบได้ทั่วไป โดยในทางกลับกัน ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับมีความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าผู้ที่นอนหลับปกติได้ถึง 10 เท่า โรคซึมเศร้าทำให้คุณรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ไร้ค่า และไร้ประโยชน์ แน่นอนว่าเราทั้งหมดสามารถรู้สึกเศร้าหรือหดหู่ได้ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เมื่อคุณรู้สึกเศร้าเป็นเวลานาน และความรู้สึกดังกล่าวรุนแรงขึ้น อารมณ์ซึมเศร้าและอาการทางร่างกายที่สัมพันธ์กัน จะทำให้คุณไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ อาการซึมเศร้าอื่นๆ ได้แก่ รู้สึกเศร้าหรือว่างเปล่าอย่างมาก รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า หรือรู้สึกผิด รู้สึกอ่อนเพลียและเชื่องช้ามาก หรือวิตกกังวลและกระวนกระวาย ขาดความสนใจในสิ่งต่างๆ ซึ่งเคยสนใจมาก่อน หมดแรง มีปัญหาเกี่ยวกับการทำสมาธิ การคิด หรือการตัดสินใจ ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทำให้น้ำหนักร่างกายเปลี่ยนแปลง ความอยากนอนเพิ่มขึ้นหรือลดลง หากมีอาการเหล่านี้อย่างน้อยห้าอาการ เป็นเวลามากกว่าสองสัปดาห์ คุณควรพบแพทย์สำหรับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม เหตุใดการนอนจึงสำคัญ แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนที่นอนมากเกินไปจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน สาเหตุอื่นๆ ที่เป็นไปได้ของการนอนมากเกินไป ได้แก่ การใช้สารบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ และยาที่แพทย์สั่งบางชนิด อาการอื่นๆ เช่น อาการซึมเศร้า อาจทำให้มีอาการนอนมากเกินไปได้ […]


ความผิดปกติทางอารมณ์

เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย อารมณ์แปรปรวน ขนาดนี้ ทำยังไงดีล่ะ

ทุกคนล้วนเคยประสบกับอาการ อารมณ์แปรปรวน (Mood Swing) อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต อาการอารมณ์แปรปรวนก็คือ การเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน จากความรู้สึกสนุกสนานมีความสุข ไปเป็นเศร้าหมองหรือหวาดกลัว อารมณ์แปรปรวนสามารถถูกกระตุ้นได้ด้วยสิ่งแวดล้อมรอบตัว แม้เรื่องนั้นจะดูไม่สำคัญสำหรับคนอื่นก็ตามที ในบางครั้งคุณก็อาจมีอารมณ์แปรปรวนได้โดยไม่ทราบสาเหตุ สภาพร่างกายก็สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน อาการของอารมณ์แปรปรวน นอกเหนือจากอารมณ์ที่เปลี่ยนไปในฉับพลัน คุณอาจจะมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย วิตกกังวลและหงุดหงิด สับสนและหลงลืม สมาธิสั้นลง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น เกิดภาพหลอน ซึมเศร้า ใช้ดุลพินิจที่ไม่เหมาะสม รู้สึกท้อ ประมาทเลินเล่อ มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พูดเร็ว ทำความเข้าใจเรื่องราวและอธิบายข้อมูลได้ลำบาก ความอยากอาหารและน้ำหนักเปลี่ยนไป เหนื่อยล้า ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ คลื่นไส้ นอนไม่หลับ สาเหตุของอารมณ์แปรปรวน อาการทางจิต เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) โรคอารมณ์สองขั้ว (ไบโพลาร์) ชนิดอ่อน (cyclothymic disorder) โรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง (major depressive disorder) โรคซึมเศร้าประเภทเรื้อรัง (Persistent Depressive Disorder) และโรคความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ (disruptive mood dysregulation disorder) ทั้งหมดสามารถทำให้เกิดอาการอารมณ์แปรปรวนได้ โรคจิตเภท (Schizophrenia) และโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder) ก็อาจทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน ความแปรปรวนของฮอร์โมน ก็สามารถส่งผลกระทบกับสารเคมีในสมอง ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน วัยรุ่น ผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือนมักจะมีฮอร์โมนไม่คงที่ จึงมีแนวโน้มมากกว่าที่จะเกิดอารมณ์แปรปรวน การรับประทานยาหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถส่งผลในด้านลบกับอารมณ์ได้เช่นกัน รวมทั้งการใช้สารในทางที่ผิด อาจทำให้เกิดการเสพติด ซึ่งเป็นอาการทางจิต ภาวะสุขภาพอื่นๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน